ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sodacan (คุย | ส่วนร่วม)
vector version available (GlobalReplace v0.6.5)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
บรรทัด 42: บรรทัด 42:
{{เกิดปี|2495}}
{{เกิดปี|2495}}
{{มีชีวิต}}
{{มีชีวิต}}

[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดกาฬสินธุ์‎]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดกาฬสินธุ์]]
[[หมวดหมู่:อาจารย์คณะสังคมศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:อาจารย์คณะสังคมศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:นักการเมืองสตรีชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักการเมืองสตรีชาวไทย]]
บรรทัด 56: บรรทัด 57:
[[หมวดหมู่:บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา]]
[[หมวดหมู่:บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา]]
[[หมวดหมู่:กปปส.]]
[[หมวดหมู่:กปปส.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:41, 29 พฤศจิกายน 2562

รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท
ไฟล์:รัชฎาภรณ์.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 (71 ปี)
จังหวัดกาฬสินธุ์
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์

นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท (5 เมษายน พ.ศ. 2495-) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตนักศึกษาหลบหนีเข้าป่าจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 "สหายศรัทธา" เป็นชื่อจัดตั้งในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)[1]

ประวัติ

นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2495 มีชื่อเล่นว่า "ปุ๊" ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จาก โรงเรียนสตรีกาฬสินธุ์ หรือโรงเรียนอนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน ชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์ ระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)[2]

การทำงาน

นางรัชฎาภรณ์ เคยรับราชการประจำกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อมาจึงมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้นจึงได้เข้ามาสู่งานการเมืองโดยการเป็นผู้ประสานงานขบวนผู้หญิงกับการปฏิรูปการเมือง เป็นที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ในปี พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วนกลุ่มที่ 3 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในระบบบัญชีรายชื่อ[3] และได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24

นางรัชฎาภรณ์ เป็นผู้มีบทบาทในการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ซึ่งมีการเสนอจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 [4] และวันที่ 8 กันยายน 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558" มีผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สิ้นสุดสถานะความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ขึ้นในวันเดียวกัน [5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "สหายศรัทธา"ส.ส.หญิงชี้ขบวนการล้มเจ้ามีจริงจากเว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจ
  2. ประวัติ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ สืบค้นข้อมูล 14 กันยายน 2554
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  4. หารือตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ท่ามกลางเสียงคัดค้าน
  5. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอน 86 ก หน้า 45 8 กันยายน 2558
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ [ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ รวมทั้งสิ้น ๘,๙๓๔ ราย]
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕