ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สยามพิวรรธน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 57: บรรทัด 57:
** เพอร์-สูท
** เพอร์-สูท
** อาแลง
** อาแลง
** แอบโซลูท สยาม สโตร์
** แอท คอสเม สโตร์
** ไอคอนคราฟต์
** จองแซมมุล
* บริษัท สยาม กูร์เมต์ โฮลดิ้ง จำกัด - บริหารร้านอาหารเจมีส์ อิตาเลียน และมาย คิทเช่น ในศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี
* บริษัท สยาม กูร์เมต์ โฮลดิ้ง จำกัด - บริหารร้านอาหารเจมีส์ อิตาเลียน และมาย คิทเช่น ในศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี
* บริษัท สยาม ทาคาชิมาย่า (ประเทศไทย) จำกัด - บริษัทร่วมทุนกับกลุ่ม[[ทะกะชิมะยะ|ทาคาชิมาย่า]] เพื่อดำเนินการห้างสรรพสินค้าสยามทาคาชิมาย่า สาขาไอคอนสยาม
* บริษัท สยาม ทาคาชิมาย่า (ประเทศไทย) จำกัด - บริษัทร่วมทุนกับกลุ่ม[[ทะกะชิมะยะ|ทาคาชิมาย่า]] เพื่อดำเนินการห้างสรรพสินค้าสยามทาคาชิมาย่า สาขาไอคอนสยาม

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:18, 7 พฤศจิกายน 2562

สยามพิวรรธน์
อุตสาหกรรมธุรกิจค้าปลีก
อสังหาริมทรัพย์
ก่อตั้ง10 มกราคม พ.ศ. 2502 (ในชื่อ "บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส")
28 มกราคม พ.ศ. 2546 (เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน)
ผู้ก่อตั้งพลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์
สำนักงานใหญ่989 อาคารสำนักงานสยามทาวเวอร์ ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
บุคลากรหลัก
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ประธานกรรมการ
ชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่
เว็บไซต์www.siampiwat.com

บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เป็นบริษัทธุรกิจค้าปลีกและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นเจ้าของและบริหารกิจการศูนย์การค้า ได้แก่ สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามพารากอน และไอคอนสยาม

ประวัติ

บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ก่อตั้งครั้งแรกในชื่อ บริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส จำกัด เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2502 เพื่อบริหารและพัฒนาที่ดินจำนวน 50 ไร่ บริเวณถนนพระรามที่ 1 เพื่อก่อสร้างโรงแรมห้าดาวระดับนานาชาติแห่งแรกของไทย คือ โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล [1] โดยมีพลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์ เป็นผู้ก่อตั้ง โดยเริ่มแรกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นมองเห็นถึงประโยชน์ทางการท่องเที่ยวจากการเข้ามาสร้างโรงแรมของกลุ่มทุนต่างชาติ จึงอนุมัติเงินทุนจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รวมถึงทุนจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในประเทศ เพื่อลงทุนในบริษัทดังกล่าว[2] ต่อมา ชฎาทิพ จูตระกูล บุตรสาวของพลเอกเฉลิมชัย ได้รับช่วงต่อจากบิดาในการบริหารบริษัท

เมื่อโรงแรมดังกล่าวดำเนินการมาครบ 30 ปี บริษัทได้ดำริที่จะสร้างศูนย์การค้าใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว จึงได้ยุติการดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2545 หลังจากนั้นจึงดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด" ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546 โดยพื้นที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าสยามพารากอน

ตามข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ผู้ถือหุ้นของสยามพิวรรธน์ ประกอบด้วย บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใหญ่สุด 47.9771% สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 24.8523% ธนาคารกรุงเทพ 5.1943% ธนาคารกสิกรไทย 5.0969% นอกนั้นเป็นผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ[3] งานวิจัยเรื่อง "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับการลงทุนทางธุรกิจ" กล่าวว่า สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของบริษัท[4]

ธุรกิจของบริษัท

ศูนย์การค้า

วันสยาม

ในปี พ.ศ. 2561 สยามพิวรรธน์ได้เปิดตัวเครื่องหมายการค้า "วันสยาม" สำหรับเรียกกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้าและอาคารสำนักงานของบริษัทที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตปทุมวัน โดยประกอบด้วยสมาชิกดังนี้

ศูนย์การค้าอื่น ๆ

  • ไอคอนสยาม (ร่วมทุนกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ และแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น ในนามบริษัท ไอคอนสยาม จำกัด)
  • สยาม พรีเมียม เอาท์เล็ต แบงค็อก: อะ สยามพิวรรธน์ ไซมอน เซ็นเตอร์ (ร่วมทุนกับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ไซมอน)

อาคารสำนักงาน

อาคารสยามพิวรรธน์

อาคารสำนักงานสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ เป็นอาคารสำนักงานสูง 30 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารสยามดิสคัฟเวอรี และอาคารจอดรถสยาม นอกจากเป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัทแล้ว ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) อีกด้วย

ธุรกิจค้าปลีก

  • บริษัท ดิสคัฟเวอรี่ รีเทล จำกัด - จัดจำหน่ายสินค้าในโซนโอเพนสเปซ (ดิสคัฟเวอรีแล็บ) ภายใน สยามดิสคัฟเวอรี
  • บริษัท สยามพารากอน รีเทล จำกัด - บริษัทร่วมทุนกับกลุ่มเดอะมอลล์ เพื่อดำเนินการ “พารากอน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์” ในสยามพารากอน
  • บริษัท สยามพิวรรธน์ รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด (ชื่อเดิม บริษัท สยาม สเปเชีลลิตี้ จำกัด) - จัดจำหน่ายสินค้าในรูปแบบต่างๆ ได้แก่
    • ลอฟท์
    • เดอะ วันเดอร์ รูม
    • เดอะ ซีเล็คเต็ด
    • จิน แอนด์ มิลค์
    • ออฟเจกต์ ออฟ ดีไซร์ สโตร์ (โอดีเอส)
    • แคช
    • เพอร์-สูท
    • อาแลง
    • แอบโซลูท สยาม สโตร์
    • แอท คอสเม สโตร์
    • ไอคอนคราฟต์
    • จองแซมมุล
  • บริษัท สยาม กูร์เมต์ โฮลดิ้ง จำกัด - บริหารร้านอาหารเจมีส์ อิตาเลียน และมาย คิทเช่น ในศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี
  • บริษัท สยาม ทาคาชิมาย่า (ประเทศไทย) จำกัด - บริษัทร่วมทุนกับกลุ่มทาคาชิมาย่า เพื่อดำเนินการห้างสรรพสินค้าสยามทาคาชิมาย่า สาขาไอคอนสยาม
  • บริษัท สยามพิวรรธน์-ไซม่อน จำกัด - บริษัทร่วมทุนกับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ไซมอน จากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อดำเนินการศูนย์การค้าลักชูรี พรีเมียม เอาท์เล็ต จำนวน 3 แห่ง โดยหนึ่งในนั้นจะตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร[5][6]

ธุรกิจอื่นๆ

  • บริษัท ซูพรีโม จำกัด บริษัทจัดการตลาดให้กับศูนย์การค้าในเครือ
  • บริษัท ดิจิมีเดีย จำกัด บริษัทจัดการตลาดในสื่อออนไลน์
  • รอยัลพารากอนฮอลล์ ดำเนินการในนามบริษัท รอยัลพารากอน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
  • บริษัท สยามโปรเฟสชั่นแนล แมเนจเม้นท์ จำกัด ดูแลการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ในเครือ
  • บริษัท ซุปเปอร์ฟอร์ซ จำกัด บริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัยภายในอาคารในเครือสยามพิวรรธน์

อ้างอิง