ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษามลายูปัตตานี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 158: บรรทัด 158:
</center>
</center>


==คำศัพท์==
==คำยืม==
นอกจากคำศัพท์พื้นฐานของภาษามลายูแล้ว ภาษามลายูปัตตานีมีคำยืมจากภาษาอื่นหลายภาษา ได้แก่<ref>ประพนธ์, 2540</ref>
นอกจากคำศัพท์พื้นฐานของ[[ภาษามลายู]]แล้ว ภาษามลายูปัตตานีมีคำยืมจากภาษาอื่นหลายภาษา ได้แก่<ref>ประพนธ์, 2540</ref>
* [[ภาษาสันสกฤต]] เข้ามาพร้อมกับ[[ศาสนาพุทธ]] เช่น ภาษา เป็น ''บาฮาซอ หรือ บาซอ'', หฤทยะ (ใจ) เป็น ''ฮาตี'' (ตับ, ใจ), คช (ช้าง) เป็น ''ฆฺาเย๊าะห์'',ชัย (ชัยชนะ) เป็น ''จายอ'' (เจริญ), โทษ (ความชั่ว) เป็น ''ดอซอ'' (บาป), วาจา (คำพูด) เป็น ''บาจอ'' (อ่าน)
* [[ภาษาสันสกฤต]] เข้ามาพร้อมกับ[[ศาสนาพุทธ]] เช่น ภาษา เป็น ''บาฮาซอ หรือ บาซอ'', หฤทยะ (ใจ) เป็น ''ฮาตี'' (ตับ, ใจ), คช (ช้าง) เป็น ''ฆฺาเย๊าะห์'',ชัย (ชัยชนะ) เป็น ''จายอ'' (เจริญ), โทษ (ความชั่ว) เป็น ''ดอซอ'' (บาป), วาจา (คำพูด) เป็น ''บาจอ'' (อ่าน)
* [[ภาษาอาหรับ]] เข้ามาพร้อมกับ[[ศาสนาอิสลาม]] เช่น กอลัม (ปากกา) เป็น ''กาแล'', ตะมัร (อินทผาลัม) เป็น ''ตามา'', อาลัม (โลก) เป็น ''อาแล'', ฏุฟฟาห์ (แอปเปิ้ล) เป็น ''ตอเปาะห์'', วักตู (เวลา) เป็น ''วะกือตู'', กีตาบ (หนังสือ) เป็น ''กีตะ'', ดุนยา (โลก) เป็น ''ดูนิยอ''
* [[ภาษาอาหรับ]] เข้ามาพร้อมกับ[[ศาสนาอิสลาม]] เช่น กอลัม (ปากกา) เป็น ''กาแล'', ตะมัร (อินทผาลัม) เป็น ''ตามา'', อาลัม (โลก) เป็น ''อาแล'', ฏุฟฟาห์ (แอปเปิ้ล) เป็น ''ตอเปาะห์'', วักตู (เวลา) เป็น ''วะกือตู'', กีตาบ (หนังสือ) เป็น ''กีตะ'', ดุนยา (โลก) เป็น ''ดูนิยอ''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:12, 27 กันยายน 2562

ภาษามลายูปัตตานี
บาซอนายูตานิง หรือ แกแจะนายู
ออกเสียง/baˈsɔ ˈnːaju ˈtːaniŋ/
ประเทศที่มีการพูดไทย
ภูมิภาคจังหวัดปัตตานี, นราธิวาส, ยะลา บางส่วนของสงขลา และบางส่วนของรัฐเประ (อาจจรวมถึงรัฐกลันตัน)
จำนวนผู้พูด1 ล้านคน[1]  (2549)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรยาวี, อักษรไทย,[1] อักษรโรมัน
รหัสภาษา
ISO 639-3mfa (Pattani)

ภาษามลายูปัตตานี หรือ ภาษามลายูปาตานี (มลายูปัตตานี: บาซอนายูตานิง; มลายู: Bahasa Melayu Patani, อักษรยาวี: بهاس ملاي ڤطاني) หรือนิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ภาษายาวี (มลายูปัตตานี: บาซอญฺาวี, บอซอยาวี, อักษรยาวี: بهاس جاوي) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเซียนที่พูดโดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา รวมทั้งในอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสงขลา (ไม่รวมจังหวัดสตูล) และในเขตฮูลูเประในรัฐเประของมาเลเซีย

ในประเทศไทยมีประชากรที่พูดภาษานี้มากกว่า 1 ล้านคน ภาษานี้ใกล้เคียงมากกับภาษามลายูถิ่นในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่แตกต่างจากส่วนที่เหลือของประเทศมาเลเซีย บางครั้งก็มีการเรียกรวมกันเป็นภาษาเดียวกันว่า ภาษามลายูกลันตัน-ปัตตานี (มลายูปัตตานี: [บาซอนายูกือลาแต-ตานิง] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ), กลันตัน: [Baso nayu Kelate-Taning] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ))

ระบบเสียง

พยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะมลายูปัตตานี[2]
ประเภทเสียง ตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปาก ริมฝีปาก
กับฟัน
ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก m n ɲ ŋ
เสียงกึ่งนาสิก mb nd ɲɟ ŋg
เสียงกัก ไม่ก้อง ไม่พ่นลม p t c k ʔ
พ่นลม (pʰ) (tʰ) (cʰ) (kʰ)
ก้อง b d ɟ g
เสียงเสียดแทรก ไม่ก้อง (f) s (x) h
ก้อง (z) ɣ
เสียงลิ้นรัว r
เสียงข้างลิ้น l
เสียงกึ่งสระ w j


  • หน่วยเสียงที่อยู่ในวงเล็บคือหน่วยเสียงที่ปรากฏในคำยืม เช่น /eʔ/ 'เค้ก', /orasaʔ/ 'โทรศัพท์'
  • หน่วยเสียงที่ปรากฏในตำแหน่งท้ายพยางค์มี 3 หน่วยเสียง ได้แก่ /ŋ/, /ʔ/ และ /h/ เช่น /tɨpoŋ/ 'ขนม', /kɔtɔʔ/ 'กล่อง', /panah/ 'ร้อน'
  • หน่วยเสียงพยัญชนะกึ่งนาสิกเป็นหน่วยเสียงที่ไม่พบทั้งในภาษามาเลเซียและภาษาไทย เกิดจากการรวบเสียงพยัญชนะนาสิกเข้ากับเสียงพยัญชนะกักซึ่งใช้ฐานกรณ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกันจนกลมกลืนเป็นเสียงเดียว โดยเกิดเฉพาะในตำแหน่งกลางคำเท่านั้น ตัวอย่างคู่เทียบเสียงได้แก่ /kɨmæ/ 'ไมยราบ' - /kɨmbæ/ 'บาน', /kanæ/ 'ขวา' - /kandæ/ 'คอก' และ /tuŋa/ 'ไร' - /tuŋga/ 'โทน, โดด'
  • นอกจากหน่วยเสียงพยัญชนะข้างต้นแล้ว ภาษามลายูปัตตานียังมีหน่วยเสียงพยัญชนะเสียงยาว ซึ่งก็คือเสียงพยัญชนะต้นที่ถูกยืดให้ยาวกว่าปกติเล็กน้อยเนื่องมาจากการลดรูปของคำ การยืดเสียงเช่นนี้เกิดได้กับพยัญชนะทุกหน่วยเสียง ยกเว้น /ʔ/, /h/ และหน่วยเสียงพยัญชนะกึ่งนาสิก ตัวอย่างคู่เทียบเสียงได้แก่ /buŋɔ/ 'ดอกไม้' - /uŋɔ/ 'ออกดอก' และ /malæ/ 'กลางคืน' - /alæ/ 'ค้างคืน'

สระ

หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษามลายูปัตตานี[3]
ประเภท สระหน้า สระกลางลิ้น สระหลัง
สระสูง i ɨ u, ũ
สระกึ่งสูง e o
สระกึ่งต่ำ æ, æ̃ ɔ, ɔ̃
สระต่ำ a, ã

คำยืม

นอกจากคำศัพท์พื้นฐานของภาษามลายูแล้ว ภาษามลายูปัตตานีมีคำยืมจากภาษาอื่นหลายภาษา ได้แก่[4]

  • ภาษาสันสกฤต เข้ามาพร้อมกับศาสนาพุทธ เช่น ภาษา เป็น บาฮาซอ หรือ บาซอ, หฤทยะ (ใจ) เป็น ฮาตี (ตับ, ใจ), คช (ช้าง) เป็น ฆฺาเย๊าะห์,ชัย (ชัยชนะ) เป็น จายอ (เจริญ), โทษ (ความชั่ว) เป็น ดอซอ (บาป), วาจา (คำพูด) เป็น บาจอ (อ่าน)
  • ภาษาอาหรับ เข้ามาพร้อมกับศาสนาอิสลาม เช่น กอลัม (ปากกา) เป็น กาแล, ตะมัร (อินทผาลัม) เป็น ตามา, อาลัม (โลก) เป็น อาแล, ฏุฟฟาห์ (แอปเปิ้ล) เป็น ตอเปาะห์, วักตู (เวลา) เป็น วะกือตู, กีตาบ (หนังสือ) เป็น กีตะ, ดุนยา (โลก) เป็น ดูนิยอ
  • ภาษาเขมร เช่น กำปง (หมู่บ้าน) เป็น กาปง
  • ภาษาจีน เช่น กุยช่าย เป็น กูจา
  • ภาษาเปอร์เซีย เช่น มะตับ (แสงจันทร์) เป็น มะตับ, ฆันดุม (แป้ง) เป็น ฆฺานง
  • ภาษาฮินดี เช่น โรตี เป็น รอตี
  • ภาษาทมิฬ เช่น มานิกัม (เพชร) เป็น มานิแก
  • ภาษาอังกฤษ เช่น glass (แก้ว) เป็น ฆฺือละห์, ฟรี เป็น ปือรี, มอเตอร์ไซค์ เป็น มูตู-ซีกา
  • ภาษาไทย เช่น นายก เป็น นาโย๊ะ, ปลัด เป็น บือละ, มักง่าย เป็น มะงา

ความแตกต่างระหว่างภาษามลายูปัตตานีกับภาษามาเลเซีย

ความแตกต่างระหว่างภาษามลายูปัตตานีกับภาษามลายูกลางหรือภาษามาเลเซียมีดังนี้[5]

การใช้คำ

บางคำทั้งสองภาษาใช้คำต่างกัน เช่น ฉัน ภาษามาเลเซียใช้ [saya] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) ภาษามลายูปัตตานีใช้ อามอ หรือ ซายอ; มันเทศ ภาษามาเลเซียใช้ [ubi keledek] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) ภาษามลายูปัตตานีใช้ อูบีกือแตลอ หรือ อูบีแตลอ; ภาษามาเลเซียใช้ [kacap] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) ภาษามลายูปัตตานีใช้ แกแจะ นอกจากนี้ ยังมีการใช้คำภาษาไทยปะปนเข้ามาในบางส่วน

การออกเสียง

  • ออกเสียงสระต่างกัน ได้แก่
    • เสียง /a/ + พยัญชนะนาสิกในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɛ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น [ayam] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (ไก่) เป็น อาย; [makan] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (กิน) เป็น มา
    • เสียง /a/ ท้ายคำในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɔ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น [nama] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (ชื่อ) เป็น นาม; [sila] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (เชิญ) เป็น ซีล
    • เสียง /a/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɔʔ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น [bawa] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (พา) เป็น บอาะ; [minta] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (ขอ) เป็น มีาะ
    • เสียง /ah/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɔh/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น [rumah] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (บ้าน) เป็น รูาะฮ
    • เสียง /aj/ ท้ายคำในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /a/ หรือ /ɛ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น [sungai] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (คลอง) เป็น ซูงหรือซูง; [kedai] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (ตลาด) เป็น กือดหรือกือด (การแปรเป็นเสียง /ɛ/ พบในบางท้องถิ่นเท่านั้น)
    • เสียง /aw/ ท้ายคำในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /a/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น [pisau] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (มีด) เป็น ปีซ
    • เสียง /i/ ท้ายคำที่ประสมกับพยัญชนะนาสิกในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /iŋ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น [sini] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (ที่นั่ง) เป็น ซีนิง
    • เสียง /ia/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ijɛ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น [Siam] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (สยาม) เป็น ซีแย
    • เสียง /ia/ พยางค์แรกในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɛ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น [biasa] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (เคย) เป็น บซอ
    • เสียง /ua/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɔ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น [puasa] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (บวช) เป็น ปซอ
  • ออกเสียงพยัญชนะต้นต่างกัน เช่น
    • เสียง /r/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɣ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น [orang] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (คน) เป็น ออแรฺ, [rantai] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (โซ่) เป็น รฺาตา
  • ออกเสียงตัวสะกดต่างกัน เช่น
    • ตัวสะกดที่เป็นเสียงเสียดแทรก /s/, /f/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียงที่เกิดจากคอหอย /h/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น [malas] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (เกียจคร้าน) เป็น มาละ
    • ตัวสะกด /n/, /m/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ŋ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น [hakim] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (ตุลาการ) เป็น ฮาเก็

นอกจากนั้นภาษามลายูปัตตานียังนิยมลดเสียงและคำที่พูด เช่น [emak saudara] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (น้าผู้หญิง) ในภาษามาเลเซีย เป็น เมาะซือดารฺอ ในภาษามลายูปัตตานี

โครงสร้างประโยค

ภาษามลายูปัตตานีนิยมเรียงประโยคแบบภาษาไทยคือใช้รูปประธานกระทำ ส่วนภาษามาเลเซียใช้ประโยคแบบประธานถูกกระทำ เช่น ภาษามลายูใช้ ตูวัน ดีเปอรานะกัน ตีมานา (ท่านถูกเกิดที่ไหน) ภาษามลายูปัตตานีใช้ ตูแว บือราเนาะ ดีมานอ (ท่านเกิดที่ไหน)

ความต่างของไวยากรณ์และคำศัพท์

  • ภาษามลายูปัตตานีตัดคำอุปสรรคที่ไม่จำเป็นออก เช่น [berjalan] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (เดิน) ในภาษามาเลเซีย เป็น 'ยฺแล ในภาษามลายูปัตตานี
  • ภาษามลายูปัตตานีใช้คำง่ายกว่า เช่น มาแก ใช้ได้ทั้ง กินข้าว ดื่มน้ำ สูบบุหรี่ แต่ภาษามาเลเซียแยกเป็น [makan] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (กิน), [minum] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (ดื่ม) และ [hisap] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) (สูบ)
  • ภาษามาเลเซียมีการแยกระดับของคำมากกว่า เช่น ผู้ชายใช้ [laki-laki] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) สัตว์ตัวผู้ใช้ [jantan] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) ส่วนภาษามลายูปัตตานีใช้ ยฺแต กับทั้งคนและสัตว์ ส่วน ลือลากี มีใช้น้อย
  • ภาษามลายูปัตตานีมีการเรียงคำแบบภาษาไทยมากกว่า เช่น ทำนา ใช้ บูวะบือแ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 http://www.ethnologue.com/language/mfa
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. คู่มือระบบเขียนภาษามลายูปาตานีอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2553, หน้า 20.
  3. ราชบัณฑิตยสถาน. คู่มือระบบเขียนภาษามลายูปาตานีอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2553, หน้า 24.
  4. ประพนธ์, 2540
  5. ประพนธ์, 2540
  • ประพนธ์ เรืองณรงค์. บุหงาปัตตานี: คติชนไทยมุสลิมชายแดนภาคใต้. กทม. มติชน. 2540