ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม"

พิกัด: 13°45′28″N 100°30′22″E / 13.757833°N 100.506170°E / 13.757833; 100.506170
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Adrich (คุย | ส่วนร่วม)
นำบทความที่ระบุว่าติดลิขสิทธิ์ออก และปรับคำให้ไม่ตรงกับต้นทาง มีความจำเป็นต้องนำข้อมูลเข้าสู่วิกิพีเดียเพราะเป็นหน่วยงานของผู้เพิ่มข้อมูลเองและมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างแหล่งข้อมูลเปิดให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจหน่วยงาน
 
Adrich (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มลิงก์บทความ 14 ตุลา 16
บรรทัด 75: บรรทัด 75:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
ในอดีตเกิดปัญหาเกี่ยวกับที่ดินทำกินและการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงมีกลุ่มเกษตรกร นักศึกษา นักการเมือง เดินขบวนเรียกร้องหลายครั้ง รัฐบาลในสมัย นาย[[สัญญา ธรรมศักดิ์]] จึงได้แก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยประกาศใช้พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2518 <ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/A/054/10.PDF</ref>
ในอดีตเกิดปัญหาเกี่ยวกับที่ดินทำกินและการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน ภายหลัง[[เหตุการณ์ 14 ตุลา|เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516]] จึงมีกลุ่มเกษตรกร นักศึกษา นักการเมือง เดินขบวนเรียกร้องหลายครั้ง รัฐบาลในสมัย นาย[[สัญญา ธรรมศักดิ์]] จึงได้แก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยประกาศใช้พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2518 <ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/A/054/10.PDF</ref>


== ภารกิจ ==
== ภารกิจ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:55, 31 สิงหาคม 2562

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ไฟล์:Alro logo.jpg
ตราสำนักงาน
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง6 มีนาคม พ.ศ. 2518
สำนักงานใหญ่1 ถนนราชดำเนินนอก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข, เลขาธิการ
  • รัตนะ สวามีชัย, รองเลขาธิการ
  • สมพร ทองทั่ว, รองเลขาธิการ
  • พันจ่าเอกประเสริฐ มาลัย, รองเลขาธิการ
เว็บไซต์http://www.alro.go.th

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (อังกฤษ: Agricultural Land Reform Office) หรือย่อว่า ส.ป.ก. เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่จัดการจัดการที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรและเพิ่มศักยภาพให้กับพื้นที่เกษตรกรรมให้เกษตรกรสามารถทำกินบนพื้นที่นั้นได้ โดยมีวิสัยทัศน์ว่า "องค์การด้านการบริหารจัดการพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน เพิ่มศักยภาพพื้นที่เกษตรกรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร สู่ความผาสุก" ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2518

ประวัติ

ในอดีตเกิดปัญหาเกี่ยวกับที่ดินทำกินและการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงมีกลุ่มเกษตรกร นักศึกษา นักการเมือง เดินขบวนเรียกร้องหลายครั้ง รัฐบาลในสมัย นายสัญญา ธรรมศักดิ์ จึงได้แก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยประกาศใช้พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2518 [1]

ภารกิจ

ส.ป.ก.กำหนดภารกิจการดำเนินงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไว้ 3 ประการ ประกอบไปด้วย [2]

รถยนต์ที่มีตราสัญลักษณ์และอักษร ส.ป.ก. ใช้สำหรับปฏิบัติหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
  1. งานจัดที่ดิน
    1. ที่ดินของรัฐ เจ้าหน้าที่จะสำรวจและสอบสวนสิทธิในที่ดิน กระจายสิทธิและแบ่งแยกที่ดินเพื่อนำมาจัดสรรให้เกษตรกรได้เข้าประโยชน์ตามที่ได้ยืนคำรองไว้ที่ ส.ป.ก. จังหวัด จากนั้นจะได้รับหนังสือรับมอบที่ดิน (ส.ป.ก. 4-28) และหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) และมีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดินต่อไป ซึ่งที่ดินของรัฐประกอบด้วย ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมสภาพ ที่จำแนกเป็นที่จัดสรรตามมติคณะรัฐมนตรี ที่สาธารณประโยชน์ที่ราษฎรเลิกใช้ร่วมกัน ที่สาธารณสมบัติแผ่นดิน และที่รกร้างว่างเปล่าที่อยู่นอกเขตป่าไม้ถาวร
    2. ที่ดินเอกชน ได้จากการเวนคืนหรือซื้อมาจัดสรรให้กับเกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกิน ผู้เช่า หรือผู้มีที่ดินไม่เพียงพอแก่การครองชีพตามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่ ส.ป.ก. จังหวัดที่อาศัยอยู่
  2. งานพัฒนา เข้าไปดำเนินการในส่วนที่ไม่ทับซ้อนกับหน่วยงานอื่นๆ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งด้านสาธารณูปโภค เส้นทางคมนาคม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และอำนวยความสะดวกในการประกอบการเกษตร
  3. งานเพิ่มรายได้ ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ตามสภาพพื้นที่ของท้องถิ่นนั้นๆ ช่วยเหลือในการจัดตั้งสหกรณ์ในเขตปฏิรูปที่ดิน จัดหาสินเชื่อและปัจจัยการผลิตต่างๆ ให้เป็นไปตามระเบียบและมติของ คปก. ด้วยการดำเนินการเองและประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาช่วยพัฒนาในพื้นที่

อำนาจและหน้าที่

อำนาจและหน้าที่ของ ส.ป.ก. ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาจาก 2 คณะกรรมการด้วยกันคือ

คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย มาตรการ ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานการปฏิรูปที่ดินของ ส.ป.ก. ตลอดจนการควบคุมการบริหารงานของ ส.ป.ก. รวมทั้งอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ [3]

  1. จัดหาที่ดินของรัฐเพื่อนำมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
  2. พิจารณากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๕ การจัดซื้อหรือเวนคืนที่ดินตามมาตรา ๒๙ และการกำหนดเนื้อที่ที่ดินที่จะให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรเช่าระยะยาว หรือเช่าซื้อตามมาตรา ๓๐
  3. พิจารณาการกำหนดแผนผังและการจัดแบ่งแปลงที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
  4. พิจารณาอนุมัติแผนงานและโครงการการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตลอดจนงบค่าใช้จ่ายของ ส.ป.ก. เสนอรัฐมนตรี
  5. พิจารณากำหนดแผนการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อยกระดับรายได้ และคุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกร
  6. พิจารณากำหนดแผนการส่งเสริม และบำรุงเกษตรกรรมในเขตปฏิรูปที่ดิน รวมถึงการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและคุณภาพผลิตผลเกษตรกรรม ตลอดจนสวัสดิการ การสาธารณูปโภค การศึกษาและการสาธารณสุขของเกษตรกร
  7. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตลอดจนแบบสัญญาเช่าและเช่าซื้อที่จะทำกับเกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน
  8. กำหนดระเบียบการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินและปฏิบัติตามแผนการผลิต และการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรม
  9. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินกู้ยืมจาก ส.ป.ก. ตลอดจนเงื่อนไขของการกู้ยืมโดยอนุมัติรัฐมนตรี
  10. กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการ ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตลอดจนการควบคุมดูแลกิจการอื่น ๆ ภายในเขตปฏิรูปที่ดิน
  11. ติดตามการปฏิบัติงานของ ส.ป.ก. ให้เป็นไปตามแผนงานและโครงการที่ได้รับอนุมัติ ตลอดจนกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
  12. กำหนดกิจการและระเบียบการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของ ส.ป.ก. หรือสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด

มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดมาตรการและวิธีปฏิบัติงานของสำนักงาน การปฏิรูปที่ดินจังหวัด และให้มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ [4]

  1. พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการและค่าใช้จ่ายของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด เพื่อเสนอคณะกรรมการ
  2. ติดตามการปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ให้เป็นไปตามแผนงานและโครงการที่ได้รับอนุมัติ ตลอดจนดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
  3. พิจารณาผลการปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงแผนงาน โครงการ งบค่าใช้จ่ายและวิธีปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด
  4. จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายตามโครงการการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแต่ละโครงการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับเงินและกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามระเบียบหรือข้อบังคับหรือมติของคณะกรรมการหรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
  6. วางระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบ หรือข้อบังคับหรือมติของคณะกรรมการ

หน่วยงานในสังกัด

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดำเนินงานปฏิรูปที่ดินภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) ในส่วนราชการบริหารส่วนกลาง และในส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาค บริหารจัดการในรูปแบบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (คปจ.) กำกับดูแลการปฏิบัติงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (ส.ป.ก.จังหวัด) แต่ละจังหวัด ประกอบไปด้วย[5]

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/A/054/10.PDF
  2. https://www.alro.go.th/alro_th/ewt_news.php?nid=193
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 เล่ม 92 ตอนที่ 54 วันที่ 5 มีนาคม 2518 หน้า 20 - 22
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 เล่ม 92 ตอนที่ 54 วันที่ 5 มีนาคม 2518 หน้า 22 - 23
  5. https://www.alro.go.th/alro_th/ewt_news.php?nid=4235

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′28″N 100°30′22″E / 13.757833°N 100.506170°E / 13.757833; 100.506170