ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งบประมาณแผ่นดินของไทย พ.ศ. 2563"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 45: บรรทัด 45:


== กระบวนการรัฐสภา ==
== กระบวนการรัฐสภา ==
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ผ่านวาระแรกด้วยคะแนนเสียง 251 ต่อ 0 โดยฝ่ายค้านงดออกเสียง 234 เสียง ทั้งนี้ พบว่ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคอนาคตใหม่ จากจังหวัดชลบุรีออกเสียงเข้ากับฝ่ายรัฐบาลโดยขัดผู้คุมเสียงในสภา<ref>[https://www.thairath.co.th/news/politic/1686065 234 ฝ่ายค้านงดออกเสียง ลากงบวาระแรกผ่านฉลุย]</ref> และมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ สภาผู้แทนราษฎร โดยเลือกอุตตม สาวกายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน และมีชื่อ[[ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ]] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ที่อยู่ระหว่างถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุติการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในสัดส่วนคณะกรรมาธิการฯ คนนอก ด้าน[[ชวน หลีกภัย]] ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ความเห็นว่า หากคุณสมบัติไม่ครบน่าจะมีการยืนเรื่องถึงตนแล้ว และบทบาทผู้แทนราษฎรกับกรรมาธิการวิสามัญฯ เป็นคนละเรื่องกัน<ref>[https://www.khaosod.co.th/politics/news_3001037 ชวนฟันธง! “ธนาธร” นั่ง “กมธ.งบ” ได้ “ส.ส.ฟากรัฐบาล” ไม่หยุด! ชี้ช่อง ยื่นขวางลำ]</ref> ทั้งนี้ ธนาธรจะไม่มีสิทธิ์ลงมติ<ref>[https://www.posttoday.com/politic/news/604522 "ชวน"ชี้ "ธนาธร"นั่งกมธ.งบฯ ได้ แต่หมดสิทธิ์โหวต]</ref>
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ผ่านวาระแรกด้วยคะแนนเสียง 251 ต่อ 0 โดยฝ่ายค้านงดออกเสียง 234 เสียง ทั้งนี้ พบว่ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคอนาคตใหม่ จากจังหวัดชลบุรีออกเสียงเข้ากับฝ่ายรัฐบาลโดยขัดผู้คุมเสียงในสภา<ref>[https://www.thairath.co.th/news/politic/1686065 234 ฝ่ายค้านงดออกเสียง ลากงบวาระแรกผ่านฉลุย]</ref> และมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ สภาผู้แทนราษฎร โดยเลือกอุตตม สาวกายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน<ref>[https://www.matichon.co.th/politics/news_1725422 กมธ.งบ’63 นัดแรก เลือก ‘อุตตม’ นั่งปธ. โฆษก 14 คน ‘ธนาธร’ ที่ปรึกษาฯ วางกรอบ 1 เดือนเสร็จ]</ref> และมีชื่อ[[ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ]] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ที่อยู่ระหว่างถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุติการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในสัดส่วนคณะกรรมาธิการฯ คนนอก ด้าน[[ชวน หลีกภัย]] ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ความเห็นว่า หากคุณสมบัติไม่ครบน่าจะมีการยืนเรื่องถึงตนแล้ว และบทบาทผู้แทนราษฎรกับกรรมาธิการวิสามัญฯ เป็นคนละเรื่องกัน<ref>[https://www.khaosod.co.th/politics/news_3001037 ชวนฟันธง! “ธนาธร” นั่ง “กมธ.งบ” ได้ “ส.ส.ฟากรัฐบาล” ไม่หยุด! ชี้ช่อง ยื่นขวางลำ]</ref> ทั้งนี้ ธนาธรจะไม่มีสิทธิ์ลงมติ<ref>[https://www.posttoday.com/politic/news/604522 "ชวน"ชี้ "ธนาธร"นั่งกมธ.งบฯ ได้ แต่หมดสิทธิ์โหวต]</ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:37, 26 ตุลาคม 2562

งบประมาณแผ่นดินของไทย ค.ศ. 2020 (2020)
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
วันที่เสนอ17 ตุลาคม 2562
เสนอโดยคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62
เสนอต่อรัฐสภาไทย
รัฐสภาสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25
พรรคพรรคพลังประชารัฐ
รัฐมนตรีฯ คลังอุตตม สาวนายน
รายรับทั้งหมด2,731,000 ล้านบาท (กำหนด)
รายจ่ายทั้งหมด3,200,000 ล้านบาท (กำหนด)
การชำระหนี้62,709 ล้านบาท (กำหนด)
การขาดดุล469,000 ล้านบาท (กำหนด)
เว็บไซต์สำนักงบประมาณ

งบประมาณแผ่นดินของไทยสำหรับปีงบประมาณ 2563 ซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563 เป็นงบประมาณแผ่นดินแรกที่คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 (ประยุทธ์ 2) เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 โดยเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ในวาระแรกในวันที่ 17 ตุลาคม 2562

คณะรัฐมนตรีเสนองบประมาณเป็นวงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2 แสนล้านบาท ขาดดุล 4.69 แสนล้านบาท[1]

ที่มา

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ซึ่งเป็นวันแรกของปีงบประมาณ 2563 รัฐบาลยังไม่ผ่านกฎหมายรายจ่ายประจำปี ทำให้ต้องใช้งบประมาณจากปีงบประมาณที่แล้วไปพลางก่อน ซึ่งมีเฉพาะงบประจำเท่านั้น ด้านไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวกล่าวโทษว่าสำนักงบประมาณเสนอคณะรัฐมนตรีล่าช้า[2]

วันที่ 7 ตุลาคม 2562 สำนักงบประมาณเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2563 ให้คณะรัฐมนตรี[3]

สำหรับหน่วยรับงบประมาณที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ งบกลาง (518,770 ล้านบาท), กระทรวงศึกษาธิการ (368,660 ล้านบาท), กระทรวงมหาดไทย (353,007 ล้านบาท), กระทรวงการคลัง (249,006 ล้านบาท) และกระทรวงกลาโหม (233,353 ล้าบาท)[4] โดยกระทรวงที่ของบประมาณเพิ่มจากปีที่แล้วสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย (25,264 ล้านบาท), กระทรวงแรงงาน (8,284 ล้านบาท), กระทรวงพัฒนาสังและความมั่นคงของมนุษย์ (7,938 ล้านบาท), กระทรวงการคลัง (6,727 ล้านบาท) และกระทรวงกลาโหม (6,226 ล้านบาท)[1]

กระบวนการรัฐสภา

วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ผ่านวาระแรกด้วยคะแนนเสียง 251 ต่อ 0 โดยฝ่ายค้านงดออกเสียง 234 เสียง ทั้งนี้ พบว่ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคอนาคตใหม่ จากจังหวัดชลบุรีออกเสียงเข้ากับฝ่ายรัฐบาลโดยขัดผู้คุมเสียงในสภา[5] และมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ สภาผู้แทนราษฎร โดยเลือกอุตตม สาวกายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน[6] และมีชื่อธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ที่อยู่ระหว่างถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุติการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในสัดส่วนคณะกรรมาธิการฯ คนนอก ด้านชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ความเห็นว่า หากคุณสมบัติไม่ครบน่าจะมีการยืนเรื่องถึงตนแล้ว และบทบาทผู้แทนราษฎรกับกรรมาธิการวิสามัญฯ เป็นคนละเรื่องกัน[7] ทั้งนี้ ธนาธรจะไม่มีสิทธิ์ลงมติ[8]

อ้างอิง