ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัดเกล้า อามระดิษ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
Ciwat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 43: บรรทัด 43:
}}
}}


'''รัดเกล้า อามระดิษ''' (เกิด 16 ตุลาคม พ.ศ. 2512) เป็นนักร้องเสียง Diva แนวหน้าของประเทศไทยและนักแสดงชาวไทย ด้านการร้องเพลง รัดเกล้าเป็นศิลปินหญิงสุดยอดคุณภาพระดับแนวหน้าของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 3 นักร้องสมัครเล่นยอดเยี่ยมแห่งเอเซีย (อีกสองท่านคือ [[นันทิดา แก้วบัวสาย]] และ[[มณีนุช เสมรสุต]])<ref>เปิดไดอารี่ ” ป้าแย้ม ” รัดเกล้า อามระดิษ ประวัติไม่ธรรมดานะเนี่ย http://retro.bkkclub.net/1050</ref> มีผลงานเพลงเป็นที่รู้จัก เช่น ''"ลมหายใจ"'', ''"โปรดเถอะ"'' และ''"บีบมือ"'' ด้านการแสดงรัดเกล้าได้รับรางวัลนาฏราชสาขา'''นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม''' จากละคร '''[[สุดแค้นแสนรัก]]''' ใน พ.ศ. 2558 และได้รับรางวัลนักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทยชมรมวิจารณ์บันเทิง จากภาพยนตร์เรื่อง '''[[อุโมงค์ผาเมือง]]''' ในปี พ.ศ. 2554 นอกจากนั้นรัดเกล้ายังทำหน้าที่เป็นโค้ชในรายการเดอะวอยซ์คิดส์ ซีซั่น 4 และ 5<ref>ศิลปินคุณภาพ รัดเกล้า อามระดิษ จากย่าแย้มสู่โค้ชเดอะวอยซ์คิดส์!! http://music.sanook.com/2362737/</ref> อีกด้วย และเป็นเจ้าของเสียงประกาศบนรถไฟฟ้า BTS รุ่นปัจจุบัน
'''รัดเกล้า อามระดิษ''' (เกิด 16 ตุลาคม พ.ศ. 2512) เป็นนักร้องเสียง Diva แนวหน้าของประเทศไทยและนักแสดงชาวไทย ด้านการร้องเพลง รัดเกล้าเป็นศิลปินหญิงสุดยอดคุณภาพระดับแนวหน้าของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 3 นักร้องสมัครเล่นยอดเยี่ยมแห่งเอเซีย (อีกสองท่านคือ [[นันทิดา แก้วบัวสาย]] และ[[มณีนุช เสมรสุต]])<ref>เปิดไดอารี่ ” ป้าแย้ม ” รัดเกล้า อามระดิษ ประวัติไม่ธรรมดานะเนี่ย http://retro.bkkclub.net/1050</ref> มีผลงานเพลงเป็นที่รู้จัก เช่น ''"ลมหายใจ"'', ''"โปรดเถอะ"'' และ''"บีบมือ"'' ด้านการแสดงรัดเกล้าได้รับรางวัลนาฏราชสาขา'''นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม''' จากละคร '''[[สุดแค้นแสนรัก]]''' ใน พ.ศ. 2558 และได้รับรางวัลนักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทยชมรมวิจารณ์บันเทิง จากภาพยนตร์เรื่อง '''[[อุโมงค์ผาเมือง]]''' ในปี พ.ศ. 2554 นอกจากนั้นรัดเกล้ายังทำหน้าที่เป็นโค้ชในรายการเดอะวอยซ์คิดส์ ซีซั่น 4 และ 5<ref>ศิลปินคุณภาพ รัดเกล้า อามระดิษ จากย่าแย้มสู่โค้ชเดอะวอยซ์คิดส์!! http://music.sanook.com/2362737/</ref> อีกด้วย และเป็นเจ้าของเสียงประกาศบน[[รถไฟฟ้าบีทีเอส]] รุ่นปัจจุบัน


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:36, 9 กันยายน 2562

รัดเกล้า อามระดิษ
รัดเกล้าในงานคอนเสิร์ตเคนนี่ การ์เร็ตต์ แอท ไพร์ม เนเจอร์ฯ
รัดเกล้าในงานคอนเสิร์ตเคนนี่ การ์เร็ตต์ แอท ไพร์ม เนเจอร์ฯ
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด16 ตุลาคม พ.ศ. 2512 (54 ปี)
รัดเกล้า อามระดิษ
อาชีพนักแสดง, นักร้อง, นักพากย์
ปีที่แสดง2535 - ปัจจุบัน
ผลงานเด่นผีมด/ร่างทรง - อุโมงค์ผาเมือง (2554)
นักร้องสมัครเล่นยอดเยี่ยมแห่งเอเซีย
แย้ม หมั่นกิจ - สุดแค้นแสนรัก (2558) และ กรงกรรม (2562)[1]
เซ็นเซยูกิ - ล่า (2560)
ป้าชุบ - มนตรามหาเสน่ห์ (2562)
สังกัดSony Music, เบเกอรี่ มิวสิก
ชมรมวิจารณ์บันเทิงนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2554 - อุโมงค์ผาเมือง
นาฏราชนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2558 - สุดแค้นแสนรัก
คมชัดลึกนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2558 - สุดแค้นแสนรัก

รัดเกล้า อามระดิษ (เกิด 16 ตุลาคม พ.ศ. 2512) เป็นนักร้องเสียง Diva แนวหน้าของประเทศไทยและนักแสดงชาวไทย ด้านการร้องเพลง รัดเกล้าเป็นศิลปินหญิงสุดยอดคุณภาพระดับแนวหน้าของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 3 นักร้องสมัครเล่นยอดเยี่ยมแห่งเอเซีย (อีกสองท่านคือ นันทิดา แก้วบัวสาย และมณีนุช เสมรสุต)[2] มีผลงานเพลงเป็นที่รู้จัก เช่น "ลมหายใจ", "โปรดเถอะ" และ"บีบมือ" ด้านการแสดงรัดเกล้าได้รับรางวัลนาฏราชสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากละคร สุดแค้นแสนรัก ใน พ.ศ. 2558 และได้รับรางวัลนักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทยชมรมวิจารณ์บันเทิง จากภาพยนตร์เรื่อง อุโมงค์ผาเมือง ในปี พ.ศ. 2554 นอกจากนั้นรัดเกล้ายังทำหน้าที่เป็นโค้ชในรายการเดอะวอยซ์คิดส์ ซีซั่น 4 และ 5[3] อีกด้วย และเป็นเจ้าของเสียงประกาศบนรถไฟฟ้าบีทีเอส รุ่นปัจจุบัน

ประวัติ

รัดเกล้า อามระดิษ มีความสนใจในด้านดนตรีตั้งแต่วัยเด็ก ได้เริ่มเรียนเปียโนที่โรงเรียนดนตรีสยามกลการ นอกจากนี้ยังเรียนการเต้นบัลเล่ต์ กับท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมารัดเกล้าได้ศึกษาในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสาขาวิชาวรรณคดีอังกฤษ[4] วิชาโทศิลปการละคร[5] ในขณะที่ศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รัดเกล้า สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นนักร้องนำ ของชมรมดนตรีสากล สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (C.U.Band) โดยได้รับตำแหน่งนักร้องนำประเภทเพลงสากล และอยู่ในวงตลอดเวลา 4 ปีจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง

ภายหลังจบการศึกษา รัดเกล้าได้เข้าทำงานในบริษัทคอมพิวเตอร์แห่งหนึ่ง แต่ในด้านงานการแสดงเธอได้แสดงละครให้กับภาควิชาศิลปการละคร และร้องคอรัสให้กับศิลปินค่ายต่าง ๆ มากมาย และเข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการเป็นนักร้องคอรัสให้กับ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ในอัลบัม พงษ์พัฒน์ ภาคพิสดาร (พ.ศ. 2534) ต่อมา ถูกรับเลือกให้เป็นหนึ่งนักร้องของอัลบัม Z-Zomkiat ของ สมเกียรติ อริยชัยพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งในอัลบัมดังกล่าว รัดเกล้าได้ร้องเพลง ‘ใจต่างใจ’ ก่อนที่จะเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่คนฟังเพลง ในซิงเกิล ‘ลมหายใจ’ ของ บอย โกสิยพงษ์ จากอัลบัม Rhythm & Boyd ในปี พ.ศ. 2538 ด้านการแสดง รัดเกล้ารับงานแสดงเป็นครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง ‘รักแท้บทที่ 1’ ในปี พ.ศ. 2538 และมีงานแสดงทั้งภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และ ละครเวทีมาตั้งแต่นั้น ภายหลังเมื่องานเพลงมากขึ้น รัดเกล้า จึงลาออกจากบริษัทคอมพิวเตอร์ หันมาทำงานเพลงเพียงอย่างเดียว ซึ่งคือการร้องคอรัสในห้องบันทึกเสียงและบนเวทีคอนเสิร์ต ร้องเพลงโฆษณา อ่านบทโฆษณา สารคดี และแสดงละครเวทีทั้งละครเพลง ละครแนวดราม่า และละครตลก

รัดเกล้ามีโอกาสเข้ารับการทดสอบเพื่อคัดเลือกนักร้องนำในอัลบั้ม สมเกียรติ ซีมิกซ์ และได้รับการคัดเลือกทำให้เธอได้ร่วมงานกับ สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์ กมล สุโกศล แคลปป์ และ บอย โกสิยพงษ์ และได้เซ็นสัญญาเป็นนักร้องในสังกัดเบเกอรี่ มิวสิก มีผลงานเพลงมากมาย และได้ออกผลงานอัลบั้มของเธอเองมาแล้ว 3 ชุด คือ “Request” (พ.ศ. 2541), “Released” (พ.ศ. 2542) และ “Relax” (พ.ศ. 2543)

นอกจากงานเพลงกับทางเบเกอรี่ มิวสิกแล้ว รัดเกล้ายังเป็นนักร้องรับเชิญของวงบางกอกซิมโฟนีออร์เคสตราและวงเฉลิมราชย์ รวมทั้งมีโอกาสร้องเพลงในงานสำคัญของกระทรวงต่างประเทศ สถานทูต การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย งานสโมสรไลออนภาคพื้นเอเชีย งานโรตารี่ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค งานประชุมแพทย์เฉพาะทางของโลก และคอนเสิร์ตการกุศลต่างๆ อีกจำนวนมาก [6] รัดเกล้ายังทำหน้าที่เป็นโค้ชในรายการเดอะวอยซ์ คิดส์ ไทยแลนด์ ซีซั่น 4[7] และ 5[8] และเป็นเจ้าของเสียงประกาศบนระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสในปัจจุบัน[9]

รัดเกล้า อามระดิษ มีพี่สาวคือ ดร.ใกล้รุ่ง อามระดิษ เป็นอาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งรัดเกล้าเคยศึกษานั่นเอง

ผลงานเพลง

  • โปรดเถอะ ซิงเกิ้ล จากละคร "เก็บใจไว้เพื่อรัก" (รัดเกล้า อามระดิษ, โยคี เพลย์บอย) 1997 (พ.ศ. 2540)
  • ร้องคอรัสเพลง "ดาว" ของ คริสติน มารี นีเวล (พ.ศ. 2540)
  • Request (พ.ศ. 2541)
  • Released (พ.ศ. 2542)
  • Relax (พ.ศ. 2543)
  • เพลง "แม่น้ำ" เพลงประกอบละคร แม่น้ำ (พ.ศ 2543)
  • Rudklao Amratisha - Ultimate Collection 2006 (พ.ศ. 2549)
  • Love Moment With RUDKLAO AMRATISHA (พ.ศ. 2554)
  • เพลง "ภาพนั้น" เพลงประกอบละคร ภาพอาถรรพณ์ (พ.ศ. 2556)
  • เพลง "เหตุเกิดจากความรัก" Ost. Club Friday The Series 7 เหตุเกิดจากความรัก
  • เพลง "ฉันจะตามเธอไป" เพลงประกอบละคร เจ้าบ้าน เจ้าเรือน (พ.ศ. 2559)
  • เพลง "ต้องเป็นของฉัน" เพลงประกอบละคร เสน่ห์นางครวญ (พ.ศ. 2561)

ผลงาน

ละครโทรทัศน์

ปี เรื่อง บทบาท
2542 บังเอิญรวยช่วยไม่ได้ -
คู่รักคู่รบ -
2545 บัวกลางบึง -
สามวัยอลเวง จีน่า
2554 ข้ามเวลาหารัก โอบอรุณ
2555 จุดนัดภพ -
2556 คุณชายธราธร โสภี
อีสา-รวีช่วงโชติ สำรวย
2557 7 มงกุฎ คุณหญิงนพนภา
2558 7 วันจองเวร รัมภา
ครอบครัวตึ๋งหนืดตืดขั้นเทพ เจ๊หมัด
สุดแค้นแสนรัก แย้ม หมั่นกิจ
2559 I See You พยาบาลพิเศษ..เคสพิศวง ส.จ. นุ่น
MelodiesOfLife ตอน My Name Is Single (คนไม่มีแฟน) อีฟแซง
เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์ ประชาชน
2560 You Are My Destiny เธอคือพรหมลิขิต บังอร
ล่า เซ็นเซยูกิ
ศรีอโยธยา กรมขุนวิมลภักดี / ศาสตราจารย์ หม่อมหลวง พวงแก้ว อุทัยวงศ์
เดือนประดับดาว คุณหญิงชลลดา
2561 คุณชายไก่โต้ง ซิ่วจิน / อี๊จิน
กาหลมหรทึก ยายอร
เสน่ห์นางครวญ นมขาม
2562 ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง แม่หมอมั่น
กรงกรรม แย้ม หมั่นกิจ (รับเชิญ)
วัยแสบสาแหรกขาด โครงการ 2 ครูพรรณี จิตเที่ยงธรรม
นางมาร โสมมาลี
มนตรามหาเสน่ห์ ป้าชุบ
ภาตุฆาต นภา
เพลิงรักเพลิงแค้น ดวงมาลย์
Teeใครทีมันส์ เมตตา
ดาวหลงฟ้า แม้นเขียน
ศรีอโยธยา 2 กรมขุนวิมลภักดี / ศาสตราจารย์ หม่อมหลวง พวงแก้ว อุทัยวงศ์

ละครเวที

(พ.ศ. 2561)

  • Still on my mind the musical (พ.ศ. 2561)

ภาพยนตร์

คอนเสิร์ต

อื่นๆ

  • แสดงละครเวทีพุทธะ ราชะ เดอะมิวสิคัล รับบท พระนางปชาบดี งานสวดมนต์ข้ามปี ครั้งที่ ๓ /๒๕๕๕ - ๒๕๕๖ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร
เสียงประกาศสถานีภายในรถไฟฟ้าบีทีเอส
  • เสียงประกาศในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส[10][11] และบีอาร์ที
  • เสียงโหยหวน ของดนตรีประกอบรายการ ชมรมขนหัวลุก
  • ร้องเพลงประกอบในการ์ตูนเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง นาค เพลงลูกแม่
  • ให้เสียงพากย์และร้องเพลงประกอบในการ์ตูนวอลต์ดิสนีย์เรื่อง Hercules พากย์เป็น เมลพอมินี เทพีมิวส์
  • ให้เสียงพากย์และร้องเพลงประกอบในการ์ตูนวอลต์ดิสนีย์เรื่อง โฉมงามกับเจ้าชายอสูร ตอน มหัศจรรย์วันอลเวง พากย์เป็น แองจลีค
  • ร่วมร้องเพลงบทเพลงให้กำลังใจผู้ประสบภัยจากอุทกภัยน้ำท่วม ๒๕๕๔ (ถ้าเรารักกันมากพอ)ร่วมกับ กมลา สุโกศล เสาวลักษณ์ ลีละบุตร เจนนิเฟอร์ คิ้ม ภัครมัย โปตระนันท์ พัดชา เอนกอายุวัฒน์ วิชญาณี เปียกลิ่น
  • เสียงตอบรับระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ Interactive Voice Response (IVR) บมจ.ธนาคารกสิกรไทย โทร. 02-8888888 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
  • เดี่ยว 3 (เป็นคอรัสในเดี่ยว 3 ของโน้ต อุดม ได้โชว์ร้องเพลง "ลมหายใจ")
  • เป็นคอรัสของ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ในอัลบั้ม พงษ์พัฒน์ ภาคพิสดาร ปี 2534
  • โค้ชเดอะวอซคิสไทยแลน ซีซัน4,5
  • ให้เสียงพากย์ในภาพยนตร์วอลต์ดิสนีย์เรื่อง เมาคลีลูกหมาป่า (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2559) พากย์เป็น รัคชาร์

รางวัล

อ้างอิง

  1. บทแม่ผัวตัวแสบ...แจ้งเกิด อีแย้ม เตรียมเดินสายรับรางวัล http://gossipstar.mthai.com/gossip-content/50736
  2. เปิดไดอารี่ ” ป้าแย้ม ” รัดเกล้า อามระดิษ ประวัติไม่ธรรมดานะเนี่ย http://retro.bkkclub.net/1050
  3. ศิลปินคุณภาพ รัดเกล้า อามระดิษ จากย่าแย้มสู่โค้ชเดอะวอยซ์คิดส์!! http://music.sanook.com/2362737/
  4. ทำความรู้จักคุณย่าแย้มตัวจริง เปรี้ยวแซบจนลูกหลานชิดซ้าย http://www.chillpainai.com/scoop/4759/
  5. คมความคิดของ “อีแย้ม” รัดเกล้า อามระดิษ เพราะชีวิตอุทิศแล้วแก่สิ่งที่รัก http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000061140
  6. ประวัตินักแสดงงานกาชาดคอนเสิร์ตครั้งที่ 34
  7. ศิลปินคุณภาพ รัดเกล้า อามระดิษ จากย่าแย้มสู่โค้ชเดอะวอยซ์คิดส์!! http://music.sanook.com/2362737/
  8. the voice kids th http://www.thevoicekidsth.com/season5/team
  9. คมความคิดของ “อีแย้ม” รัดเกล้า อามระดิษ เพราะชีวิตอุทิศแล้วแก่สิ่งที่รัก http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000061140
  10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้เสียงประกาศในระบบ โดยตัวแทนการประชาสัมพันธ์ของรถไฟฟ้าบีทีเอส (หนูด่วน) จากเว็บบอร์ดอย่างเป็นทางการ สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
  11. "รัดเกล้า อามระดิษ : ป้าแย้มแห่ง "สุดแค้นแสนรัก", ทุเรียนที่เธอได้รับ และผลงานเพลงของเธอ". Headlight Magazine. 15 พฤษภาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "สรุปผลรางวัลเอ็มไทยท็อปทอล์กอะเบาต์ 2016". Tlcthai. 3 มีนาคม พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  13. งานมอบรางวัล Howe Awards 2015 krobkruakao.com