ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลเวสต์บรอมมิชอัลเบียน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Stelios (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Stelios (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 81: บรรทัด 81:
{{fs start}}
{{fs start}}
{{fs player|no=1|nat=ENG|pos=GK|name=[[แซม จอห์นสโตน]]​}}
{{fs player|no=1|nat=ENG|pos=GK|name=[[แซม จอห์นสโตน]]​}}
{{fs player|no=2|nat=CMR|pos=DF|name=อัลล็อง ไนออม}}
{{fs player|no=2|nat=ENG|pos=DF|name=ดาร์เนล เฟอร์ลอง}}
{{fs player|no=3|nat=ENG|pos=DF|name=[[คีแรน กิบส์]]}}
{{fs player|no=3|nat=ENG|pos=DF|name=[[คีแรน กิบส์]]}}
{{fs player|no=4|nat=WAL|pos=FW|name=[[แฮล ร็อบสัน-คานู]]}}
{{fs player|no=4|nat=WAL|pos=FW|name=[[แฮล ร็อบสัน-คานู]]}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:14, 21 กันยายน 2562

สำหรับ WBA ความหมายอื่น ดูที่: สมาคมมวยโลก

สโมสรฟุตบอลเวสต์บรอมมิชอัลเบียน
West Bromwich Albion crest
ชื่อเต็มWest Bromwich Albion Football Club
ฉายาAlbion, The Baggies, The Throstles
เจ้าเดินดง (ภาษาไทย)
ชื่อย่อWBA, West Brom
ก่อตั้ง1878; 146 ปีที่แล้ว (1878)
(ในชื่อ West Bromwich Strollers)
สนามเดอะฮอว์ทอนส์
ฮัลฟอร์ดส์ เลน, เวสต์บรอมมิช
Ground ความจุ26,852 ที่นั่ง[1]
เจ้าของไล่ กั๋วฉวน จีน
ประธานลี่ ปี่เยว่ จีน
ผู้จัดการสลาเวน บีลิชโครเอเชีย
ลีกแชมเปียนชิป
2018–19แชมเปียนชิป, อันดับที่ 4
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลเวสต์บรอมมิชอัลเบียน (อังกฤษ: West Bromwich Albion Football Club; ตัวย่อ: WBA) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่ที่เมืองเวสต์บรอมมิช ในภาคเวสต์มิดแลนด์ ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับอีเอฟแอลแชมเปียนชิป ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1878 โดยคนงานจากโรงงานซอลเตอร์สสปริงเวิร์กส ในเวสต์บรอมมิช และใช้สนามเดอะฮอว์ทอนส์เป็นสนามเหย้ามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900

เวสต์บรอมมิช อัลเบียน เป็นหนึ่งในสโมสรฟุตบอลที่เป็นสมาชิกยุคก่อตั้งอิงกลิชฟุตบอลลีก ในปี ค.ศ. 1888 เคยได้แชมป์ลีกสูงสุดของประเทศ 1 สมัยในฤดูกาล 1919–20 และได้รองแชมป์ลีกสูงสุด 2 สมัย รวมถึงเคยคว้าแชมป์เอฟเอคัพ ได้ 5 สมัย และฟุตบอลลีก คัพ อีก 1 สมัย ซึ่งการคว้าแชมป์รายการสำคัญครั้งสุดท้ายของสโมสรคือการคว้าแชมป์เอฟเอคัพ ฤดูกาล 1967–68 ด้วยการเอาชนะสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันได้ในรอบชิงชนะเลิศ

ตราสัญลักษณ์ของสโมสรเป็นรูปนก ซอง ทรัช (Song Thrush) หรือ โทรสเทิล (Throstle) ซึ่งเป็นนกที่อยู่ในวงศ์นกเดินดงชนิดหนึ่ง กำลังเกาะอยู่บนกิ่งของต้นฮอว์ทอนส์ที่มีผลสีแดง และมีสโมสรคู่แข่งสำคัญในภาคเวสต์มิดแลนด์คือแอสตันวิลลาและวูล์ฟแฮมป์ตัน วอนเดอเรอส์ โดยการแข่งขันระหว่างเวสต์บรอมมิช อัลเบียน และวูลฟ์แฮมป์ตัน วอนเดอเรอส์ มักจะถูกเรียกขานว่าแบล็ค คันทรี ดาร์บี้ (Black Country Derby)

ประวัติสโมสร

ยุคก่อตั้ง :1878–1902

สโมสรก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1878 ในชื่อ เวสต์บรอมมิช สโตรลเลอส์ จากกลุ่มพนักงานของโรงงาน จอร์จ ซอลเทอส์ สปริง เวิร์คส์ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเครื่องชั่ง ตวง วัด ในครัวเรือน ผู้เล่นของทีมส่วนใหญ่เป็นพนักงานภายในโรงงาน และบางส่วนเป็นนักคริกเก็ต ที่กำลังหากีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาว

เวสต์บรอมมิช สโตรลเลอส์ ทำการลงแข่งขันเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1878 โดยเป็นการแข่งกับทีมฟุตบอลของกลุ่มพนักงานโรงงานฮัดสัน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตสบู่ จากนั้นในปี ค.ศ. 1880 สโมสรได้เปลี่ยนชื่อเป็น เวสต์บรอมมิช อัลเบียน ทำให้เป็นสโมสรฟุตบอลสโมสรแรกในสหราชอาณาจักรที่มีคำต่อท้ายชื่อว่า อัลเบียน

ในช่วง 2 ปีแรกนับแต่ก่อตั้งทีมขึ้น สโมสรยังเล่นฟุตบอลอยู่ตามสวนสาธารณะในแถบเวสต์ บรอมมิช ,สเมดิค และเวนส์บิวรี และออกเดินทางไปยังสเตาร์บริดจ์เป็นครั้งคราวเพื่อลงแข่งขันกับทีมอื่น จนกระทั่งในฤดูกาล 1881–82 สโมสรได้สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมฟุตบอลเมืองเบอร์มิงแฮม ทำให้ได้สิทธิลงแข่งขันในรายการเบอร์มิงแฮม ซีเนียร์ คัพ และผ่านเข้าไปจนถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย จากผลงานดังกล่าวทำให้สโมสรเริ่มได้รับความสนใจจากสื่อต่างๆของเมืองเบอร์มิงแฮม และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเริ่มรายงานการแข่งขันของพวกเขามากขึ้น

ในปี ค.ศ. 1882 สโมสรได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ สมาคมฟุตบอลแห่งมณฑลสแตฟฟอร์ดเชียร์ และคว้าแชมป์สแตฟฟอร์ดเชียร์ คัพ ได้สำเร็จ ด้วยการเอาชนะสโต๊ก ซิตี้ได้ในนัดชิงชนะเลิศ 3–2 โดยนับเป็นแชมป์รายการแรกของสโมสร และถือเป็นการคว้าแชมป์รายการสำคัญระดับประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว เพราะในขณะนั้นแต่ละมณฑลจะจัดการแข่งขันฟุตบอลถ้วยเป็นของตนเอง และผู้ที่คว้าแชมป์ได้จะได้รับการต้อนรับจากทั่วทุกเมืองที่อยู่ในมณฑลนั้นๆ

ผู้เล่นของสโมสรฟุตบอลเวสต์บรอมมิช อัลเบียน ชุดที่ลงแข่งขันรายการ สแตฟฟอร์ดเชียร์ คัพ ในปี ค.ศ. 1883 โดยนับเป็นรูปถ่ายนักฟุตบอลรูปแรกสุดในประวัติศาสตร์สโมสร

ในฤดูกาล 1883–84 สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขันเอฟเอคัพเป็นครั้งแรก แม้จะตกรอบแรก แต่ก็ได้เลื่อนฐานะขึ้นเป็นสโมสรฟุตบอลระดับอาชีพในปี ค.ศ. 1885 ต่อมาในปี ค.ศ. 1886 สโมสรเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศในเอฟเอคัพได้สำเร็จ แต่กลับพ่ายแพ้ให้กับแบล็คเบิร์น โรเวอส์ ในนัดชิงชนะเลิศ ทำให้ได้เพียงแค่ตำแหน่งรองแชมป์

ในปี ค.ศ. 1887 สโมสรเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ ได้อีกครั้ง แต่ก็พ่ายแพ้ในรอบชิงชนะเลิศอีกเป็นครั้งที่ 2 โดยแพ้ให้กับแอสตันวิลลา และได้รองแชมป์ไปอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1888 สโมสรเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ ได้เป็นสมัยที่ 3 ติดต่อกันและประสบความสำเร็จในที่สุด ด้วยการเอาชนะเพรสตัน นอร์ท เอนด์ ไป 2–1 คว้าแชมป์เอฟเอคัพไปครองได้เป็นสมัยแรกในประวัติศาสตร์สโมสร

ผู้เล่นของสโมสรในปี ค.ศ. 1888 ชุดที่คว้าแชมป์เอฟเอคัพและร่วมก่อตั้งฟุตบอลลีก

โดยในปี ค.ศ. 1888 นอกจากสโมสรจะได้แชมป์เอฟเอคัพ แล้ว ยังได้เป็น 1 ใน 12 สโมสรที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งอิงกลิชฟุตบอลลีกขึ้น และได้ลงแข่งขันในลีกสูงสุดที่จัดขึ้นเป็นฤดูกาลแรกของประเทศอังกฤษ ต่อมาสโมสรได้แชมป์เอฟเอคัพ เป็นสมัยที่ 2 ในปี ค.ศ. 1892 ก่อนจะตกชั้นจากลีกสูงสุดเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 1900–1901

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2018[2]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK อังกฤษ แซม จอห์นสโตน
2 DF อังกฤษ ดาร์เนล เฟอร์ลอง
3 DF อังกฤษ คีแรน กิบส์
4 FW เวลส์ แฮล ร็อบสัน-คานู
5 MF อาร์เจนตินา เกลาเดียว ยาคอป
7 MF สกอตแลนด์ เจมส์ มอร์ริสัน
8 MF อังกฤษ เจค ลิเวอร์มอร์ (รองกัปตัน)
9 FW เวเนซุเอลา ซาโลมอน รอนดอน
10 MF สกอตแลนด์ แมตต์ ฟิลลิปส์
11 MF ไอร์แลนด์เหนือ คริส บรันต์ (กัปตัน)
13 GK เวลส์ โบอัซ มายฮิลล์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
14 MF สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เจมส์ มักเคลน
15 FW อังกฤษ แดเนียล สเตอร์ริดจ์ (ยืมจาก ลิเวอร์พูล)
16 DF อียิปต์ อะลี ญะบีร (ยืมจาก ซามาเลก)
17 MF สกอตแลนด์ โอลิเวอร์ เบิร์ค
18 MF อังกฤษ แกเร็ท แบร์รี
19 FW อังกฤษ เจย์ โรดริเกซ
20 MF โปแลนด์ กแชกอช กรือคอเวียก (ยืมตัวมาจาก ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง)
22 MF เบลเยียม นาศิร ชาซิลีย์
23 DF ไอร์แลนด์เหนือ แกเรท มักออลีย์
25 DF อังกฤษ เครก ดอว์สัน
26 DF อียิปต์ Ahmed Hegazy (ยืมตัวมาจาก Al Ahly)
28 MF อังกฤษ Sam Field
40 GK อังกฤษ Alex Palmer
45 FW อังกฤษ โจนาธาน เลโก

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
29 FW จีน จาง อวี้หนิง (ยืมตัวไป แวร์เดอร์ เบรเมิน)

ผลงาน

ผู้เล่นของสโมสรเวสต์บรอมมิช ชุดที่ได้แชมป์ลีกสูงสุดครั้งแรกและครั้งเดียวของสโมสร ในปี ค.ศ. 1920
ฟุตบอลลีก ดิวิชัน 1 (เดิม), ปัจจุบันเทียบเท่าพรีเมียร์ลีก (1)
  • แชมป์: 1919–20
  • รองแชมป์: 1924–25, 1953–54
ฟุตบอลลีก ดิวิชัน 2 (เดิม), ปัจจุบันเทียบเท่าฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป (3)
  • แชมป์: 1901–02, 1910–11, 2007–08
  • รองแชมป์: 1930–31, 1948–49, 2001–02, 2003–04, 2009–10
เอฟเอคัพ (5)
  • แชมป์: 1888, 1892, 1931, 1954, 1968
  • รองแชมป์: 1886, 1887, 1895, 1912, 1935
ฟุตบอลลีกคัพ (1)
  • แชมป์: 1966
  • รองแชมป์: 1967, 1970
แชริตี้ ชิลด์ (2)
  • แชมป์: 1920, 1954
  • รองแชมป์: 1931, 1968

อ้างอิง

  1. "Premier League Handbook Season 2015/16" (PDF). Premier League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 September 2015. สืบค้นเมื่อ 23 May 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  2. "First team". West Bromwich Albion F.C. สืบค้นเมื่อ 30 August 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น


แม่แบบ:ทีมพรีเมียร์ลีก 2010-11