ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NW
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8475557 สร้างโดย 2001:44C8:451E:8C0E:5CC2:2ED9:1B67:E5FA (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Compass Rose English Northwest.svg|thumb|250px|right|[[วงกลมแสดงทิศ]] (compass rose ) ระบุทิศหลักและทิศรอง โดยทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (NW) อยู่ทางมุมซ้าย]]<ref>[[ตะวันตก]]</ref>
[[ไฟล์:Compass Rose English Northwest.svg|thumb|250px|right|[[วงกลมแสดงทิศ]] (compass rose ) ระบุทิศหลักและทิศรอง โดยทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (NW) อยู่ทางมุมซ้าย]]

'''ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ''' หรือ '''ทิศพายัพ''' เป็นหนึ่งใน[[ทิศรอง]]ทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับ[[ทิศตะวันออกเฉียงใต้]] ขวามือของ[[ทิศเหนือ]] และซ้ายมือของ[[ทิศตะวันตก]] โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ด้านมุมบนซ้ายของ[[แผนที่]]ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางมุมบนขวาของ[[แผนที่ดาว]]
'''ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ''' หรือ '''ทิศพายัพ''' เป็นหนึ่งใน[[ทิศรอง]]ทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับ[[ทิศตะวันออกเฉียงใต้]] ขวามือของ[[ทิศเหนือ]] และซ้ายมือของ[[ทิศตะวันตก]] โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ด้านมุมบนซ้ายของ[[แผนที่]]ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางมุมบนขวาของ[[แผนที่ดาว]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:03, 30 สิงหาคม 2562

วงกลมแสดงทิศ (compass rose ) ระบุทิศหลักและทิศรอง โดยทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (NW) อยู่ทางมุมซ้าย

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หรือ ทิศพายัพ เป็นหนึ่งในทิศรองทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขวามือของทิศเหนือ และซ้ายมือของทิศตะวันตก โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ด้านมุมบนซ้ายของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางมุมบนขวาของแผนที่ดาว

คำแปลตามพจนานุกรม

ทิศพายัพ [พายับ] ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ให้นิยามคำว่า ทิศพายัพไว้แปลว่า ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นหนึ่งในทิศทั้งแปด

ความเชื่อมโยงตามวรรณคดีไทย

ช้างเผือกประจำทิศพายัพ คือ ช้างบุษปทันต์อยู่ทิศพายัพ เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศพายัพ บังเกิดเป็นช้างชื่อบุษปทันต์ มีลักษณะ ๗ ประการ สีดังหมากสุกผิวเนื้อเลอียด มีกระหน้าตัวใหญ่งามงาน้อยขึ้นขวา เสียงดังเสียงเมฆ พร้อมด้วยลักษณะ ตามตำรา คชศาสตร์

คตินิยมและความเชื่อ

ตามคติความเชื่อของคนไทยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนานั้น เชื่อกันว่าในสรรพสิ่งทั้งหลายมีเทวดาอยู่รายรอบตัวเรา ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือในกฎหมายตราสามดวงที่มักกล่าวถึงเทวดาไว้ในพระไอยการต่าง ๆ เช่น ในลักษณภญาณมีกล่าวไว้ว่า “...แลปางนี้ฃอเทพยุดาเจ้าทังหลาย คือพระอินท พระพรหม พระยมราช แลท้าวจาตุโลกบาล พระจันท พระอาทิตย์ ภูมอารักษอากาศเทพยุดาผู้รักษาพระพุทธศาสนา แลเทพยุดาอันรักษาซึ่งขอขันธเสมาแลพระมหาบวรเสวตรฉัตรจงเสดจ์มาประชุมให้พร้อมกันในสถานที่นี้ ฟังซึ่งคำคนผู้จะเปนสักขิพญาณแก่กัน...”

ตามตำราพรหมชาติมีความเชื่อว่าพืชมงคลประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือคือ มะพูด มะกรูด และ มะนาว

ส่วนเทวดาประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือคือพระราหู ราหู ประจำทิศพายัพ ใช้เลข ๘

ส่วนมหาเทพประจำทิศคือ พระพายุ ซึ่งคือที่มาของคำว่า พายัพ

อ้างอิง