ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
บรรทัด 129: บรรทัด 129:
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.2]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.2‎]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:59, 6 พฤศจิกายน 2562

หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต
(พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
6 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2487
(0 ปี 18 วัน)
ก่อนหน้าจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ถัดไปพลเอก อดุล อดุลเดชจรัส
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
(0 ปี 259 วัน)
ก่อนหน้าจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ถัดไปพลเรือเอก สินธุ์ กมลนาวิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
(0 ปี 50 วัน)
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส
ถัดไปพระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 กรกฎาคม พ.ศ. 2439
เสียชีวิต29 กรกฎาคม พ.ศ. 2507
คณะราษฎร
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงชื่น เกรียงศักดิ์พิชิต
บุญเหลือ ปีเจริญ
บุพการี
  • จิ้น จิตตะคุณ (บิดา)
  • เพียร จิตตะคุณ (มารดา)

พลโท พลเรือโท พลอากาศโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (20 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2507) อดีตแม่ทัพกองทัพภาคอีสานในสงครามไทย-อินโดจีน, อดีตผู้บัญชาการทหารบก, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, อดีตสมาชิกคณะราษฎร และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 (ส.ส.ประเภทที่ 2) ในปี พ.ศ. 2476

ประวัติ

หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต มีชื่อจริงว่า พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต มีนามเดิมว่า "ค้วน จิตตะคุณ" เกิดเมื่อวันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 ตรงกับวัน 2 11 8 8 ค่ำ ปีวอก ภูมิลำเนาเดิม คลองบางกอบัว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ บิดาชื่อนายจิ้น มารดาชื่อนางเพียร

จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยมัธยม (โรงเรียนนายร้อยทหารบก) ในปี พ.ศ. 2457 ร่วมรุ่นเดียวกันกับ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม, พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส, พลเอก มังกร พรหมโยธี, พลอากาศโท กาจ กาจสงคราม และจอมพล ผิน ชุณหะวัณ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2475 นักเรียนนายร้อยรุ่นเดียวกันนี้หลายคนได้เข้าร่วมเป็นคณะราษฎร ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ ซึ่งรวมถึงตัวของหลวงเกรียงศักดิ์พิชิตด้วย[1]

ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย หลวงเกรียงศักดิ์พิชิตในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล เมื่อ พ.ศ. 2484[2]

หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต มีบุตรธิดารวม 11 คน โดยกับ คุณหญิงชื่น เกรียงศักดิ์พิชิต มีบุตรธิดา 9 คน และกับ นางบุญเหลือ ปีเจริญ มีบุตรธิดา 2 คน

ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อวันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 ตรงกับวันพุธ แรม 5 ค่ำ เดือน 8-8 (เดือน 8 ทุติยาสาฬห) ปีมะโรง สิริอายุได้ 68 ปี 9 วัน

สงครามไทย-อินโดจีน

ในระหว่างสงครามไทย-อินโดจีน (กรณีพิพาทอินโดจีน) พ.ศ. 2483 กองทัพในบัญชาของ พันเอก หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (ยศในขณะนั้น) สามารถเข้ายึดนครจำปาศักดิ์ได้ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ได้แต่งเพลงให้เพลงหนึ่งคือ นครจำปาศักดิ์ มีเนื้อหายกย่องวีรกรรมครั้งนี้

สัญญาบัตรยศทหาร

พลโท พลเรือโท พลอากาศโท
หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)
รับใช้กองทัพบกไทย, กองทัพเรือไทย และกองทัพอากาศไทย
ประจำการ
ชั้นยศ
  • พลโท
  • พลเรือโท
  • พลอากาศโท
  • 10 ธันวาคม พ.ศ. 2458 เป็น ว่าที่ร้อยตรี
  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 เป็น ร้อยตรี
  • 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 เป็น ร้อยโท
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 เป็น ร้อยเอก
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็น พันตรี
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2477 เป็น พันโท
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2480 เป็น พันเอก
  • 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 เป็น พลตรี
  • 17 สิงหาคม พ.ศ. 2486 เป็น พลโท
  • 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 เป็น พลเรือโท พลอากาศโท

งานการเมือง

หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ต่อมาถูกปรับไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ก่อนจะได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในคณะรัฐมนตรีชุดต่อมา ในขณะที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ กระทั่งในเวลาต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนจอมพล ป.พิบูลสงคราม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์[3]

บรรดาศักดิ์

  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 เป็น ขุนเกรียงศักดิ์พิชิต ถือศักดินา 600
  • 3 มิถุนายน พ.ศ. 2473 เป็น หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต ถือศักดินา 800

เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญตรา

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • หนังสือ สละชีวิตเพื่อคนข้างหลัง สกุล "เกรียงศักดิ์พิชิต" จัด พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2507
  • หนังสือ ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์ และ ประชุมบทเพลงไทยเดิม พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (ค้วน จินตะคุณ) ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2507