ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Wasin147 (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขบทความ เนื่องจาก EMU-BLE ผลิตตัวถังขึ้นที่ Bozankaya, ไม่ใช่เวียนนา แต่ถูกประกอบและติดตั้งระบบที่เวียนนา จึงอธิบายให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
| map_state = collapsed
| map_state = collapsed
}}
}}
'''รถไฟฟ้ามหานคร''' ({{lang-en|Metropolitan Rapid Transit, MRT}}) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใน[[กรุงเทพมหานครและปริมณฑล]] ที่ดำเนินการโดย[[การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย]] (รฟม.) เป็นส่วนหนึ่งของ[[โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง|โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง]] ใน[[กรุงเทพมหานครและปริมณฑล]]นอกเหนือไปจากระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอื่น ได้แก่ [[ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร]] ([[รถไฟฟ้าบีทีเอส]]) ของ[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]] (กทม.) และ[[โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)]] ของ[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] (รฟท.) ในปี พ.ศ. 2562 รถไฟฟ้ามหานครได้นำรถแบบใหม่มาให้บริการ ซึ่งเป็นขบวนรถไฟฟ้าที่ผลิตจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย <ref>[https://hilight.kapook.com/view/187251 รถไฟฟ้า MRT ขบวนใหม่ล็อตแรก ถึงไทยแล้ว เตรียมวิ่งสายสีน้ำเงิน ก.ย. นี้]</ref><ref>[https://www.prachachat.net/property/news-204949 โฉมหน้ารถใหม่ “สายสีน้ำเงิน” “ซีเมนส์” ผลิต ทรวดทรงคล้าย BTS]</ref>โดยแสดงป้ายสถานีแบบ [[จอภาพผลึกเหลว]] เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
'''รถไฟฟ้ามหานคร''' ({{lang-en|Metropolitan Rapid Transit, MRT}}) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใน[[กรุงเทพมหานครและปริมณฑล]] ที่ดำเนินการโดย[[การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย]] (รฟม.) เป็นส่วนหนึ่งของ[[โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง|โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง]] ใน[[กรุงเทพมหานครและปริมณฑล]]นอกเหนือไปจากระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอื่น ได้แก่ [[ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร]] ([[รถไฟฟ้าบีทีเอส]]) ของ[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]] (กทม.) และ[[โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)]] ของ[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] (รฟท.) ในปี พ.ศ. 2562 รถไฟฟ้ามหานครได้นำรถแบบใหม่มาให้บริการ ซึ่งเป็นขบวนรถไฟฟ้าที่ประกอบและติดตั้งระบบที่โรงงานในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย <ref>[https://hilight.kapook.com/view/187251 รถไฟฟ้า MRT ขบวนใหม่ล็อตแรก ถึงไทยแล้ว เตรียมวิ่งสายสีน้ำเงิน ก.ย. นี้]</ref><ref>[https://www.prachachat.net/property/news-204949 โฉมหน้ารถใหม่ “สายสีน้ำเงิน” “ซีเมนส์” ผลิต ทรวดทรงคล้าย BTS]</ref> โดยแสดงสถานะขบวนรถ (Dynamic Route Map) แบบ [[จอภาพผลึกเหลว]] (LCD-DRM) เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ


รถไฟฟ้ามหานครที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบันได้แก่ [[รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล]] และ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม|สายฉลองรัชธรรม]]
รถไฟฟ้ามหานครที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบันได้แก่ [[รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล]] และ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม|สายฉลองรัชธรรม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:28, 20 ตุลาคม 2562

รถไฟฟ้ามหานคร
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ประเภทรถไฟลอยฟ้าและรถไฟใต้ดิน
จำนวนสายเปิดให้บริการ 2
กำลังก่อสร้าง 4
โครงการ 1
จำนวนสถานี46
ผู้โดยสารต่อวัน287,000[1]
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
จำนวนขบวนรถไฟฟ้าซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร 19 ขบวน
รถไฟฟ้า เจเทรค ซัสติน่า 21 ขบวน
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง60.7 km (37.7 mi)
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
การจ่ายไฟฟ้ารางที่สาม
ความเร็วสูงสุด80 km/h (50 mph)

รถไฟฟ้ามหานคร (อังกฤษ: Metropolitan Rapid Transit, MRT) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ดำเนินการโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลนอกเหนือไปจากระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอื่น ได้แก่ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (รถไฟฟ้าบีทีเอส) ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในปี พ.ศ. 2562 รถไฟฟ้ามหานครได้นำรถแบบใหม่มาให้บริการ ซึ่งเป็นขบวนรถไฟฟ้าที่ประกอบและติดตั้งระบบที่โรงงานในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [2][3] โดยแสดงสถานะขบวนรถ (Dynamic Route Map) แบบ จอภาพผลึกเหลว (LCD-DRM) เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

รถไฟฟ้ามหานครที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบันได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และสายฉลองรัชธรรม

โครงการรถไฟฟ้ามหานครที่ดำเนินงานในปัจจุบัน

เส้นทาง เปิดให้บริการ สถานีปลายทาง ระยะทาง (กิโลเมตร) จำนวนสถานี
แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟรางหนัก)
2547 สถานีเตาปูน
(บางซื่อ)
สถานีหลักสอง
(บางแค)
37.1 km (23.1 mi) 30
แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟรางหนัก)
2559 สถานีคลองบางไผ่
(อ.บางบัวทอง)
สถานีเตาปูน
(บางซื่อ)
23.6 km (14.7 mi) 16
รวม 60.7 km (37.7 mi) 46
หมายเหตุ
  • นับสถานีเชื่อมต่อ (เตาปูน/ท่าพระ) เป็นสถานีเดียว

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นโครงการรถไฟฟ้าวงแหวนที่มีเส้นทางทั้งบนดิน และใต้ดิน ระยะทางรวมทั้งโครงการอยู่ที่ 55 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นของโครงการที่สถานีพุทธมณฑลสาย 4 ซึ่งเป็นสถานียกระดับในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร จากนั้นเข้าสู่เขตกรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรี และมาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีบางหว้า ก่อนจะมาเจอกับสถานีท่าพระ ซึ่งเป็นสถานีใหญ่รวมเส้นทางของสายเฉลิมรัชมงคลเข้าด้วยกัน หลังจากผ่านสถานีท่าพระ เส้นทางจะเปลี่ยนเป็นเส้นทางใต้ดินที่สถานีอิสรภาพ ก่อนจะวิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ความลึกกว่า 25 เมตร เพื่อเข้าสู่ฝั่งพระนคร รวมเส้นทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมส่วนต่อขยายเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ที่สถานีสามยอด และเข้าสู่สถานีหัวลำโพงซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนด้วย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส อีกครั้งที่สถานีสีลม และสถานีสุขุมวิท ก่อนจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนอีกครั้งที่สถานีเพชรบุรี รวมเส้นทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่สถานีลาดพร้าว และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท อีกครั้งที่สถานีพหลโยธิน และสถานีสวนจตุจักร ก่อนเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อเพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง หลังออกจากสถานีบางซื่อ เส้นทางจะเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้ายกระดับอีกครั้ง และรวมเส้นทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมส่วนเหนือที่สถานีเตาปูน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนบุรีอีกครั้งที่สถานีบางโพ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน และรวมเส้นทางกับสายสีส้มอีกครั้งที่สถานีบางขุนนนท์ ก่อนจะสิ้นสุดเส้นทางของทั้งโครงการที่สถานีท่าพระ จากนั้นรถไฟฟ้าจะตีรถกลับและวิ่งเส้นทางเดิม

จุดประสงค์ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามแผนแม่บทนั้น คือเป็นเส้นทางสำหรับใช้เดินทางระยะสั้น เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าอีกระบบหนึ่ง ซึ่งสายเฉลิมรัชมงคลเมื่อเปิดให้บริการทั้งโครงการ จะมีสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ทั้งหมด 15 สถานี ซึ่งถือว่ามากที่สุดในแผนแม่บท โดยปัจจุบันสายเฉลิมรัชมงคล เปิดให้บริการในเส้นทางท่าพระ-เตาปูน โดยเป็นเส้นทางยกระดับบริเวณสถานีท่าพระ จากนนั้นเปลี่ยนเป็นเส้นทางใต้ดินในช่วงอิสรภาพ-บางซื่อ และเปลี่ยนเป็นเส้นทางยกระดับอีกครั้งที่สถานีเตาปูน ให้บริการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และกำลังก่อสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติมจนถึงสถานีท่าพระ และสถานีหลักสอง ซึ่งมีกำหนดเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563 ตามลำดับ โดยโครงการฯ ได้เปิดให้บริการในช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ช่วงท่าพระ-บางหว้า ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ช่วงบางหว้า-หลักสอง ในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562 และจะเปิดให้บริการในช่วงเตาปูน-ท่าพระ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 และจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 อีกทั้งยังมีแผนขยายเส้นทางไปยังสถานีพุทธมณฑลสาย 4 ต่อในปี พ.ศ. 2566 อีกด้วย

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม

โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่มีเส้นทางในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ทิศใต้ของกรุงเทพฯ มีโครงสร้างทั้งบนดิน และใต้ดิน ระยะทางรวมทั้งโครงการอยู่ที่ 43 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นของโครงการจากชานเมืองที่ สถานีคลองบางไผ่ บนถนนกาญจนาภิเษก ในพื้นที่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี จากนั้นตีโค้งเข้าถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระนั่งเกล้า 3 ที่สถานีไทรม้า-สะพานพระนั่งเกล้า เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี จากนั้นเข้าสู่เขตกรุงเทพมหานครฝั่งพระนคร เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนที่สถานีบางซ่อน และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีเตาปูน จากนั้นเส้นทางของส่วนต่อขยายส่วนใต้จะลดระดับเป็นเส้นทางใต้ดินที่สถานีรัฐสภา ใกล้กับรัฐสภาแห่งใหม่ เส้นทางจะเข้าสู่เขตกรุงเก่า เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนอีกครั้งที่สถานีสามเสน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มส่วนตะวันตกที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และรวมเส้นทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลส่วนใต้อีกครั้งที่สถานีสามยอด ก่อนลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาในแนวขนานกับสะพานพระปกเกล้า เข้าสู่ฝั่งธนบุรีที่สถานีสะพานพุทธ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มที่สถานีวงเวียนใหญ่ จากนั้นเส้นทางจะเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้ายกระดับอีกครั้ง และสิ้นสุดทั้งโครงการที่สถานีครุใน บริเวณใต้สะพานกาญจนาภิเษก

จุดประสงค์ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมตามแผนแม่บทคือ เป็นเส้นทางสำหรับใช้เชื่อมต่อระหว่าง จ.นนทบุรี และ จ.สมุทรปราการ ให้เข้าสู่เขตใจกลางเมืองในกรุงเทพมหานครได้อย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันสายฉลองรัชธรรมเปิดให้บริการในเส้นทางคลองบางไผ่-เตาปูน โดยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการประมูลเพื่อก่อสร้างส่วนต่อขยายส่วนใต้ภายในปี พ.ศ. 2561

โครงการรถไฟฟ้ามหานครที่กำลังก่อสร้าง

เส้นทาง กำหนดเปิดให้บริการ สถานีปลายทาง ระยะทาง (กิโลเมตร) จำนวนสถานี
width=5 bgcolor=แม่แบบ:BTS color | แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟรางหนัก)
2562 - 2563 สถานีท่าพระ
(บางกอกใหญ่)
สถานีเตาปูน
(บางซื่อ)
ราว 12 km (7.5 mi) 7
bgcolor=แม่แบบ:BTS color | แม่แบบ:BTS Lines
(พหลโยธิน)
(รถไฟรางหนัก)
2562 - 2563 สถานีห้าแยกลาดพร้าว
(จตุจักร)
สถานีคูคต
(อ.ลำลูกกา)
19 km (12 mi) 16
แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟฟ้ารางเดี่ยว)
2564 สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
(อ.เมืองนนทบุรี)
สถานีมีนบุรี
(มีนบุรี)
34.5 km (21.4 mi) 30
แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟฟ้ารางเดี่ยว)
2564 สถานีลาดพร้าว
(จตุจักร)
สถานีสำโรง
(อ.เมืองสมุทรปราการ)
30 km (19 mi) 23
bgcolor=แม่แบบ:BTS color | แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟรางหนัก)
2566 สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
(ห้วยขวาง)
สถานีสุวินทวงศ์
(มีนบุรี)
23 km (14 mi) 17

รถไฟฟ้าสายสีเขียว

ประกอบไปด้วยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ (ย่านบางปิ้ง) ตามแนวถนนสุขุมวิทใน จ.สมุทรปราการ ระยะทาง 17 กิโลเมตร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต ระยะทาง 18 กิโลเมตร ทั้งหมดเป็นส่วนต่อขยายจากโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยรับผิดชอบโครงการนี้แทนกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2552 เนื่องจากเส้นทางในหลายจุดเหลื่อมล้ำไปยังเขตปริมณฑลซึ่งอยู่นอกเหนือพื้นที่เขตความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน โครงการช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2559 และกรุงเทพมหานครได้เปิดใช้งานเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และโครงการช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2562 และกรุงเทพมหานครได้เปิดใช้งานเฉพาะสถานีแรก (ห้าแยกลาดพร้าว) เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562

อย่างไรก็ตาม โครงการยังอยู่ในระหว่างการเจรจาเรื่องการชำระหนี้สินและการดำเนินการในอนาคต ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่ง คสช. ที่ 3/2562 เรื่องการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยให้กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งคณะ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อัยการสูงสุด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินและระบบรถไฟฟ้าตำแหน่งละ 1 คน เพื่อดำเนินการเจรจาในรายละเอียดหลักเกณฑ์การแบ่งผลประโยชน์จากค่าโดยสาร และหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยผลการเจรจาเบื้องต้นเป็นการขยายสัมปทานโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เป็นระยะเวลา 40 ปี โดยผู้รับสัมปทานจะต้องรับภาระค่าก่อสร้างทั้งหมดของโครงการแทน และกรุงเทพมหานครจะใช้คืนให้เป็นรายปี เช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีชมพู

เป็นโครงการระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยวช่วงแคราย-มีนบุรี ยกระดับบนถนนติวานนท์, แจ้งวัฒนะ และรามอินทรา ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร เป็นระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อระหว่างชานเมืองด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานครกับ จ.นนทบุรี และชานเมืองด้านทิศตะวันออกที่เขตมีนบุรี รวมทั้งเป็นระบบขนส่งมวลชนที่จะรองรับประชาชนที่จะมาติดต่อกับหน่วยงานราชการภายใน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ บนถนนแจ้งวัฒนะ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

เป็นโครงการระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยวช่วงลาดพร้าว- สำโรง ตามแนวถนนลาดพร้าว และศรีนครินทร์ ผ่านทางแยกพัฒนาการ, ทางแยกสวนหลวง, ทางแยกศรีอุดม, ทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม จนถึงทางแยกศรีเทพา จากนั้นจะเลี้ยวไปตามแนวถนนเทพารักษ์ สิ้นสุดเส้นทางบริเวณสถานีสำโรง โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ระยะทางรวมประมาณ 30.4 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม

เป็นโครงการรถไฟฟ้าช่วงมีนบุรี-บางขุนนนท์ ในแนวเส้นทางทิศตะวันออก-ตะวันตกของกรุงเทพมหานครจากเขตมีนบุรี บริเวณแยกถนนสุวินทวงศ์เข้าสู่ใจกลางเมือง ผ่าน บางกะปิ, ห้วยขวาง, ดินแดง, ราชปรารภ, ประตูน้ำ, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ไปยังโรงพยาบาลศิริราช สิ้นสุดเส้นทางที่บางขุนนนท์ เส้นทางเกือบทั้งหมดเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี ส่วนช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี พ.ศ. 2563 และสามารถเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2568[4]

โครงการรถไฟฟ้ามหานครในอนาคต

เส้นทาง กำหนดเปิดให้บริการ สถานีปลายทาง ระยะทาง (กิโลเมตร) จำนวนสถานี
แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟรางหนัก)
2565 สถานีหลักสอง
(บางแค)
สถานีพุทธมณฑล สาย 4
(อ.กระทุ่มแบน)
8 km (5.0 mi) 5
แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟฟ้ารางเดี่ยว)
2568 สถานีศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี
(อ.เมืองนนทบุรี)
สถานีสัมมากร
(บางกะปิ)
21 km (13 mi) 22
แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟรางหนัก)
2568 สถานีบางขุนนนท์
(บางกอกน้อย)
สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
(ห้วยขวาง)
13 km (8.1 mi) 13
แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟรางหนัก)
2568 สถานีเตาปูน
(บางซื่อ)
สถานีครุใน
(อ.พระประแดง)
20 km (12 mi) 16

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล

เป็นโครงการรถไฟฟ้าช่วงแคราย-เกษตร-รามคำแหง ยกระดับบนถนนติวานนท์, งามวงศ์วาน, ประเสริฐมนูกิจ และนวมินทร์ ระยะทาง 21 กิโลเมตร เป็นระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อระหว่างชานเมืองด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานครกับ จ.นนทบุรี และชานเมืองด้านทิศตะวันออกที่เขตมีนบุรี

สถิติผู้ใช้บริการ

สถิติผู้ใช้บริการ (ทุกเส้นทาง)[5]

ปี ยอดผู้โดยสารรวม ยอดผู้โดยสารเฉลี่ยรายวัน
2011 69,024,000 189,083
2012 80,575,000 220,167
2013 86,427,000 236,833
2014 92,403,000 253,417
2015 95,044,000 260,500
2016 100,106,000 273,583
2017 (มกรา - เมษา) 34,422,000 287,000

แผนที่

แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้ามหานครในอนาคต

ดูเพิ่ม

สมุดภาพ

อ้างอิง