ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สภายุโรป"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
สภายุโรป (Council of Europe) ไม่ใช่อ
บรรทัด 60: บรรทัด 60:
* [http://conventions.coe.int/Treaty/en/Treaties/Html/002.htm General Agreement on Privileges and Immunities of the Council of Europe], Paris, 2 September 1949
* [http://conventions.coe.int/Treaty/en/Treaties/Html/002.htm General Agreement on Privileges and Immunities of the Council of Europe], Paris, 2 September 1949



{{อียู}}
{{องค์การนำภูมิภาค}}
{{องค์การนำภูมิภาค}}
[[หมวดหมู่:สภายุโรป| ]]
[[หมวดหมู่:สภายุโรป| ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:32, 2 ธันวาคม 2562

สภายุโรป
Council of Europe
Conseil de l'Europe
ธงยุโรป
ชื่อย่อCoE
ก่อตั้งTreaty of London 1949
ประเภทRegional intergovernmental organization
สํานักงานใหญ่สทราซบูร์, ประเทศฝรั่งเศส
สมาชิก
  • รัฐสมาชิก 47 รัฐ
  • 5 Council observers
  • 3 Assembly observers
ภาษาทางการ
อังกฤษ, ฝรั่งเศส
เลขาธิการ
Thorbjørn Jagland
President of the Parliamentary Assembly
Anne Brasseur
President of the Committee of Ministers
Edmond Panariti
President of the Congress
Jean-Claude Frécon
เว็บไซต์www.coe.int

สภายุโรป[1] (อังกฤษ: Council of Europe, ตัวย่อ CoE, ฝรั่งเศส: Conseil de l'Europe) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลส่วนภูมิภาค (regional intergovernmental organisation) ที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2492 เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม ในรัฐสมาชิก 47 รัฐที่มีประชากรรวมกัน 820 ล้านคน เป็นองค์กรต่างหากจากสหภาพยุโรปที่มีสมาชิก 28 ประเทศ ซึ่งมักจะสับสนกันโดยส่วนหนึ่งก็เพราะใช้ธงยุโรปเหมือนกัน แต่สภายุโรปไม่สามารถออกกฎหมายที่บังคับใช้ได้โดยไม่เหมือนกับสหภาพยุโรป

ส่วนของสภายุโรปที่รู้จักกันดีที่สุดก็คือศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (European Court of Human Rights) ซึ่งตัดสินคดีตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรป (European Convention on Human Rights) งานของสภายุโรปมีผลเป็นมาตรฐาน กฎบัตร และอนุสัญญาที่อำนวยความร่วมมือกันระหว่างประเทศยุโรปโดยเป็นองค์กรที่ให้คำแนะนำ

ส่วนของสภาตามกฎหมายก็คือ คณะรัฐมนตรี (Committee of Ministers) ที่ประกอบด้วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของรัฐสมาชิกแต่ละรัฐ และสมัชชารัฐสภา (Parliamentary Assembly) ซึ่งประกอบด้วยรัฐสภาแห่งชาติของรัฐสมาชิกแต่ละรัฐ ส่วนกรรมาธิการเพื่อสิทธิมนุษยชน (Commissioner for Human Rights) เป็นสถาบันอิสระภายในสภายุโรป โดยได้รับมอบหมายให้โปรโมตความสำนึกและความเคารพในสิทธิมนุษยชนในรัฐสมาชิก ส่วนเลขาธิการแห่งสภายุโรป (Secretary General of the Council of Europe) เป็นหัวหน้ากองเลขาธิการขององค์การ

สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองสทราซบูร์ ประเทศฝรั่งเศส ภาษาทางการขององค์การคือภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ว่าคณะรัฐมนตรี สมัชชารัฐสภา และ Congress of the Council of Europe ก็ใช้ภาษาเยอรมัน อิตาลี ตุรกี รัสเซียในงานบางอย่างด้วยเหมือนกัน[2]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "Council of Europe", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (รัฐศาสตร์) สภายุโรป
  2. "The allocation of seats in the Parliamentary Assembly with respect to Turkey". assembly.coe.int. สืบค้นเมื่อ 2016-01-26. The working languages in the Assembly shall be German, Italian, Russian and Turkish

แหล่งข้อมูลอื่น