ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนเทพรัตน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{กล่องข้อมูล ทางหลวงในประเทศไทย
{{กล่องข้อมูล ทางหลวงในประเทศไทย
| หมายเลข = 34
| หมายเลข = 34
| ชื่อ = ถนนเทพรัตน์
| ชื่อ = ถนนเทพรัตน
| แผนที่ = Bang Na Expressway.png
| แผนที่ = Bang Na Expressway.png
| คำอธิบายแผนที่ = ถนนเทพรัตน์ (สีน้ำเงินเน้นเหลือง)
| คำอธิบายแผนที่ = ถนนเทพรัตน (สีน้ำเงินเน้นเหลือง)
| ความยาว-กม = 58.855
| ความยาว-กม = 58.855
| length_ref =
| length_ref =
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
}}
}}


'''ถนนเทพรัตน์''' ({{lang-roman|Thanon Debaratna}}) หรือ '''ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 สายบางนา–หนองไม้แดง''' เป็นทางหลวงแผ่นดินแนวตะวันตก–ตะวันออก แยกออกมาจาก[[ถนนสุขุมวิท]]ใน[[เขตบางนา]] [[กรุงเทพมหานคร]] แล้วไปบรรจบกับถนนสุขุมวิทอีกครั้งที่[[ทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง]]ใน[[อำเภอเมืองชลบุรี]] [[จังหวัดชลบุรี]]
'''ถนนเทพรัตน''' ({{lang-roman|Thanon Debaratna}}) หรือ '''ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 สายบางนา–หนองไม้แดง''' เป็นทางหลวงแผ่นดินแนวตะวันตก–ตะวันออก แยกออกมาจาก[[ถนนสุขุมวิท]]ใน[[เขตบางนา]] [[กรุงเทพมหานคร]] แล้วไปบรรจบกับถนนสุขุมวิทอีกครั้งที่[[ทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง]]ใน[[อำเภอเมืองชลบุรี]] [[จังหวัดชลบุรี]]


== รายละเอียดของเส้นทาง ==
== รายละเอียดของเส้นทาง ==
ถนนเทพรัตน์ เป็นทางหลวงแผ่นดินขนาด 9–14 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นทางทิศตะวันตกที่[[แยกบางนา|สี่แยกบางนา]] ใน[[เขตบางนา]] [[กรุงเทพมหานคร]] เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางนาเหนือและแขวงบางนาใต้จนถึงคลองบางนา จากนั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่[[จังหวัดสมุทรปราการ]] โดยผ่านพื้นที่[[อำเภอบางพลี]] ซึ่งช่วงนี้ถนนจะมีขนาด 12-14 ช่องจราจร (ช่องทางหลัก 8 ช่อง ทางคู่ขนาน 4-6 ช่อง) ส่วนใน[[อำเภอบางเสาธง]]และ[[อำเภอบางบ่อ]]จะเป็นถนนขนาด 10 ช่องจราจร (ช่องทางหลัก 6 ช่อง ทางคู่ขนาน 4 ช่อง) จากนั้นจึงเข้าสู่[[จังหวัดฉะเชิงเทรา]]ในพื้นที่[[อำเภอบางปะกง]] และไปบรรจบกับ[[ถนนสุขุมวิท]]ที่[[ทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง]] โดยถนนในช่วงนี้จะลดขนาดเหลือ 9 ช่องจราจร (ช่องทางหลักขาเข้า 3 ช่อง ทางคู่ขนาน 2 ช่อง ช่องทางหลักขาออก 2 ช่องทางคู่ขนาน 2 ช่อง) ปัจจุบันมี[[ทางพิเศษบูรพาวิถี]]เป็นทางยกระดับอยู่ด้านบนของถนนเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม
ถนนเทพรัตน เป็นทางหลวงแผ่นดินขนาด 9–14 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นทางทิศตะวันตกที่[[แยกบางนา|สี่แยกบางนา]] ใน[[เขตบางนา]] [[กรุงเทพมหานคร]] เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางนาเหนือและแขวงบางนาใต้จนถึงคลองบางนา จากนั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่[[จังหวัดสมุทรปราการ]] โดยผ่านพื้นที่[[อำเภอบางพลี]] ซึ่งช่วงนี้ถนนจะมีขนาด 12-14 ช่องจราจร (ช่องทางหลัก 8 ช่อง ทางคู่ขนาน 4-6 ช่อง) ส่วนใน[[อำเภอบางเสาธง]]และ[[อำเภอบางบ่อ]]จะเป็นถนนขนาด 10 ช่องจราจร (ช่องทางหลัก 6 ช่อง ทางคู่ขนาน 4 ช่อง) จากนั้นจึงเข้าสู่[[จังหวัดฉะเชิงเทรา]]ในพื้นที่[[อำเภอบางปะกง]] และไปบรรจบกับ[[ถนนสุขุมวิท]]ที่[[ทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง]] โดยถนนในช่วงนี้จะลดขนาดเหลือ 9 ช่องจราจร (ช่องทางหลักขาเข้า 3 ช่อง ทางคู่ขนาน 2 ช่อง ช่องทางหลักขาออก 2 ช่องทางคู่ขนาน 2 ช่อง) ปัจจุบันมี[[ทางพิเศษบูรพาวิถี]]เป็นทางยกระดับอยู่ด้านบนของถนนเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:00, 12 พฤศจิกายน 2562

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34
ถนนเทพรัตน
ถนนเทพรัตน (สีน้ำเงินเน้นเหลือง)
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว58.855 กิโลเมตร (36.571 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ถ.สุขุมวิท / ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ใน เขตบางนา กรุงเทพฯ
 
ปลายทางทิศตะวันออกถ.สุขุมวิท ใน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ถนนเทพรัตน (อักษรโรมัน: Thanon Debaratna) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 สายบางนา–หนองไม้แดง เป็นทางหลวงแผ่นดินแนวตะวันตก–ตะวันออก แยกออกมาจากถนนสุขุมวิทในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร แล้วไปบรรจบกับถนนสุขุมวิทอีกครั้งที่ทางแยกต่างระดับหนองไม้แดงในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

รายละเอียดของเส้นทาง

ถนนเทพรัตน เป็นทางหลวงแผ่นดินขนาด 9–14 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นทางทิศตะวันตกที่สี่แยกบางนา ในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางนาเหนือและแขวงบางนาใต้จนถึงคลองบางนา จากนั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยผ่านพื้นที่อำเภอบางพลี ซึ่งช่วงนี้ถนนจะมีขนาด 12-14 ช่องจราจร (ช่องทางหลัก 8 ช่อง ทางคู่ขนาน 4-6 ช่อง) ส่วนในอำเภอบางเสาธงและอำเภอบางบ่อจะเป็นถนนขนาด 10 ช่องจราจร (ช่องทางหลัก 6 ช่อง ทางคู่ขนาน 4 ช่อง) จากนั้นจึงเข้าสู่จังหวัดฉะเชิงเทราในพื้นที่อำเภอบางปะกง และไปบรรจบกับถนนสุขุมวิทที่ทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง โดยถนนในช่วงนี้จะลดขนาดเหลือ 9 ช่องจราจร (ช่องทางหลักขาเข้า 3 ช่อง ทางคู่ขนาน 2 ช่อง ช่องทางหลักขาออก 2 ช่องทางคู่ขนาน 2 ช่อง) ปัจจุบันมีทางพิเศษบูรพาวิถีเป็นทางยกระดับอยู่ด้านบนของถนนเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม

ประวัติ

ในอดีตยังไม่มีการกำหนดชื่อเรียกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 อย่างเป็นทางการ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อถนนสายนี้ตามจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด (รวมไปกับถนนสุขุมวิท) ว่า ถนนบางนา−ตราด และเรียกติดปากมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งกรมทางหลวงได้กำหนดชื่ออย่างเป็นทางการตามจุดสิ้นสุดที่แท้จริงของถนนสายนี้ว่า ทางหลวงสายบางนา–บางปะกง อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครได้กำหนดชื่อเรียกถนนในพื้นที่ของตนว่า "ถนนบางนา−ตราด"

ต่อมากรมทางหลวงได้กำหนดให้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 มีเส้นทางขยายต่อไปถึงบริเวณทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยใช้ทางคู่ขนานของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 แต่นับหลักกิโลเมตรถนนสุขุมวิทซ้อนไปกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ด้วย และกำหนดชื่อเรียกใหม่เป็น ทางหลวงสายบางนา–หนองไม้แดง

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานชื่อทางการของทางหลวงหมายเลข 34 ตลอดทั้งเส้นว่า ถนนเทพรัตน และได้พระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 ประดับที่ป้ายชื่อทางหลวงแผ่นดินสาย 34 อีกด้วย

ระเบียงภาพ

ถนนเทพรัตน โดยมีทางพิเศษบูรพาวิถีเป็นทางยกระดับซ้อนอยู่ด้านบน ภาพกลางตั้งอยู่ในอำเภอบางบ่อ

รายชื่อทางแยก

รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (ถนนเทพรัตน) ทิศทาง: บางนา−บางปะกง
จังหวัด อำเภอ กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
กรุงเทพมหานคร บางนา 0+000 แยกบางนา เชื่อมต่อจาก: ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป ดินแดง, ดาวคะนอง, แจ้งวัฒนะ (ทางหลัก) ถนนสรรพาวุธ ไป ท่าน้ำวัดบางนานอก (ทางขนาน)
ถนนสุขุมวิท ไป พระโขนง ถนนสุขุมวิท ไป ปากน้ำ
4+168 ต่างระดับศรีเอี่ยม ถนนศรีนครินทร์ ไป บางกะปิ ถนนศรีนครินทร์ ไป แยกศรีเทพา, ปากน้ำ
5+032 สะพาน ข้ามคลองบางนา
สมุทรปราการ บางพลี 9+084 ต่างระดับวัดสลุด ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันออก) ไป บางปะอิน, วังน้อย ทางพิเศษกาญจนาภิเษก ไป ถนนพระรามที่ 2
12+075 แยกกิ่งแก้ว ถนนกิ่งแก้ว ไป ลาดกระบัง ถนนกิ่งแก้ว ไป ถนนเทพารักษ์
15+100 ต่างระดับบางโฉลง ถนนสุวรรณภูมิ เข้า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไม่มี
ถนนวัดศรีวารีน้อย ไป ถนนลาดกระบัง ไม่มี
ไม่มี ถนนเลียบคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิ ไป ถนนเทพารักษ์, สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
บางเสาธง แยกเคหะบางพลี ไม่มี ถนนเคหะบางพลี ไป ถนนสุขุมวิท (สายเก่า)
ถนนนวมินทราชินูทิศ ไป ถนนหลวงแพ่ง ไม่มี
บางบ่อ 26+915 ไม่มี ถนนรัตนราช ไป บางบ่อ, คลองด่าน
ไฟล์:Samut Prakan PAO Logo.jpg ถนนรัตนโกสินทร์ 200 ปี ไป ตำบลเปร็ง ไม่มี
ฉะเชิงเทรา บางปะกง 39+262 ต่างระดับบางบ่อ (บางวัว) ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ไป ชลบุรี, พัทยา ไม่มี
ถนนจรัญยานนท์ ไป เขตเทศบาลตำบลท่าสะอ้าน ไม่มี
46+614 แยกคลองอ้อม ถนนสิริโสธร ไป บางปะกง, ฉะเชิงเทรา ถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ไป บางปู, สมุทรปราการ
50+500 สะพานเทพหัสดิน ข้ามแม่น้ำบางปะกง
ชลบุรี เมืองชลบุรี 54+650 ถนนบ้านเก่า-พานทอง ไป อ.พานทอง ไม่มี
58+855 ต่างระดับหนองไม้แดง ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี ไป อ.พนัสนิคม, อ.บ้านบึง, พัทยา ไม่มี
ตรงไป: ถนนสุขุมวิท เข้าตัวเมืองชลบุรี ไป ศรีราชา, พัทยา
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ

แหล่งข้อมูลอื่น