ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จุลศักราช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 220: บรรทัด 220:
|-
|-
| 6
| 6
| ฉศก (อ่าน /ฉอ-ศก/)
| ฉศก (/ฉอ-ศก/)
| ឆស័ក
| ឆស័ក
| ปีกัด
| ปีกัด

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:32, 16 กันยายน 2562

จุลศักราช (จ.ศ.; บาลี: Culāsakaraj; พม่า: ကောဇာသက္ကရာဇ်; เขมร: ចុល្លសករាជ) เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. 1181 (ค.ศ. 638) นับรอบปีตั้งแต่ 16 เมษายน ถึง 15 เมษายน เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของพม่า ปรากฏอยู่ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ทว่าปีที่ตั้งจุลศักราชนั้นเป็นเวลาก่อนปีที่พระเจ้าอโนรธามังช่อจะประสูติ สันนิษฐานว่าน่าจะตั้งขึ้นในปีที่กษัตริย์ปยูขึ้นครองราชย์ และใช้สืบต่อมาจนถึงอาณาจักรพุกาม[1] เมื่อสมัยอาณาจักรอโยธยารับศักราชนี้ไปใช้ เลยเกิดความเชื่อกันว่าเป็นศักราชของชาวพม่า จุลศักราชถูกนำมาใช้แพร่หลายทั้งในอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัยสมัยหลัง และอาณาจักรอยุธยา ในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ทรงตัดปีจุลศักราช และใช้ปีศักราชจุฬามณีแทน เป็นผลทำให้ปีนักษัตรคลาดเคลื่อนไปสามปี ต่อมาจึงได้เปลี่ยนกลับไปใช้ปีจุลศักราชตามเดิม และตกทอดมาถึงปัจจุบัน การคำนวณปี พ.ศ. จาก จ.ศ. ปฏิทินไทยให้ใช้ปี จ.ศ. บวก 1181 ก็จะได้ปี พ.ศ. (เว้นแต่ในช่วงต้นปีตามปฏิทินสุริยคติที่ยังไม่เถลิงศกจุลศักราชใหม่)

ในเอกสารโบราณของไทยจำนวนไม่น้อย นิยมอ้างเวลา โดยใช้จุลศักราช โดยใช้ควบคู่กับปีนักษัตร หรือ ระบุเฉพาะเลขตัวท้ายของจุลศักราช และปีนักษัตร ทำให้สามารถระบุปี ได้ในช่วงกว้างถึงรอบละ 60 ปี (มาจาก ครน. ของรอบ 10 ปีจากเลขท้ายของจุลศักราช และรอบ 12 ปีของปีนักกษัตร)

รากศัพท์

คำว่าจุลศักราชเป็นคำในภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต ประกอบด้วยคำว่า "จุล" ในภาษาบาลี แปลว่า เล็ก, น้อย และคำว่า "ศก" และ "ราช" ในภาษาสันสกฤต อันมีความหมายโดยพยัญชนะว่า "ราชาแห่งอาณาจักรศกะ" (ในที่นี้หมายถึงอาณาจักรที่เรียกชื่อว่า Scythians ในภาษาอังกฤษ) คำว่าศักราชได้เปลี่ยนมาใช้ในความหมายว่า "ปี" หรือ "ยุค" ในบรรดาประเทศต่างๆ ที่ยอมรับวัฒนธรรมอินเดียในภูมิภาคอินโดจีน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย[2]

ในประเทศไทยนั้น มีการใช้จุลศักราชเป็นคู่ตรงข้ามกับ "ศาลิวาหนะศักราช" (แปลว่า ศักราชของพระเจ้าศาลิวาหนะแห่งอาณาจักรศกะ) ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในชื่อ มหาศักราช (พม่า: မဟာ သက္ကရာဇ်, [məhà θɛʔkəɹɪʔ]) อันมีความหมายว่า "ศักราชใหญ่"

ความแตกต่าง

การกำหนดชื่อเรียกเฉพาะ

การลำดับเลขเดือน

ชื่อเดือนภาษาสันสกฤต ชื่อเดือนภาษาบาลี เขมร, ล้านช้าง, สุโขทัย เชียงตุง, สิบสองปันนา เชียงใหม่
ไจตฺรมาส จิตฺตมาส 5 6 7
ไวศาขมาส วิสาขมาส 6 7 8
เชฺยษฺฐมาส เชฏฺฐมาส 7 8 9
อาษาฒมาส อาสาฬฺหมาส 8 9 10
ศฺราวณมาส สาวนมาส 9 10 11
ภาทฺรปทมาส,
โปฺรษฐปทมาส
ภทฺทปทมาส,
โปฏฺฐปมาส
10 11 12
อาศฺวินมาส,
อศฺวยุชมาส
อสฺสยุชมาส 11 12 1
การฺตฺติกมาส กตฺติกมาส 12 1 2
มารฺคศีรฺษมาส มิคสิรมาส 1 2 3
เปาษมาส ปุสฺสมาส 2 3 4
มาฆมาส,
ปูสมาส
มาฆมาส,
ผุสฺสมาส
3 4 5
ผาลฺคุนมาส ผคฺคุณมาส 4 5 6

หมายเหตุ: ระบบลำดับเลขเดือนของสุโขทัยและล้านช้าง รวมถึงระบบลำดับเลขเดือนของพม่าที่เลิกใช้ไปแล้ว มีการลำดับเลขเดือนตรงกัน[3]

ชื่อปีนักษัตร

ระบบของไทยและกัมพูชาจะมีการกำหนดชื่อปีในทุกรอบ 12 ปี ด้วยชื่อสัตว์ต่างๆ[4] ในประเทศพม่าก็มีการกำหนดชื่อปีลักษณะดังกล่าวเช่นกัน[5] แต่ได้สาบสูญไปตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1638 (ตามปฏิทินไทยคือ พ.ศ. 2080 ย่างเข้า พ.ศ. 2181) พระเจ้าตาลูนแห่งกรุงอังวะ ได้ทรงปฏิเสธที่จะใช้ปฏิทินจุลศักราชที่พระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยาได้ทรงกำหนดขึ้นใช้ใหม่ ซึ่งมีการกำหนดชื่อปีนักษัตรในแต่ละปี เนื่องจากการกำหนดชื่อปีนักษัตรด้วยชื่อสัตว์ดังกล่าวไม่ได้มีการใช้ในระบบปฏิทินพม่าแล้ว[6]

ในอาณาจักรล้านนาและล้านช้างก็ปรากฏว่ามีการกำหนดชื่อปีนักษัตรทั้ง 12 ปี เช่นกัน เรียกว่า ลูกมื้อ [7] แต่มีการเรียกชื่อแตกต่างจากภาษาไทย (ซึ่งมีชื่อปีตรงกับภาษาเขมรมากกว่า) และกำหนดชนิดสัตว์ประจำปีต่างกันเล็กน้อย[6]

ปีที่ สัตว์ประจำปี ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาเขมร ลูกมื้อ (ล้านนา/ล้านช้าง)
1 หนู ชวด ជូត (ชวด) ไจ้
2 วัว ฉลู ឆ្លូវ (ฉลูว) เป้า
3 เสือ ขาล ខាល (ขาล) ยี
4 กระต่าย เถาะ ថោះ (เถาะ) เหม้า
5 นาค/มังกร มะโรง រោង (โรง) สี
6 งูเล็ก มะเส็ง ម្សាញ់ (มสัญ) ไส้
7 ม้า มะเมีย មមី (มมี) สะง้า
8 แพะ มะแม មមែ (มแม) เม็ด
9 ลิง วอก វក (วอก) สัน
10 ไก่ ระกา រកា (รกา) เร้า
11 สุนัข จอ ច (จอ) เส็ด
12 หมู (ไทย/เขมร)
ช้าง (ล้านนา/ล้านช้าง)
กุน កុរ (กุร) ไค้

การเรียกศกตามเลขท้ายปี

ในระบบปฏิทินแบบจุลศักราชของไทย กัมพูชา จะมีการเรียกชื่อศกตามเลขท้ายปีจุลศักราชโดยใช้ชื่อเรียกอย่างเดียวกัน ส่วนในล้านนาและล้านช้างก็มีระบบที่คล้ายคลึงกัน คือระบบ "แม่มื้อ" ใช้กำหนดเรียกชื่อศกในทุกรอบ 10 ปี ดังนี้

เลขศักราชที่ลงท้าย ภาษาไทย ภาษาเขมร แม่มื้อ (ล้านนา/ล้านช้าง)
1 เอกศก ឯកស័ក ปีกาบ
2 โทศก ទោស័ក ปีดับ
3 ตรีศก ត្រីស័ក ปีรวาย
4 จัตวาศก ចត្វាស័ក ปีเมิง
5 เบญจศก បញ្ចស័ក ปีเปิก
6 ฉศก (/ฉอ-ศก/) ឆស័ក ปีกัด
7 สัปตศก សប្តស័ក ปีกด
8 อัฐศก អដ្ឋស័ក ปีรวง
9 นพศก នព្វស័ក ปีเต่า
0 สัมฤทธิศก សំរឹទ្ធិស័ក ปีกา

ในอดีต การเรียกชื่อศกตามท้ายเลขปีจุลศักราชของไทยและกัมพูชานั้นจะต้องใช้คู่กับชื่อปีนักษัตรเสมอ ส่วนล้านนาและล้านช้างก็เรียกชื่อปีด้วยแม่มื้อและลูกมื้อในทำนองเดียวกัน เช่น ปี พ.ศ. 2562 ตามปฏิทินไทยและกัมพูชาตรงกับ "ปีกุนเอกศก จุลศักราช 1381" เทียบกับระบบแม่มื้อลูกมื้อของล้านนา/ล้านช้าง ตรงกับ "ปีกาไค้ จุลศักราช 1381" เป็นต้น ระบบดังกล่าวนี้ยังคงมีการใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นในประเทศกัมพูชา ที่แม้จะยังคงการบอกเลขท้ายจุลศักราชไว้ แต่เมื่อบอกเลขปีศักราช กลับเลือกใช้พุทธศักราชแทน เช่น "ปีกุนเอกศก จุลศักราช 1381" ในปฏิทินกัมพูชาจะใช้ว่า "ปีกุนเอกศก พุทธศักราช 2563" เป็นต้น (ระบบการนับพุทธศักราชของกัมพูชาเร็วกว่าที่ไทยใช้อยู่ 1 ปี)


เชิงอรรถ

  1. Aung-Thwin 2005: 35
  2. Busyakul 2004: 473.
  3. Eade 1995: 28–29
  4. Eade 1995: 22
  5. Luce 1970: 330
  6. 6.0 6.1 Rong 1986: 70 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "rs-70" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  7. http://www.lanna108.com/article/47/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2

หนังสืออ้างอิง

  • Aung-Thwin, Michael (2005). The mists of Rāmañña: The Legend that was Lower Burma (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 9780824828868.
  • Busyakul, Visudh (2004). "Calendar and Era in use in Thailand" (PDF). Journal of the Royal Institute of Thailand (ภาษาThai). Bangkok: Royal Institute of Thailand. 29 (2, April–June): 468–78. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 2015-02-05. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  • Eade, J.C. (1989). Southeast Asian Ephemeris: Solar and Planetary Positions, A.D. 638–2000. Ithaca: Cornell University. ISBN 0-87727-704-4.
  • Eade, J.C. (1995). The Calendrical Systems of Mainland South-East Asia (illustrated ed.). Brill. ISBN 9789004104372.
  • Irwin, Sir Alfred Macdonald Bulteel (1909). The Burmese and Arakanese calendars. Rangoon: Hanthawaddy Printing Works.
  • Luce, G.H. (1970). Old Burma: Early Pagan. Vol. 2. Locust Valley, NY: Artibus Asiae and New York University.
  • Ohashi, Yukio (2001). Alan K. L. Chan; Gregory K. Clancey; Hui-Chieh Loy (บ.ก.). Historical Perspectives on East Asian Science, Technology, and Medicine (illustrated ed.). World Scientifi. ISBN 9789971692599.
  • Oriental Institute; East India Association (1900). The Imperial and Asiatic Quarterly Review and Oriental and Colonial Record. London and Working, England: Oriental Institute.
  • Smith, Ronald Bishop (1966). Siam; Or, the History of the Thais: From 1569 A.D. to 1824 A.D. Vol. 2. Decatur Press.
  • Rong, Syamananda (1986). A History of Thailand (5 ed.). Chulalongkorn University.
  • ยุทธพร นาคสุข, ศักราชและความเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องมหาศักราชและจุลศักราชในพื้นเมืองเชียงใหม่[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
  • วันวาร กาลเวลา แลนานาศักราช, กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ, พ.ศ. 2546, หน้า 67-69