ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปางห้ามสมุทร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:ห้ามสมุทร 1.jpg|175px|thumb|พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ]]
[[ไฟล์:ห้ามสมุทร 1.jpg|alt=|center|thumb|273x273px|พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร]]
'''ปางห้ามสมุทร''' เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองแบบตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าเสมอพระอุระ (อก) เป็นกิริยาห้าม บางแบบเป็นพระทรงเครื่อง มีลักษณะคล้ายกันกับ[[ปางห้ามพยาธิ]]
'''ปางห้ามสมุทร''' เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองแบบตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าเสมอพระอุระ (อก) เป็นกิริยาห้าม บางแบบเป็นพระทรงเครื่อง มีลักษณะคล้ายกันกับ[[ปางห้ามพยาธิ]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:16, 19 กันยายน 2562

พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร

ปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองแบบตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าเสมอพระอุระ (อก) เป็นกิริยาห้าม บางแบบเป็นพระทรงเครื่อง มีลักษณะคล้ายกันกับปางห้ามพยาธิ

ประวัติ

ในครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปประกาศพระศาสนายังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ของพระเจ้าพิมพิสาร ทรงขอประทับแรมอยู่ในสำนักของอุรุเวลกัสสปะ ผู้เป็นหัวหน้าชฎิล (ฤษี ผู้บูชาไฟ) ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนในแคว้นมคธ ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นานัปการเพื่อทรมาน ฤษีอุรุเวลกัสสปะให้คลายความพยศลง ในครั้งที่น้ำท่วม พระองค์ทรงทำปาฏิหาริย์ห้ามน้ำที่ไหลบ่ามาจากทุกสารทิศมิให้เข้ามาในที่ประทับ และเสด็จจงกรมภายในวงล้อมที่มีน้ำเป็นกำแพง พวกเหล่าชฎิลพายเรือมาดู เห็นเป็นอัศจรรย์ จึงยอมรับในอานุภาพของพระพุทธองค์ และขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ

ความเชื่อและคตินิยม

เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนที่เกิดวันจันทร์

อ้างอิง

  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี  : ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
  • เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
  • สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
  • ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล