ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เนวิน ชิดชอบ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ดูข้อมูลจาก : https://thepeople.co/newin-chidchob-buriram-province/
บรรทัด 40: บรรทัด 40:
| พ่อ =
| พ่อ =
| แม่ =
| แม่ =
| birth_place = [[บุรีรัมย์]] [[ประเทศไทย]]
| birth_place = [[จังหวัดสุรินทร์]] [[ประเทศไทย]]
| death_date =
| death_date =
| death_place =
| death_place =
บรรทัด 52: บรรทัด 52:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
นายเนวิน ชิดชอบ เกิดวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของ[[ชัย ชิดชอบ]] อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ และนางละออง ชิดชอบ เป็นลูกคนกลางในบรรดาพี่น้องชาย 5 หญิง 1 (นาย[[ศักดิ์สยาม ชิดชอบ]] น้องชาย เป็นเลขาธิการ[[พรรคภูมิใจไทย]]) กำนันชัย ชิดชอบ บิดาของนายเนวิน ตั้งตัวมาจากธุรกิจโรงโม่หิน มีกิจการที่สำคัญคือ โรงโม่หินศิลาชัย
นายเนวิน ชิดชอบ เกิดวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ที่[[จังหวัดสุรินทร์]] แต่ไปเติบโตที่[[จังหวัดบุรีรัมย์]] เป็นบุตรของ[[ชัย ชิดชอบ]] อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ และนางละออง ชิดชอบ เป็นลูกคนกลางในบรรดาพี่น้องชาย 5 หญิง 1 (นาย[[ศักดิ์สยาม ชิดชอบ]] น้องชาย เป็นเลขาธิการ[[พรรคภูมิใจไทย]]) กำนันชัย ชิดชอบ บิดาของนายเนวิน ตั้งตัวมาจากธุรกิจโรงโม่หิน มีกิจการที่สำคัญคือ โรงโม่หินศิลาชัย


ชื่อ "เนวิน" ตั้งตามชื่อของ[[เนวี่น]] ผู้นำรัฐบาลเผด็จการทหารที่ปกครอง[[ประเทศพม่า]]ในขณะนั้น ซึ่งกำนันชัยประทับใจมาก
ชื่อ "เนวิน" ตั้งตามชื่อของ[[เนวี่น]] ผู้นำรัฐบาลเผด็จการทหารที่ปกครอง[[ประเทศพม่า]]ในขณะนั้น ซึ่งกำนันชัยประทับใจมาก
บรรทัด 61: บรรทัด 61:
นายเนวินจบชั้น ป.7 จาก[[โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม]] และไปศึกษาระดับมัธยมศึกษาจนจบ ม.ศ. 5 จาก[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] มีเพื่อนร่วมรุ่นที่มีชื่อเสียง เช่น [[วัฒนา เมืองสุข]], [[วีระ สมความคิด]], [[สมชัย ศรีสุทธิยากร]] และ[[สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล]]
นายเนวินจบชั้น ป.7 จาก[[โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม]] และไปศึกษาระดับมัธยมศึกษาจนจบ ม.ศ. 5 จาก[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] มีเพื่อนร่วมรุ่นที่มีชื่อเสียง เช่น [[วัฒนา เมืองสุข]], [[วีระ สมความคิด]], [[สมชัย ศรีสุทธิยากร]] และ[[สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล]]


ต่อมาได้ศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาวิชาพัฒนาชุมชนภาคพิเศษ สถาบันราชภัฎบุรีรัมย์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2530 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต จาก[[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] นอกจากนี้ยังได้รับมอบปริญญากิตติมศักดิ์ด้านบริหารรัฐกิจจากมหาวิทยาลัยแปซิฟิกเวสเทิร์น รัฐฮาวาย สหรัฐ
ต่อมาได้ศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาวิชาพัฒนาชุมชนภาคพิเศษ สถาบันราชภัฎบุรีรัมย์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2530 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต จาก[[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] นอกจากนี้ยังได้รับมอบปริญญากิตติมศักดิ์ด้านบริหารรัฐกิจจากมหาวิทยาลัยแปซิฟิกเวสเทิร์น รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐ


== การเมือง ==
== การเมือง ==
นายเนวินมี[[ชื่อเล่น]]จริง ๆ ว่า "เป็ด" แต่ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "ยี้ห้อย ร้อยยี่สิบ" จากการทุจริตซื้อเสียงใน[[การเลือกตั้ง]] พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อตำรวจจับธนบัตรใบละ 20 และ 100 บาท เย็บติดกันเป็นปึกใหญ่มัดรวมกับใบแนะนำตัวของนายเนวิน นอกจากนี้นายเนวินยังมีอีกฉายาหนึ่งว่า ''"ชื่อพม่า หน้าลาว เว้าเขมร"'' ด้วย เนื่องจากชื่อเหมือนเนวี่น อดีตผู้นำทหารพม่า แต่เมื่อเวลาหาเสียงจะพูดปราศรัยเป็น[[ภาษาเขมร]]จนเป็นเอกลักษณ์ หน้าลาวเพราะเป็นคนอีสาน
นายเนวินมี[[ชื่อเล่น]]จริง ๆ ว่า "เป็ด" แต่ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "ยี้ห้อย ร้อยยี่สิบ" จากการทุจริตซื้อเสียงใน[[การเลือกตั้ง]] พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อตำรวจจับธนบัตรใบละ 20 และ 100 บาท เย็บติดกันเป็นปึกใหญ่มัดรวมกับใบแนะนำตัวของนายเนวิน นอกจากนี้นายเนวินยังมีอีกฉายาหนึ่งว่า ''"ชื่อพม่า หน้าลาว เว้าเขมร"'' ด้วย เนื่องจากชื่อเหมือนเนวี่น อดีตผู้นำทหารพม่า แต่เมื่อเวลาหาเสียงจะพูดปราศรัยเป็น[[ภาษาเขมร]]จนเป็นเอกลักษณ์ หน้าลาวเพราะเป็นคนอีสาน


ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2548|การเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548]] ถูกนาย[[ถาวร เสนเนียม]]กล่าวหาว่าเป็นผู้พยายามเกลี้ยกล่อมให้ผู้ว่าราชการ[[จังหวัดสงขลา]] [[พัทลุง]] และ[[สตูล]]ให้ความช่วยเหลือ[[พรรคไทยรักไทย]]ในการเลือกตั้ง แต่ปรากฏว่า[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]] (กกต.) ลงความเห็นว่าหลักฐานที่นายถาวรใช้ยื่นฟ้องคือ เทปบันทึกเสียงของนายเนวินไม่ชัดเจนพอ<ref>http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=17/Jan/2548&news_id=101075&cat_id=501</ref>
ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2548|การเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548]] ถูกนาย[[ถาวร เสนเนียม]]กล่าวหาว่าเป็นผู้พยายามเกลี้ยกล่อมให้ผู้ว่าราชการ[[จังหวัดสงขลา]] [[พัทลุง]] และ[[สตูล]]ให้ความช่วยเหลือ[[พรรคไทยรักไทย]]ในการเลือกตั้ง แต่ปรากฏว่า[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]] (กกต.) ลงความเห็นว่าหลักฐานที่นายถาวรใช้ยื่นฟ้องคือ เทปบันทึกเสียงของนายเนวินไม่ชัดเจนพอ<ref>http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=17/Jan/2548&news_id=101075&cat_id=501</ref>


หลังจากนั้นได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า ''"หมอผีเขมร"'' เนื่องจากเชื่อว่าเป็นผู้แนะนำให้ [[ทักษิณ ชินวัตร]] ใช้[[ไสยศาสตร์]]ในการปกป้องคุ้มครองตัว ในวิกฤต[[การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี|การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี]]<ref>http://tnews.teenee.com/politic/684.html</ref> และเชื่อว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการนำม็อบ[[คาราวานคนจน]]มาปิดล้อมตึกของ[[เครือเนชั่น]] ที่[[เขตบางนา]] เมื่อวันที่ [[30 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2549]] <ref>http://tnews.teenee.com/politic/1101.html</ref> และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการจัดทำสื่อทางเลือก เช่น TTV MV1 และเว็บไซต์ รีพอตเตอร์ ออกมาตอบโต้กลุ่มผู้ขับไล่ [[ทักษิณ ชินวัตร]] ด้วย <ref>http://www.thaiinsider.com/ShowNewsPost.php?Link=News/Political/2006-09-20/02-09.htm</ref>
หลังจากนั้นได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า ''"หมอผีเขมร"'' เนื่องจากเชื่อว่าเป็นผู้แนะนำให้ [[ทักษิณ ชินวัตร]] ใช้[[ไสยศาสตร์]]ในการปกป้องคุ้มครองตัว ในวิกฤต[[การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี|การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี]]<ref>http://tnews.teenee.com/politic/684.html</ref> และเชื่อว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการนำม็อบ[[คาราวานคนจน]]มาปิดล้อมตึกของ[[เครือเนชั่น]] ที่[[เขตบางนา]] เมื่อวันที่ [[30 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2549]] <ref>http://tnews.teenee.com/politic/1101.html</ref> และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการจัดทำสื่อทางเลือก เช่น TTV MV1 และเว็บไซต์ รีพอตเตอร์ ออกมาตอบโต้กลุ่มผู้ขับไล่ [[ทักษิณ ชินวัตร]] ด้วย <ref>http://www.thaiinsider.com/ShowNewsPost.php?Link=News/Political/2006-09-20/02-09.htm</ref>
และเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกควบคุมตัวหลัง[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549]] พร้อมกับนาย[[ยงยุทธ ติยะไพรัช]]ด้วย อีกทั้งก็เป็นบุคคลต้องสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังของการพยายามคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 ที่จะมีการรับร่างในวันที่ [[19 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2550]] ในจังหวัดบุรีรัมย์ด้วย<ref>http://news.sanook.com/politic/politic_166393.php</ref>
และเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกควบคุมตัวหลัง[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549]] พร้อมกับนาย[[ยงยุทธ ติยะไพรัช]]ด้วย อีกทั้งก็เป็นบุคคลต้องสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังของการพยายามคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 ที่จะมีการรับร่างในวันที่ [[19 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2550]] ในจังหวัดบุรีรัมย์ด้วย<ref>http://news.sanook.com/politic/politic_166393.php</ref>


ในวันที่ [[25 กันยายน]] [[พ.ศ. 2550]] ที่ จ.บุรีรัมย์ นายเนวินได้ขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงของ[[พรรคพลังประชาชน]] ตอนหนึ่งนายเนวินได้บอกว่าระหว่างที่ถูกควบคุมตัวได้ถูกกระทำอย่างไม่ถูกต้องและถูกจับแก้ผ้าหมดทั้งตัว และถูกทิ้งไว้ข้างถนน แต่ทาง[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ]] (คมช.) ได้ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริงและปฏิบัติต่อนายเนวินอย่างใด<ref>http://www.posttoday.com/topstories.php?id=194251</ref>
ในวันที่ [[25 กันยายน]] [[พ.ศ. 2550]] ที่ จ.บุรีรัมย์ นายเนวินได้ขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงของ[[พรรคพลังประชาชน]] ตอนหนึ่งนายเนวินได้บอกว่าระหว่างที่ถูกควบคุมตัวได้ถูกกระทำอย่างไม่ถูกต้องและถูกจับแก้ผ้าหมดทั้งตัว และถูกทิ้งไว้ข้างถนน แต่ทาง[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ]] (คมช.) ได้ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริงและปฏิบัติต่อนายเนวินอย่างใด<ref>http://www.posttoday.com/topstories.php?id=194251</ref>


นายเนวินถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จาก[[คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549]] แต่ยังคงเป็นผู้นำ[[กลุ่มเพื่อนเนวิน]]ที่มี ส.ส.ในกลุ่มอยู่ราว 30 คน มีบทบาทอย่างสูงในการจัดตั้งรัฐบาลของ[[พรรคประชาธิปัตย์]] เพื่อให้นาย[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นแกนนำคนสำคัญของ[[พรรคภูมิใจไทย]] ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ ส.ส. เดิมของ[[พรรคมัชฌิมาธิปไตย]] และกลุ่มเพื่อนเนวิน [[พรรคพลังประชาชน]] ซึ่งถูกตัดสินยุบพรรค เข้าสังกัด และร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์
นายเนวินถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จาก[[คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549]] แต่ยังคงเป็นผู้นำ[[กลุ่มเพื่อนเนวิน]]ที่มี ส.ส.ในกลุ่มอยู่ราว 30 คน มีบทบาทอย่างสูงในการจัดตั้งรัฐบาลของ[[พรรคประชาธิปัตย์]] เพื่อให้นาย[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นแกนนำคนสำคัญของ[[พรรคภูมิใจไทย]] ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ ส.ส. เดิมของ[[พรรคมัชฌิมาธิปไตย]] และกลุ่มเพื่อนเนวิน [[พรรคพลังประชาชน]] ซึ่งถูกตัดสินยุบพรรค เข้าสังกัด และร่วมรัฐบาลกับ[[พรรคประชาธิปัตย์]]


ใน[[เหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552]] หลังจากนายเนวินถูก ทักษิณ และ[[กลุ่มคนเสื้อแดง]]และ ส.ส.[[พรรคเพื่อไทย]] โจมตีว่าเนรคุณหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน นายเนวินได้เปิดแถลงข่าวในตอนบ่ายของวันที่ [[7 เมษายน]] ในเชิงท้าชนกับ ทักษิณ พร้อมกับตั้งคำถามว่า คำว่า รัฐไทยใหม่ของ ทักษิณและกลุ่มคนเสื้อแดงกล่าวถึงนั้นหมายถึงอะไร และข้อเรียกร้องให้[[สภาองคมนตรีไทย|องคมนตรี]]ลาออกนั้นเป็นการก้าวล่วงพระราชอัธยาศัย ซึ่งตนถือว่าสำคัญกว่าพระราชอำนาจ และถ้าจะล้มล้างสถาบัน[[พระมหากษัตริย์]]ต้องข้ามศพตนไปก่อน<ref>[http://news.sanook.com/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%8A.%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-613681.html เนวินแถลงนปช.คิดไกลกว่าไล่รัฐมุ่งเผาชาติ]</ref>
ใน[[เหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552]] หลังจากนายเนวินถูก ทักษิณ และ[[กลุ่มคนเสื้อแดง]]พร้อมด้วย ส.ส.[[พรรคเพื่อไทย]] โจมตีว่าเนรคุณหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน
นายเนวินได้เปิดแถลงข่าวในตอนบ่ายของวันที่ [[7 เมษายน]] ในเชิงท้าชนกับ ทักษิณ พร้อมกับตั้งคำถามว่า คำว่า รัฐไทยใหม่ของ ทักษิณและกลุ่มคนเสื้อแดงกล่าวถึงนั้นหมายถึงอะไร และข้อเรียกร้องให้[[สภาองคมนตรีไทย|องคมนตรี]]ลาออกนั้นเป็นการก้าวล่วงพระราชอัธยาศัย ซึ่งตนถือว่าสำคัญกว่าพระราชอำนาจ และถ้าจะล้มล้างสถาบัน[[พระมหากษัตริย์]]ต้องข้ามศพตนไปก่อน<ref>[http://news.sanook.com/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%8A.%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-613681.html เนวินแถลงนปช.คิดไกลกว่าไล่รัฐมุ่งเผาชาติ]</ref>


ต่อมาในปลายปี [[พ.ศ. 2552]] นายเนวินได้รับเลือกให้เป็นผู้อำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติใน[[วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว|วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]จากรัฐบาล โดยกำหนดตั้งแต่วันที่ [[5 ธันวาคม]] จนถึงวันที่ [[13 ธันวาคม]] พ.ศ. 2552 ตลอดแนว[[ถนนราชดำเนิน]]ตั้งแต่[[สนามหลวง]]จนถึง[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]]<ref>[http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=78752 เนวินปัดหวังฟอกตัวการเมือง]</ref> และจัดงานได้อย่างน่าประทับใจ
ต่อมาในปลายปี [[พ.ศ. 2552]] นายเนวินได้รับเลือกให้เป็นผู้อำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติใน[[วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว|วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]จากรัฐบาล โดยกำหนดตั้งแต่วันที่ [[5 ธันวาคม]] จนถึงวันที่ [[13 ธันวาคม]] พ.ศ. 2552 ตลอดแนว[[ถนนราชดำเนิน]]ตั้งแต่[[สนามหลวง]]จนถึง[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]]<ref>[http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=78752 เนวินปัดหวังฟอกตัวการเมือง]</ref> และจัดงานได้อย่างน่าประทับใจ
บรรทัด 117: บรรทัด 118:
[[หมวดหมู่:รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย]]
[[หมวดหมู่:รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดสุรินทร์]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดบุรีรัมย์]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดบุรีรัมย์]]
[[หมวดหมู่:พรรคสหประชาธิปไตย]]
[[หมวดหมู่:พรรคสหประชาธิปไตย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:35, 25 ตุลาคม 2562

เนวิน ชิดชอบ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
5 มีนาคม พ.ศ. 2545 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุวรรณ วลัยเสถียร
ถัดไปวัฒนา เมืองสุข
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544
นายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าประวัฒน์ อุตตะโมต
ฉัตรชัย เอียสกุล
อุดมศักดิ์ ทั่งทอง
ถัดไปประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์
นที ขลิบทอง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้านที ขลิบทอง
ถัดไปอดิศร เพียงเกษ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าชวรัตน์ ชาญวีรกูล
อำนวย ปะติเส
ถัดไปเสริมศักดิ์ การุญ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (65 ปี)
จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองสหประชาธิปไตย (2531 - 2534)
สามัคคีธรรม (2534 - 2535)
ชาติไทย (2535 - 2539)
เอกภาพ (2539 - 2543)
ชาติไทย (2543 - 2547)
ไทยรักไทย (2547 - 2549)
คู่สมรสนางกรุณา ชิดชอบ (สุภา)
ลายมือชื่อไฟล์:Signature Newin Ch.jpg

เนวิน ชิดชอบ (จีน: 陈乃温; พินอิน: chen naiwen) ปัจจุบันเป็นประธานบริหารสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อดีตเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีหลายสมัย และเคยเป็นหนึ่งในบุคคลใกล้ชิดคนสำคัญของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และเป็นบุคคลสำคัญ ที่ทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2551

ประวัติ

นายเนวิน ชิดชอบ เกิดวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ที่จังหวัดสุรินทร์ แต่ไปเติบโตที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นบุตรของชัย ชิดชอบ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ และนางละออง ชิดชอบ เป็นลูกคนกลางในบรรดาพี่น้องชาย 5 หญิง 1 (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ น้องชาย เป็นเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย) กำนันชัย ชิดชอบ บิดาของนายเนวิน ตั้งตัวมาจากธุรกิจโรงโม่หิน มีกิจการที่สำคัญคือ โรงโม่หินศิลาชัย

ชื่อ "เนวิน" ตั้งตามชื่อของเนวี่น ผู้นำรัฐบาลเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศพม่าในขณะนั้น ซึ่งกำนันชัยประทับใจมาก

นายเนวินสมรสกับนางกรุณา ชิดชอบ นามสกุลเดิม "สุภา" บุตรีของนายคะแนน สุภา เจ้าของบริษัท เชียงใหม่ คอนสตรัคชั่น จำกัด

การศึกษา

นายเนวินจบชั้น ป.7 จากโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม และไปศึกษาระดับมัธยมศึกษาจนจบ ม.ศ. 5 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีเพื่อนร่วมรุ่นที่มีชื่อเสียง เช่น วัฒนา เมืองสุข, วีระ สมความคิด, สมชัย ศรีสุทธิยากร และสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ต่อมาได้ศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาวิชาพัฒนาชุมชนภาคพิเศษ สถาบันราชภัฎบุรีรัมย์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2530 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นอกจากนี้ยังได้รับมอบปริญญากิตติมศักดิ์ด้านบริหารรัฐกิจจากมหาวิทยาลัยแปซิฟิกเวสเทิร์น รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐ

การเมือง

นายเนวินมีชื่อเล่นจริง ๆ ว่า "เป็ด" แต่ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "ยี้ห้อย ร้อยยี่สิบ" จากการทุจริตซื้อเสียงในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อตำรวจจับธนบัตรใบละ 20 และ 100 บาท เย็บติดกันเป็นปึกใหญ่มัดรวมกับใบแนะนำตัวของนายเนวิน นอกจากนี้นายเนวินยังมีอีกฉายาหนึ่งว่า "ชื่อพม่า หน้าลาว เว้าเขมร" ด้วย เนื่องจากชื่อเหมือนเนวี่น อดีตผู้นำทหารพม่า แต่เมื่อเวลาหาเสียงจะพูดปราศรัยเป็นภาษาเขมรจนเป็นเอกลักษณ์ หน้าลาวเพราะเป็นคนอีสาน

ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 ถูกนายถาวร เสนเนียมกล่าวหาว่าเป็นผู้พยายามเกลี้ยกล่อมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูลให้ความช่วยเหลือพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้ง แต่ปรากฏว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ลงความเห็นว่าหลักฐานที่นายถาวรใช้ยื่นฟ้องคือ เทปบันทึกเสียงของนายเนวินไม่ชัดเจนพอ[1]

หลังจากนั้นได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า "หมอผีเขมร" เนื่องจากเชื่อว่าเป็นผู้แนะนำให้ ทักษิณ ชินวัตร ใช้ไสยศาสตร์ในการปกป้องคุ้มครองตัว ในวิกฤตการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[2] และเชื่อว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการนำม็อบคาราวานคนจนมาปิดล้อมตึกของเครือเนชั่น ที่เขตบางนา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2549 [3] และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการจัดทำสื่อทางเลือก เช่น TTV MV1 และเว็บไซต์ รีพอตเตอร์ ออกมาตอบโต้กลุ่มผู้ขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ด้วย [4] และเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกควบคุมตัวหลังรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พร้อมกับนายยงยุทธ ติยะไพรัชด้วย อีกทั้งก็เป็นบุคคลต้องสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังของการพยายามคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 ที่จะมีการรับร่างในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ในจังหวัดบุรีรัมย์ด้วย[5]

ในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550 ที่ จ.บุรีรัมย์ นายเนวินได้ขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงของพรรคพลังประชาชน ตอนหนึ่งนายเนวินได้บอกว่าระหว่างที่ถูกควบคุมตัวได้ถูกกระทำอย่างไม่ถูกต้องและถูกจับแก้ผ้าหมดทั้งตัว และถูกทิ้งไว้ข้างถนน แต่ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริงและปฏิบัติต่อนายเนวินอย่างใด[6]

นายเนวินถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 แต่ยังคงเป็นผู้นำกลุ่มเพื่อนเนวินที่มี ส.ส.ในกลุ่มอยู่ราว 30 คน มีบทบาทอย่างสูงในการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นแกนนำคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ ส.ส. เดิมของพรรคมัชฌิมาธิปไตย และกลุ่มเพื่อนเนวิน พรรคพลังประชาชน ซึ่งถูกตัดสินยุบพรรค เข้าสังกัด และร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์

ในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 หลังจากนายเนวินถูก ทักษิณ และกลุ่มคนเสื้อแดงพร้อมด้วย ส.ส.พรรคเพื่อไทย โจมตีว่าเนรคุณหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน นายเนวินได้เปิดแถลงข่าวในตอนบ่ายของวันที่ 7 เมษายน ในเชิงท้าชนกับ ทักษิณ พร้อมกับตั้งคำถามว่า คำว่า รัฐไทยใหม่ของ ทักษิณและกลุ่มคนเสื้อแดงกล่าวถึงนั้นหมายถึงอะไร และข้อเรียกร้องให้องคมนตรีลาออกนั้นเป็นการก้าวล่วงพระราชอัธยาศัย ซึ่งตนถือว่าสำคัญกว่าพระราชอำนาจ และถ้าจะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ต้องข้ามศพตนไปก่อน[7]

ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2552 นายเนวินได้รับเลือกให้เป็นผู้อำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากรัฐบาล โดยกำหนดตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม จนถึงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ตลอดแนวถนนราชดำเนินตั้งแต่สนามหลวงจนถึงลานพระบรมรูปทรงม้า[8] และจัดงานได้อย่างน่าประทับใจ

ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งตรงกับวันครบรอบวันเกิด 54 ปี นายเนวินได้ประกาศยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด เพื่อที่จะลดความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาในรอบหลายปี โดยจะทุ่มเทให้กับการกีฬาอย่างเต็มที่[9]

การกีฬา

ในช่วงฤดูกาล 2552 นายเนวินต้องการซื้อหุ้นทีมฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีก ให้ย้ายไปเล่นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ในเบื้องต้นได้เจรจากับสโมสรฟุตบอลตำรวจ แต่ได้รับการปฏิเสธ [10] นายเนวินได้มีการเจรจาในเบื้องต้นกับสโมสรฟุตบอลทีโอที และสโมสรฟุตบอลทหารบก [11] แต่ตกลงกันไม่ได้ ในที่สุดจึงได้มีการซื้อขายหุ้นของสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทางสโมสรได้ตกลงที่จะย้ายสนามแข่งจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์[10] หลังจากนั้นทางสโมสรได้เปลี่ยนแปลงชื่อทีมเป็น บุรีรัมย์-พีอีเอ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทีมผู้บริหารทั้งหมด และทีมผู้ฝึกสอนบางส่วน

เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 นายเนวินแถลงข่าวว่าได้ซื้อหุ้นอีก 30% ของสโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มาบริหารจัดการเองทั้งหมด รวมทั้งสิทธิทั้งหมดในนามการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จากนั้นเปลี่ยนชื่อทีมเป็นสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด[12]

นอกจากนี้นายเนวินยังเป็นประธานที่ปรึกษาโครงการสนามแข่งรถช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต[13][14] ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของช้างอารีนา สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=17/Jan/2548&news_id=101075&cat_id=501
  2. http://tnews.teenee.com/politic/684.html
  3. http://tnews.teenee.com/politic/1101.html
  4. http://www.thaiinsider.com/ShowNewsPost.php?Link=News/Political/2006-09-20/02-09.htm
  5. http://news.sanook.com/politic/politic_166393.php
  6. http://www.posttoday.com/topstories.php?id=194251
  7. เนวินแถลงนปช.คิดไกลกว่าไล่รัฐมุ่งเผาชาติ
  8. เนวินปัดหวังฟอกตัวการเมือง
  9. 'เนวิน'ประกาศเลิกเล่นการเมือง หวังลดความขัดแย้ง จากกรุงเทพธุรกิจ
  10. 10.0 10.1 เนวินจะได้แต่ทีมการไฟฟ้าฯ แต่ไม่ได้นักเตะไปบุรีรัมย์
  11. เนวินเบนเป้าเล็งดึงทัพบกเล่นบุรีรัมย์ สยามกีฬา, 5 พฤศจิกายน 2552
  12. "เนวิน"ทุ่มซื้อสิทธิ์"พีอีเอ"ยุติปัญหาทั้งหมด
  13. ""เนวิน" ปลื้ม "ช้าง อินเตอร์ฯ เซอร์กิต" จัดซิ่งระดับโลกสบาย". ผู้จัดการออนไลน์. 5 ตุลาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. ""ฮอนด้า-บุรีรัมย์"เปิดสนามแข่งรถ"ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต"". เดลินิวส์. 10 กันยายน 2557. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ จำนวน ๔,๗๙๙ ราย)
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๕,๐๑๖ ราย ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๑)
  17. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/B/017V001/1_1.PDF
  18. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2537/B/021V2/1_1.PDF