ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาร์เอส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
บรรทัด 61: บรรทัด 61:


===ธุรกิจสื่อ===
===ธุรกิจสื่อ===
ประกอบด้วยสื่อโทรทัศน์และสื่อวิทยุ อาร์เอสประกอบธุรกิจทีวีดิจิทัล [[ช่อง 8]] และทีวีดาวเทียม 4 ช่อง คือ [[สบายดีทีวี]], [[ช่อง 2]],Series Channel และ[[เพลินทีวี]] ส่วนธุรกิจวิทยุ ดำเนินธุรกิจผ่านช่องทางระบบคลื่นควำมถี่วิทยุ F.M. 93.0 MHz ในกรุงเทพและปริมณฑล และทั่วประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ และแอปพลิเคชันทางมือถือ ภายใต้แบรนด์ COOLfahrenheit<ref name="รายงานประจำปี 2561"/>
ประกอบด้วยสื่อโทรทัศน์และสื่อวิทยุ อาร์เอสประกอบธุรกิจทีวีดิจิทัล [[ช่อง 8]] และทีวีดาวเทียม 4 ช่อง คือ [[สบายดีทีวี]], [[ช่อง 2]],Series Channel และ[[เพลินทีวี]] ส่วนธุรกิจวิทยุ ดำเนินธุรกิจผ่านช่องทางระบบคลื่นความถี่วิทยุ F.M. 93.0 MHz ในกรุงเทพและปริมณฑล และทั่วประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ และแอปพลิเคชันทางมือถือ ภายใต้แบรนด์ COOLfahrenheit<ref name="รายงานประจำปี 2561"/>


===ธุรกิจเพลง===
===ธุรกิจเพลง===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:50, 26 ตุลาคม 2562

บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)
RS Public Company Limited
ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
ก่อตั้ง1 มกราคม พ.ศ. 2523 (44 ปี)
สำนักงานใหญ่419/1 ซอยลาดพร้าว 15 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
บุคลากรหลัก
สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์-ประธานบริษัท
ผลิตภัณฑ์รายการโทรทัศน์ ละครโทรทัศน์ ดนตรี เพลง โชว์บิซ คอนเสิร์ต สตูดิโอ และ สถานีโทรทัศน์
รายได้3,955.05 ล้านบาท (ข้อมูลปี พ.ศ. 2561) [1]
เว็บไซต์www.rs.co.th

บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: RS PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ:RS) โดยธุรกิจในปัจจุบันของกลุ่มอาร์เอสประกอบด้วย 4 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจเครื่องสำอาง ธุรกิจเพลงที่มีรายได้จาก 3 ช่องทางหลัก ทั้งการจำหน่าย Physical Product การจำหน่ายผ่านช่องทาง Digital และรายได้จากการจัดเก็บลิขสิทธิ์ ธุรกิจโชว์บิซ อันได้แก่ การจัดคอนเสิร์ตและอีเว้นท์ ให้กับทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงรายได้จากการบริหารศิลปิน ธุรกิจสื่อ ได้แก่ สื่อวิทยุ และสื่อโทรทัศน์ โดยสื่อวิทยุ ได้แก่ COOLfahrenheit 93 และ สื่อโทรทัศน์ ประกอบด้วยฟรีทีวีคือช่อง 8 และ 3 ช่องโทรทัศน์ดาวเทียม ได้แก่ สบายดี ทีวี, YOU Channel และ ช่อง 2

ประวัติ

สัญลักษณ์บริษัทเมื่อครั้งใช้ชื่อว่า อาร์.เอส. โปรโมชั่น 1992 จำกัด

ช่วงเริ่มต้น

พ.ศ. 2519 เกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์ และ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์เริ่มธุรกิจอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก โดยทำธุรกิจตู้เพลงและอัดเพลงจากแผ่นเสียงลงเทป ภายใต้ตรา “ ดอกกุหลาบ ” ก่อนจะจัดตั้งเป็นบริษัทอย่างเต็มตัวด้วยเงินลงทุน 50,000 บาทในนาม “Rose Sound” ในปีพ.ศ. 2523 ผันตัวเองมาทำธุรกิจเพลงวัยรุ่น ในชื่อ บริษัท อาร์.เอส.ซาวด์ จำกัด มี วงอินทนิล เป็นศิลปินในสังกัดวงแรก และตามมาด้วย คีรีบูน, ฟรุตตี้, ซิกเซนต์, บรั่นดี, ปุยฝ้าย และ เรนโบว์ เป็นต้น

พ.ศ. 2535 เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท อาร์.เอส. โปรโมชั่น 1992 จำกัด รวมทั้งได้ย้ายสำนักงานจากถนนอุรุพงษ์มาเป็นอาคารเชษฐโชติศักดิ์ ในซอยลาดพร้าว 15 และใช้เงินลงทุน 300 ล้านบาท โดยมีห้องบันทึกเสียง ระดับมาตรฐานเพื่อรองรับงานของบริษัทฯ ถึง 3 ห้อง โดยบริษัทได้ประกาศจุดยืนจากบริษัทเพลงมาเป็นบริษัทบันเทิงครบวงจร นอกจากผลงานอัลบั้มเพลงซึ่งเป็นธุรกิจหลักแล้ว บริษัทฯ มีรายการวิทยุ, รายการโทรทัศน์, ละครโทรทัศน์ รวมทั้งภาพยนตร์และถือกำเนิด “ อาร์.เอส.สตาร์คลับ ”

พ.ศ. 2537 เปิดตัวบริษัท อาร์.เอส.ฟิล์ม ผลิตภาพยนตร์เรื่องแรก โลกทั้งใบให้นายคนเดียว เข้าฉายในปี 2538 ต่อมา พ.ศ. 2540 เปิดตัวบริษัท ชาโดว์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัดในช่วงต้นปีและบริษัท เมจิคแอ็ดเวอร์เทนเม้นท์ จำกัดในช่วงกลางปี โดยเริ่มต้นด้วยรายการเกมส์โชว์ มีรายการ เช่น “Shock Game” และตามมาด้วยรายการประเภทอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ รายการวาไรตี้, รายการเพลง , มิวสิควิดีโอและรวมทั้งละครโทรทัศน์อีกด้วย ปี พ.ศ. 2542 บริษัทฯ จัดตั้งบริษัท สกาย-ไฮเน็ตเวิร์ก จำกัด และเข้าทำธุรกิจสื่อวิทยุ ผลิตรายการและบริหารคลื่นวิทยุในเครือ 2 คลื่นคือ 98 Cool FM คลื่นเพลง บริษัทฯได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานภายในองค์กร แยกกิจกรรมออกเป็นหน่วยธุรกิจ

อาร์เอสจัดตั้ง บริษัท อาร์ สยาม จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2544 เพื่อผลิตเพลงลูกทุ่งและเพลงเพื่อชีวิต มีศิลปินที่เป็นที่รู้จัก เช่น หนู มิเตอร์, บ่าววี, หลวงไก่, โปงลางสะออน, กระแต อาร์สยาม, ใบเตย อาร์สยาม, จินตหรา พูนลาภ เป็นต้น[2]

บริษัทมหาชนจำกัด

เฟย์ ฟาง แก้ว ศิลปินจากค่ายวัยรุ่น กามิกาเซ่

อาร์เอสได้นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใต้ชื่อย่อ RS เมื่อปี พ.ศ. 2546 ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เมื่อปี บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) บริษัทเติบโต 81% ซึ่งผลประกอบการดังกล่าวมาจากการออกอัลบั้มใหม่ถึง 78 อัลบั้ม และมีอัลบั้มรวมฮิตอีก 181 อัลบั้ม ทั้งปีขายสินค้าเพลงได้ถึง 8 ล้านแผ่น[2] ในปีถัดมา ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างในการดำเนินธุรกิจใหม่ โดยมีธุรกิจหลัก 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ Entertainment & Sport Content Provider และ Media Service แต่นับจากปี 2547 รายได้การขายซีดีและดีวีดีลดลง เนื่องจากปัญหาเทปผีซีดีเถือน บริษัทยึงปรับกลยุทธ์ในการทำงานเพลง จนในปี 2550 เปิดค่ายเพลงเพื่อเจาะตลาดวัยรุ่นที่ชื่อ กามิกาเซ่ ซึ่งรุ่นแรกประกอบด้วย 22 ศิลปินวัยรุ่นชื่อดังในยุคนั้น เช่น โฟร์-มด, ขนมจีน, เฟย์ ฟาง แก้ว เป็นต้น[2]

พ.ศ. 2551 บริษัทฯเข้าลงทุน 65 เปอร์เซ็นต์ ในบริษัท อาร์เอส อินสโตร์ มีเดีย จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจสื่อในห้างโมเดิร์นเทรด ซึ่งเป็นสื่อวิทยุกระจายเสียง และสื่อทีวีในห้างโมเดิร์นเทรด บริษัทเข้าลงทุนในบริษัท ย๊าค จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจรายการทีวีที่เจาะกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น ประกอบด้วย รายการทีนพลัสโชว์ รายการกามิกาเซ่คลับ รายการทูไนท์ไลฟ์ และละครวัยรุ่น Daddy Duo บริษัทเปิดตัวสนามฟุตบอล S-One ณ ถนนบางนา-ตราด กม.4 เพื่อดำเนินธุรกิจบริการให้เช่าสนามฟุตบอลหญ้าเทียม สำหรับการแข่งขันฟุตบอล 7 คน และให้เช่าสถานที่เพื่อทำกิจกรรมทางการตลาดของบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ บริษัทได้รับลิขสิทธิ์เป็นผู้ดูแลการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008

พ.ศ. 2552 อาร์เอส เปิดช่องดาวเทียม 2 ช่อง ได้แก่ "YOU Channel" และช่อง "สบายดี ทีวี" ในปี พ.ศ. 2553 ปรับปรุงเว็บไซต์ "pleng.com" ใหม่ และบริษัทเป็นผู้บริหารสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 FIFA World Cup South Africa ระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน - 11 กรกฎาคม 2553 ออกอากาศทางช่อง 3 ช่อง7 ช่อง9 และ NBT บริษัทฯได้ขยายตัวในธุรกิจโทรทัศน์ดาวเทียมเพิ่มอีก 2 ช่อง ได้แก่ ช่อง 8 และ ช่อง Yaak TV ในปี พ.ศ. 2554 นอกจากนี้ ยังได้เป็นผู้บริหารสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลลาลิกา สเปน ในปี 2012 - 2015

พ.ศ. 2555 บริษัทฯ เปิดตัวช่องใหม่เพิ่มอีก 1 ช่อง ได้แก่ ช่อง RS Sport LaLiga เพื่อรองรับสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดฟุตบอลลาลิกาสเปน 3 ฤดูกาล และยังได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบช่อง Yaak TV เป็น Star Max Channel จากนั้นได้เปลี่ยนช่อง "อาร์เอส สปอร์ต ลาลิกา" เป็นช่อง "SUN Channel" เปลี่ยนชื่อค่ายเพลง "RS Music" เป็น "Yes! Music" และได้แยกกลุ่ม "Demo Project" จากกามิกาเซ่ มาเป็นค่ายเพลง "The Demo" ในเครืออาร์เอส ในปี พ.ศ. 2556[3] ช่องสตาร์แม็กซ์ เปลี่ยนมาเป็นช่อง 2 ยังได้ประมูลทีวีดิจิตอลในกลุ่มช่องความคมชัดปกติ (SD) และได้นำ "ช่อง 8" ขึ้นมาเป็นช่องทีวีดิจิทัล ควบรวมค่ายเพลง "The Demo" เข้ากับค่ายเพลง "Garden Music"

พ.ศ. 2558 ยุบค่ายเพลง "CHO Music And Entertainment" รีแบรนด์ช่อง "SUN Channel" เป็นช่อง "เพลินทีวี" แต่ก็ได้ปิดตัวไปในปี พ.ศ. 2559

อาร์เอสเปิดธุรกิจ สุขภาพและความงาม "Life Star" ในปี พ.ศ. 2560 ต่อมาปี พ.ศ. 2561 ปิดค่ายเพลง "Yes! Music" "Garden Music" "Kamikaze" ปรับโฉม รีแบรนด์ค่าย Rsiam เป็นแนวดนตรีไร้กรอบ ไม่จำกัดอยู่แค่เพลงลูกทุ่ง เหลือค่ายเพลง ค่ายเดียวในบริษัท

ย้ายธุรกิจ

มีนาคม 2562 อาร์เอส ได้รับการอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการขอปรับย้ายหมวดธุรกิจ จากหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ มาเป็นหมวดธุรกิจพาณิชย์ โดยยังคงอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ เช่นเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยหลังจากเปลี่ยนกลุ่มมาเป็นกลุ่มธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง หรือ MPC (Multi-platform Commerce) สร้างรายได้ได้ในสัดส่วนถึง 60% ของรายได้รวมของอาร์เอส[4] ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เข้าถือหุ้นอาร์เอส จำนวน 68 ล้านหุ้น (หรือประมาณ 7%) เพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลลูกค้า[5]

บริษัทย่อย

จากข้อมูลในรายงานประจำปี 2561 บริษัทอาร์เอสมีบริษัทย่อยดังนี้[6]

  • บริษัท ไลฟ์สตาร์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ดำเนินธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามช่องทางค้าปลีกต่าง ๆ
  • บริษัท อาร์เอส เทเลวิชั่น จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ดำเนินธุรกิจให้บริการสื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล
  • บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ดำเนินธุรกิจจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์
  • บริษัท บันเทิง วาไรตี้ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ดำเนินธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์

ธุรกิจ

ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง

ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง ดำเนินงานโดยบริษัท ไลฟ์สตาร์ จำกัด มีผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัวและผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน และเครื่องประดับ รวมถึงบริการต่าง ๆ โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม แบ่งเป็น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ภายใต้แบรนด์ มาจีค (Magique) ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ภายใต้แบรนด์ รีไวฟ์ (Revive) และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารภายใต้แบรนด์ เอส.โอ.เอ็ม. (S.O.M.)[7]

ธุรกิจสื่อ

ประกอบด้วยสื่อโทรทัศน์และสื่อวิทยุ อาร์เอสประกอบธุรกิจทีวีดิจิทัล ช่อง 8 และทีวีดาวเทียม 4 ช่อง คือ สบายดีทีวี, ช่อง 2,Series Channel และเพลินทีวี ส่วนธุรกิจวิทยุ ดำเนินธุรกิจผ่านช่องทางระบบคลื่นความถี่วิทยุ F.M. 93.0 MHz ในกรุงเทพและปริมณฑล และทั่วประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ และแอปพลิเคชันทางมือถือ ภายใต้แบรนด์ COOLfahrenheit[6]

ธุรกิจเพลง

ปัจจุบันธุรกิจเพลงของอาร์เอส มีรายได้จากงานอีเวนต์และโชว์บิซของศิลปินในสังกัด โดยขายงานแสดง งานโชว์ เป็นพรีเซนเตอร์ให้กับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์เพลงในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านทางระบบดิจิทัล ทั้งการฟังเพลงในรูปแบบออนไลน์สตรีมมิง อาทิ จูกซ์ สปอติฟาย เป็นต้น รวมถึงการฟังเพลงดูมิวสิกวิดีโอผ่าน ยูทูบ ไลน์ทีวี หรือให้บริการดาวน์โหลดเพลง ดาวน์โหลดเสียงเรียกเข้าผ่านโทรศัพท์ เสียงรอสายผ่านเครือข่ายของระบบุโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดาวน์โหลดเพลงผ่านช่องทางอย่าง ไอจูนส์ หรือผ่านเครือข่ายของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (WAP) และบริษัทยังมีรายได้จากการจัดเก็บลิขสิทธิ์เพลง ภายใต้บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด[6] ค่ายเพลงในปี 2562 ของอาร์เอส เหลืออยู่ค่ายเดียวคือ อาร์สยาม[2]

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. [1]
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "กาลครั้งหนึ่ง RS เบอร์ 2 ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่เมืองไทย กับวันนี้สู่ "ธุรกิจ คอมเมิร์ซ"". marketingoops. 18 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. ประวัติบริษัท
  4. "กรณีศึกษา 'อาร์เอส' กับการ Cross Industry 'ต้องไม่ยึดติดกับความสำเร็จเดิม' เพราะส่ิงที่ใช่ ไม่จำเป็นต้องใช่เสมอไป". แบรนด์บุฟเฟต์. 25 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "BTS ทุ่มพันล้านซื้อหุ้น RS 7% ขยายฐานต่อยอดธุรกิจใหม่". ผู้จัดการออนไลน์. 20 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 "รายงานประจำปี 2561". สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. "เปิดกลยุทธ์ RS ใช้สื่อต่อยอดธุรกิจ MPC สู้สงครามทีวีดิจิทัล". สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)