ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมเจ้าวิมลปัทมราช จิรประวัติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 76: บรรทัด 76:
[[หมวดหมู่:ราชสกุลจิรประวัติ]]
[[หมวดหมู่:ราชสกุลจิรประวัติ]]
[[หมวดหมู่:ราชสกุลโสณกุล]]
[[หมวดหมู่:ราชสกุลโสณกุล]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ. (ฝ่ายใน)]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.3]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.4]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:04, 6 ธันวาคม 2562

หม่อมเจ้าวิมลปัทมราช จิรประวัติ
หม่อมเจ้า ชั้น 5
ประสูติ17 พฤษภาคม พ.ศ. 2442
สิ้นชีพตักษัย3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 (65 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
พระมารดาหม่อมเจ้าประวาศสวัสดี จิรประวัติ

หม่อมเจ้าวิมลปัทมราช จิรประวัติ (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2442 – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช กับหม่อมเจ้าประวาศสวัสดี จิรประวัติ (ราชสกุลเดิม โสณกุล)[1]

พระประวัติ

หม่อมเจ้าวิมลปัทมราช จิรประวัติ ประสูติเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2442 เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช กับหม่อมเจ้าประวาศสวัสดี จิรประวัติ (ราชสกุลเดิม โสณกุล) มีโสทรภราดาและโสทรขนิษฐาสามองค์ ได้แก่ หม่อมเจ้านิวาศสวัสดี จิรประวัติ, หม่อมเจ้าประสบศรี จิรประวัติ และหม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม และมีอนุชาต่างพระมารดาสององค์ ได้แก่ หม่อมเจ้านิทัศนาธร จิรประวัติ และหม่อมเจ้าขจรจิรพันธ์ จิรประวัติ

หม่อมเจ้าวิมลปัทมราช เป็นที่รักและโปรดปรานของเจ้าจอมมารดาทับทิม ผู้เป็นอัยยิกาฝ่ายพระบิดามาก หลังจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเวศวรสมัย ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ออกมาประทับอยู่วังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร พระโอรสและพระธิดาทั้งสององค์นั้นกับทั้งหม่อมเจ้าวิมลปัทมราช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสเรียกว่า "หญิงทับทิม" ซึ่งอัยยิกาเลี้ยงติดตัวมาแต่เล็ก ช่วยกันอุปฐากท่านมาด้วยกันกับหม่อมเจ้าที่เป็นพระสุนิสาและเป็นพระโอรส-ธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช และในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ซึ่งเจริญวัยสำเร็จการเล่าเรียนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับมา ให้ท่านอยู่เย็นเป็นสุขสบายจนตลอดชีวิต[2]

หม่อมเจ้าวิมลปัทมราช มีฝีมือในการประกอบอาหารเป็นเลิศ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิชามาจากเจ้าจอมมารดาทับทิมผู้เป็นอัยยิกาฝ่ายพระบิดา หม่อมเจ้าวิมลปัทมราชได้นิพนธ์ตำราอาหารไว้เมื่อตอนยังมีพระชนม์ชีพ ต่อมาเมื่อหม่อมเจ้าวิมลปัทมราช จิรประวัติ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 สิริชันษา 65 ปี ตำราอาหารนี้ได้รับการตีพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2508

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พงศาวลี

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. (=24.) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
 
 
 
 
 
 
8. (=12.) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. (=25.) สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
 
 
 
 
 
 
 
9. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. จมื่นอินทร์ประพาศ (เลี้ยง โรจนดิศ)
 
 
 
 
 
 
 
10. พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. ท้าวมังสี (ขำ)
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าจอมมารดาทับทิม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22.
 
 
 
 
 
 
 
11. อิ่ม โรจนดิศ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23.
 
 
 
 
 
 
 
1. หม่อมเจ้าวิมลปัทมราช จิรประวัติ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. (=16.) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
 
 
 
 
 
 
12. (=8.) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. (=17.) สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
6. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. สมบุญ งามสมบัติ
 
 
 
 
 
 
 
13. ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. ท้าวปฏิบัติบิณฑทาน (ถ้วย งามสมบัติ)
 
 
 
 
 
 
 
3. หม่อมเจ้าประวาศสวัสดี จิรประวัติ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28.
 
 
 
 
 
 
 
14. หลวงวรศักดาพิศาล (กาจ กุณฑลจินดา)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29.
 
 
 
 
 
 
 
7. หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30.
 
 
 
 
 
 
 
15. สุ่น กุณฑลจินดา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31.
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

  1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ :พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, 2548. 136 หน้า. ISBN 9742217467
  2. เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ ๕ จากเว็บไซต์ bloggang.com สืบค้าเมื่อ 19-03-57
  3. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัตยุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (35): 1015. 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)