ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Sodacan (คุย | ส่วนร่วม)
vector version available (GlobalReplace v0.6.5)
บรรทัด 100: บรรทัด 100:
* [[ไฟล์:Order of the White Elephant - 1st Class (Thailand) ribbon.svg|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก]] ชั้น[[ประถมาภรณ์ช้างเผือก]]
* [[ไฟล์:Order of the White Elephant - 1st Class (Thailand) ribbon.svg|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก]] ชั้น[[ประถมาภรณ์ช้างเผือก]]
* [[ไฟล์:Order of the Crown of Thailand - 1st Class (Thailand) ribbon.svg|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย]] ชั้น[[ประถมาภรณ์มงกุฎไทย]]
* [[ไฟล์:Order of the Crown of Thailand - 1st Class (Thailand) ribbon.svg|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย]] ชั้น[[ประถมาภรณ์มงกุฎไทย]]
* [[พ.ศ. 2462]] : [[ไฟล์:Dushdi Mala - Civilian (Thailand).png|80px]] [[เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2462/D/3318.PDF พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา], เล่ม ๓๖, ตอน ๐, ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๒, หน้า ๓๓๑๘ </ref>
* [[พ.ศ. 2462]] : [[ไฟล์:Dushdi Mala - Civilian (Thailand).svg|80px]] [[เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2462/D/3318.PDF พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา], เล่ม ๓๖, ตอน ๐, ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๒, หน้า ๓๓๑๘ </ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:11, 28 สิงหาคม 2562

เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์
(หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
{{{alt}}}
เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ เมื่อ พ.ศ. 2453
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 มิถุนายน พ.ศ. 2409
หม่อมราชวงศ์กลาง สนิทวงศ์
อสัญกรรม20 ตุลาคม พ.ศ. 2483 (74 ปี)
บิดาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
มารดาหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
คู่สมรสท่านผู้หญิงตาด วงษานุประพัทธ์
หม่อมบาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
หม่อมอุบะ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
บุตร-ธิดา14 คน
ไฟล์:เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ2.jpg
เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ เมื่อ พ.ศ. 2465
ไฟล์:ภาพล้อฝีพระหัตถ์-เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์.jpg
ภาพล้อเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 6 ทรงวาดจากภาพต้นฉบับด้านบน

มหาอำมาตย์เอก พลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (นามเดิม:หม่อมราชวงศ์สท้าน หรือ หม่อมราชวงศ์กลาง) (24 มิถุนายน พ.ศ. 2409 [1] - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2483) อดีตเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ (พ.ศ. 2452 – 2455) และกระทรวงคมนาคม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว องคมนตรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระอัยกา (ตา) ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเป็นพระปัยกา (ทวด) ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งเคยเป็นข้าหลวงใหญ่ปักปันเขตแดนบริเวณตอนเหนือของสยามกับหลวงพระบางในแคว้นอินโดจีนของฝรั่งเศส ระหว่าง พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2450 [2]

ประวัติ

เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ {หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เป็นโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ศศิสมิต)[3] พระบิดาเรียกท่านว่า "กลาง"[4]

หม่อมราชวงศ์สท้าน ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไปศึกษาวิชาทหารบกที่ประเทศเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. 2425 เป็นเวลา 11 ปี เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ อายุ 27 ปี และเข้ารับราชการจนได้เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2442 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นหม่อมราชินิกุลมีนามว่า หม่อมชาติเดชอุดม ถือศักดินา 800[5] ได้จัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหาร[2] ต่อมาได้เลื่อนเป็น พระยาวงษานุประพัทธ์ และในปี พ.ศ. 2452 โปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ[2]

ปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ รัตนพลเทพ สรรพพลเสพเสนาบดี โรปนวิธีบำรุง ผดุงธัญพืชผลาหาร พานิชการพัฒนกร สโมสรสกลยุทธศาสตร์ มหาอมาตย์ศักดิอดุลย์ พิรุณเทพมุรธาธร สรรพกิจจานุสรสวัสดิ์ วิบุลยปริวัตรเกษตราธิบดี สุนมนตรีพงษ์สนิท เมตจิตรอาชวาธยาไศรย รัตนไตรยสรณธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[6] ต่อมาดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ (กระทรวงคมนาคมในปัจจุบัน)

ต่อมาภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้รวมกระทรวงเกษตราธิการกับกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมเป็นกระทรวงเดียวกัน เรียกว่ากระทรวงเกษตรพาณิชยการ แล้วให้เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์เป็นเสนาบดี[7]

เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์และท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เป็นผู้เลี้ยงดูสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในระหว่าง พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2477 เมื่อหม่อมหลวงบัว กิติยากร ต้องติดตามหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ไปปฏิบัติราชการ ตำแหน่งเลขานุการเอก ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา [8]

เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนสายปัญญา โดยเมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ สิ้นพระชนม์ ท่านเป็นต้นคิดในหมู่ทายาท ให้นำวังของพระบิดา มาก่อตั้งเป็นสถานศึกษาสำหรับสตรี โดยได้รับพระราชทานนามโรงเรียนจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2459

เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ด้วยไข้มาลาเรีย เบาหวาน และโรคหัวใจ[9] สิริอายุ 74 ปี

บุตร-ธิดา

ท่านผู้หญิงตาด วงศานุประพัทธ์

ท่านผู้หญิงตาด วงศานุประพัทธ์ (ตาด สิงหเสนี) เป็นธิดาพระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ (เอม สิงหเสนี) กับคุณหญิงขลิบ ณรงค์เรืองฤทธิ์ (ธิดาเจ้าพระยาคทาธรธรนินทร์ (เยีย อภัยวงศ์))[10] มีบุตร-ธิดา 6 คน คือ

  1. หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) เสกสมรสกับ หม่อมหลวงรวง สนิทวงศ์ และหม่อมหลวงฟ่อน สนิทวงศ์ ธิดาหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ มีธิดารวม 3 คน ดังนี้
    1. ท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา ภริยาหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร
    2. อรอำไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
    3. ทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
  2. หลวงจรัญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรัญ สนิทวงศ์)
  3. หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) เสกสมรสกับท่านผู้หญิงประยงค์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 4 คน ดังนี้
    1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คุณวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
    2. พิสิษฐ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
    3. มนูเสรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
    4. เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  4. หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์
  5. หม่อมหลวงแส สนิทวงศ์ เสกสมรสกับ หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์) มีโอรสธิดา ดังนี้
    1. หม่อมราชวงศ์ยงสวาสดิ์ กฤดากร
  6. ศาสตราจารย์ นายแพทย์หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์
ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)

ท้าววนิดาพิจาริณี (หม่อมบาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) มีบุตรธิดา 3 คน ดังนี้

  1. หม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์ เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) มีบุตรธิดา 4 คนดังนี้
    1. หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร
    2. หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร
    3. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร)
    4. หม่อมราชวงศ์บุษบา สธนพงศ์
  2. พลโท นายแพทย์ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ เสกสมรสกับท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (หงสนันทน์) มีบุตรธิดา 3 คนดังนี้
    1. พลอากาศเอก จารึก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
    2. คุณหญิงบุษยา ไกรฤกษ์
    3. พันตรี ภาดร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
  3. หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค (หม่อมหลวงมณีรัตน์ สนิทวงศ์) เสกสมรสกับนายสุรเทิน บุนนาค มีบุตรธิดา ดังนี้
    1. พลตรีกรีเมศร์ บุนนาค
    2. พันโทสุรธัช บุนนาค
หม่อมอุบะ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

นามเดิม อุบะ เศวตะทัต บุตรี ขุนญาณอักษรนิติ (ผล) เศวตะทัต กับ หวั่น (บุญธร) เศวตะทัต มีบุตรธิดา 2 คน คือ

  1. หม่อมหลวงกมล สนิทวงศ์
  2. หม่อมหลวงสารภี สนิทวงศ์ (ท่านผู้หญิงสารภี มิ่งเมือง)
บุตร-ธิดา ที่เกิดกับภรรยาอื่นๆ ได้แก่ [10]
  1. หม่อมหลวงชื่น สนิทวงศ์
  2. หม่อมหลวงทัยเกษม สนิทวงศ์
  3. หม่อมหลวงสงบ (จู๊ด) สนิทวงศ์ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ธรรมเนียมยศของ
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์
การเรียนใต้เท้ากรุณาเจ้า
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/ข้าพเจ้า
การขานรับขอรับ/พระเจ้าค่ะ

อ้างอิง

  1. หนังสือ "ประวัตินายพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์)" โดยข้าราชการในกรมรถไฟ และกองทางกรมโยธาเทศบาล พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ระบุว่าเกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2409
  2. 2.0 2.1 2.2 เอนก นาวิกมูลลิ้นชักภาพเก่า ประมวลภาพ จากคอลัมน์เปิดกรุภาพเก่าในนิตยสารแพรวรายปักษ์ และคอลัมน์ลิ้นชักภาพเก่าในวิทยาจารย์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์วิญญูชน, พ.ศ. 2550. 392 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-94365-2-3
  3. http://web.schq.mi.th/~afed/today/jun/jun.html
  4. ข้าราชการในกรมรถไฟ และกองทางกรมโยธาเทศบาล, ประวัตินายพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์) , พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส 29 มีนาคม พ.ศ. 2484
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศ, เล่ม ๑๖, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๘, หน้า ๕๐๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เลื่อน แลตั้งกรม แลตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ ง, ๑๑ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๓๐, หน้า ๕๐๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ผลัดเปลี่ยนเสนาบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงต่าง ๆ และรวมกระทรวง, เล่ม ๔๙, ตอน ๐ ก, ๒๙ มิถุนายน ๒๔๗๕, หน้า ๑๘๑
  8. http://www.sf.ac.th/honour/honour.htm
  9. http://thainews.prd.go.th/rachinephp/queen4.html
  10. 10.0 10.1 อรวรรณ ทรัพย์พลอย. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ปราชญ์ผู้เป็นกำลังของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2552. 352 หน้า. ISBN 978-974-341-578-4
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ ง, ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๑๗๘๓
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๓๑, ตอน ๐ ง, ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗, หน้า ๓๕๑
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๓๖, ตอน ๐, ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๒, หน้า ๓๓๑๘