ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อารีย์ วงศ์อารยะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
บรรทัด 68: บรรทัด 68:
[[หมวดหมู่:กรรมการกฤษฎีกาไทย]]
[[หมวดหมู่:กรรมการกฤษฎีกาไทย]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญจักรพรรดิมาลา]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญจักรพรรดิมาลา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:03, 29 พฤศจิกายน 2562

นายอารีย์ วงศ์อารยะ
ไฟล์:Aree Vongarraya.jpg
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าพลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา
ถัดไปพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 (89 ปี)
ประเทศไทย
ศาสนาอิสลาม
คู่สมรสนางสุมนา วงศ์อารยะ

อารีย์ วงศ์อารยะ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล สระบุรี ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี

ประวัติ

นายอารีย์ วงศ์อารยะ เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 (89 ปี) สมรสกับนางสุมนา วงศ์อารยะ มีบุตรธิดา 3 คน คือ นายเอกพจน์ วงศ์อารยะ นางสาวอภิรดี วงศ์อารยะ และนางสาวนวรัตน์ วงศ์อารยะ

สำเร็จการศึกษา มัธยมศึกษาจาก โรงเรียนอัสสัมชัญ สำเร็จการศึกษารัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท M.S. (Community Development) มหาวิทยาลัยแห่งประเทศฟิลิปปินส์ และ M.S. (Public Administration) มหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิสซูรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำงาน

นายอารีย์ วงศ์อารยะ รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล สระบุรี ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี รองปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมที่ดิน และปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นตำแหน่งสุดท้าย ก่อนจะเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2548

ด้านการเมืองเคยดำรงตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี พ.ศ. 2538 และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร พ.ศ. 2547 ต่อมาในการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[1] และได้ลาออกจาตำแหน่งในเวลาต่อมา เนื่องจากปัญหาการถือครองหุ้นเกินกว่าร้อยละ 5[2]

รางวัลและเกียรติยศ

อารีย์ วงศ์อารยะ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่อารีย์ วงศ์อารยะ เมื่อ พ.ศ.2549 [3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
  2. โพสต์ทูเดย์ - รมต.ขิงแก่ ถือหุ้น5% ไม่ผิด
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/B/025/8.PDF
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เล่ม 105 ตอน 201ง วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2531
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๘ (ชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ และชั้นที่ ๓ จำนวน ๑,๐๑๗ ราย)
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์ (จำนวน ๑,๒๑๕ ราย)