ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซุนนี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ris24 (คุย | ส่วนร่วม)
สำนักหรือทัศนะเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา)
Ris24 (คุย | ส่วนร่วม)
สำนักหรือทัศนะเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา)
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 305: บรรทัด 305:
* '''มัซฮับชาฟิอีย์''' เป็นที่นิยมของพลเมืองมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เยเมน และอียิปต์ เป็นต้น
* '''มัซฮับชาฟิอีย์''' เป็นที่นิยมของพลเมืองมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เยเมน และอียิปต์ เป็นต้น
* '''มัซฮับฮัมบะลีย์'''  นั้นถือเป็นมัซฮับอย่างเป็นทางการในประเทศซาอุดิอาระเบียและมีผู้นิยมน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับมัซฮับอื่น ๆ
* '''มัซฮับฮัมบะลีย์'''  นั้นถือเป็นมัซฮับอย่างเป็นทางการในประเทศซาอุดิอาระเบียและมีผู้นิยมน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับมัซฮับอื่น ๆ
*4 สำนักคิด(มัซฮับ) 1. มัซฮับหะนะฟีย์ ผู้ให้กำเนิดสำนักคิดนี้ คืออิหม่ามอบูหะนีฟะฮฺ[9] ซึ่งท่านดำรงชีวิตอยู่ใน 2 ยุค สมัยของราชวงค์อุมะวียะฮฺและสมัยราชวงค์อับบาสียะฮฺ ในสมัยของราชวงค์อุมะวียะฮฺ เขาถูกเสนอให้ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาแห่งนครกูฟะฮฺ แต่เขาปฏิเสธที่จะรับข้อเสนอดังกล่าว อันเนื่องมาจากท่านไม่พอใจต่อการปกครองของราชวงค์นี้ ผลการปฏิเสธดังกล่าวทำให้เขาถูกลงโทษด้วยการเฆี่ยนตีด้วยแซ่วันละ 10 ครั้ง จนครบ 110 ครั้ง ถึงแม้ว่าอบู หะนีฟะฮฺถูกเฆี่ยนตี แต่เขาก็ยังปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งดังกล่าว จนกระทั่งในเวลาต่อมาได้รับการปล่อยตัว หลังจากนั้นไม่นาน อบู หะนีฟะฮฺ ถูกเสนอให้ท่านรับตำแหน่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบกองทุนทรัพย์สิน แต่เขาก็ปฏิเสธอีก และเขาเห็นว่าหากท่านดำรงชีวิตอยู่ในอิรักต่อไป คงไม่มีความปลอดภัย ก็เลยตัดสินใจอพยพไปสู่นครมักกะฮฺ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในอิรัก อำนาจการปกครองได้เปลี่ยนจากราชวงค์อุมะวียะฮฺเป็นราชวงค์อับบาสียะฮฺ คอลีฟะฮฺคนที่สองแห่งราชวงศ์นี้คือ อบู ญะฟัร อัล-มันซูร ได้ให้อบู หะนีฟะฮฺแสดงความเห็นต่อการปกครอง เขาจึงได้วิพากษ์วิจารณ์งานบริหารด้านต่าง ๆ การแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา จนสร้างความไม่พอใจแก่คอลีฟะฮฺอบู ญะฟัร อัล-มันศูร เป็นอย่างมาก ในที่สุดอบู ญะฟัร ก็ได้ใช้วิธีเดียวกันกับคอลีฟะฮฺในราชวงค์ก่อน โดยได้นําตัวอบู หะนีฟะฮฺจากนครกูฟะฮฺไปยังนครแบกแดดแล้วเสนอตำแหน่งผู้พิพากษาให้แต่เขา ปฏิเสธ ด้วยเหตุดังกล่าวอบู ญะฟัรได้สั่งให้ลงโทษอบู หะนีฟะฮฺด้วยการคุมขังท่านไว้โดยไม่มีกำหนด จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 767( ฮ . ศ . 150) มีอายุได้ 70 ปี กล่าวกันว่า เขาถูกวางยาพิษที่ละเล็กที่ละน้อยจนจบชีวิตในท้ายที่สุด อบู หะนีฟะฮฺเป็นปราชญ์ที่เคร่งครัด และเลือกปฏิบัติในสิ่งที่มีหลักฐานที่ชัดเจน เนื่องด้วยผู้ปกครองยุคนั้นต่างแสดงอำนาจบาตรใหญ่ แต่อบู หะนีฟะฮฺกลับปฏิบัติโดยไม่เกรงกลัวต่ออำนาจใด ๆ ทั้งสิ้น ความรู้และความเข้าใจในกฎหมายอิสลามของอบู หะนีฟะฮฺ ได้รับความนิยมมากจนก่อตัวเป็นสำนักกฎหมายอิสลามขึ้นมาภายหลัง เรียกว่า มัซฮับหะนะฟียฺ สำนักคิดนี้ได้วางหลักเกณฑ์การวินิฉัยกฎหมายอิสลามโดยการพิจารณาแหล่งที่มาดังนี้ 1.อัลกุรอ่าน 2.วัจนะศาสดา 3.มตินักปราชญ์ 4.การเทียบเคียง 5.อิสเตียะซาน ผู้สืบทอดสำนักคิดของท่านสำคัญๆได้แก่ อบูยูซุฟ ยะอ์กูบ บิน อิบรอฮีม, มุฮัมมัด บิน อัลหะสัน อัชชัยบานีย์, ซุฟัร บิน ฮุซัยน์ บิน ก๊อยส์และ อัลหะสัน บินซิยาด อัลลุลุอีย์ เป็นต้น ตำราอ้างอิงสำคัญในสำนักคิดนี้เช่น อัลครอจ และ อิคติลาฟ อบีหะนีฟะฮ์ วะ อิบนุ อบีลัยลา เขียนโดย อบูยูซุฟ ตำรา อัล รอด อลา อะหลีมาดีนะฮ์ เขียนโดยมุฮัมมัด บิน อัลหะสัน อัชชัยบานีย์ ตำรา อัลกาฟีย์ เขียนโดยอบู อัลฟัคล์ เป็นต้น 2. มัซฮับมาลิกีย์ ผู้ให้กำเนิดสำนักคิดนี้ อิหม่ามมาลิก[10] ท่านเริ่มการศึกษาด้วยการท่องจำอัลกุรอาน หลังจากนั้นก็เริ่มท่องจำหะดีษ ท่านได้ให้ความสำคัญกับหะดีษและวิชากฎหมายอิสลาม มาลิกได้ศึกษากับอาจารย์รวมทั้งสิ้น 900 คน อาจารย์ที่อิหม่ามมาลิกได้ศึกษาอยู่กับท่านนานที่สุดคือ อับดุร เราะหฺมาน อิบนฺ หุรมุก อัลอะอฺรอจ ซึ่งอิหม่ามาลิกใช้เวลาในการศึกษานานถึง 7 ปี มาลิกได้ใช้ชีวิตที่นครมาดีนะฮฺเป็นเวลานานพอสมควรและได้ทำการสอนหนังสือที่ นั้น ดังนั้นเขาจึงมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก และศิษย์ของมาลิกที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดก็คืออัลชาฟีอียฺ มาลิกได้รับถูกทรมานอย่างหนักในสมัยของคอลีฟะฮอบูญะฟัร อัล-มันซูรแห่งราชวงค์อับบาสียะฮฺ สาเหตุที่ท่านถูกทรมานนั้นมีหลายบันทึกด้วยกัน บันทึกหนึ่งรายงานรว่ามาลิกได้บันทึกหะดีษที่ว่า “ผู้ถูกบังคับนั้นไม่ทำให้การกล่าวหาอย่าร้างภรรยาของเขามีผล” แต่ อบู ญะอฺฟัรอัลมันศูรไม่ต้องการให้หะดีษนั้นถูกบันทึกไว้เนื่องจากเกรงว่า ประชาชนจะไม่ให้การสนับสนุนคอลีฟะฮฺ หากประชาชนได้รับหะดีษบทนี้ เพราะหะดีษดังกล่าวจะเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้ในการอ้างอิงอาจจะทำให้คอลีฟะฮมีผู้สนับสนุนน้อยลง มาลิกเป็นปราชญ์ที่ตรงไปตรงมา เขาไม่ยินยอมและยืนยันที่จะให้หะดีษนี้ถูกบันทึกไว้ ทำให้คอลีฟะฮฺไม่พอใจจึงต้องตัดสินลงโทษเขา ด้วยการเฆี่ยนตี มาลิกเสียชีวิตเมื่อปีค.ศ. 796 (ฮ.ศ .179) มีอายุได้ 83 ปี หลังการจากไปของเขาได้มีผู้สืบทอดสำนักคิดด้านกฎหมายที่เขาได้วางรากฐานไว้ จนก่อตัวเป็นสำนักใหญ่เรียกว่า มัซฮับ มาลิกีย์ สำนักคิดนี้ได้วางหลักเกณฑ์การวินิฉัยกฎหมายอิสลามโดยการพิจารณาแหล่งที่มาดังนี้ 1.อัลกุรอ่าน 2.วัจนะศาสดา 3.มตินักปราชญ์ 4.การเทียบเคียง 5.ข้อปฎิบัติชาวมดีนะห์ ผู้สืบทอดสำนักคิดของท่านสำคัญๆได้แก่ อับดุรรอมาน บิน อัลกอเส็ม อัลอะตีกีย์, อับดุลลอฮฺ บินวาฮับ บินมุสลิม , อัชฮับ บินอับดุลอาซิซ, อับดุลลอฮฺ บินอัลหะกัม และ มุฮัมมัด บินอับดุลลอฮฺ บินอัลหะกัม เป็นต้น ตำราอ้างอิงสำคัญๆในสำนักคิดนี้ได้แก่ อัลมุเดาวินะฮ์ อัลกุบรอ ของอิหม่ามมาลิก อัลมุนตะกอ ชัรฮ์ อัลมุวัฎเฎาะ โดยอิหม่ามอัลบาญี ชาวสเปน อัลมุก๊อดดีมาต โดยอิบนุรุชดี อัลกุรตูบีย์ บิดายะห์ อัลมุจตาฮิด ดดยอิหม่ามอิบนุรุชดี อัลฮาฟีด เป็นต้น 3. มัซฮับชาฟิอีย์ ผู้ให้กำเนิดสำนักคิดนี้ คืออิหม่ามชาฟิอีย์ ท่านเกิดในครอบครัวที่มีฐานะยากจนแต่ท่านเป็นคนที่มีความมั่นใจสูงมากถึง แม้จะเติบโตในครอบครัวที่ยากจน ท่านต้องเป็นกำพร้านับตั้งแต่วัยเยาว์ เขาจึงได้เติบโตขึ้นท่ามกลางความแร้นแค้นแม้แต่ในวัยศึกษา เขาเป็นผู้มีความสามารถและมีมันสมองที่ดีเฉลียวฉลาด เขาสามารถท่องจำอัลกุรอ่านตั้งแต่อายุยังน้อย นอกจากนี้ยังได้ท่องจำหะดีษและจดบันทึกหะดีษไว้เป็นจำนวนมาก และมีความชำนาญด้านภาษาอาหรับ ต่อ มาก็มีผู้ชักชวนท่านให้ไปศึกษาวิชาการอิสลามโดยเฉพาะอย่างยิ่งทาง ด้านกฎหมายอิสลาม ท่านจึงได้เริ่มศึกษาด้านนี้ที่นครมักกะฮจนได้รับความรู้อย่างมากมาย จนกระทั่งมุสลิม อิบนฺ คอลิด มุฟตียฺ(ผู้พิพากษา)แห่งนครมักกะฮได้อนุญาตให้ท่านออกฟัตวา(ข้อชี้ขาดทางศาสนา)ได้แต่ท่านยังไม่พอใจในความรู้ของท่าน เขาจึงได้พยายามมุ่งมั่น ในการศึกษาค้นคว้าต่อไป และเขาได้เดินทางไปศึกษาจากอิหม่ามมาลิกที่นครมะดีนะฮฺ จนกระทั่งอิหม่ามมาลิกเสียชีวิตไป นอกจากนี้เขายังได้ศึกษาจากครูอาจารย์อีกจำนวนมาก ท่านมีลูกศิษย์มากมาย ศิษย์คนสำคัญของท่านที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ อิหม่ามอะหฺมัด อิบนฺ หันบัล ท่านสิ้นชีวิตในปี ค.ศ. 820 (ฮ.ศ . 204 ) รวมอายุได้ 54 ปี แนวคิดด้านกฎหมายอิสลามของท่านมีผู้ดำเนินตามเป็นจำนวนมาก จนก่อตัวเป็นสำนักกฎหมายสำคัญ เรียกว่า มัซฮับ ชาฟิอีย์ สำนักคิดนี้ได้วางหลักเกณฑ์การวินิฉัยกฎหมายอิสลามโดยการพิจารณาแหล่งที่มาดังนี้ 1.อัลกุรอ่าน 2.วัจนะศาสดา 3.มตินักปราชญ์ 4.การเทียบเคียง ผู้สืบทอดสำนักคิดของท่านสำคัญๆได้แก่ ยูซุฟ บิน ยะหยา อัลบุวัยตีย์, อิสมาอีล บิน ยะหหยา อัลมุซะนีย์ และ อัรรอเบียะ บินสุไลหมาน อัลมุรอดีย์ชฮับ เป็นต้น ตำราอ้างอิงสำคัญๆในสำนักคิดนี้นอกจาก อัลอุม และอัรริซาละห์ของอิหม่ามชาฟิอีย์ได้แก่ อัลมุฮัซซับ ของอิหม่ามอัชไชรอซีย์ มุฆนีย์ อัลมุหตาจ ของอัชชัรบีนีย์ อัลคอเตบ หนังสือ นีฮายาตุลมุหตาจ ของชัยค์รอมลี เป็นต้น 4. มัซฮับฮัมบาลีย์ ผู้ให้กำเนิดสำนักคิดนี้อิหม่ามชาฟิอีย์อิหม่าม อะหฺมัด อิบนุฮัมบัล[12] ท่าน เกิดในกรุงแบกแดด ในวันที่ 20 เดือนเราะบิอุล เอาวัล ฮ.ศ. 164 (ธันวาคม ค.ศ. 780) ชีวิตของท่าน ได้เติบโตขึ้นในแวดวงวิชาการ โดยท่องจำอัลกุรอานได้ทั้งเล่มตั้งแต่เยาว์วัย และศึกษากฎหมายอิสลาม หะดีษ และไวยากรณ์อาหรับในนครแบกแดด จากนั้นเข้าร่วมกลุ่มศึกษาของอบู ยูสุฟ สหายคนสำคัญของอบู หะนีฟะฮฺ ตั้งแต่อายุ 15 ปี เป็นต้นมา เขาได้อุทิศตัวให้กับการศึกษาหะดีษ ทำให้เขาต้องออกเดินทางไปยังเมืองต่าง ๆ ไม่ว่าอิหร่าน คอรอซาน หิญาซ เยเมน ซีเรีย อิรัก และแม้แต่มัฆริบ(โมร็อคโคปัจจุบัน) เพื่อเสาะหาความถูกต้องของหะดีษ และท่านยังได้ไปทำฮัจญ์ที่มักกะฮฺ 5 ครั้งด้วยกัน อาจารย์ของท่าน ที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ อิหม่ามชาฟิอีย์ ซึ่งท่านได้ศึกษากับอิหม่ามซาฟีอีเป็นครั้งแรกที่นครมักกะฮฺ เมื่ออิบนฺ ฮัมบัล ไปบำเพ็ญฮัจญ์ที่นั้นซึ่งในขณะนั้นอิหม่ามซาฟีอีกำลังสอนอยู่ในมัสยิดฮะรอม และท่าน ยังได้ไปศึกษากับอิบรอฮีม อิบนฺ ซะอด์ ยะฮยา อัลก็อฏฏอน บทบาทสำคัญอันโดดเด่นของท่าน คือการยืนหยัดเพื่อสัจธรรมและการฟื้นฟูอิสลาม การยืนหยัดของท่านนำไปสู่การถูกทดสอบอย่างมากมาย โดยเฉพาะเมื่อท่านขัดแย้งกับเคาะลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ ตั้งแต่สมัยของเคาะลีฟะฮฺมะมูนจนถึงสมัยเคาะลีฟะฮฺอัลวาษิก ท่านเป็นปราชญ์ผู้นำด้านกฎหมายอิสลามคนสำคัญอีกคนหนึ่ง สำหรับแนวกฎหมายอิสลามของท่านมีผู้ปฏิบัติตามน้อยกว่าสามสำนักใหญ่ แต่ก็มีผู้ปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่องมาตลอดประวัติศาสตร์ เรียกสำนักนิติศาสตร์ของเขาว่า มัซฮับ ฮัมบะลีย์ สำนักคิดนี้ได้วางหลักเกณฑ์การวินิฉัยกฎหมายอิสลามโดยการพิจารณา 5 แหล่งที่มาดังนี้คือ 1.นัศศ์ หมายถึงตัวบทของอัลกุรอ่านและวัจนะศาสดา 2.ฟัตวาของศอฮาบะฮ์ หมายถึงคำวินิจฉัยที่เกิดจากสหายของท่านศาสดา 3. หากศอฮาบะฮ์มีหลายทัศนะต่อปัญหาเดียว ท่านก็จะเลือกทัศนะที่ใกล้เคียงกับนัศศ์มากที่สุด 4. หะดิษมุรสัล หมายถึงวัจนะศาสดาที่ผู้รายงานมิใช่สหายของศาสดากล่าวคือ ผู้ที่อ้างว่าเป็นคำพูดของศาสดา แต่บุคคลผู้อ้างไม่ได้เป็นคนที่เห็นท่านศาสดานั้นเอง


<br />
<br />

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:15, 19 ตุลาคม 2562

ซุนนี (อาหรับ: سُنِّي) คือนิกายในศาสนาอิสลาม มีชื่อเต็มในภาษาอาหรับว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วะอัลญะมาอะฮ์ (อาหรับ: أهل السنة والجماعة, นิยมอ่านว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์) เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดในอิสลาม แบ่งเป็นสำนักหรือมัซฮับย่อย ๆ ออกเป็นหลายมัซฮับ แต่ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 4 มัซฮับ นอกจากนี้ยังมีมัซฮับมุสลิมซุนนีที่ไม่ยึดถือมัซฮับ เรียกตนเองว่า พวกซะละฟี

ที่มาของคำ

คำว่า ซุนนี มาจาก อัสซุนนะฮ์ (السنة) แปลว่า คำพูดและการกระทำหรือแบบอย่างของศาสดามุฮัมมัด (ศ) คำว่า "ญะมาอะฮ์" คือ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ผู้ที่บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมาคือ อะฮ์มัด บินฮันบัล (ฮ.ศ. 164-241 / ค.ศ. 780-855)

คำว่า อัสซุนนะฮ์ เป็นคำที่นบีมุฮัมมัดมักจะใช้บ่อยครั้งในคำสั่งสอนของท่าน เช่น ในฮะดีษศอฮีฮ์ฟิกฮ์ที่บันทึกโดยอิมามอะฮ์มัด, อัตติรมีซี, อะบูดาวูด และอิบนุมาญะฮ์ ซึ่งท่านนบีได้กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลายจงยึดมั่นใน "แนวทางของฉัน" (سُنَّتِي) และแนวทางของผู้นำที่อยู่ในแนวทางอันเที่ยงธรรมของฉัน (อัลคุละฟาอ์อัรรอชิดูน) ที่จะมาหลังฉัน จงเคร่งครัดในการยึดมั่นบนแนวทางนั้น จงกัดมันด้วยฟันกราม (คืออย่าละทิ้งเป็นอันขาด) และจงหลีกให้พ้นจากอุตริกรรมในกิจการของศาสนา เพราะทุกอุตริกรรมในกิจการศาสนานั้นเป็นการหลงผิด” [1]

อะฮ์ลุสซุนนะฮ์ วะ อัลญะมาอะฮ์ (أَهْلُ السُّنَّةِ وَالْجَمَاعَةِ) ก็คือ ผู้ที่ยึดมั่นในซุนนะฮ์ (แนวทางของท่านนบีมุฮัมมัด) และยึดมั่นในสิ่งที่บรรดากลุ่มชนมุสลิมรุ่นแรกยึดมั่น (บุคคลเหล่านั้นคือบรรดาศ่อฮาบะหฟิกฮ์และบรรดาตาบิอีน) และพวกเขารวมตัวกัน (เป็นญะมาอะฮ์) บนพื้นฐานของซุนนะฮ์ ซึ่งชนกลุ่มนี้อัลลอฮ์ได้กล่าวถึงความประเสริฐของพวกเขาไว้ว่า บรรดาบรรพชนรุ่นแรกในหมู่ผู้อพยพ (ชาวมุฮาญิรีนจากนครมักกะฮ์) และในหมู่ผู้ให้ความช่วยเหลือ (ชาวอันศอรจากนครมะดีนะฮ์) และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น อัลลอฮ์ทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งสวนสวรรค์อันหลากหลายที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านเบื้องล่าง พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง (ซูเราะหฟิกฮ์อัตเตาบะหฟิกฮ์ : 100) [2]

ประวัติ

อะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺมีอะกีดะฮฺว่าอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงมี และพระองค์ทรงมีซาตฺอันสูงส่งและบริสุทธิ์จากข้อบกพร่องทั้งปวง ซาตฺของพระองค์ไม่เหมือนสิ่งใดและไม่มีสิ่งใดเหมือน และพระองค์ทรงมีบรรดาคุณลักษณะอันสูงส่งและบริสุทธิ์จากข้อบกพร่องทั้งปวง บรรดาคุณลักษณะของพระองค์ (อัศ-ศิฟาต) ไม่เหมือนสิ่งใด และไม่มีสิ่งใดเหมือน ไม่มีผู้ใดรู้ถึงหะกีเกาะฮฺ (สภาวะอันเป็นจริง) แห่งซาตฺและบรรดาคุณลักษณะของพระองค์ว่าเป็นอย่างไร?

ผู้ใดกล่าวอ้างว่าพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงมีซาตฺและบรรดาคุณลักษณะเหมือนหรือคล้ายหรือเทียบได้ได้บรรดาสิ่งที่ถูกสร้าง ผู้นั้นไม่ใช่อะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ แต่เรียกผู้นั้นว่าพวก “มุชับบิฮะฮฺ” และผู้ใดกล่าวอ้างว่าพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงมีซาตฺเป็นเรือนร่าง เป็นวัตถุ เป็นสสาร มีบรรดาอวัยวะและโครงสร้างตลอดจนมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับเรือนร่างของบรรดาสิ่งที่ถูกสร้าง ผู้นั้นไม่ใช่อะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ แต่เรียกผู้นั้นว่า “มุญัสสิมะฮฺ” และชนทั้งสองกลุ่มนี้เป็นพวกอุตริชนและหลงผิด

และอุตริกรรม (บิดอะฮฺ) ของกลุ่มดังกล่าวถือเป็นอุตริกรรมที่ทำให้ตกศาสนา (บิดอะฮฺมุกัฟฟิเราะฮฺ) ไม่อนุญาตให้อะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺละหมาดตามหลังกลุ่มชนดังกล่าว และการละหมาดตามหลังพวกเขาใช้ไม่ได้

ดังน้ัน ผู้ใดกล่าวหาว่าพวกวะฮฺฮาบียฺเป็นพวกมุญัสสิมะฮฺ หรือ มุชับบิฮะฮฺ หรือมีความเชื่อเช่นเดียวกับพวกยะฮูดียฺ ในส่วนสาระสำคัญที่ขัดกับหลักความเชื่อในศาสนาอิสลามที่เด็ดขาดชัดเจนด้วยตัวบทจากอัล-กุรอานและสุนนะฮฺ การละหมาดตามหลังพวกวะฮฺฮาบียฺของบุคคลผู้นั้นย่อมใช้ไม่ได้ เพราะหากพวกวะฮฺฮาบียฺมีความเชื่อเช่นนั้นจริงตามคำกล่าวหาของผู้นั้น ย่อมแสดงว่าพวกวะฮฺฮาบีมิใช่มุสลิม ผลที่ตามมาก็คือการละหมาด 5 เวลาของผู้ที่กล่าวหาและการละหมาดวันศุกร์รวมถึงวันอีดทั้งสองของผู้ที่กล่าวหาตามหลังอิมามมัสญิดอัล-หะรอมทั้งสองซึ่งเป็นวะฮฺฮาบียฺใช้ไม่ได้โดยสิ้นเชิง

การไปเยี่ยม (ซิยาเราะฮฺ) สุสานของคนศอลิหฺหรือโต๊ะวะลียฺและการขอดุอาอฺต่อพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่สุสานหรือมะก็อมของโต๊ะวะลียฺนั้นเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ตาม ศาสนบัญญัติ ในตำราสิยัรฺ อะอฺลาม อัน-นุบะลาอฺของอิมามอัซ-ซะฮฺบียฺ (ร.ฮ.) เล่มที่ 17 หน้า 755 ระบุว่า : และการขอดุอาอฺนั้นเป็นสิ่งที่ถูกตอบรับ (มุสตะญาบ) ณ ที่สุสานของบรรดานบีและบรรดาวะลียฺ และในสถานที่อื่นๆ ทั่วไป

แต่สาเหตุของการตอบรับดุอาอฺนั้นคือการมาปรากฏตัวของผู้ขอดุอาอฺ การมีความนอบน้อม และมีการมุ่งมั่นในการวิงวอนขอ และไม่ต้องสงสัยว่าในสถานที่ที่มีความจำเริญ ในมัสญิด และในช่วงเวลาดึกสงัดก่อนรุ่งสาง และที่คล้ายๆ กันนั้น สิ่งดังกล่าวจะเกิดขึ้นแก่ผู้ขอดุอาอฺโดยส่วนใหญ่ และผู้ที่มีความคับขันทุกคน การดุอาอฺของผู้นั้นจะถูกตอบรับ

และชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ (ร.ฮ.) ระบุไว้ในตำราอิกติฎออฺ อัศ-ศิรอฎิล มุสตะกีม 2/689-691 ว่า “มีนักวิชาการและผู้มีความประเสริฐหลายกลุ่มจากชนรุ่นก่อนและชนรุ่นหลังพวกเขาเลือกที่จะทำการขอดุอาอฺที่สุสาน”

และในริสาละฮฺ อัร-ร็อด อะลา อัล-อัคนาอียฺ หน้า 115 ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า “และผู้ศรัทธานั้นเขาอาจจะเลือกการละหมาดหรือการขอดุอาฮฺในสถานที่หนึ่งโดยไม่เลือกอีกสถานที่หนึ่งเพื่อให้หัวใจของเขารวมเป็นหนึ่งในสถานที่นั้นและเกิดความสอบและความนอบน้อม มิใช่เป็นเพราะว่าเขาเชื่อว่าผู้วางบัญญัติศาสนา (ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ถือว่าสถานที่นั้นประเสริฐกว่า เช่น การละหมาดของคนที่อยู่ภายในบ้านของเขาและที่คล้ายกันนั้น ดังนั้น สิ่งที่เหมือนกับเรื่องทำนองนี้เมือ่ไม่เป็นการขอในสิ่งที่ต้องห้ามก็ย่อมไม่เป็นอะไร”

     ดังนั้น การขอดุอาอฺที่สุสานของคนศอลิหฺหรือโต๊ะวะลียฺจึงเป็นสิ่งที่กระทำได้ และมีตัวบทกว้างๆ ส่งเสริมให้ทำการซิยาเราะฮฺและขอดุอาอฺที่สุสานอีกด้วย แต่การขอดุอาอฺที่ว่านี้จะต้องเป็นการขอต่อพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) โดยตรง เพียงแต่ผู้ขออาศัยสถานที่ตรงนั้นเป็นสื่อในการตอบรับดุอาอฺเท่านั้น มิใช่ขอต่อผู้เสียชีวิตในสุสานหรือโต๊ะวะลียฺผู้นั้น เพราะการขอดุอาอฺเป็น    อิบาดะฮฺ และการขอความช่วยเหลือ (อิสติอานะฮฺ / อิสติฆอษะฮฺ) ก็เป็นอิบาดะฮฺที่จำเป็นจะต้องมอบหมายและมุ่งตรงสู่พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ดังปรากฏในสูเราะอัล-ฟาติหะฮฺที่ว่า إياك نَعْبُدُ وإياك نستعين

ดังนั้น หากบุคคลมุ่งการขอดุอาอฺหรือการขอความช่วยเหลือโดยตรงไปยังโต๊ะวะลียฺ และเชื่อว่าโต๊ะวะลียฺสามารถให้คุณให้โทษได้ด้วยอำนาจหรือบารมีของโต๊ะวะลียฺเอง กรณีนี้ก็เข้าข่ายเป็นชิรฺก์ใหญ่ (ชิรฺก์ อักบัรฺ) ซึ่งทำให้ตกศาสนา (มุรตัด) ได้ วัลอิยาซุบิลลาฮฺ ส่วนการมีรูปโต๊ะวะลียฺเอาไว้ในบ้านนั้นก็ต้องดูที่เจตนาว่ามีไว้เพื่อสิ่งใด

การกำหนดให้มุสลิมได้รู้จักคุณลักษณะ (ศิฟะฮฺ) ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) โดยอาศัยแนวทางที่นักวิชาการฝ่ายอุศูลลุดดีน วางเอาไว้เป็นหลักพื้นฐาน เช่น การเรียนรู้และทำความเข้าใจกับศิฟาตฺ 20 ประการนั้นถือเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การรู้จักพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) และการศรัทธาที่มั่นคงต่อพระองค์

เพราะหลักพื้นฐานของศิฟาตฺหลัก เช่น อัล-วุญูด , อัล-กิดัม , อัล-บะกออฺ มุคอละฟะตุฮู ลิลหะวาดิษ , อัล-กิยาม บินนัฟสฺ , อัล-หะยาตฺ อัล-อิล์ม์ , อัส-สัมอฺ , อัล-บะศ็อร , อัล-กะลาม , อัล-อิรอดะฮฺ และอัล-กุดเราะฮฺ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่มีที่มาจากอัล-กุรอานและอัล-หะดีษ ตลอดจนการอาศัยหลักฐานทางสติปัญญา (ดะลัล อักลียฺ) ซึ่งไม่ขัดด้วยหลักฐานจากตัวบท (ดะลีล นักลียฺ) โดยนักวิชาการฝ่ายอุศูลุดดีนได้กำหนดวางเอาไว้เป็นหลักมูลฐานเพื่อมุ่งสู่การรุ้จักอัลลอฮฺ (ซ.บ.)

อะกีดะฮฺของกลุ่มอะชาอิเราะฮฺเหมือนกับอะกีดะฮฺของอิหม่าม อัซ-ซาฟิอียฺ (ร.ฮ.) หรือไม่?  เพราะกลุ่มอะชาอิเราะฮฺมาทีหลัง  และส่วนหนึ่งเป็นผู้สังกัด มัซฮับอัซ-ซาฟิอียฺ  

ส่วนถ้าถามในเชิง ตัชบีฮฺ อะกีดะฮฺกลุ่มอะชาอิเราะฮฺคือ มุชับบะฮฺ  อะกีดะฮฺของอิหม่ามอัซ-ซาฟิอียฺคือ มุชับบะฮฺบิฮฺ  และ วัจญ์ฮุช-ชะบะฮฺ  จะมีลักษณะที่เด่นชัดและแข็งแรงในมุชับบะฮฺบิฮฺมากกว่า  

จึงสรุปได้ว่าอะกีดะฮฺของ อิหม่ามอัซ-ซาฟิอียฺ เป็นอะกีดะฮฺตามแนวทางอะหฺลิสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺของผู้คนในยุคสลัฟศอลิหฺ  รุ่นตาบิอีนและตาบิอิตตาบิอีน อะกีดะฮฺของกลุ่มอะชาอิเราะฮฺซึ่เป็นผู้คนในยุคเคาะลัฟส่วนใหญ่ก็คล้ายคลึงหรือเหมือนกับอะกีดะฮฺของชาวสะลัฟศอลิหฺโดยรวม  ส่วนในข้อปลีกย่อยและบางเรื่องอาจจะมีรายละเอียดที่ต่างกันไป  มากบ้างน้อยบ้างจะว่าเหมือนกับอะกีดะฮฺของอิหม่าม อัซ-ซาฟิอียฺทั้งหมดก็คงไม่ใช่  จะว่าไม่เหมือนเลยก็คงไม่ใช่อีกเช่นกัน  ซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะแม้แต่กลุ่มอะชาอิเราะฮฺก็ใช่ว่าจะมีรายละเอียดข้อปลีกย่อยทางอะกีดะฮฺเหมือนกับฝ่ายมาตุรีดียะฮฺไปเสียทุกเรื่อง  ทั้งๆ ที่อยู่ร่วมสมัยกัน

แนวทางของการศึกษาศิฟาตฺ 20 ประการจึงเป็นเสมือนหลักสูตรแบบหนึ่งในภาควิชาอุศูลุดดีนที่มีรายละเอียดและเนื้อหาเกี่ยวกับศิฟาตฺของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) โดยเฉพาะ

การมีความเห็นที่ต่างออกไปจากแนวทางของสิ่งที่เป็นเสมือนหลักสูตรนี้ในเชิงของข้อปลีกย่อยย่อมเป็นสิ่งที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ แต่ถ้าจะปฏิเสธโยสิ้นเชิงและกล่าวหาว่า ศิฟาตฺ 20 ประการทั้งหมดเป็นความผิดพลาดและเป็นความล้มเหลวในเรื่องการศรัทธาต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) กรณีนี้มิอาจยอมรับได้

เพราะถึงแม้ว่านักวิชาการอาจจะมีความเห็นต่างในส่วนของศิฟาตฺบางหมวดจากศิฟาตฺ 20 ประการนั้น แต่ในหมวดของศิฟาตฺพื้นฐาน เช่น อัล-หะยาต อัล-อิลฺม์ , อัล-อิรอดะฮฺ , อัล-กุดเราะฮฺ , อัล-บะกออฺ , อัล-กิยามบินนัฟสิ , อัส-สัมฺอ์ , อัล-บะศ็อรฺ , อัล-มุคอละฟะฮฺ ลิลหะวาดิษ และอัล-กะลาม เป็นต้น ศิฟาตฺเหล่านี้ไม่สามารถปฏิเสธได้เลย แล้วจะว่าเป็นความล้มเหลวได้อย่างไร?

ผู้ใดกล่าวหาในทำนองปฏิเสธว่าการเรียนรู้ศิฟาตฺ 20 ประการ เป็นการทำให้เสียอิหม่าน หรือทำให้อิหม่านของผู้ที่ศึกษาตามแนวทางที่เป็นเสมือนหลักสูตรดังกล่าวประสบความล้มเหลวและหลงผิด ผู้นั้นต้องไปตอบต่อหน้าพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ในวัน กิยามะฮฺเช่นกัน

หากมีเจตนาให้เกียรติและยกย่องความสำคัญถึงขั้นบูชาก็เป็นสิ่งต้องห้ามและหมิ่นเหม่ต่อการชิริก แต่ถ้าไม่มีเจตนาเช่นนั้น เช่นมีไว้เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่เขาเป็นคนรักของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) และเราจะปฏิบัติตามในสิ่งที่เป็นคุณงามความดีนั้นเพื่อเราจะได้เป็นคนรักของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เช่นกัน ก็ไม่เป็นอะไร ส่วนว่าควรหรือไม่ควรก็เป็นประเด็นของรูปภาพที่นักวิชาการมีความเห็นต่างกัน

เพราะการละหมาดตามหลังพวกมุญัสสิมะฮฺ ซึ่งเป็นอุตริชนที่ตกศาสนา มิใช่เป็นเพียงมักรูฮฺเท่านั้น เพราะนั่นเป็นข้อกล่าวหาที่มิใช่ประเภทของอุตริกรรมที่ไม่ทำให้ตกศาสนา (บิดอะฮฺ ฆ็อยรฺ มุกัฟฟิเราะฮฺ) หากแต่เป็นข้อกล่าวหาที่ตักฟีรพวกวะฮฺฮาบียฺว่ากลายเป็นผู้ตกศาสนาไปแล้ว ผลที่ตามมาในเรื่องนี้ยังรวมถึงการประกอบพิธิหัจญ์และอุมเราะฮฺ การพิทักษ์รักษาดินแดนต้องห้าม การเดินทางไปศึกษาในมหาวิทยาลัยที่นั่น ซึ่งเป็นของพวกวะฮฺฮาบียฺ และ ฯลฯ

ดังนั้น ผู้ใดตัดสินว่าพวกวะฮฺฮาบียฺเป็นกาฟิรฺ มุรฺตัด (วัล-อิยาซุบิลลาฮฺ) ก็ต้องพิจารณาถึงผลพวงดังกล่าวให้จงหนัก การไม่เห็นด้วยกับอะกีดะฮฺหรือทัศนะของวะฮฺฮาบียฺจึงเป็นเรื่องหนึ่ง และการตัดสินด้วยข้อกล่าวหาว่าพวกวะฮฺฮาบียฺเป็นมุญัสสิมะฮฺซึ่งเป็นกาฟิรฺมุรตัดจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เหตุนี้คนที่เรียนมักกะฮฺนานนับสิบปี และคนที่เรียนในมหาวิทยาลัยมะดีนะฮฺ, อุมมุลกุรอ และริยาฎ ต้องเป็นผู้ตอบว่าพวกวะฮาบียฺเป็นมุญัสสิมะฮฺจริงหรือไม่? ส่วนผมไม่ขอตัดสินว่าพวกเขาเป็นเช่นนั้น เพราะการตักฟีรฺเป็นเรื่องใหญ่ที่ผมไม่บังอาจ ส่วนใครตักฟีรฺก็ต้องรับผิดชอบโดยเฉพาะคนที่เคยอยู่เคยเรียนอยู่ที่นั่น

อะฮฺลุลฟัตเราะฮฺ (أَهْلُ الْفَتْرَةِ) หมายถึงกลุ่มชนที่มีชีวิตอยู่และเสียชีวิตลงในช่วงเวลาที่ปลอดจากการส่งนบีหรือรสูลลงมาประกาศศาสนาหรือเป็นช่วงเวลาที่อยู่ระหว่างรสูลท่านหนึ่งกับอีกท่านหนึ่ง และไม่มีหลักฐานที่กำหนดช่วงเวลาระหว่างรสุล 2 ท่าน ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานในอัล-กุรอานและสุนนะฮฺ (อะหฺสะนุลกะลาม ฟิลฟะตาวา วัล-อะหฺกาม  ชัยคฺ อะฏียะฮฺ ศอกร์ เล่มที่ 3 ภาคที่ 16 หน้า 82)

นักประวัติศาสตร์บางท่านได้พยายามกำหนดช่วงเวลาที่ปลอดหรือเว้นว่าง (อัล-ฟัตเราะฮฺ) ระหว่างบรรดารสูลด้วยกัน เช่น มุฮัมมัด อิบนุ สะอฺด์ ในตำราอัฏ-เฏาะบะกอตของท่านได้ระบุรายงานจากท่านอิบนุ อับบาส (ร.ฎ.) ว่า : ปรากกว่าระหว่างมูซา อิบนุ อิมรอน (อ.ล.) และอีซา อิบนุ มัรยัม (อ.ล.) คือ 1,700 ปี โดยไม่ปรากฏว่าระหว่างนบีทั้งสองท่านมีปลอดหรือว่างเว้นจากการส่งนบีมาแต่อย่างใด เพราะระหว่างนบีทั้งสองนั้นมีบรรดานบีของพงษ์พัยธุ์อิสรออีลถูกส่งมาจำนวน 1,000 ท่าน นอกเหนือจากรสูลที่ถูกส่งมาจากชนกลุ่มอื่นที่มิใช่พงษ์พันธุ์อิสรออีล

และปรากฏว่าระหว่างการถือกำเนิดของอีซา (อ.ล.) และนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) นั้นคือ 509 ปี  โดยมีนบี  3 ท่านถูกส่งมาในช่วงต้นของระยะเวลานัน ดังปรากฏในสูเราะฮฺยาสีน อายะฮฺที่  14 และปรากฏว่าช่วงปลอดหรือว่างเว้นที่ไม่มีรสูลท่านใดถูกส่งมาในช่วงเวลานั้นคือ 434  ปี

อัล-กัลบียฺระบุว่า แท้จริงระหว่างอีซา (อ.ล.) และมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) คือ 569 ปี  และระหว่างนบีทั้งสองนั้นมีนบี 4 ท่าน ท่านหนึ่งเป็นชาวอาหรับจากชนเผ่าบะนูอับส์ คือ คอลิด อิบนุ สินาน อัล-กุชัยรียฺกล่าวว่า : และในเรื่องในทำนองนี้จะรู้ไม่ได้นอกเสียจากด้วยการบอกเล่าที่สัจจริง

และเกาะตาดะฮฺกล่าวว่า : ปรากฏว่าระหว่างอีซา (อ.ล.) และมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) นั้นคือ 600 ปี มุกอติล , อัฏ-เฏาะหาก และวะฮ์บฺ อิบนุ มุนับบิฮฺ ก็กล่าวตามนี้ เว้นเสียแต่ว่าวะฮ์บฺได้เพิ่มอีก  (คือ 620 ปี) และจากอัฏ-เฏาะหากระบุว่า 430  ปีเศษอีกเช่นกัน

และอิบนุ สะอฺด์ระบุจากอิกริมะฮฺว่า : ระหว่างอาดัม (อ.ล.) และนัวหฺ (อ.ล.) 10 ศตวรรษทั้งหมดอยู่บนศาสนาอิสลาม อิบนุ สะอฺด์กล่าวว่า : มุอัมมัด อิบนุ อัมร์ อิบนิ วากิด อัล-อัสละมียฺได้บอกให้เราทราบจากหลายคนว่า : ระหว่างอาดัม (อ.ล.) และนัวหฺ (อ.ล.) 10 ศตวรรษ หนึ่งศตวรรษคือร้อยปี และอิบรอฮีม (อ.ล.) 10 ศตวรรษ หนึ่งศตวรรษคือร้อยปี และระหว่างอิบรอฮีม (อ.ล.) และมูซา อิบนุ อิมรอน (อ.ล.) 10  ศตวรรษ หนึ่งศตวรรษคือร้อยปี

ดังนั้นคือช่วงเวลาระหว่างอาดัม (อ.ล.) และมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) จากบรรดาศตวรรษและบรรดาปี (ตัฟสีรฺ อัล-กุรฏุบียฺ เล่มที่ 6 หน้า 121 ) ชัยคฺ อะฏียะฮฺ ศอกร์ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : ทั้งหมดเป็นการบอกเล่าที่ไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้มาสนับสนุน (อะหฺสะนุลกะลาม ฟิล ฟะตาวา วัล-อะหฺกาม เล่มที่ 3 ภาคที่ 14 หน้า 82-83)

อิมามมุสลิมระบุสายรายงานในเศาะฮีหฺของท่านว่า : อบูบักรฺ อิบนุ อบีชัยบะฮฺเล่าให้เราฟังว่า อัฟฟานเล่าให้เราฟังว่า หัมมาด อิบนุ สละมะฮฺ เล่าให้เราฟังจากษาบิต จากท่านอะนัส (ร.ฎ.) ว่า : แท้จริงมีชายคนหนึ่งกล่าวว่า โอ้ท่านรสูลุลลอฮฺ บิดาของฉันอยู่ที่ไหน? ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) กล่าวว่า : “ในนรกภูมิ” แล้วเมื่อชายผู้นั้นหันท้ายทอยของเขาในสภาพที่จากไป ท่านก็เรียกเขาผู้นั้นแล้วกล่าวว่า : “แท้จริงบิดาของฉันและบิดาของท่านอยู่ในนรกภูมิ” (เศาะฮีหฺมุสลิม บิชัรหิ อัน-นะวาวียฺ เล่มที่ 3 หน้า 79 , อบูดาวูด เล่มที่ 18 หน้า  251 , 252 อะหฺมัด ในอัล-มุสนัด เล่มที่  3/119)

และมีรายงานจากอบูฮุรอยเราะฮฺ (ร.ฮ.) ว่า : ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้เยี่ยมสุสานมารดาของท่าน ท่านก็ร้องไห้ และทำให้ผู้ที่ห้อมล้อมท่านร้องไห้ ท่านกล่าวว่า : ฉันขออนุญาตพระผู้อภิบาลของฉันในการที่ฉันจะขอลุแก่โทษแก่นาง พระองค์ก็ไม่อนุญาตให้แก่ฉัน และฉันได้ขออนุญาตพระองค์ในการที่ฉันจะเยี่ยมสุสานของนาง พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้แก่ฉัน ดังนั้น พวกท่านจงเยี่ยมสุสานเถิด เพราะมันจะทำให้รำลึกถึงความตาย” (มุสลิม 7/45  , อบูดาวูด 14/202 , อัน-นะสาอียฺ 4/90 , อิบนุมาญะฮฺ  1/501 และอัล-หากิมในอัล-มุสตัดรอก 1/375)

ในตัวบทของหะดีษแรก (ที่ระบุถึงบิดาของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) อิมาม อัน-นะวาวียฺ (ร.ฮ.) ได้อธิบายว่า : ในหะดีษบ่งว่า แท้จริง บุคคลที่ตายลงบนการปฏิเสธ (กุฟร์) ผู้นั้นอยู่ในนรกภูมิ และความเป็นญาติใกล้ชิดของเหล่าผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺจะไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้นั้น และในหะดีษบ่งว่า แท้จริงผู้ที่เสียชีวิตในช่วงเวลาที่ปลอด (อัล-ฟัตเราะฮฺ) บนสิ่งที่ปรากฏว่าชาวอาหรับอยู่บนสิ่งนั้นจากการเคารพรูปเจว็ดทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมเป็นหนึ่งจากชาวนรก และสิ่งนี้มิใช่การลงโทษก่อนการเรียกร้อง (ดะอฺวะฮฺ) มาถึง เพราะแท้จริงพวกเขาเหล่านี้ (ชาวอาหรับ) ปรากฏว่า แน่แท้การเรียกร้องของนบีอิบรอฮีม (อ.ล.) และนบีท่านอื่นๆ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิมวะสัลลัม) ได้มาถึงพวกเขาแล้ว” (เศาะฮีหฺมุสลิม บิชัรฺหิ อัน-นะวาวียฺ 3/79)

เมื่อมีหะดีษที่ถูกต้องระบุมาในเรื่องนี้ก็ให้ว่าไปตามสิ่งที่หะดีษระบุ ชัยคฺ อะฏียะฮฺ ศอกร์ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : คำถามในทำนองนี้ (คือถามถึงบุพการีย์ทั้งสองของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ว่าเป็นอย่างไร) ไม่มีผลประโยชน์อันใดในด้านการปฏิบัติ และไม่มีความจำเป็นสำหรับการพูดยืดยาวในเรื่องนี้ แน่แท้ บุพการีย์ทั้งสองของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กลับไปยังพระผู้อภิบาลของท่านทั้งสองแล้ว และพระองค์ทรงรู้ดีถึงสภาพของท่านทั้งสอง

และไม่สมควรที่การมีทัศนะคติที่ดีและความรักของเราที่มีต่อท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) จะมานำพาให้เราต้องระบุบรรดาอัคบารฺ (เรื่องราวที่มีการบอกเล่า) ซึ่งหลักฐานที่แข็งแรงได้ทำให้บรรดาอัคบารฺเหล่านั้นบกพร่อง เช่นการบันดาลใจให้บุคคลทั้งสองฟื้นคืนชีพหลังความตายเพื่อศรัทธาต่อท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)...” (อะหฺสะนุลกะลาม ฟิลฟะตะวา วัล-อะหฺกาม : เล่มที่ 3 ภาคที่ 20 หน้า692 ,693 โดยสรุป)

เชื่อและศรัทธาว่า พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงมีคุณลักษณะ (ศิฟาต) และพระนาม (อัสมาอฺ) จริงๆ ตามมที่มีระบุในอัล-กุรอานและบรรดาหะดีษที่เศาะฮีหฺ อันเป็นคุณลักษณะ (ศิฟาต) ตามที่พระองค์ทรงระบุไว้แก่พระองค์เอง และตามที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้ระบุคุณลักษณะนั้นๆ แก่พระองค์โดยไม่มีวิธีการ (بَلَاكَيْف) หรือการอธิบายว่าเป็นอย่างไร? (بِلَاتَكْيِيْف) หรือการเปรียบว่าเหมือน (بِلَاتَمْثِيْل) หรือการเทียบว่าคล้าย (بِلَاتَشْبِيْهٍ) หรือการตีความเป็นอื่น (بِلَاتَأْوِيْل) หรือการบิดเบือน (بِلَاتَحْرِيْفٍ) หรือการปฏิเสธคุณลักษณะนั้นว่าพระองค์ปลอดจากการมีคุณลักษระ (بِلَاتَعْطِيْلٍ) พร้อมกับปักใจว่าคุณลักษณะของพระองค์ไม่มีสิ่งใดเหมือน ไม่เหมือนสิ่งใด

เรายืนยันคุณลักษณะ (ศิฟาต) นั้นว่าเป็นคุณลักษระ (ศิฟะฮฺ) จริงๆ ของพระองค์ตามที่พระองค์ทรงระบุคุณลักษณะนั้นแก่พระองค์เอง และตามที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ระบุคุณลักษณะนั้นแก่พระองค์ เมื่อพระองค์และนบีของพระองค์ระบุว่า พระองค์ทรงมีพระหัตถ์ และพระองค์ทรงมีพระพักต์ เป็นต้น เราก็ยืนยันตามที่พระองค์และนบีของพระองค์ระบุ พระหัตถ์และพระพักตร์ของพระองค์เป็นคุณลักษณะจริงๆ ของพระองค์ ความหมายของคำว่า “พระหัตถ์” (اليد) และคำว่า พระพักตร์” (الوَجه) ตามมูลภาษาแปลได้เพียงแค่นั้น แต่ความจริงแท้ของความหมาย (หะกีเกาะฮฺ อัล-มุอฺนา อัล-มุรอด) ของคำที่บ่งคุณลักษณะนั้นไม่มีผู้ใดรู้นอกจากพระองค์

เพราะคำว่า พระหัตถ์และพระพักตร์ของพระองค์เป็นคุณลักษณะ (ศิฟะฮฺ) ไม่ใช่ความหมายตามมูลภาษาที่หมายถึงอวัยวะหรือส่วนประกอบ เมื่อพระพักตร์และพระหัตถ์ของพระองค์เป็นคุณลักษณะ (ศิฟะฮฺ) ของพระองค์ที่ไม่ใช่อวัยวะตามมูลภาษา แต่เป็นคุณลักษณะที่ไม่มีสิ่งใดเหมือนไม่เหมือนสิ่งใด เราก็เชื่อและยืนยันว่าพระองค์ทรงมีคุณลักษณะตามนั้นคือ พระองค์ทรงมี พระพักต์และพระหัตถ์เป็นคุณลักษณะจริงตามที่พระองค์และนบีของพระองค์ระบุไว้ในอัล-กุรอาน และหะดีษที่เศาะฮีหฺ

มิใช่เชื่อตามความหมายจริงตามรากศัพท์ของคำ (มะอฺนา หะกีกียฺ) เฉยๆ แต่เชื่อตามที่พระองค์และนบีของพระองค์บอกถึงคุณลักษณะนั้นหรือเชื่อตามที่พระองค์และนบีของพระองค์มีประสงค์ต่อความหมายนั้นควบคู่กับการปฏิเสธความเหมือน ความคล้าย วิธีการ และการอธิบายในเชิงตีความ พร้อมกับมอบหมาย (ตัฟวีฏ) ความรู้เกี่ยวกับหะกีเกาะฮฺ (ความจริงแท้) แห่งคุณลักษณะ (ศะฟะฮฺ) นั้นไปยังความรู้ของพระองค์ นี่คือความเชื่อในเรื่องการยืนยันคุณลักษณะ (إثْبَاتُ الصِّفَات) ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ควบคู่กับการปฏิเสธความเหมือน (نَفْيُ التَّشْبِيْه)ตามแนวทางของสลัฟศอลิหฺที่นักวิชาการอธิบายไว้

มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมร์ อิบนิ อัล-อาศ (ร.ฎ.) ว่า : ท่านรสูลุล ลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวขณะที่ท่านถูกถามถึงกลุ่มที่รอดพ้น (อัล-ฟิรฺเกาะฮฺ อัน-นาญิยะฮฺ) ว่าคือผู้ใด? ท่านกล่าวว่า :

مَاأَنَاعَلَيْهِ وَأَصْحَابِيْ

“คือสิ่งที่ฉันและบรรดาสหายของฉัน (สาวก) ดำรงอยู่บนสิ่งนั้น”

(อัต-ติรฺมิซียฺ : 2643)

ในสายรายงานของหะดีษบทนี้ มีอับดุลเราะหฺมาน อิบนุ ซิยาด อัล-อัฟรีกียฺ ซึ่ง อิมามอัซ-ซะฮะบียฺ (ร.ฮ.ป ระบุว่า บรรดานักวิชาการหะดีษถือว่าเขาผู้นี้อ่อน (เฎาะอีฟ) (ฟัยฎุลเกาะดีร ; อัล-มินาวียฺ 5/347)

อิมามอัช-ชาฏิบียฺ (ร.ฮ.) กล่าวถึงนัยของหะดีษบทนี้ว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ตอบว่า กลุ่มที่รอดพ้น (ฟิรฺเกาะฮฺ นาญิยะฮฺ) คือบุคคลที่มีคุณลักษณะด้วยบรรดาคุณลักษณะของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) และบรรดาคุณลักษณะของเหล่าเศาะหาบะฮฺของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) สิ่งดังกล่าวเป็นที่รับรู้ในหมู่พวกเขาโดยไม่มีสิ่งใดซ่อนเร้น..

โดยสรุปก็คือ บรรดาเศาะหาบะฮฺคือบรรดาผู้ดำเนินตามท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้รับทางนำด้วยทางนำของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) มีการสรรเสริญชื่นชมเหล่าเศาะหาบะฮฺในอัล-กุรอาน และท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ก็ชื่นชมเหล่าเศาะหาบะฮฺ และอันที่จริงมารยาทของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) นั้นคือ อัล-กุรอาน ดังนั้นอัล-กุรอานคือสิ่งที่ถูกปฏิบัติตามโดยข้อเท็จจริง และ สุนนะฮฺก็มาอธิบายอัล-กุรอาน ผู้ที่ตามสุนนะฮฺก็คือผู้ที่ตามอัล-กุรอาน และบรรดาเศาะหาบะฮฺ คือกลุ่มชนที่สมควรที่สุดด้วยสิ่งนั้น ดังนั้นทุกคนที่ดำเนินตามเหล่าเศาะหาบะฮฺก็คือผู้หนึ่งจากกลุ่มที่รอดพ้น..” (อัล-อิอฺติศอม 2/252)

ในบางส่วนของหะดีษเรื่องนี้ระบุว่า กลุ่มชนที่รอดพ้นคือ อัล-ญะมาอะฮฺ ซึ่งอิมามอัช-ชาฏิบียฺ (ร.ฮ.) ระบุว่า มีทัศนะ 5 ทัศนะที่อธิบายคำว่า อัล-ญะมาอะฮฺคือ

1.มหาชนจากชาวอิสลาม

2.กลุ่มของบรรดาอิมามมุจญ์ตะฮิด

3.เศาะหาบะฮฺโดยเฉพาะ

4.กลุ่มชาวอิสลามที่ตรงกันข้ามกลุ่มลัทธิและศาสนาอื่น

5.กลุ่มประชาคมมุสลิมที่รวมตัวกันตามผู้นำ (อิมาม) ที่ปฏิบัติสอดคล้องกับคัมภีร์อัล-กุรอานและสุนนะฮฺ (อัล-อิอฺติศอม 2/260 โดยสรุป)

บรรดาทัศนะเหล่านี้มิอาจจำกัดว่าเป็นชนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะ เพราะอัล-ญะมาอะฮฺมิใช่จำนวนของผู้คนที่ถูกจำกัดเอาไว้ แต่เป็นองค์รวมของคุณลักษณะที่ผู้ใดมีคุณลักษณะดังกล่าวก็ถือว่าผู้นั้นเป็นส่วนหนึ่งจากประชาคมมุสลิม (เราะสาอิล อัล-อิคออฺ ; นาดิรฺ อัน-นูรียฺ หน้า 50)

อิมามอัน-นะวาวียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : อนุญาตในการที่กลุ่มชนซึ่งได้รับการช่วยเหลือจะเป็นกลุ่มชนที่หลากหลายจากชนิดต่างๆ ของผู้ศรัทธา ซึ่งมีทั้งผู้กล้าหาญ และผู้ที่มีความรอบรู้ในการทำสงคราม นักวิชาการฟิกฮฺ นักหะดีษ นักตัฟสีรฺ ผู้ที่ดำรงตนด้วยการสั่งใช้ให้กระทำความดีและห้ามปรามจากความชั่ว ผู้มีความสมถะและนักทำอิบาดะฮฺ ไม่จำเป็นว่าพวกเขาต้องรวมตัวกันอยู่ในดินแดนเดียว แต่เป็นไปได้ในการพวกเขาจะรวมตัวอยู่ในดินแดนเดียวหรือกระจายกันอยู่ในดินแดนต่างๆ ของโลก เป็นไปได้ที่พวกเขาจะรวมตัวอยู่ในเมืองๆ เดียว โดยอยู่ในบางส่วนของเมืองโดยที่บางส่วนของเมืองไม่มีพวกเขาอยู่ และเป็นไปได้ว่าโลกจะปลอดจากบางส่วนของกลุ่มชนนี้เป็นลำดับจวบจนกระทั่งไม่เหลืออยู่นอกจากกลุ่มชนเดียวในดินแดนเดียว เมื่อพวกเขาไม่เหลืออยู่อีก ลิขิตของอัลลอฮฺก็มาถึง...” (ฟัตหุลบารียฺ 13/295)

ดร.มุฮัมมัด อับดุลกอดิรฺ อบูฟาริส กล่าวว่า : “ชนกลุ่มที่รอดพ้น (ฟิรฺเกาะฮฺ นาญิยะฮฺ) ซึ่งท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) บอกเอาไว้คือกลุ่มชนที่ยึดมั่นในศาสนาอิสลามซึ่งถูกประมวลไว้ในกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺของท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ตลอดจนอิจญ์มาอฺของเหล่าเศาะหาบะฮฺและสิ่งที่แตกแขนงเป็นข้อปลีกย่อมมาจากสิ่งดังกล่าว และกลุ่มที่รอดพ้นนี้ คืออะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ

ดังนั้นผู้ใดจากชาวมุสลิมที่เสียชีวิตบนการให้เอกภาพ (เตาหีด) ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นพวกอิควาน อัล-มุสลิมีน หรือกลุ่มอัต-ตับลีฆหรือกลุ่มศูฟียฺหรืออลุ่มอัส-สะละฟียฺ หรือพรรคอิสลามเพื่อการปลดแอกหรืออื่นจากพวกเขา ทั้งปัจเจกบุคคลและกลุ่มคณะบุคคล ผู้นั้นเป็นส่วนหนึ่งจากกลุ่มชนที่รอดพ้น...” (ฟะตาวา ชัรฺอียะฮฺ ; ดร.มุฮัมมัด อับดุลกอดิรฺ อบูฟาริส เล่มที่ 2 หน้า 857-858) กลุ่มอัล-อาษารียะฮฺ (الآثاريَّة) ที่ถามถึงคือกลุ่ม “อัศหาบุลหะดีษ” (أَصْحَابُ الْحَدِيْثِ) ซึ่งเป็นกลุ่มนักปราชญ์ของอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺที่เป็นนักรายงานหะดีษท่องจำและแต่งตำรที่เกี่ยวกับหะดีษ ยึดอัล-กุรอานและอัล-หะดีษเป็นหลักทั้งในด้านหลักการยึดมั่น (อะกีดะฮฺ) หลักนิติธรรม (ชะรีอะฮฺ) และจริยธรรม (มะการิม อัล-อัคลาก)

อิมามอัล-บุวัยฏียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : ฉันเคยได้ยินอัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : “พวกท่านจงยึดบรรดาอัศหาบุลหะดีษ เพราะแท้จริงพวกเขาเป็นกลุ่มชนที่ถูกต้องที่สุด”

และอิมามอัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) กล่าวอีกว่า : คราใดที่ฉันเห็นคนหนึ่งจากอัศหาบุลหะดีษ ก็ประหนึ่งดังว่าฉันได้เห็นคนหนึ่งจากบรรดาสาวกของท่านรสูลลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอุลัยฮิวะสัลลัม) ขอพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงตอบแทนความดีให้แก่พวกเขา (อัศหาบุลหะดีษ) พวกเขาได้รักษาหลักมูลฐานไว้ให้แก่พวกเรา ดังนั้นพวกเขาจึงมีความดีความชอบเหนือพวกเรา” (อัล-หะดีษ วัลมุหัดดัษูน ; มุฮัมมัด มุฮัมมัด อบู ซะฮฺว์ หน้า 299)

อิมามอะหฺมัด (ร.ฮ.) กล่าวอธิบายถึงอัล-หะดีษที่ระบุว่า : “กลุ่มชนหนึ่งจากประชาคมของฉันยังคงได้รับการช่วยเหลือ” ว่า : “หากพวกเขาไม่เป็นอะฮฺลุลหะดีษแล้ว ฉันก็ไม่รู้ว่าใครคือพวกเขา (กลุ่มชนที่ได้รับการช่วยเหลือ)” (มะอฺริฟะฮฺ อุลูมิลหะดีษ ; อัล-หากิม หน้า 3)

อัล-อิสฟะรอยีนียฺ (ร.ฮ.) ระบุว่า “อัล-ญะมาอะฮฺ” (กลุ่มชนที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะสัลลัม) ใช้ให้ยึดพวกเขาเอาไว้) คือ “อัศหาบุลหะดีษ” (อัต-ตับศีรฺ ฟิดดีน หน้า 114)

อัล-มุบารอกฟูรียฺ (ร.ฮ.) ถ่ายทอดคำกล่าวของอบูนุอัยมฺ (ร.ฮ.) ว่า : อัศหาบุลหะดีษ พวกเขานั้นอินชาอัลลอฮฺคือกลุ่มชนที่รอดพ้น (ฟิรฺเกาะฮฺ นาญิยะฮฺ) มุกอดดิมะฮฺ ตุหฺฟะฮฺ อัล-อะหฺวะซียฺ หน้า 14)

อัส-สะฟารีนียฺ (ร.ฮ.) ระบุว่า อะฮฺลุลอะษัรฺ คือบรรดากลุ่มชนที่ยึดหลักความเชื่อของพวกเขาจากสิ่งที่ถูกรายงานจากพระองค์อัลลอฮฺในคัมภีรฺของพระองค์หรือในสุนนะฮฺของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) หรือสิ่งที่ชัดเจนและถูกต้องจากชนรุ่นสะลัฟ ศอลิหฺที่เป็นเศาะหาบะฮฺและอัต-ตาบิอีนโดยไม่มีการเพิ่มเติมของกลุ่มที่ตามอารมณ์และอุตริกรรมตลอดจนความคิดของพวกที่ใช้ทัศนะ (ละวามิอฺ อัล-อันวารฺ อัล-บะฮียะฮฺ หน้า 64 โดยสรุป)

จริงๆแล้วกลุ่มอัศหาบุลหะดีษ หรือที่เรียก อัล-อาษารียฺมีบรรดาอิมามที่เป็นนักวิชาการหะดีษ (อะอิมมะฮฺ อัล-หะดีษ) จำนวนมากที่เป็นผู้นำโดยบรรดาอิมามเหล่านี้มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาก่อนอิมามอะหฺมัด (ร.ฮ.) แต่เนื่องจากอิมาม อะหฺมัด (ร.ฮ.) เป็นผู้นำของอะฮฺลิสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺที่ต่อสู้และยืนหยัดในหลักความเชื่อของอัศหาบุลหะดีษและเผชิญหน้ากับอิทธิพลของกลุ่มอัล-มัวะอฺตะซิละฮฺและพวกญะฮฺมียะฮฺจนกระทั่งกลายเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในช่วงเวลาของท่าน นักวิชาการในรุ่นหลังจากท่านจึงถือว่าอิมาม อะหฺมัด (ร.ฮ.) เป็นอิมามของอะฮฺลิสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺที่หลักความเชื่อของท่านคือมาตรฐานของการยึดถือและได้รับการถ่ายทอด แม้กระทั่งอิมาม อบุลหะสัน อัล-อัช-อะรียฺ (ร.ฮ.) และทั้งกลุ่มอะชาอิเราะฮฺ และมาตุ ฮีดียะฮฺก็อ้างว่าดำเนินตามแนวทางของอิมามอะหฺมัด (ร.ฮ.)

ส่วนหนึ่งจากบรรดาอิมามของอัศหาบุลหะดีษได้แก่ชนรุ่นอัต-ตาบิอีน ที่นคร มะดีนะฮฺ คือ

* สะอีด อิบนุ อัล-มุสัยยิบ (ฮ.ศ. 93)

* อบูบักรฺ อิบนุ อัซ-ซุบัยรฺ (ฮ.ศ. 94)

* อบูบักรฺ อิบนุ อับดิรฺเราะหฺมาน อิบนิ อัล-หาริษ อิบนิ ฮิชาม (ฮ.ศ. 94)

* อุบัยดุลลอฮฺ อิบนุ อับดิลลาฮฺ อิบนุ อุตบะฮฺ (ฮ.ศ. 99)

* สาลิม อิบนุ อับดิลลาฮฺ อิบนิ อุมัรฺ (ฮ.ศ. 106)

* สุลัยมาน อิบนุ ยะสารฺ (ฮ.ศ. 94)

* อัล-กอสิม อิบนุ มุฮัมมัด อิบนิ อบีบักรฺ (ฮ.ศ. 112)

* นาฟิอฺ เมาวฺลา อิบนิ อุมัรฺ (ฮ.ศ. 117)

* อิบนุ ชิฮาบ อัซ-ซุฮฺรียฺ (ฮ.ศ. 124) เป็นต้น

ที่นครมักกะฮฺ ได้แก่

* อิกริมะฮฺ เมาวฺลา อิบนิ อับบาส (ฮ.ศ. 105)

* อะฏออฺ อิบนุ อบีเราะบาหฺ (ฮ.ศ. 115)

* อบู อัซ-ซุบัยรฺ มุฮัมมัด อิบนุ มุสลิม (ฮ.ศ. 128)

ที่นครอัล-กูฟะฮฺ ได้แก่

* อัช-ชะอฺบียฺ อามิรฺ อิบนุ ชุรอหิล (ฮ.ศ. 104)

* อิบรอฮีม อัน-นะเคาะอียฺ (ฮ.ศ. 96)

* อัล-เกาะมะฮฺ อิบนุ กอยสฺ อิบนิ อับดิลลาฮฺ อัน-นะเคาะอียฺ (ฮ.ศ. 62)

ที่นครอัล-บัศเราะฮฺ ได้แก่

* อัล-หะสัน อิบนุ อบี อัล-หะสัน อัล-บะเศาะรียฺ (ฮ.ศ. 11)

* มุฮัมมัด อิบนุ สีรีน (ฮ.ศ. 110)

* เกาะตาดะฮฺ อิบนุ ดิอามะฮฺ อัด-เดาสียฺ (ฮ.ศ. 117) เป็นต้น

และในรุ่นถัดมาได้แก่ สุฟยาน อัษ-เษารียฺ , มาลิก อิบนุ อะนัส , อัล-เอาวฺซาอียฺ , ชุอฺบะฮฺ , อิบนุ อัล-มุบารอก , ยะหฺยา อิบนุ สะอีด , อับดุรเราะหฺมาน อิบนุ มะฮฺดียฺ , อิมามอัช-ชาฟิอียฺ และอิมาม อะหฺมัด อิบนุ หัมบัล (เราะหิมะฮุมุลลอฮฺ) เป็นต้น

บรรดานักวิชาการที่เป็นอัศหาบุลหะดีษเหล่านี้เป็นบรรดาอิมามของอะลิสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺที่มีชีวิตอยู่ก่อนอิมาม อบุลหะสัน อัล-อัชอะรียฺ (ฮ.ศ. 324) ซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มอะชาอิเราะฮฺ และก่อนอิมาม อบูมันศูร อัล-มาตุรีดียฺ (ฮ.ศ. 333) ผู้นำของกลุ่มอัล-มาตุรีดียะฮฺ

ส่วนมัซฮับอัซ-ซอฮิรียฺนั้น มีอบูสุลัยมาน ดาวูด อิบนุ อะลี อัล-อัศฟะฮานียฺ อัซ-ซอฮิรียฺเป็นผู้ก่อตั้งมัซฮับ บุคคลผู้นี้ถือกำเนิดที่นครอัล-กูฟะฮฺ ปีฮ.ศ. ที่ 202 และเสียชีวิตที่นครแบกแดด ปี ฮ.ศ. 270 เป็นนักท่องจำหะดีษและเป็นนักวิชาการฟิกฮฺระดับมุจญ์ตะฮิด มีมัซฮับเป็นเอกเทศหลังจากที่เคยสังกัดมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺในนครแบกแดดมาก่อน

นักวิชาการที่สำคัญในมัซฮับอัซ-ซอฮิรียฺอีกคนหนึ่งคือ อบู มุฮัมมัด อะลี อิบนุ สะอีด อิบนิ หัซม์ อัล-อันดะลูสียฺ (ฮ.ศ. 384-456) เป็นเจ้าของตำราอัล-มุหัลลา ในวิชากฟิกฮฺ และตำราอัล-อิหฺกาม ฟี อุศูลิลลอะหฺกาม ในวิชาอุศูลลุลฟิกฮฺ มัซฮับอัซ-ซอฮิรียฺถือเป็นมัซฮับหนึ่งของอะฮฺลิสุสสุนนะฮ วัล-ญะมาอะฮฺที่เคนแพร่หลายในอัล-อันดุลุส (สเปน) และเริ่มเสื่อมลงในศตวรรษที่ 5 และสูญไปอย่างสมบูณณ์ในศตวรรษที่ 8 แห่งฮิจเราะฮฺศักราช (อัล-ฟิกฮุลอิสลามียฺ ว่า อะดิลละตุฮู ; ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซซุหัยลียฺ 1/41 โดยสรุป)


การตะวัสสุลด้วยความศรัทธาและความรักที่มีต่อท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ตลอดจนการปฏิบัติตามสุนนะฮฺของท่าน รวมถึงความรักที่มีต่อบรรดาเอาลิยาอฺของอัลลออฺ (ซ.บ.) อันเป็นความรักเนื่องด้วยเหตุรักอัลลออฺ (ซ.บ.) –อัล-หุบบุ ฟิลลาฮฺ – เป็นสิ่งที่นักวิชาการมีมติเห็นพ้องว่าเป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติ (มัชรูอฺ) และส่งเสริม (มุสตะหับ) เพราะเป็นความดี (อะมัล ศอลิหฺ) และเป็นการปฏิบัติที่ศาสนากำหนดว่าเป็นเรื่องจำเป็นเหนือมุสลิมทุกคน

ส่วนการตะวัสสุลด้วยกับตัวของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) รวมถึงบรรดาคนวะลียฺภายหลังการสิ้นชีวิตของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) และบรรดาคนวะลียฺนั้นนักวิชาการมีความเห็นต่างกัน

นักวิชาการฝ่ายหนึ่ง เช่น อิมามอัส-สุบกียฺ ตะกียุดดีน (ฮ.ศ. 683-756) ชัยคฺ อิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมียฺ (ฮ.ศ. 909-974) และชัยคฺ อะหฺมัด ซัยนียฺ ดะหฺลาน อัล-มักกียะฮฺ (ฮ.ศ. 1232-1304) เป็นต้น มีความเห็นว่า การตะวัสสุลด้วยกับตัวของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) เป็นสิ่งที่อนุญาตในทุกสภาพ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาก่อนการกำเนิดของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) หลักกำเนิดตลอดช่วงการมีชีวิตและภายหลังการเสียชีวิตของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ในช่วงเวลาของอาลัม บัรซัค รวมถึงภายหลังการฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮฺ (ชิฟาอุสสะกอม ฟี ซิยาเราะฮฺ คอยริล อะนาม ; ตะกียุดดีน อัส-สุบกียฺ หน้า 160 , วัล-เญาฮัรฺ อัล-มุนัซซอม ฟี ซิยาเราะฮฺ อัล-กอบริชชะรีฟ อัน-นะบะวียฺ อัล-มุกัรรอม : อัล-ฮัยตะมียฺ หน้า 76-77 , อัร-ดุรอรฺ อัส-สะนียะฮฺ ฟีรฺรอด อะลัล วะฮฺฮาบียะฮฺ ; อะหฺมัด ซัยนียฺ ดะหฺลาน หน้า 8-9)

นักวิชการอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น อิมาม อิบนุตัยมียะฮฺ , อิบนุ อัล-ก็อยยิม และกลุ่มอัล-วะฮฺฮาบียะฮฺ เป็นต้น มีทัศนะว่าการตะวัสสุลด้วยตัวของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) บารมี (อัลญาฮฺ) และความจำเริญ (บะเราะกะฮฺ) ตลอดจนสิทธิ (หักก์) ของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) และบรรดาคนวะลียฺเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาต โดยเฉพาะเมื่อท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) และบรรดาคนวะลียฺได้เสียชีวิตไปแล้ว ต่างฝ่ายต่างก็อ้างหลักฐานและมีมุมมองในการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนทัศนะของฝ่ายตนและหักล้างการวิเคาะห์ของอีกฝ่าย

จริงๆ แล้วการตะวัสสุลที่กระทำได้และถูกบัญญัติ (มัชรูอฺ) ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันนั้นมีอยู่หลายชนิด เช่น การตะวัสสุลด้วยคุณลักษณะ (ศิฟาต) และพระนามอันไพจิตรของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) การตะวัสสุลด้วยอะมัลที่ศอลิหฺและการฏออะฮฺ การตะวัสสุลด้วยการขอดุอาอฺของคนศอลิหฺที่ยังมีชีวิตอยู่ให้แก่บุคคลที่ร้องขอ เป็นต้น การตะวัสสุลดังกล่าวไม่มีข้อขัดแย้งในระหว่างบรรดานักวิชาการจึงสมควรเน้นหนักและให้ความสำคัญมากกว่า


สำนักหรือทัศนะเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา)

นอกจากนี้ยังมีสำนักเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา) อีกหลายสำนัก ที่สำคัญได้แก่ 4 สำนักคือ

  1. สำนักมุอ์ตะซิละฮ์ (معتزلة) จัดตั้งขึ้นโดยวาศิล บินอะฏออ์ (ค.ศ. 699-749) ศิษย์ที่มีความคิดแตกต่างจากฮะซัน อัลบัศรี (ค.ศ. 642-728) ผู้เป็นอาจารย์
  2. สำนักอัชอะรี มาจากแนวคิดของอะบุลฮะซัน อัลอัชชะรี (ค.ศ. 873-935) แต่ผู้ที่พัฒนาแนวคิดนี้ คือ อัลฆอซาลี นักวิชาการศาสนาและปรมาจารย์ศูฟีย์
  3. สำนักมาตุรีดี เป็นทัศนะของอะบูมันศูร อัลมาตุรีดี (มรณะ ค.ศ. 944) ในตอนแรกเป็นสำนักปรัชญาของชนกลุ่มน้อย ต่อมาเมื่อเป็นที่ยอมรับของเผ่พันธุ์เติร์ก และพวกออตโตมานมีอำนาจ ก็ได้ทำให้สำนักนี้แพร่หลายในเอเชียกลาง
  4. สำนักอะษะรี เป็นทัศนะของอะฮ์มัด บินฮันบัล ผู้เป็นเจ้าสำนักฟิกฮ์ดังกล่าวมาแล้ว


1. มัซฮับหะนะฟียะฮ์ المذهب الحنفي

ได้กล่าวระบุไว้ใน อัลฟะตาวา อัลฮินดียะฮ์ ว่า "เมื่อมัยยิดถูกฝังเรียบร้อยแล้ว สุนัตให้บรรดามุสลิม ทำการนั่งที่กุโบร สักช่วงเวลาหนึ่ง หลังจากฝังเสร็จ ด้วยขนาดเวลาที่อูฐถูกเชื่อด และเนื้อของมัน ได้แจกจ่ายไป โดยที่ให้พวกเขาทำการอ่านอัลกุรอาน และขอดุอาอ์ให้แก่มัยยิด....การอ่านอัลกุรอาน ตามทัศนะของ ท่านมุหัมมัด (ร.ฮ.) นั้น ไม่ถือว่ามักโระฮ์ และบรรดาคณาจารย์ของเรา ได้ยึดเอาทัศนะคำกล่าวของเขา" ดู เล่ม 1 หน้า 166

ท่านอิบนุอาบิดีน ได้กล่าวระบุไว้ในหนังสือ ร๊อดดุลมั๊วะหฺตาร ว่า "การนั่งอ่านอัลกุรอาน ที่กุโบร ไม่เป็นมักโระฮ์ ตามทัศนะที่ถูกเลือกเฟ้นแล้ว" ดู เล่ม 2 หน้า 246

ได้มีการกล่าวระบุไว้ในหนังสือ อันนิยาบะฮ์ ชัรหฺ อัลฮิดายะฮ์ ว่า " การอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูรนั้น ไม่เป็นไร แต่อย่านั่งบนกุโบร และอย่าเข้าไปในกุบูร แล้วอ่านอัลกุรอาน" ดู เล่ม 3 หน้า 306

2. มัซฮับมาลิกียะฮ์ المذهب المالكي

อุลามาอ์มัซฮับมาลิกียะฮ์ มีทัศนะว่า มักโระฮ์กับการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร แต่บรรดาอุลามาอ์มัซฮับมาลิกียะฮ์ ยุคหลังนั้น มีมติที่แน่นอนแล้วว่า ให้กระทำได้ บ้างก็บอกว่าเป็นเรื่องที่ดี ทั้งนี้ หลังจากที่พวกเขา พบหลักฐานว่า มีซอฮาบะฮ์บางท่านได้สั่งเสียให้กระทำ

ท่านอัลลามะฮ์ (ปรมาจารย์) ชัยค์ อัดดัรเดร กล่าวว่า "บรรดาอุลามาอ์ (มัซฮับมาลิกีย์) ยุคหลัง มีทัศนะว่า การอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร การซิกิร และฮะดียะฮ์ผลบุญ ให้แก่มัยยิดนั้น ถือว่าไม่เป็นไร และผู้ที่กระทำดังกล่าว ย่อมได้รับผลตอบแทนด้วย อินชาอัลเลาะฮ์" ดู อัชชัรหฺ อัลกะบีร ตีพิมพ์พร้อมกับ หาชียะฮ์ อัดดุซูกีย์ เล่ม 1 หน้า 423

ข้อควรระวัง

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อิกติฏออ์ อัสซิรอต๊อลมุสตะกีม ว่า " อิมามมาลิกกล่าวว่า ฉันไม่รู้เลยว่า มีคนใดได้กระทำสิ่งดังกล่าว ดังนั้น จึงเป็นที่ทราบว่า ซอฮาบะฮ์ และตาบีอีนนั้น พวกเขาไม่ได้กระทำมัน" ดู เล่ม 2 หน้า 744

เราขอกล่าวว่า การที่ท่านอิมามมาลิก (ร.ฮ.) ไม่รู้นั้น ไม่ได้หมายความถึง การปฏิเสธการกระทำ ของบรรดาซอฮาบะฮ์ และตาบิอีนทั้งหมด และการสรุปความเห็นของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ที่ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ และตาบิอีน ไม่เคยทำนั้น เป็นการขัดกับบรรดาตัวบท ที่ได้มีการระบุไว้ ดังนี้ คือ

ท่าน อัลค๊อลลาล ได้นำเสนอรายงาน ว่า ได้เล่าให้ฉันทราบ โดยอบูยะหฺยา อันนากิด เขากล่าวว่า ได้เล่ากับเรา โดยซุฟยาน บิน มะเกี๊ยะอฺ เขากล่าวว่า ได้เล่ากับเรา โดยหัฟซฺ (บินฆอยยาษ) , จากมุญาลิด , จากท่านอัชชะอฺบีย์ เขากล่าวว่า " บรรดาชาวอันซอรนั้น เมื่อมีผู้ตายคนหนึ่งของพวกเขา ได้เสียชีวิต พวกเขาก็จะทำการสลับกันไป ที่กุบูร เพื่อพวกเขาทำการอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูรของมัยยิดผู้นั้น" ดู หนังสือ อัลอัมรฺ บิลมะอฺรูฟ วันนะฮ์ อะนิลมุงกัร หน้า 126

ท่าน อัลค๊อลลาล ได้กล่าวว่า ได้เล่าให้ฉันทราบ โดยอิบรอฮีม บิน ฮาชิม อัลบะฆอวีย์ ซึ่งเขากล่าวว่า ได้เล่าให้ฉันทราบ โดยอับดุลเลาะฮ์ บิน ซินาน อบูมุหัมมัด ซึ่ง เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบ โดยอัลฟัฏล์ บิน มูซา อัลชัยบานีย์ , จากชารีก , จากมันซูร , จากอัลมัรรีย์ ว่า แท้จริง ท่านอิบรอฮีม (อันนะค่าอีย์) กล่าวว่า "การอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูรต่างๆ นั้น ไม่เป็นไร" ดู หนังสือ อัลอัมรฺ บิลมะอฺรูฟ วันนะฮ์ อะนิลมุงกัร หน้า 127

ดังนั้น คำกล่าวของท่านอัชชะอ์บีย์ ได้ชี้ให้เห็นว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ ได้กระทำการอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร และท่านอิบรอฮีม อันนะค่าอีย์ ก็เป็นอุลามาอ์อัตตาบิอีน ที่มีทัศนะให้กระทำได้

3. มัซฮับชาฟิอียะฮ์  المذهب الشافعي

ท่านอิมาม อันนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัล-มัจญฺมั๊วะ ของท่านว่า "บรรดาอุลามาอ์ของเรา กล่าวว่า สุนัตให้ผู้ที่ไปเยี่ยมกุบูร ทำการให้สลามแก่ชาวกุบูร , และให้เขาทำการขอดุอาอ์ ให้แก่ผู้ที่เขาไปเยี่ยม และแก่ชาวกุโบรทั้งหมด , และถือเป็นการดียิ่ง ที่จะกล่าวให้สลาม และขอดุอาอ์ ด้วยกับสิ่งที่ได้ระบุไว้ ในหะดิษ, และสุนัตให้ผู้ไปเยี่ยมกุบูร ทำการอ่านสิ่งที่ง่าย ๆ จากอัลกุรอาน และทำการขอดุอาอ์ ให้แก่เขา หลังจากเสร็จสิ้นการอ่าน ซึ่งอิมามอัช-ชาฟิอีย์ได้ระบุมันไว ้(ในหนังสืออุมมฺ) และบรรดาสานุศิษย์ ก็มีความเห็นพร้องกันต้องกัน" ดู เล่ม 5 หน้า 276

ท่านอิมามรอมลีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ นิฮายะตุลมั๊วะหฺตาจญฺ ว่า " สุนัตให้อ่านอัลกุรอานที่ง่าย ๆ ที่กุบูร" ดู เล่ม 3 หน้า 36 และท่านอิมามรอมลีย์กล่าวอีกว่า "ให้เขาทำการอ่านอัลกุรอาน และขอดุอาอ์ หลังจากการอ่านอัลกุรอานของเขา และการขอดุอาอ์นั้น เป็นผลประโยชน์แก่มัยยิด โดยที่การขอดุอาอ์ ถัดจากการอ่านอัลกุรอานนั้น ทำให้ถูกตอบรับเร็วมากกว่า" ดู เล่ม 3 หน้า 37

ข้อควรระวัง

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อิกติฏออ์ อัลซิรอต๊อลมุสตะกีม ว่า" ไม่ได้ถูก (รายงาน) มาสักคำกล่าวเดียว จากอิมามอัช-ชาฟิอีย์ เกี่ยวกับปัญหาประเด็นนี้ (คือการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร) และดังกล่าวนั้น เพราะว่ามันเป็นบิดอะฮ์ ตามทัศนะของอิมามชาฟิอีย์" ดู เล่ม 2 หน้า 734

เราขอกล่าวว่า ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ กล่าวอย่างผิดพลาด ต่อทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) และทำการปฏิเสธ สายรายงานที่ถูกรับรอง จากอิมามชาฟิอีย์ และทำการกล่าวพาดพิงทัศนะ ถึงอิมามชาฟิอีย์ โดยที่ท่านอิมามชาฟิอีย์ ไม่ได้เคยกล่าวไว้เช่นนั้นเลย (คือกล่าวว่าบิดอะฮ์)

สำหรับสิ่งที่ได้มีการยืนยันระบ ุจากอิมามชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) นั้น คือ ท่าน อัลค๊อลลาล ได้กล่าวรายงานว่า

" ได้บอกเล่าให้ฉันทราบ โดยท่าน เร๊าห์ บิน อัลฟะร๊อจ ซึ่งได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่าน อัลหุซัยน์ บิน อัศศ๊อบบาหฺ อัซซะฟะรอนีย์ กล่าวว่า ฉันได้ถามอิมามอัช-ชาฟิอีย์ เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร ดังนั้น ท่านอัช-ชาฟิอีย์ตอบว่า "การอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูรนั้น ไม่เป็นไร" ดู หนังสือ อัลอัมรฺ บิลมะอฺรูฟ วันนะฮ์ อะนิลมุงกัร หน้า 126

และบรรดาอุลามาอ์ ชั้นนำ ในมัซฮัลอัช-ชาฟิอีย์ ได้กล่าวยืนยันว่า มีตัวบทระบุ อย่างชัดเจน จากอิมามชาฟิอีย์ ว่า อนุญาติให้อ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร ได้ อย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งอิมาม อันนะวาวีย์ ได้กล่าวยืนยันไว้ว่า อิมามอัชชาฟิอีย์ ได้กล่าวระบุ (การอนุญาตอ่านอัลกุรอานที่กุบูร) ไว้ใน หนังสืออุมมฺ" (ดู หนังสือมัจญฺมั๊วะ เล่ม 5 หน้า 286) และอิมามอิบนุหะญัรอัลฮัยตะมีย์ (ดู อัลฟาตาวา อัลกุบรอ เล่ม 2 หน้า 27)

และหากเรากลับไปด ูหนังสืออัลอุมมฺของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ จากเรื่อง "อัลญะนาอิซฺ" ในบทย่อยเกี่ยวกับเรื่อง "จำนวนการห่อมัยยิด" ซึ่งท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์ กล่าวระบุไว้ว่า "ฉันรัก หากมีการอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร และมีการขอดุอาอ์ ให้แก่มัยยิด (ผู้ตาย) และในเรื่องดังกล่าวนั้น ไม่มีการขอดุอาอ์ ที่ถูกกำหนดเวลา เอาไว้ตายตัว (คือขอดุอาให้ผู้ตายได้ทุกเวลา)"

มีบางคน ที่ไม่ค่อยจะมีความรู้มากนัก ได้พยายามกล่าวอ้างทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ที่ว่า ผลบุญการอ่านอัลกุรอาน ไม่ถึงมัยยิด เพื่อจะแอบอ้างว่า เมื่อผลบุญไม่ถึง การอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร ก็ไร้ความหมาย ซึ่งคำกล่าวนี้ เป็นความเข้าใจ ที่ปราศจากความเข้าใจ ในมัซฮับอิมามอัช-ชาฟิอีย์

ท่านอิมามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ อัลอัซฺการของท่านว่า "บรรดาปวงปราชน์ ได้ ลงมติ เห็นพร้องว่า แท้จริง การขอดุอาอ์ให้แก่บรรดาผู้ตายนั้น มันเป็นผลประโยชน์ แก่พวกเขา และถึงพวกเขา และบรรดาอุลามาอ์ ได้ขัดแย้งกัน เกี่ยวกับเรื่องผลบุญการอ่านอัลกุรอาน ถึงผู้ตาย ดังนั้น คำกล่าว ที่เลื่องลือ จากมัซฮับอิมามอัช-ชาฟิอีย์ และกลุ่มหนึ่งนั้น คือ ผลบุญไม่ถึงผู้ตาย (หากอ่านอัลกุรอาน เพียงอย่างเดียว โดยไม่ขอดุอาตามท้าย) และท่านอิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล พร้อมด้วยปวงปราชญ์กลุ่มใหญ่ และกลุ่มหนึ่ง จากบรรดาสานุศิษย์ ของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ได้กล่าวว่า แท้จริง ผลบุญดังกล่าว ถึงผู้ตาย และทัศนะที่ได้รับการแฟ้นแล้ว คือให้ผู้อ่าน กล่าวดุอาอ์ หลังจากเสร็จสิ้นจากการอ่านอัลกุรอาน ว่า "โอ้อัลเลาะฮ์ ขอได้โปรดทำให้ผลบุญ ของสิ่งที่ฉันได้อ่านมันไปแล้วนั้น ไปถึงคนนั้นๆ (..........) ด้วยเทอญ (ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกันเอง วัลลอฮุอะลัม " ดู อัลฟุตูฮาด อัรร๊อบบานียะฮ์ อะลา อัลอัซการอันนะวะวียะฮ์ เล่ม 4 หน้า 194

ดังนั้น คำกล่าวที่ว่า "คำกล่าวที่เลื่องลือ จากมัซฮับอิมามอัช-ชาฟิอีย์.." นั้น ผู้อธิบายหนังสือ ชัรหฺ อัรเราฏ์ กล่าวว่า มัน หมายถึง การเหนียตฮะดียะฮ์ผลบุญการอ่าน ให้แก่มัยยิด โดยไม่ได้ทำการขอดุอาอ์ให้นั้น" ดู อัลฟุตูฮาด อัรร๊อบบานียะฮ์ อะลา อัลอัซการอันนะวะวียะฮ์ เล่ม 4 หน้า 194

ซึ่งหมายถึงว่า ผลบุญการอ่านอัลกุรอาน จะมีประโยชน์ และถึงแก่ผู้ตายนั้น ไม่ใช่ด้วยการเหนียตฮะดียะฮ์ให้ เท่านั้น เพราะมันจะไม่ถึง ตามทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ แต่ต้องขอดุอาอ์ ให้แก่มัยยิดด้วย ซึ่งในการขอดุอาอ์นั้น เราจะขอต่ออัลเลาะฮ์ ให้ผลบุญการอ่านของเรา ถึงมัยยิดนั้น ย่อมกระทำได้ อย่างไม่มีปัญหา เนื่องจากการขอดุอาอ์นั้น เป็นสื่อที่ทำให้ผลบุญ ไปถึงมัยยิด ตามทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ไม่ใช่การเหนียตฮะดียะฮ์การอ่านอัลกุรอาน ที่ผู้อ่านได้อ่านเอง เพียงอย่าง เดียว

ท่านอิบนุกุดามะฮ์กล่าวอีกว่า "ท่านอิมามชาฟิอีย์ กล่าวว่า สิ่งที่อื่นจากวายิบ (เช่นฮัจญฺ ศีลอด) การทำทาน (คุณอะสัน บอกได้ไหมว่า การเลี้ยงอาหาร ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่ง จากการทำทาน) การขอดุอาอ์ และการอิสติฆฟาร นั้น จะไม่ถูกทำแทน ให้กับมัยยิด และผลบุญ ก็จะไม่ไปถึงเขา เพราะอัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ว่า "ไม่มีให้กับมนุษย์ นอกจากสิ่งที่เขาได้กระทำไว้ เท่านั้น" ดู หนังสือ อัลมุฆนีย์ เล่ม3 หน้า373

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ อิมามอันนะวาวีย์ จึงกล่าวไว้ในหนังสืออัลอัซฺการว่า " และที่ได้เลือกเฟ้นแล้วนั้น คือให้ผู้อ่านกล่าวดุอาอ์ หลังจากเสร็จจากการอ่านอัลกุรอานว่า "โอ้อัลเลาะฮ์ โปรดจงทำให้ผลบล สิ่งที่ฉันได้อ่านมัน ไปแล้วนั้น ไปถึงคนนั้นๆ (..........) วัลลอฮุอะลัม" ดู อัลฟุตูฮาด อัรร๊อบบานียะฮ์ อะลา อัลอัซการอันนะวะวียะฮ์ เล่ม 4 หน้า 194

และอาจารย์ของอิมามอันนะวาวีย์ คือ ท่านอิบนุ อัศศ่อลาหฺ กล่าวว่า " ผู้ขอดุอา ควรกล่าวว่า ,โอ้อัลเลาะฮ์ โปรดทรงทำให้ผลบุญ ของสิ่งที่ฉันได้อ่านมันไปแล้วนั้น ไปถึงผู้ตายคนนั้นๆ (..........) , โดยที่เขาทำให้การอ่านอัลกุรอาน แล้วขอดุอาอ์ (ให้ถึงผู้ตาย) ไม่ว่าผู้ตายจะอยู่ใกล้ หรือไกลก็ตาม และต้องยาเกนมั่นใจ ในการที่มัยยิด ได้รับผลประโยชน์ดังกล่าว (จากการขอดุอาอ์) นั้น" ดู หนังสือ มุฆนีย์ อัลมั๊วะตาจญฺ เล่ม 4 หน้า 116 - 117

และเมื่ออิมามอัช-ชาฟิอีย์ ได้ระบุไว้ในหนังสืออัลอุมม์ว่า "ฉันรัก หากถูกอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร และถูกขอดุอาอ์ ให้แก่ผู้ตาย และในสิ่งดังกล่าวมานั้น ไม่มีการขอดุอาอ์ ที่ถูกกำหนดเวลาเอาไว้" ท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยตามีย์ จึงได้กล่าวอธิบายว่า " และให้เขา ทำการอ่านอัลกุรอานที่ง่ายๆ แก่เขา (ที่กุบูร) และทำการขอดุอาอ์ ถัดจากการอ่าน โดยที่หลังจากเขาได้หันหน้า ไปทางกิบละฮ์ เพราะการดุอาอ์ หลังจากอ่านอัลกุรอานนั้น มีความหวังในการตอบรับมากกว่า " ดู หนังสือ ตั๊วะหฺฟะตุลมั๊วะห์ตาจ เล่ม 1 หน้า 602 ตีพมพ์ที่ อัษษะกอฟะฮ์ อัดดีนียะฮ์

4. มัซฮับ อัลหะนาบิละฮ์ المذهب الحنبلي

ท่าน อัลมัรดาวีย์ ได้กล่าวระบุไว้ในหนังสือ อัลอินซอฟ กล่าวว่า "การอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร ไม่เป็นมักโระฮ์ ตามในสายรายงานซอฮิหฺที่สุด (ซึ่งมาจากอิมามอะหฺมัด) และ นี้ก็คือ มัซฮับ ที่(ท่านอิบนุมุฟลิหฺ) ได้กล่าวไว้ใน หนังสืออัลฟุรั๊วะอ์ และได้ระบุเรื่องนี้ไว้ในมัซฮับ , ผู้อธิบายได้กล่าวว่า นี้คือคำกล่าว ที่เลื่องลือ จากอิมามอะหฺมัด" ดู เล่ม 2 หน้า 532

ท่านอิบนุมุฟลิหฺ กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมุบเดี๊ยะอ์ ชัรหฺ อัลมุกเนี๊ยะอ์ ว่า " การอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร ไม่เป็นมักโระฮ์ ตามสองสายรายงาน ที่ซอฮิหฺยิ่ง ที่รายงานจากท่านอิมามอะหฺมัด และ นี้ก็คือ มัซฮับ (ของอิมามอะหฺมัด)" ดู เล่ม 2 หน้า 281

คำพูดต่างๆ ที่ถูกรายงาน เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร ท่าน อัซฺซ่ะฮ่ะบีย์ ได้กล่าว ประวัติท่าน อบูญะฟัร อัลฮาชิมีย์ อัลหัมบาลีย์ ชัยค์ มัซฮับอัลหะนาบิละฮ์ (เสียชีวิตปี 470) ว่า " และเขาได้ถูกฝัง เคียงข้างกุบูรของท่านอิมามอะหฺมัด , และบรรดาผู้คน ได้ประจำอยู่ที่กุบูรของเขา เป็นเวลานาน จนกระทั้งกล่าวกันว่า อัลกุรอานได้ถูกอ่านจบ ที่กุบูรของเขา ถึง 10000 จบด้วยกัน" ดู หนังสือ ซิยัร อะลาม อัลนะบะลาอ์ เล่ม 18 หน้า 547

ท่าน อัซฺซะฮะบีย์ ได้กล่าว ถึงท่าน อัลค่อฏีบ อัลบุฆดาดีย์ ว่า " ท่านอัลคอฏีบ เป็น อิมามที่โดดเด่น เป็นอัลลามะฮ์ เป็นมุฟตี เป็นนักจำหะดิษ ที่เชี่ยวชาญ เป็นนักหะดิษแห่งสมัยนั้น.....ท่านอิบนุ ค๊อยรูน กล่าวว่า ท่านอัลคอฏีบ ได้เสียชีวิตในช่วงสาย....ได้มีบรรดานักปราชญ์ฟิกห์ และบรรดาผู้คนมากมาย ได้ทำการติดตาม ส่งญะนาซะฮ์ท่านอัลค่อฏีบ และแบกไปยัง ญาเมี๊ยะอ์ อัลมันซูร โดยที่มีผู้คน กล่าวประกาศก้องว่า นี้คือผู้ที่ปกป้องการโกหก ต่อท่านนบี (ซ.ล.) และนี้คือผู้ที่จำหะดิษ ของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.) และได้ถูกอ่านอัลกุรอาน หลายจบด้วยกัน ที่กุบูรของเขา" ดู หนังสือ ซิยัร อะลาม อัลนะบะลาอ์ เล่ม 13 หน้า 584

ท่านอัซฺซะฮะบีย์ ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ ตารีค อัลอิสลาม ว่า " ท่านอัศศิละฟีย์ กล่าวว่า ท่านอัลมุตะมิน อัศศาญีย์ ได้บอกเล่าแก่ฉัน ในวันศุกร์ที่ 2 หลังจากการเสียชีวิต ของ ท่านอบูมันซูร - คือ ท่านมุหัมมัด บิน อะหฺมัด บิน อะลี อัลคอยยาฏ (เสียชีวิตปีที่ 499) - ว่า " ในวันนั้น บรรดาผู้คนได้ทำการอ่านอัลกุรอานจบ ที่กุบูรของเขา ถึง 221 จบ กล่าวคือ พวกเขาได้ทำการอ่านอัลกุรอาน จนจบซูเราะฮ์ อัลอิลาศ (กุลฮุวัลลอฮ์) เพราะพวกเขา ก็จะทำการรวมตัวกัน แล้วทำการขอดุอาอ์ ถัดจากทุกๆ การอ่านจบ เล็กน้อย"

ท่านอัซฺซะฮะบีย์ กล่าวถึงประวัติของ ท่านอิบนุ อัลคอซิบะฮ์ ว่า " เขาคือ ชัยค์ อิมาม นักหะดิษ นักจำหะดิษ เป็นผู้ที่พูดจริง เป็นแบบอย่าง และศิริมงคล แก่บรรดานักหะดิษ...เขาได้เสียชีวิต ในวันที่ 2 เดือนรอบิอุลเอาวัล ปี 489 ฮ.ศ. ญะนาซะฮ์ของเขานั้น เป็นที่โดดเด่น และอัลกุรอาน ได้ถูกอ่านจบ ที่กุบูรของเขานั้น กับหลายจบด้วยกัน" ดู หนังสือ ซิยัร อะลาม อัลนะบะลาอ์ เล่ม 14 หน้า 176

จากประวัติของบรรดานักปราชน์หะดิษ ที่ได้หยิบยกกล่าวมาแล้วนั้น เราจะพบว่า การกระทำของพวกเขา และบรรดาอุลามาอ์ ที่อยู่ในแต่ละสมัย ของพวกเขานั้น ได้ทำการอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูรกันหลายๆ จบด้วยกัน แม้กระทั้งนักหะดิษที่มีคุณธรรม บรรดาผู้คน ก็ทำการอ่านอัลกุรอาน ให้กับพวกเขา หลายจบด้วยกัน จนกระทั้งถึง 10000 จบ ซึ่งการกระทำของพวกเขาเหล่านั้น เป็นการกระทำ ของผู้ที่ไม่เข้าใจศาสนาอิสลาม กระนั้นหรือ? และบรรดาพ่อแม่ของเรา ก็ไม่ใช่จะเป็นผู้ที่มีความรู้มากนัก รู้ศาสนาเพียงแค่เอาตัวรอดได้ เท่านั้นเอง และเมื่อพวกเขาได้เสียชีวิต พวกเราไม่มีสิทธิ์ ที่จะอ่านอัลกุรอาน เพื่อุทิศเป็นผลบุญ ให้พวกบิดามารดาของพวกเราเลย กระนั้นหรือ? ทั้งที่บรรดาอุลามาอ์ ผู้ทรงความรู้ ยังถูกอ่านให้ 10000 จบ แล้วบิดามารดาของเรานั้น ไม่ต้องการความช่วยเหลือ มากไปกว่าบรรดาอุลามาอ์ กระนั้นหรือ? การอ่านอัลกุรอานให้แก่มัยยิด ในช่วง 7 วันนั้น เป็นสิ่งที่สมควรกระทำ เนื่องจากมัยยิด กำลังถูกมะลาอิเกาะฮ์สอบถาม ในช่วงนั้น ดังนั้น การทำบุญเลี้ยงอาหาร เพื่อเป็นทานซอดาเกาะฮ์ การอ่านอัลกุรอาน และขออุดาอ์อุทิศส่วนกุศล ไปให้ ในช่วง 3 วัน หรือ 7 วันนั้น ย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้ตาย ส่วนประเด็นข้อขัดแย้ง ที่ว่า ผลบุญจะถึงผู้ตาย หรือไม่นั้น? เราก็ต้องพูดกันด้วยหลักฐาน และเราจะรู้อย่างชัดเจน เมื่อเราได้ตายไปแล้ว แต่มันก็คงเป็นเรื่อง ที่น่าเสียดาย ที่คนตายไปแล้ว จะกลับมาบอกว่า ผลบุญนั้นถึงฉัน หรือไม่ ก็ไม่ได้? ซึ่งเหล่านี้ จึงต้องอาศัยหลักฐาน และหลักการที่ชัดเจน จึงจะรู้ถึงซึ่งความเป็นจริง

ท่าน อัลหาฟิซฺ อิบนุ อัลร่อญับ กล่าวว่า " ได้รายงานโดยท่านญะฟัร อัล-คุลดีย์ เขากล่าวว่า ได้เล่ามให้เราทราบ โดยอัลอับบาส บิน ยะกูบ บิน ซอลิหฺ อัลอัมบารีย์ ว่า ฉันได้ยินบิดาของฉันกล่าวว่า ส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้มีคุณธรรม (ซอลิฮีน) ได้ฝันเห็นบิดาของเขา ดังนั้น บิดาของเขา ได้กล่าวแก่เขาว่า โอ้ลูกของฉัน เหตุใดพวกท่าน ถึงตัดขาดการฮะดียะฮ์ มอบผลบุญไปถึงเรา เขากล่าว (กับบิดา) ว่า โอ้บิดาของฉัน บรรดาผู้ตายนั้น รู้ถึงการฮะดียะฮ์ (การมอบผลบุญให้) จากคนเป็นด้วยหรือ? บิดาของเขากล่าวว่า โอ้ลูกเอ๋ย หากแม้นว่า ไม่มีคนเป็นทั้งหลาย แน่แท้ว่า บรรดาผู้ที่ตาย ก็จะพินาศ" ดู อิตหาฟ อัศศาดะฮ์ อัลมุตตะกีน ของท่านอัซซะบีดีย์ เล่ม 10 หน้า 372

ดังนั้น การอ่านอัลกุรอานที่กุบูร จึงเป็นประเด็นข้อปลีกย่อย ทางฟิกห์ ที่ขัดแย้งกัน ในหมู่บรรดานักปราชญ์ ซึ่งไม่ใช่เป็นประเด็น ในเรื่องอากิดะฮ์ จนเอาไปโยงกันอย่างสับสนไปหมด โดยนับว่า เป็นการเลยเถิด ในการต่อต้าน เรื่องการอ่านอัลกุรอาน ให้ผู้ตายนั้น มันเป็นการญิฮาด (ต่อสู้) ที่ผิดสมรภูมิ และมันเป็นการแอบอ้าง การต่อสู้กับผู้ที่ไม่ใช่เป็นศัตรู!!! และหลักฐานการอ่านอัลกุรอาน ให้แก่มัยยิดนั้น ก็ไม่เคยมีระบุห้าม จากอัลกุรอาน จากซุนนะฮ์ และจากคำกล่าวห้ามหะรอม จากบรรดาอุลามาอ์ มัซฮับทั้ง 4 เลย ดังนั้น คนบางกลุ่ม ได้อาจหาญ ทำการหุกุ่มพี่น้องมุสลิมด้วยกันว่า การอ่านอัลกุรอาน ให้กับผู้ตายนั้น เป็นสิ่งที่หะรอมบิดอะฮ์ได้อย่างไร? ในเมื่อไม่มีอุลามาอ์ท่านใด เคยกล่าวอย่างนั้น

ผู้อวดรู้บ้านเรา บางคนถึงกับตัดสิน ผู้ที่อ่านอัลกุรอาน ให้กับผู้ตายว่า กำลังเผาผู้ตาย ผมไม่ทราบจริงๆ ว่า เขาเอาหลักฐานมาจากใหน? พร้อมกับอ้างซุนนะฮ์ แบบไร้ความจริง และเป็นเท็จต่ออัลกรุอาน และซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) วัลอิยาซุบิลลาฮ์

และที่ผมได้นำเสนอ ไปนั้น เราจะพบว่า ท่านอิบนุอุมัร (ร.ฏ.) ซอฮาบะฮ์ผู้เคร่งครัด ในซุนนะฮ์ของร่อซูลุลเลาะฮ์ ก็ยอมรับในเรื่องดังกล่าว บรรดาชาวอันซอร ก็กระทำการอ่านอัลกุรอาน ที่กุบูร เพื่อเป็นผลประโยชน์ แด่ผู้ตาย และท่านอิมามอะหฺมัด ซึ่งเป็นหนึ่งในอุลามาอ์สะลัฟ ผู้ยึดการตามร่องรอย จากสะลัฟ มากที่สุด ก็ยอมรับ และยกเลิกทัศนะเดิม เมื่อทราบว่า ท่านอิบนุอุมัร ได้กระทำ และก็มีบรรดาอุลามาอ์สะลัฟ และคอลัฟมากมาย ได้ให้การยอมรับ ในเรื่องดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่มีทัศนะไม่เห็นด้วย ก็สมควรใจกว้าง ในเรื่องของประเด็นข้อปลีกย่อย ไม่สมควรกล่าวว่า บิดอะฮ์หะรอม แก่อีกฝ่ายหนึ่ง แต่สมควรชี้แจงว่า มันมีสองทัศนะ และทำการให้น้ำหนัก สิ่งที่ตนเห็นว่าอันใด ที่เป็นทัศนะ ที่มีน้ำหนัก โดยไม่ไปละเมิด หุกุ่มผู้อื่น ซึ่งหากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมเป็นการละเมิด ในเรื่องศาสนา และนั่นก็ไม่ใช่แบบฉบับ ของสะละฟุศศอลิหฺ และอุลามาอ์ยุคคอลัฟ ที่มีคุณธรรม

5. มัสฮับชีอะฮ์ (สายอิมามียะฮ์اَلْشِيْعَةِ اَلإمَامِيَّة ,  สายซัยยิดดียะห์ اَلْزَيِّدِّيَّةِ اَلْشِيْعَةِ )  ถือเป็นมัสฮับที่อยู่นอกกลุ่มอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลจะมาอะฮ์ (اَهْلُ الْسُنَّةُ وَ الْجَمَاعَةِ) เพราะมีความหลักยึดมั่น (อะกีดะฮ์  عَقِيْدَةَ) และหลักปฏิบัติ (ฟิกฮฺ اَلْفِقْة) ที่แยกเป็นเอกเทศออกไปต่างหากจากกลุ่มอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ฯ กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะอยู่แถบภาคกลาง และก็มีกระจายไปส่วนอื่นๆ บ้าง โดยเฉพาะภาคใต้ในบางพื้นที่

6.  กลุ่มนอกรีต غير تقليدي Unconventional ที่แอบอ้างในนามอิสลาม กลุ่มนี้ถือเป็นคนกลุ่มน้อย แต่ก็ถือว่ามีอิทธิพลในการกำหนดความเข้าใจของผู้คนที่มีต่ออิสลามได้ สมาชิกของกลุ่มนี้อาจมาจากมุสลิมเองบางคนที่สับสนในความคิดของตัวเอง เนื่องเพราะได้รับอิทธิพลทางความคิดจากตะวันตก หรือจากที่อื่นที่อิสลามไม่ให้การยอมรับ เป็นต้น หรืออาจมาจากกลุ่มอื่นที่มีเป้าหมายเพื่อหันเหความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอิสลามไปสู่ความเข้าใจที่ขัดกับอิสลาม โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำลายรากฐานของอิสลามจากภายใน หรือเพื่อยืนยันความเชื่อของตนเองด้วยคำสอนที่มีอยู่ในอิสลาม แม้อิสลามจะปฏิเสธความเชื่อดังกล่าวนั้นไปแล้วก็ตาม

7.  กลุ่มเฅาะวาริจ[1]สมัยใหม่ (الخوارج   ) คือกลุ่มที่ต้องการสร้างเอกภาพขึ้นในอิสลามโดยเอามาตรฐานของตัวเองมาเป็นที่ตั้ง พร้อมทั้งมีการปฏิเสธแนวคิดของกลุ่มอื่นอย่างเด็ดขาดไปด้วย ซึ่งพฤติกรรมของกลุ่มนี้ค่อนข้างง่ายต่อการตัดสินแนวคิดอื่นในแง่เสียหาย พร้อมกับพยายามแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตนเท่านั้นที่เข้าใจอัลกุรฺอานและอัลหะดีษมากที่สุด กลุ่มนี้ค่อนข้างระบาดหนักในหมู่นักศึกษา โดยเฉพาะแถบภาคกลาง และรวมถึงภาคใต้ตอนล่างบางส่วน โดยปกติแล้วกลุ่มนี้จะไม่มีชื่อเฉพาะของตนเอง แต่มักจะเรียกตนเองด้วยชื่อต่างๆ ที่แสดงถึงความเป็นอิสลาม แต่ในขณะเดียว กลุ่มนี้ก็มักจะได้รับการโจมตีจากแนวคิดอื่นอยู่เสมอ เนื่องเพราะความแข็งกร้าวของกลุ่มนี้ที่มีต่อแนวคิดอื่นนั่นเอง ซึ่งเป็นผลทำให้แนวคิดอื่นไม่ค่อยที่จะให้การยอมรับเท่าไร และบุคคลที่ให้การยอมรับกลุ่มนี้ก็ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนักศึกษา และกลุ่มคนที่ไม่รู้เรื่องศาสนาอย่างดีจริง

  • มัซฮับฮะนะฟีย์ เป็นที่นิยมแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอุษมานียะฮฺแห่งตุรกีตลอดจนกลุ่มประเทศมุสลิมในเอเชียกลางและเอเชียใต้
  • มัซฮับมาลิกีย์  นั้นเป็นที่นิยมในหมู่พลเมืองในแอฟริกา ทั้งแอฟริกาเหนือ แอฟริกาตะวันออกและตะวันตก
  • มัซฮับชาฟิอีย์ เป็นที่นิยมของพลเมืองมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เยเมน และอียิปต์ เป็นต้น
  • มัซฮับฮัมบะลีย์  นั้นถือเป็นมัซฮับอย่างเป็นทางการในประเทศซาอุดิอาระเบียและมีผู้นิยมน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับมัซฮับอื่น ๆ
  • 4 สำนักคิด(มัซฮับ) 1. มัซฮับหะนะฟีย์ ผู้ให้กำเนิดสำนักคิดนี้ คืออิหม่ามอบูหะนีฟะฮฺ[9] ซึ่งท่านดำรงชีวิตอยู่ใน 2 ยุค สมัยของราชวงค์อุมะวียะฮฺและสมัยราชวงค์อับบาสียะฮฺ ในสมัยของราชวงค์อุมะวียะฮฺ เขาถูกเสนอให้ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาแห่งนครกูฟะฮฺ แต่เขาปฏิเสธที่จะรับข้อเสนอดังกล่าว อันเนื่องมาจากท่านไม่พอใจต่อการปกครองของราชวงค์นี้ ผลการปฏิเสธดังกล่าวทำให้เขาถูกลงโทษด้วยการเฆี่ยนตีด้วยแซ่วันละ 10 ครั้ง จนครบ 110 ครั้ง ถึงแม้ว่าอบู หะนีฟะฮฺถูกเฆี่ยนตี แต่เขาก็ยังปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งดังกล่าว จนกระทั่งในเวลาต่อมาได้รับการปล่อยตัว หลังจากนั้นไม่นาน อบู หะนีฟะฮฺ ถูกเสนอให้ท่านรับตำแหน่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบกองทุนทรัพย์สิน แต่เขาก็ปฏิเสธอีก และเขาเห็นว่าหากท่านดำรงชีวิตอยู่ในอิรักต่อไป คงไม่มีความปลอดภัย ก็เลยตัดสินใจอพยพไปสู่นครมักกะฮฺ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในอิรัก อำนาจการปกครองได้เปลี่ยนจากราชวงค์อุมะวียะฮฺเป็นราชวงค์อับบาสียะฮฺ คอลีฟะฮฺคนที่สองแห่งราชวงศ์นี้คือ อบู ญะฟัร อัล-มันซูร ได้ให้อบู หะนีฟะฮฺแสดงความเห็นต่อการปกครอง เขาจึงได้วิพากษ์วิจารณ์งานบริหารด้านต่าง ๆ การแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา จนสร้างความไม่พอใจแก่คอลีฟะฮฺอบู ญะฟัร อัล-มันศูร เป็นอย่างมาก ในที่สุดอบู ญะฟัร ก็ได้ใช้วิธีเดียวกันกับคอลีฟะฮฺในราชวงค์ก่อน โดยได้นําตัวอบู หะนีฟะฮฺจากนครกูฟะฮฺไปยังนครแบกแดดแล้วเสนอตำแหน่งผู้พิพากษาให้แต่เขา ปฏิเสธ ด้วยเหตุดังกล่าวอบู ญะฟัรได้สั่งให้ลงโทษอบู หะนีฟะฮฺด้วยการคุมขังท่านไว้โดยไม่มีกำหนด จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 767( ฮ . ศ . 150) มีอายุได้ 70 ปี กล่าวกันว่า เขาถูกวางยาพิษที่ละเล็กที่ละน้อยจนจบชีวิตในท้ายที่สุด อบู หะนีฟะฮฺเป็นปราชญ์ที่เคร่งครัด และเลือกปฏิบัติในสิ่งที่มีหลักฐานที่ชัดเจน เนื่องด้วยผู้ปกครองยุคนั้นต่างแสดงอำนาจบาตรใหญ่ แต่อบู หะนีฟะฮฺกลับปฏิบัติโดยไม่เกรงกลัวต่ออำนาจใด ๆ ทั้งสิ้น ความรู้และความเข้าใจในกฎหมายอิสลามของอบู หะนีฟะฮฺ ได้รับความนิยมมากจนก่อตัวเป็นสำนักกฎหมายอิสลามขึ้นมาภายหลัง เรียกว่า มัซฮับหะนะฟียฺ สำนักคิดนี้ได้วางหลักเกณฑ์การวินิฉัยกฎหมายอิสลามโดยการพิจารณาแหล่งที่มาดังนี้ 1.อัลกุรอ่าน 2.วัจนะศาสดา 3.มตินักปราชญ์ 4.การเทียบเคียง 5.อิสเตียะซาน ผู้สืบทอดสำนักคิดของท่านสำคัญๆได้แก่ อบูยูซุฟ ยะอ์กูบ บิน อิบรอฮีม, มุฮัมมัด บิน อัลหะสัน อัชชัยบานีย์, ซุฟัร บิน ฮุซัยน์ บิน ก๊อยส์และ อัลหะสัน บินซิยาด อัลลุลุอีย์ เป็นต้น ตำราอ้างอิงสำคัญในสำนักคิดนี้เช่น อัลครอจ และ อิคติลาฟ อบีหะนีฟะฮ์ วะ อิบนุ อบีลัยลา เขียนโดย อบูยูซุฟ ตำรา อัล รอด อลา อะหลีมาดีนะฮ์ เขียนโดยมุฮัมมัด บิน อัลหะสัน อัชชัยบานีย์ ตำรา อัลกาฟีย์ เขียนโดยอบู อัลฟัคล์ เป็นต้น 2. มัซฮับมาลิกีย์ ผู้ให้กำเนิดสำนักคิดนี้ อิหม่ามมาลิก[10] ท่านเริ่มการศึกษาด้วยการท่องจำอัลกุรอาน หลังจากนั้นก็เริ่มท่องจำหะดีษ ท่านได้ให้ความสำคัญกับหะดีษและวิชากฎหมายอิสลาม มาลิกได้ศึกษากับอาจารย์รวมทั้งสิ้น 900 คน อาจารย์ที่อิหม่ามมาลิกได้ศึกษาอยู่กับท่านนานที่สุดคือ อับดุร เราะหฺมาน อิบนฺ หุรมุก อัลอะอฺรอจ ซึ่งอิหม่ามาลิกใช้เวลาในการศึกษานานถึง 7 ปี มาลิกได้ใช้ชีวิตที่นครมาดีนะฮฺเป็นเวลานานพอสมควรและได้ทำการสอนหนังสือที่ นั้น ดังนั้นเขาจึงมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก และศิษย์ของมาลิกที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดก็คืออัลชาฟีอียฺ มาลิกได้รับถูกทรมานอย่างหนักในสมัยของคอลีฟะฮอบูญะฟัร อัล-มันซูรแห่งราชวงค์อับบาสียะฮฺ สาเหตุที่ท่านถูกทรมานนั้นมีหลายบันทึกด้วยกัน บันทึกหนึ่งรายงานรว่ามาลิกได้บันทึกหะดีษที่ว่า “ผู้ถูกบังคับนั้นไม่ทำให้การกล่าวหาอย่าร้างภรรยาของเขามีผล” แต่ อบู ญะอฺฟัรอัลมันศูรไม่ต้องการให้หะดีษนั้นถูกบันทึกไว้เนื่องจากเกรงว่า ประชาชนจะไม่ให้การสนับสนุนคอลีฟะฮฺ หากประชาชนได้รับหะดีษบทนี้ เพราะหะดีษดังกล่าวจะเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้ในการอ้างอิงอาจจะทำให้คอลีฟะฮมีผู้สนับสนุนน้อยลง มาลิกเป็นปราชญ์ที่ตรงไปตรงมา เขาไม่ยินยอมและยืนยันที่จะให้หะดีษนี้ถูกบันทึกไว้ ทำให้คอลีฟะฮฺไม่พอใจจึงต้องตัดสินลงโทษเขา ด้วยการเฆี่ยนตี มาลิกเสียชีวิตเมื่อปีค.ศ. 796 (ฮ.ศ .179) มีอายุได้ 83 ปี หลังการจากไปของเขาได้มีผู้สืบทอดสำนักคิดด้านกฎหมายที่เขาได้วางรากฐานไว้ จนก่อตัวเป็นสำนักใหญ่เรียกว่า มัซฮับ มาลิกีย์ สำนักคิดนี้ได้วางหลักเกณฑ์การวินิฉัยกฎหมายอิสลามโดยการพิจารณาแหล่งที่มาดังนี้ 1.อัลกุรอ่าน 2.วัจนะศาสดา 3.มตินักปราชญ์ 4.การเทียบเคียง 5.ข้อปฎิบัติชาวมดีนะห์ ผู้สืบทอดสำนักคิดของท่านสำคัญๆได้แก่ อับดุรรอมาน บิน อัลกอเส็ม อัลอะตีกีย์, อับดุลลอฮฺ บินวาฮับ บินมุสลิม , อัชฮับ บินอับดุลอาซิซ, อับดุลลอฮฺ บินอัลหะกัม และ มุฮัมมัด บินอับดุลลอฮฺ บินอัลหะกัม เป็นต้น ตำราอ้างอิงสำคัญๆในสำนักคิดนี้ได้แก่ อัลมุเดาวินะฮ์ อัลกุบรอ ของอิหม่ามมาลิก อัลมุนตะกอ ชัรฮ์ อัลมุวัฎเฎาะ โดยอิหม่ามอัลบาญี ชาวสเปน อัลมุก๊อดดีมาต โดยอิบนุรุชดี อัลกุรตูบีย์ บิดายะห์ อัลมุจตาฮิด ดดยอิหม่ามอิบนุรุชดี อัลฮาฟีด เป็นต้น 3. มัซฮับชาฟิอีย์ ผู้ให้กำเนิดสำนักคิดนี้ คืออิหม่ามชาฟิอีย์ ท่านเกิดในครอบครัวที่มีฐานะยากจนแต่ท่านเป็นคนที่มีความมั่นใจสูงมากถึง แม้จะเติบโตในครอบครัวที่ยากจน ท่านต้องเป็นกำพร้านับตั้งแต่วัยเยาว์ เขาจึงได้เติบโตขึ้นท่ามกลางความแร้นแค้นแม้แต่ในวัยศึกษา เขาเป็นผู้มีความสามารถและมีมันสมองที่ดีเฉลียวฉลาด เขาสามารถท่องจำอัลกุรอ่านตั้งแต่อายุยังน้อย นอกจากนี้ยังได้ท่องจำหะดีษและจดบันทึกหะดีษไว้เป็นจำนวนมาก และมีความชำนาญด้านภาษาอาหรับ ต่อ มาก็มีผู้ชักชวนท่านให้ไปศึกษาวิชาการอิสลามโดยเฉพาะอย่างยิ่งทาง ด้านกฎหมายอิสลาม ท่านจึงได้เริ่มศึกษาด้านนี้ที่นครมักกะฮจนได้รับความรู้อย่างมากมาย จนกระทั่งมุสลิม อิบนฺ คอลิด มุฟตียฺ(ผู้พิพากษา)แห่งนครมักกะฮได้อนุญาตให้ท่านออกฟัตวา(ข้อชี้ขาดทางศาสนา)ได้แต่ท่านยังไม่พอใจในความรู้ของท่าน เขาจึงได้พยายามมุ่งมั่น ในการศึกษาค้นคว้าต่อไป และเขาได้เดินทางไปศึกษาจากอิหม่ามมาลิกที่นครมะดีนะฮฺ จนกระทั่งอิหม่ามมาลิกเสียชีวิตไป นอกจากนี้เขายังได้ศึกษาจากครูอาจารย์อีกจำนวนมาก ท่านมีลูกศิษย์มากมาย ศิษย์คนสำคัญของท่านที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ อิหม่ามอะหฺมัด อิบนฺ หันบัล ท่านสิ้นชีวิตในปี ค.ศ. 820 (ฮ.ศ . 204 ) รวมอายุได้ 54 ปี แนวคิดด้านกฎหมายอิสลามของท่านมีผู้ดำเนินตามเป็นจำนวนมาก จนก่อตัวเป็นสำนักกฎหมายสำคัญ เรียกว่า มัซฮับ ชาฟิอีย์ สำนักคิดนี้ได้วางหลักเกณฑ์การวินิฉัยกฎหมายอิสลามโดยการพิจารณาแหล่งที่มาดังนี้ 1.อัลกุรอ่าน 2.วัจนะศาสดา 3.มตินักปราชญ์ 4.การเทียบเคียง ผู้สืบทอดสำนักคิดของท่านสำคัญๆได้แก่ ยูซุฟ บิน ยะหยา อัลบุวัยตีย์, อิสมาอีล บิน ยะหหยา อัลมุซะนีย์ และ อัรรอเบียะ บินสุไลหมาน อัลมุรอดีย์ชฮับ เป็นต้น ตำราอ้างอิงสำคัญๆในสำนักคิดนี้นอกจาก อัลอุม และอัรริซาละห์ของอิหม่ามชาฟิอีย์ได้แก่ อัลมุฮัซซับ ของอิหม่ามอัชไชรอซีย์ มุฆนีย์ อัลมุหตาจ ของอัชชัรบีนีย์ อัลคอเตบ หนังสือ นีฮายาตุลมุหตาจ ของชัยค์รอมลี เป็นต้น 4. มัซฮับฮัมบาลีย์ ผู้ให้กำเนิดสำนักคิดนี้อิหม่ามชาฟิอีย์อิหม่าม อะหฺมัด อิบนุฮัมบัล[12] ท่าน เกิดในกรุงแบกแดด ในวันที่ 20 เดือนเราะบิอุล เอาวัล ฮ.ศ. 164 (ธันวาคม ค.ศ. 780) ชีวิตของท่าน ได้เติบโตขึ้นในแวดวงวิชาการ โดยท่องจำอัลกุรอานได้ทั้งเล่มตั้งแต่เยาว์วัย และศึกษากฎหมายอิสลาม หะดีษ และไวยากรณ์อาหรับในนครแบกแดด จากนั้นเข้าร่วมกลุ่มศึกษาของอบู ยูสุฟ สหายคนสำคัญของอบู หะนีฟะฮฺ ตั้งแต่อายุ 15 ปี เป็นต้นมา เขาได้อุทิศตัวให้กับการศึกษาหะดีษ ทำให้เขาต้องออกเดินทางไปยังเมืองต่าง ๆ ไม่ว่าอิหร่าน คอรอซาน หิญาซ เยเมน ซีเรีย อิรัก และแม้แต่มัฆริบ(โมร็อคโคปัจจุบัน) เพื่อเสาะหาความถูกต้องของหะดีษ และท่านยังได้ไปทำฮัจญ์ที่มักกะฮฺ 5 ครั้งด้วยกัน อาจารย์ของท่าน ที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ อิหม่ามชาฟิอีย์ ซึ่งท่านได้ศึกษากับอิหม่ามซาฟีอีเป็นครั้งแรกที่นครมักกะฮฺ เมื่ออิบนฺ ฮัมบัล ไปบำเพ็ญฮัจญ์ที่นั้นซึ่งในขณะนั้นอิหม่ามซาฟีอีกำลังสอนอยู่ในมัสยิดฮะรอม และท่าน ยังได้ไปศึกษากับอิบรอฮีม อิบนฺ ซะอด์ ยะฮยา อัลก็อฏฏอน บทบาทสำคัญอันโดดเด่นของท่าน คือการยืนหยัดเพื่อสัจธรรมและการฟื้นฟูอิสลาม การยืนหยัดของท่านนำไปสู่การถูกทดสอบอย่างมากมาย โดยเฉพาะเมื่อท่านขัดแย้งกับเคาะลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ ตั้งแต่สมัยของเคาะลีฟะฮฺมะมูนจนถึงสมัยเคาะลีฟะฮฺอัลวาษิก ท่านเป็นปราชญ์ผู้นำด้านกฎหมายอิสลามคนสำคัญอีกคนหนึ่ง สำหรับแนวกฎหมายอิสลามของท่านมีผู้ปฏิบัติตามน้อยกว่าสามสำนักใหญ่ แต่ก็มีผู้ปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่องมาตลอดประวัติศาสตร์ เรียกสำนักนิติศาสตร์ของเขาว่า มัซฮับ ฮัมบะลีย์ สำนักคิดนี้ได้วางหลักเกณฑ์การวินิฉัยกฎหมายอิสลามโดยการพิจารณา 5 แหล่งที่มาดังนี้คือ 1.นัศศ์ หมายถึงตัวบทของอัลกุรอ่านและวัจนะศาสดา 2.ฟัตวาของศอฮาบะฮ์ หมายถึงคำวินิจฉัยที่เกิดจากสหายของท่านศาสดา 3. หากศอฮาบะฮ์มีหลายทัศนะต่อปัญหาเดียว ท่านก็จะเลือกทัศนะที่ใกล้เคียงกับนัศศ์มากที่สุด 4. หะดิษมุรสัล หมายถึงวัจนะศาสดาที่ผู้รายงานมิใช่สหายของศาสดากล่าวคือ ผู้ที่อ้างว่าเป็นคำพูดของศาสดา แต่บุคคลผู้อ้างไม่ได้เป็นคนที่เห็นท่านศาสดานั้นเอง


อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น