ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุญสม มาร์ติน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
บรรทัด 105: บรรทัด 105:
[[หมวดหมู่:บุคคลในวงการพลศึกษา]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในวงการพลศึกษา]]
[[หมวดหมู่:นักกีฬาทีมชาติไทย]]
[[หมวดหมู่:นักกีฬาทีมชาติไทย]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:23, 29 พฤศจิกายน 2562

บุญสม มาร์ติน
ไฟล์:Boonsom Martin.jpg
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2520 – พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ก่อนหน้าภิญโญ สาธร
ถัดไปสิปปนนท์ เกตุทัต
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
24 มิถุนายน พ.ศ. 2514 – 1 มกราคม พ.ศ. 2516
ก่อนหน้าศ.ดร.บัวเรศ คำทอง
ถัดไปศ.น.อ.นพ.ตะวัน กังวานพงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 กันยายน พ.ศ. 2465
ประเทศไทย
เสียชีวิต9 มิถุนายน พ.ศ. 2551 (อายุ 85 ปี)
ศาสนาโรมันคาทอลิก
คู่สมรสนางอังศณา มาร์ติน

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน (19 กันยายน พ.ศ. 2465 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551) แพทย์ชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้บุกเบิกการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ได้รับการยกย่องเป็น “บิดาของการพลศึกษาแผนใหม่ของไทย”

ประวัติ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน เกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2465 เป็นลูกครึ่งไทย-อังกฤษ[1] สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย[2] โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง โรงเรียนอัสสัมชัญ[3] แพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2488 และได้เป็นอาจารย์ในภาควิชาอายุรศาสตร์อยู่ในระยะสั้น ๆ แล้วจึงย้ายไปอยู่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมได้ทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จนได้รับปริญญามหาบัณฑิตทางสาธารณสุขศาสตร์และโรคเมืองร้อนจากมหาวิทยาลัยทูเลน เมื่อปี พ.ศ. 2492

เมื่อกลับจากศึกษาต่างประเทศมาแล้ว ได้เข้ามาปฏิบัติงานในกระทรวงศึกษาธิการ และได้รับมอบหมายให้ดูแลงานพลศึกษา จนได้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายระดับของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่อาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา โรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย ผู้อำนวยการ วิทยาลัยพลศึกษา รองอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา ไปจนถึงตำแหน่งสูงสุด คือ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

รวมทั้งยังได้มีโอกาสรับใช้ประเทศชาติในการบริหารราชการแผ่นดินในระดับรัฐบาลอยู่หลายสมัย โดยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 2 สมัย ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[4] และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข[5] ต่อมาสลับไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[6]

นอกจากนี้แล้ว ยังเคยเป็นนักฟุตบอลทีมชาติไทยในปี พ.ศ. 2489 อีกด้วย[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "ทริสตอง โด : แข้งลูกครึ่งไทยยุคใหม่ผู้ถูกค้นพบโดยเกม FM!". FourFourTwo. 25 สิงหาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Lampang Soccer Hall of Fame
  3. http://www.acn.ac.th/2009/gymkhana/history.html
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
  7. รายชื่อนักฟุตบอล จากมูลนิธินักฟุตบอลทีมชาติไทย
  8. ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓ เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ (จำนวน ๑๔ ราย) เล่ม ๑๐๕ ตอน ๙๕ ง ฉบับพิเศษ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๑ หน้า ๒

แหล่งข้อมูลอื่น

  • วารสารมิตรครู, ฉบับที่ 12, ปักษ์แรก วันที่ 15 ตุลาคม 2523, หน้า 12-13
ก่อนหน้า บุญสม มาร์ติน ถัดไป
เรือโท ยงยุทธ สัจจวาณิชย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523)
เสม พริ้งพวงแก้ว
ศาสตราจารย์ ดร.บัวเรศ คำทอง ไฟล์:Logo CMU.jpg
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(24 มิถุนายน พ.ศ. 2514 - 1 มกราคม พ.ศ. 2516)
ศาสตราจารย์ นาวาอากาศเอก
นายแพทย์ ตะวัน กังวานพงศ์