ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
พระราชสมภพ
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
| image = [[ไฟล์:สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก.jpg|220px]]
| image = [[ไฟล์:สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก.jpg|220px]]
| birth_place = [[บ้านสะแกกรัง]] [[เมืองอุทัยธานี]]
| birth_place = [[บ้านสะแกกรัง]] [[เมืองอุทัยธานี]]
| death_place =
| death_place =พระราชสมภพ

| death_style = สวรรคต
| death_style = สวรรคต
| death_date = พ.ศ. 2312
| death_date = พ.ศ. 2312

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:26, 30 กันยายน 2562

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
ประสูติบ้านสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี
สวรรคตพ.ศ. 2312
พระราชสมภพ
ภรรยาพระอัครชายา (หยก)
เจ้าจอมมารดากู่
เจ้าจอมมารดามา
พระบุตร7 พระองค์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระยาราชนิกูล (ทองคำ)

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระนามเดิม ทองดี เป็นสมเด็จพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องด้วยทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติที่บ้านสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี ทรงเป็นบุตรคนโตของพระยาราชนิกูล (ทองคำ) ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย (บ้างก็ว่า กรมนา) ในรัชกาลสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เสนาบดีพระคลังในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นออกพระวิสุทธสุนทร และได้เดินทางไปถวายพระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยังราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2228

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ทรงรับราชการในกรมมหาดไทย รับบรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงพินิจอักษร และ พระอักษรสุนทรศาสตร์ ในตำแหน่งเสมียนตรากรมมหาดไทย มีหน้าที่ร่างพระราชสาส์นโต้ตอบกับหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเก็บรักษาพระราชลัญจกร

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เสกสมรสกับสองพี่น้องบุตรีของคหบดีชาวจีน คนพี่ชื่อว่า ดาวเรือง[1] (หรือ หยก) ส่วนคนน้อง ไม่ทราบนาม ตั้งบ้านเรือนอยู่ภายในกำแพงพระนคร ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณป้อมเพชร ซึ่งเป็นย่านอาศัยของชาวจีน

พระโอรส-ธิดา

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก มีพระโอรส-ธิดา กับพระอัครชายา (หยก) 5 พระองค์ คือ[2]

  1. สา ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี ในรัชกาลที่ 1
  2. ขุนรามณรงค์ เฉลิมพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าขุนรามณรงค์
  3. แก้ว ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ในรัชกาลที่ 1
  4. ทองด้วง ปราบดาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
  5. บุญมา เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ 1 แล้วเฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทในรัชกาลที่ 6

และมีพระโอรสธิดาอีก 2 พระองค์กับภรรยาอื่น ได้แก่

  1. กุ เฉลิมพระนามเป็นพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี ในรัชกาลที่ 5
  2. ลา ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา ในรัชกาลที่ 1

พระน้องนางของพระอัครชายา (ดาวเรืองหรือหยก) มีชื่อว่า (กู่) ตามเอกสารเดิมที่อยู่ในจังหวัดอุทัยธานี

สวรรคต

ช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310 นายทองดี พร้อมด้วยภรรยา และนายลา บุตรคนสุดท้องเดินทางไปอยู่ที่เมืองพิษณุโลก แต่นายทองดีเกิดป่วยจนเสียชีวิต นายลาและมารดา จึงได้ทำการฌาปนกิจศพตามสมควรในเวลานั้น ต่อมาจึงเชิญอัฐิบรรจุในมหาสังข์ มามอบแด่พระยาอไภยรณฤทธิ์ (รัชกาลที่ 1) ที่กรุงธนบุรี

พระมหาสังข์องค์นี้เป็นสังข์เวียนซ้าย ความยาว 20 เซนติเมตร ริ้วเวียนรอบหัวสังข์และปากสังข์เลี่ยมทองคำสลักลายฝังพลอย ข้างในท้องสังข์มีดอกมะเขือฝังนพเก้า ร่องปลายปากสังข์จารึกอักขระ อุมีมังสีทองคำลงยารองรับ ถือเป็นพระมหาสังข์คู่บ้านคู่เมือง ใช้หลั่งน้ำพระราชทานแก่ราชสกุล ในงานสมรสพระราชทาน กราบถวายบังคมลาไปปฏิบัติราชการต่างประเทศ ในรัชกาลต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกและพระราชชนนีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2338 เนื่องในวโรกาสที่มีพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเมรุมาศขนาดใหญ่ และมีเครื่องมหรสพสมโภช เหมือนอย่างงานพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงศรีอยุธยา

พระเมรุมาศก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2339 ได้มีพิธีแห่พระบรมอัฐิออกสู่พระเมรุ มีมหรสพสมโภชเป็นเวลา 7 วัน เมื่อเสร็จพระราชพิธีถวายพระเพลิงแล้วได้อัญเชิญพระบรมอัฐิ กลับมาประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกยังได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมากรปางห้ามสมุทร หุ้มทองคำประดับเนาวรัตน์ขึ้นองค์หนึ่ง ถวายพระนามว่าพระพุทธจักรพรรดิ ทรงอุทิศส่วนพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระพุทธรูปพระองค์นี้ประดิษฐานไว้ ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

พระบรมราชานุสาวรีย์

จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประดิษฐานอยู่ ณ เขาแก้ว (เขาสะแกกรัง-ปัจจุบัน) ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ทอดขนานกับแม่น้ำสะแกกรัง เมื่อ พ.ศ. 2514 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2522

พระอิสริยยศ

  • ทองดี
  • หลวงพินิจอักษร
  • พระอักษรสุนทรศาสตร์
  • สมเด็จพระราชชนกทองดี
  • สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
  • สมเด็จพระปฐมบรมอัยกาเธอ
  • สมเด็จพระปฐมบรมปัยกาเธอ

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. มีหลักฐานว่า ท่านทั้งสองได้บริจาคเงินสร้างวัดชื่อวัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร จึงสันนิษฐานว่า คนพี่ชื่อดาวเรือง
  2. กรมศิลปากร สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 1-4. ISBN 978-974-417-594-6
บรรณานุกรม
  • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปฐมวงศ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย, 2470. 75 หน้า.
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. ISBN 978-974-417-594-6

แหล่งข้อมูลอื่น