ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดิเรก ลาวัณย์ศิริ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเหรียญจักรพรรดิมาลา ด้วย ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
บรรทัด 71: บรรทัด 71:
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญจักรพรรดิมาลา]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:57, 1 ธันวาคม 2562

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ไฟล์:Professor Dr. Direk Lavansiri.JPG
เกิด7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
อ.บางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพมหานคร
สัญชาติไทย
อาชีพประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)
คู่สมรสพญ.สุพัตรา ลาวัณย์ศิริ
บุตรดร.ดิสภัทร ลาวัณย์ศิริ
เว็บไซต์สำนักงาน กกพ.

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ดำรงตำแหน่งเป็น ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กรรมการสาขาวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เป็นองค์กรหลักในการกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงาน [1]

ครอบครัว

ดิเรก ลาวัณย์ศิริ หรือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ เป็นบุตรของ นาย ธงชัย และ นาง สุมน ลาวัณย์ศิริ สมรสกับ พญ.สุพัตรา ลาวัณย์ศิริ และมีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือ ดร.ดิสภัทร ลาวัณย์ศิริ สำเร็จการศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา (Civil Eng.) ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา (M.S.C.E.) จาก University of Washington ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไฟล์:ศ.กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ.jpg
รูปหน้าตรงชุดขาว

ประวัติการศึกษา

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดิเรก ลาวัณย์ศิริ จบการศึกษาระดับอนุบาลที่ โรงเรียนสมถวิล (พระโขนง) ระดับประถมและมัธยมต้นที่ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และระดับมัธยมปลายที่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ต่อมาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมโยธา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบการศึกษาปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา (M.S.C.E) จาก University of Washington ประเทศสหรัฐอเมริกา และ จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ดุษฎีบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา (Civil Eng.) จาก Oregon State University ประเทศสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ยังได้ผ่านการอบรมผู้บริหารระดับสูงจากสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศหลายแห่ง อาทิ หลักสูตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 39 ปี พ.ศ. 2540 หลักสูตร Senior Executiveรุ่นที่ 15 ปี พ.ศ. 2544 สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 7 ประจำปีการศึกษา 2546 สถาบันพระปกเกล้า [2] หลักสูตร Director รุ่น 76 หลักสูตร 18th Management of Higher Education Institution Seminar, Galillee College, Israel, July 2007 [3]หลักสูตรนักบริหารยุติธรรมทางปกครองระดับสูง (บยป.) รุ่นที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2554 ศาลปกครอง [4] หลักสูตรเสาหลักของแผ่นดิน ผู้นำระดับสูงตามรอยเบื้องพระยุคลบาท รุ่นเกียรติยศ สถาบันศาสตราจารย์ ดร.บุญรอด บิณฑสัณต์ [5]หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาลัยการตลาดทุน (หลักสูตร วตท.) [6] รุ่นที่ 14 ประจำปีการศึกษา 2555 หลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรในพระบรมราชูปถัมภ์, [6],รุ่นที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2556 (สวปอ มส4) และหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการพลังงาน, [7] รุ่นที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2556 (วพน.3)

ไฟล์:ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ.jpg
รูปหน้าตรง

ประวัติการทำงาน

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดิเรก ลาวัณย์ศิริ เริ่มต้นชีวิตการทำงานเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2520 ต่อมาได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งผู้ข่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ 2521 และ 2524 และเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2529 ศ.กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ จนถึงปัจจุบันและด้วยความรู้และประสบการณ์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการทั้งในและต่างประเทศ สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ได้รับแต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และในระหว่างนี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ได้รับเชิญจากสถาบันทั้งในและต่างประเทศให้เป็นวิทยากรในวิชาวิศวกรรมโยธา อาทิ ได้รับเชิญให้เป็น Associate Faculty ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ในวิชา “Pavement Design” ปี พ.ศ. 2531 และ 2535 โดยในปี พ.ศ. 2532 Innsbruck University ประเทศออสเตรเลีย ได้เชิญให้เป็น Visiting Professor ในวิชา “Pavement Design and Construction” และระหว่าง พ.ศ. 2539-2547 ศ.กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [7] ในขณะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ได้รับรางวัล Thailand Quality Class ประเภทหน่วยงาน 2 ปีซ้อน คือในปีพุทธศักราช 2545 และ 2546 โดย คณะกรรมการคุณภาพแห่งชาติ [8] และ 2546 [9] ภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็น คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551 และเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ดิเรก ในขณะนั้น ได้รับพระราชทานกิติบัตร ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [10]ถึงปัจจุบัน

นอกจากประสบการณ์ด้านวิชาการแล้ว ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการรัฐวิสาหกิจและกรรมการอื่น ๆ อาทิ กรรมการการประปานครหลวง กรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กรรมการบริษัทขนส่ง และกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค เป็นต้น

จากความรู้ทางด้านวิชาการและความสามารถในการบริหาร ในปีพุทธศักราช 2551 ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดิเรก ลาวัณย์ศิริ จึงได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน [11] ถึง 16 กรกฎาคม 2557

การเป็นสมาชิกวิชาชีพ

-สภาวิศวกร เลขทะเบียนที่ วย 858 ประเภท วุฒิวิศวกรม, [8]

-วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ปีที่เป็นสมาชิก 2515 l,สมาชิกประเภท วุฒิวิศวกร,[9]

-Fellow ASCE,American Society of Civil Engineers เลขทะเบียนสมาชิก 109610,ตั้งแต่ ธันวาคม 2556[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

- 5 ธันวาคม 2537 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น มหาวชิรมงกุฎไทย [12]
- 5 ธันวาคม 2542 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก [13]

รางวัลและผลงานดีเด่น

- เอกสารวิจัยดีเด่น ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. 2539-2540
- รางวัลบทความดีเด่น เรื่อง ลักษณะสมบัติของส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีต ที่ใช้วัสดุแอสฟัลต์ ซีเมนต์ธรรมดา กับแอสฟัลต์ซีเมนต์ที่ผสมด้วยยางธรรมชาติเป็นสารผสมเพิ่ม โดยคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมจราจรและขนส่ง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย 15 ตุลาคม 2546
- รางวัล Thailand Quality Class ประเภทหน่วยงาน 2 ปี ซ้อน ในปี 2545 [14] และ 2546 [15]ขณะบริหารงานในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะกรรมการคุณภาพแห่งชาติ
- Oregon Stater Awards, 2008 Academy of Distinguished Engineers [16], Oregon State University, Corvallis, Oregon USA
- รางวัล บี.ซี.ซี. ดีเด่น (รางวัลอารีย์ เสมประสาท) ประจำปี 2552 จากคณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่า กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- รางวัล “ศักดิ์อินทาเนีย” รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2553 [17] จากคณะกรรมการบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รางวัล “ AFEO Honorary Fellow Award” ประจำปี 2553 [18] จาก The Asean Federation of Engineering Organisations (CAFEO 28)
- รางวัล Asean Outstanding Achievement Award “Being High Performance Energy Regulatory Body In Thailand” ประจำปี 2554 จาก The Asean Federation of Engineering Organisations (CAFEO 29) [19]
- รางวัล "วิศวจุฬาดีเด่นครั้งที่ 12" [20] จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รางวัล “ ANQ Recognition For Excellence In Quality Practice (ARE-QP) In Recognition Of Its Outstanding Achievements In Quality Management, Human Resource Management, Social Responsibilities And Quality Products” ประจำปี 2555 [21] จาก Asian Network For Quality ,2012 (ANQ)
- รางวัล "บุคคลคุณภาพแห่งปี 2012 ด้าน เทคโนโลยี" [22] จาก มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
- รางวัล "ASEAN Energy Awards (ASEAN Individual Excellence in Energy Management)" ประจำปี 2557
- รางวัล "ศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยวอชิงตัน" 2557 สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวอชิงตันประเทศไทย University of Washington Alumni Thailand </ref> [11]

อ้างอิง

  1. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ดิเรก ลาวัณย์ศิริ (ประวัติเต็ม), คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
  2. สถาบันพระปกเกล้า, >หลักสูตรการเมืองการปกครองระบบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง
  3. Galillee Institute, Galillee International Management Institute, Israel
  4. ศาลปกครอง, [1]หลักสูตรนักบริหารยุติธรรมทางปกครองระดับสูง
  5. สถาบันศาสตราจารย์ ดร.บุญรอด บิณฑสัณต์, [2]หลักสูตรเสาหลักของแผ่นดิน
  6. สถาบันวิทยาลัยการตลาดทุน, [3]หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง
  7. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  8. Thailand Quality Class ปี 2545, ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2545
  9. รางวัล Thailand Quality Class ปี 2546, ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2546
  10. คำประกาศ เกียรติคุณ ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ
  11. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ดิเรก ลาวัณย์ศิริ (ประวัติเต็ม), คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
  12. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย มหาวชิรมงกุฎไทย ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ชั้นสายสะพาย สมาชิกวุฒิสภา เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๗), เล่ม ๑๑๑, ตอนที่ ๒๑ ข, ๕ ธันวาคม ๒๕๓๗, หน้า ๑๒ ลำดับที่ ๓๑๒
  13. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ จำนวน ๔,๘๙๖ ราย), เล่ม ๑๑๖, ตอนที่ ๒0 ข, ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, หน้า ๖ ลำดับ ๒0๕
  14. Thailand Quality Class ปี 2545, ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2545
  15. รางวัล Thailand Quality Class ปี 2546, ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2546
  16. Oregon State University, 2008 Academy of Distinguished Engineers, 2008
  17. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศ.ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ รับรางวัลศักดิ์อินทาเนียประจำปี 2553, พ.ศ. 2553
  18. The Engineering Institute of Thailand, ศ.ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ รับรางวัล AFEO Honorary Fellow Award, ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553
  19. The Asean Federation of Engineering Organisations (CAFEO 29) [4],
  20. วิศวจุฬาดีเด่นครั้งที่ 12, วันที่ 13 ก.พ 2555
  21. ANQ Recognition For Excellence In Quality Practice (ARE-QP), [5],
  22. บุคคลคุณภาพแห่งปี2012, วันที่ 19 ตุลาคม 2555