ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Qqjdwqu7 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Qqjdwqu7 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 107: บรรทัด 107:
| [[แอร์เอเชีย]] || [[ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป้หยวน|กว่างโจว]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติหางโจวเซียวฉาน|หางโจว]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง|ฮ่องกง]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา|จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติเซอไน|โจโฮร์บะฮ์รู]], [[ท่าอากาศยานสุลต่าน อิสเมล เปตรา|โกตาบาห์รู]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์|กัวลาลัมเปอร์]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติกูชิง|กูชิง]], [[ท่าอากาศยานมิริ|มิริ]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง|ปีนัง]], [[ท่าอากาศยานซันดากัน|ซันดากัน]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติเซินเจิ้นเป๋าอั๋น|เซินเจิ้น]], [[ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี|สิงคโปร์]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถาหยวน|ไทเป-เถาหยวน]], [[ท่าอากาศยานตาเวา|ตาเวา]] ||2
| [[แอร์เอเชีย]] || [[ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป้หยวน|กว่างโจว]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติหางโจวเซียวฉาน|หางโจว]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง|ฮ่องกง]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา|จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติเซอไน|โจโฮร์บะฮ์รู]], [[ท่าอากาศยานสุลต่าน อิสเมล เปตรา|โกตาบาห์รู]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์|กัวลาลัมเปอร์]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติกูชิง|กูชิง]], [[ท่าอากาศยานมิริ|มิริ]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง|ปีนัง]], [[ท่าอากาศยานซันดากัน|ซันดากัน]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติเซินเจิ้นเป๋าอั๋น|เซินเจิ้น]], [[ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี|สิงคโปร์]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถาหยวน|ไทเป-เถาหยวน]], [[ท่าอากาศยานตาเวา|ตาเวา]] ||2
|-
|-
| [[แอร์เอเชียเซสต์]] || [[ท่าอากาศยานนานาชาติแม็กตัน-เซบู|เซบู]] (สิ้นสุดวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2015), [[ท่าอากาศยานนานาชาตินินอย อะควิโน|มะนิลา]] ||2
| [[แอร์เอเชียเซสต์]] || [[ท่าอากาศยานนานาชาติแม็กตัน-เซบู|เซบู]] (สิ้นสุดวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2015), [[ท่าอากาศยานนานาชาตินินอย อากีโน|มะนิลา]] ||2
|-
|-
| [[เอเชียนาแอร์ไลน์]] || [[ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน|โซล-อินช็อน]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติคิมแฮ|ปูซาน]] ||1
| [[เอเชียนาแอร์ไลน์]] || [[ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน|โซล-อินช็อน]], [[ท่าอากาศยานนานาชาติคิมแฮ|ปูซาน]] ||1

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:59, 28 สิงหาคม 2562

ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู

Lapangan Terbang Antarabangsa Kota Kinabalu
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานPublic
เจ้าของรัฐบาลมาเลเซีย
ผู้ดำเนินงานท่าอากาศยานมาเลเซีย
พื้นที่บริการโกตากีนาบาลู
สถานที่ตั้งโกตากีนาบาลู, รัฐซาบะฮ์, มาเลเซีย ประเทศมาเลเซีย
ฐานการบิน
เขตเวลาMST (UTC+08:00)
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล{{{elevation-m}}} เมตร / 10 ฟุต
แผนที่
BKIตั้งอยู่ในมาเลเซียตะวันออก
BKI
BKI
ที่ตั้งของท่าอากาศยานในมาเลเซียตะวันออก
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
02/20 3,780 ยางมะตอย
สถิติ (2014)
ผู้โดยสาร6,792,968 (ลดลง 2.1%)
สินค้า (ตัน)23,769 (เพิ่มขึ้น 8.4%)
เที่ยวบิน73,074 (เพิ่มขึ้น 8.1%)
แหล่งที่มา:[1]
AIP มาเลเซีย[2]

ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู (อังกฤษ: Kota Kinabalu International Airport, KKIA) (IATA: BKIICAO: WBKK) เป็นสนามบินตั้งอยู่ในรัฐซาบะฮ์ ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองโกตากีนาบาลู ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 8 km (5.0 mi) เป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นเป็นอันดับที่สองของประเทศมาเลเซีย รองจากท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ เนื่องจากมีผู้โดยสารมาใช้บริการถึง 6.9 ล้านคนต่อปี

อาคารผู้โดยสาร 1 มีเคาน์เตอร์เช็ค-อิน 64 ที่ ให้บริการสายการบินทั้งภายในและระหว่างประเทศ มีหลุมจอดเครื่องบิน 17 หลุม อาคารผู้โดยสารนี้รับผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 3,200 คน ส่วนอาคารผู้โดยสาร 2 หรืออาคารหลังใหม่ รับเครื่องบินได้ 12 ลำ

โถงผู้โดยสารขาออก มียอดเสาเป็นลายแบบ "วากิด" ซึ่งในทางวัฒนธรรมของซาบะฮ์แล้ว วากิดเป็นสิ่งที่แสดงถึงความรื่นเริงและสนุกสนาน โถงมีพื้นที่ใช้สอยในชั้นที่หนึ่ง 24,128 ตารางเมตร ชั้นที่สอง 18,511.4 ตารางเมตร และชั้นที่สาม 22,339 ตารางเมตร

ประวัติ

ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู ถูกใช้งานครั้งแรกในฐานะสนามบินขนาดเล็ก ก่อสร้างโดยกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[3] เปิดใช้งานในชื่อ สนามบินเจตเซลตัน ซึ่งเป็นชื่อเดิมของเมืองโกตากีนาบาลู ก่อนสิ้นสุดสงคราม สนามบินได้ถูกทำลายโดยกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ในปี ค.ศ. 1945.[4]

หลังจากสิ้นสุดสงคราม แผนกการบินพลเรือน (DCA) ของเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ (รัฐซาบะฮ์ในปัจจุบัน) ได้ทำการก่อสร้างอาคารสนามบินใหม่อีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1957 พร้อมกับเปลี่ยนผิวทางวิ่งจากหญ้าให้กลายเป็นวัสดุคงทน[3] ต่อมาในปี ค.ศ. 1959 ได้มีการขยายทางวิ่งให้ยาวถึง 1,593 เมตร เพื่อรองรับเครื่องบินวิคเกอร์ วิสเคาต์ ของสายการบินมลายาแอร์เวย์ (ปัจจุบันสายการบินนี้ปิดทำการไปแล้ว) และได้ขยายทางวิ่งเพิ่มอีกครั้งในปี ค.ศ. 1963 โดยยาวถึง 1,921 เมตร เพื่อรองรับเครื่องบินไอพ่น คอเม็ท 4 ต่อมาในปี ค.ศ. 1967 สายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิค ได้เปิดให้บริการเครื่องบิน คอนแวร์ 880 จำนวน 2 เที่ยวต่อสัปดาห์ ในเส้นทางฮ่องกง–มะนิลา–โกตากีนาบาลู (ปัจจุบันสายการบินนี้ ได้ยกเลิกจุดหมายปลายทางนี้แล้ว)[5] ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งจำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการ และจำนวนเที่ยวบินที่ลงจอด ยังคงมีมากขึ้นเรื่อย ๆ

ในปี ค.ศ. 1969 ได้มีการวางแผนพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู ในช่วงปี ค.ศ. 1970–2000 แผนพัฒนามีดังนี้

  • ขยายทางวิ่งให้ยาวถึง 2,987 เมตร เพื่อรองรับเครื่องบินโบอิง 707 และโบอิง 747
  • สร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ และทางวิ่งสำหรับเตรียมตัวเพิ่มเติม
  • ใช้อุปกรณ์อันทันสมัย และติดตั้งไฟสัญญาณที่ทางวิ่ง

ในปี ค.ศ. 1970–1989 มีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ขึ้น เพื่อรองรับสายการบินส่วนใหญ่ ต่อมาในปี ค.ศ. 1992 กรมการบินพลเรือน และการท่าอากาศยานมาเลเซีย ได้เข้ามาควบคุมท่าอากาศยานแห่งนี้[3]

การขยายและการปรับปรุง

ในช่วงกลางปี ค.ศ. 2005 รัฐบาลมาเลเซียอนุมัติโครงการปรับปรุงอาคารท่าอากาศยานหลัก (อาคารผู้โดยสาร 1) และการขยายทางวิ่ง ด้วยงบประมาณ 1.4 พันล้านริงกิต ได้ขยายทางวิ่งเพิ่มจาก 2,988 m (9,803 ft) ให้เป็น 3,780 m (12,402 ft) และขยายพื้นที่อาคารผู้โดยสารจาก 34,000 m2 (370,000 sq ft) ให้เป็น 87,000 m2 (940,000 sq ft) เพื่อให้สามารถรองรับเครื่องบิน Boeing 747, Airbus A330, Boeing 737, Fokker 50 และ Dorniers ได้ อาคารมีสะพานเทียบเครื่องบิน 12 แห่ง[6][7] และได้มีการก่อสร้างหอควบคุมการบินแห่งใหม่ขึ้น ปัจจุบัน การก่อสร้างทางวิ่งเพิ่มเติม ยังล่าช้าอยู่มาก[8]

แผนที่ของสนามบินโดยคร่าว ๆ

เมื่อโครงการนี้เสร็จสมบูรณ์ ท่าอากาศยานจะสามารถรองรับเครื่องบินที่ใหญ่สุด ซึ่งก็คือ Airbus A380 ได้ และจะกลายเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองในมาเลเซีย ซึ่งมีผู้โดยสาร 12 ล้านคนต่อปี โดยเป็นผู้โดยสารที่ใช้งานอาคารหนึ่ง 9 ล้านคน และอาคารสองอีก 3 ล้านคน[9]

ปัจจุบัน เครื่องบินขนาดใหญ่ที่สุดที่สามารถลงจอดที่สนามบินนี้ได้ คือ Boeing 777-200ER ให้บริการโดยสายการบินรอยัลบรูไนแอร์ไลน์[10], มาเลเซียแอร์ไลน์[11][12] และดราก้อนแอร์ (เฉพาะฤดู)[13]

ท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู เป็นสนามบินแห่งแรกที่เครื่องบิน โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ ของสายการบินรอยัลบรูไนแอร์ไลน์ลงจอด โดยลงจอดครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013[14]

อาคารผู้โดยสาร

เคาน์เตอร์เช็ค-อิน อาคารผู้โดยสาร 2
โถงอาคารผู้โดยสาร 2

อาคารผู้โดยสาร 1

อาคารผู้โดยสาร 1 เป็นอาคารหลักของสนามบินนี้ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการปรับปรุงและก่อสร้างส่วนต่อขยาย เมื่อเสร็จสมบูรณ์ จะรองรับผู้โดยสารได้ถึง 9 ล้านคนต่อปี จากเดิม 2.5 ล้านคนต่อปี ภายในอาคารมีร้านคาปลอดภาษี, ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว, ห้องรับรองสายการบิน และภัตตาคาร

ส่วนต่อขยายแรก เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2008 สำหรับสายการบินระหว่างประเทศ และส่วนต่อขยายที่ 2 เปิดทำการในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 สำหรับสายการบินภายในประเทศ เมื่อโครงการทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์ อาคารนี้จะประกอบไปด้วย

  • เคาน์เตอร์เช็ค-อิน 64 ช่วง
  • เครื่องตรวจร่างกาย 2 เครื่อง และเครื่องตรวจกระเป๋าอีก 5 เครื่อง
  • ช่องตรวจคนเข้าเมือง 36 ช่อง
  • สายพานกระเป๋า 6 สาย
  • ชั้นทั้งหมด 3 ชั้น (ชั้นแรก: ขาเข้า, ชั้นที่สอง: ที่ทำการสนามบิน, ชั้นที่สาม: เคาน์เตอร์เช็ค-อิน และขาออก)
  • สะพานเทียบเครื่องบิน 9 ตัว
  • หลุมจอดเครื่องบิน 17 หลุม
  • ที่จอดรถ 1,400 คัน

เที่ยวบินแรกที่ได้ใช้งานในอาคารส่วนต่อขยายใหม่ คือ มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 2637 ออกจากสนามบินเวลา 6 นาฬิกา 50 นาที มุ่งหน้าท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่เที่ยวบินก่อนหน้าเมื่อเวลา 0 นาฬิกา 25 นาที ใช้งานในอาคารส่วนเก่า

มาเลเซียแอร์ไลน์ เป็นสายการบินหลักของท่าอากาศยานนานาชาติโกตากีนาบาลู[15]

อาคารผู้โดยสาร 2

อาคารผู้โดยสาร 2 สร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานเป็นอาคารหลักแทนอาคารผู้โดยสาร 1 โดยตั้งอยู่ด้านข้างทางวิ่งจากอาคารผู้โดยสาร 1 อาคารนี้ใช้งานเป็นอาคารสายการบินราคาประหยัด โดยสายการบินที่เปิดใช้งาน คือ แอร์เอเชีย อาคารนี้ได้ปรับปรุงและเปิดใช้งานวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2007 พร้อมกับคำโฆษก ท่องเที่ยวมาเลเซีย 2007 ในอนาคต อาจย้ายสายการบินอื่นมาที่อาคารนี้[16]

อาคาร 2 มีเคาน์เตอร์เช็ค-อิน 26 ช่อง ทั้งภายในและระหว่างประเทศ มีหลุมจอด 6 หลุม เครื่องบินหลักได้แก่ โบอิง 737 และแอร์บัส เอ 320 มีเครื่องตรวจกระเป๋า 7 ตัว ช่องตรวจคนเข้าเมือง 13 ช่อง อาคารนี้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 3 ล้านคนต่อปี[9]

ATR72-500 ของสายการบินเอ็มเอเอสวิงส์ เข้าหลุมจอด
Boeing 777-200ER ของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ กำลังเตรียมตัว
Airbus A300 ของสายการบินโคเรียนแอร์ กำลังเตรียมตัว
Airbus A321 ของสายการบินดราก้อนแอร์ เข้าหลุมจอด

สายการบินที่ให้บริการ

สายการบิน จุดหมายปลายทาง อาคารผู้โดยสาร
แอร์เอเชีย กว่างโจว, หางโจว, ฮ่องกง, จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา, โจโฮร์บะฮ์รู, โกตาบาห์รู, กัวลาลัมเปอร์, กูชิง, มิริ, ปีนัง, ซันดากัน, เซินเจิ้น, สิงคโปร์, ไทเป-เถาหยวน, ตาเวา 2
แอร์เอเชียเซสต์ เซบู (สิ้นสุดวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2015), มะนิลา 2
เอเชียนาแอร์ไลน์ โซล-อินช็อน, ปูซาน 1
เซบูแปซิฟิก มะนิลา 1
ดราก้อนแอร์ ฮ่องกง 1
อีสเตอร์เจ็ต โซล-อินช็อน 1
อินโดนีเซียแอร์เอเชีย เดนปาซาร์, จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา 2
จินแอร์ โซล-อินช็อน 1
จินแอร์
ร่วมกับ โคเรียนแอร์
โซล-อินช็อน 1
มาเลเซียแอร์ไลน์ ฮ่องกง, กัวลาลัมเปอร์, กูชิง, ลาบวน, เพิร์ท, ซันดากัน, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, ไทเป-เถาหยวน, ตาเวา, โตเกียว-นะริตะ 1
เอ็มเอเอสวิงส์
ร่วมกับ มาเลเซียแอร์ไลน์
บินตูลู, กูชิง, กูดัต, ลาบวน, ลาฮัดดาตู, ลาวัส, มิริ, มูลู, ซันดากัน, ซีบู, ตาเวา 1
มาลินโดแอร์ กัวลาลัมเปอร์ 1
รอยัลบรูไนแอร์ไลน์ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน 1
ซิลค์แอร์ สิงคโปร์ 1
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพ-ดอนเมือง 1

จำนวนผู้โดยสาร

จำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบินต่อปี[17]
ปี ค.ศ.
จำนวนผู้โดยสาร
เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
จำนวนสินค้า (ตัน)
เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
จำนวนเที่ยวบิน
เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
1994 2,096,241 24,270 40,608
1995 2,554,181 เพิ่มขึ้น 21.8 29,537 เพิ่มขึ้น 21.7 43,882 เพิ่มขึ้น 8.0
1996 2,622,190 เพิ่มขึ้น 2.7 23,099 ลดลง 21.8 45,726 เพิ่มขึ้น 4.2
1997 2,732,146 เพิ่มขึ้น 4.2 37,203 เพิ่มขึ้น 61.1 49,148 เพิ่มขึ้น 7.5
1998 2,393,431 ลดลง 12.9 27,942 ลดลง 24.9 38,716 ลดลง 21.2
1999 2,752,207 เพิ่มขึ้น 15.0 27,087 ลดลง 3.1 40,634 เพิ่มขึ้น 5.0
2000 3,092,326 เพิ่มขึ้น 12.3 27,347 เพิ่มขึ้น 1.0 41,411 เพิ่มขึ้น 2.0
2001 3,036,196 ลดลง 1.8 24,887 ลดลง 9.0 40,157 ลดลง 3.0
2002 3,256,212 เพิ่มขึ้น 7.2 28,112 เพิ่มขึ้น 13.0 44,528 เพิ่มขึ้น 10.9
2003 3,302,366 เพิ่มขึ้น 1.4 25,638 ลดลง 8.8 44,748 เพิ่มขึ้น 0.5
2004 3,918,201 เพิ่มขึ้น 18.6 27,191 เพิ่มขึ้น 6.1 52,352 เพิ่มขึ้น 17.0
2005 3,975,136 เพิ่มขึ้น 1.4 25,473 ลดลง 6.3 51,824 ลดลง 1.0
2006 4,015,221 เพิ่มขึ้น 1.0 28,356 เพิ่มขึ้น 11.3 52,055 เพิ่มขึ้น 0.4
2007 4,399,939 เพิ่มขึ้น 9.6 35,638 เพิ่มขึ้น 25.7 52,047 ลดลง 0.01
2008 4,689,164 เพิ่มขึ้น 6.6 34,532 ลดลง 3.1 54,317 เพิ่มขึ้น 4.4
2009 4,868,526 เพิ่มขึ้น 3.8 25,079 ลดลง 27.4 53,554 ลดลง 1.4
2010 5,223,454 เพิ่มขึ้น 7.3 26,733 เพิ่มขึ้น 6.6 55,241 เพิ่มขึ้น 3.2
2011 5,808,639 เพิ่มขึ้น 11.2 28,534 เพิ่มขึ้น 6.7 59,638 เพิ่มขึ้น 8.0
2012 5,848,135 เพิ่มขึ้น 0.7 23,563 ลดลง 17.4 58,366 ลดลง 2.1
2013 6,929,692 เพิ่มขึ้น 18.5 21,922 ลดลง 7.0 67,601 เพิ่มขึ้น 15.8
2014 6,792,968 ลดลง 2.1 23,769 เพิ่มขึ้น 8.4 73,074 เพิ่มขึ้น 8.1

สายการบินที่เคยให้บริการ

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
ไทยสมายล์
ร่วมกับ การบินไทย
กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ

เส้นทางการบิน

อ้างอิง

  1. Kota Kinabalu International Airport at Malaysia Airports Holdings Berhad
  2. WBKK – KOTA KINABALU INTERNATIONAL AIRPORT at Department of Civil Aviation Malaysia
  3. 3.0 3.1 3.2 Profile, Department of Civil Aviation, Sabah. Accessed 10 April 2007.
  4. USAAF Chronology
  5. timetableimages.com, Cathy Pacific 16 April 1967 system timetable
  6. "Airport expansion of national interest: CM", Daily Express News, 12 April 2006.
  7. Design and Build Contract – Upgrading of the Kota Kinabalu International Airport Project (Package 1 – Terminal Building and Landside Infrastructure & Facilities), WCT Engineering Berhad. Accessed 11 May 2007.
  8. "KKIA to get ILS in 2014", Malaysian Insider,
  9. 9.0 9.1 "LCC terminal ready year end", Daily Express News, 23 May 2006.
  10. "Boeing 777-200ER in Kota Kinabalu"
  11. "Boeing 777-200ER in Kota Kinabalu"
  12. "Airbus A330-300 in Kota Kinabalu"
  13. "Airbus A330-300 in Kota Kinabalu"
  14. "B787 Dreamliner Flight Schedule – Regional Services"
  15. Kota Kinabalu International Airport, A-Z World Airports Online. Accessed 11 May 2007.
  16. "MAHB targets 45.5 m in passenger traffic", The Edge Daily, 26 February 2007.
  17. "MAHB Annual Report 2014" (PDF). http://www.malaysiaairports.com.my/. 14 April 2015. สืบค้นเมื่อ 14 April 2015. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |publisher= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์

  • 6 มิถุนายน ค.ศ. 1976 – เครื่องบินของซาบะฮ์แอร์ เกิดอุบัติเหตุตกบริเวณเซิมบูลัน ผู้โดยสารเสียชีวิต 11 คน หนึ่งในนั้นเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีมาเลเซีย เหตุการณ์ครั้งนั้นถูกเรียกว่า "โศกนาฏกรรมเลขหกอาถรรพ์" (เพราะเกิดในวันที่ 6 เดือน 6 ปีลงท้ายด้วย 6)
  • 6 กันยายน ค.ศ. 1991 – เครื่องบินส่วนตัว ประกอบด้วยชาวอเมริกัน 10 คน และชาวอังกฤษ 2 คน ตกลงไปในป่าใกล้กับฮูลูคีมานิส ชานเมืองปาปาร์ ห่างจากสนามบินนี้ 50 กิโลเมตร
  • 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991 – เครื่องบินส่วนตัว Pilatus Porter เกิดอุบัติเหตุตก ตำรวจ 3 นายด้านล่างเสียชีวิต
  • 18 กันยายน ค.ศ. 1993 – พื้นทางวิ่งเกิดยุบตัวเป็นพื้นที่ขนาด 13.5 ตารางเมตร ทำให้ต้องปิดทำการสนามบิน 70 นาที
  • 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 – สายการบินแอร์เอเชีย เที่ยวบินที่ 104 โดยเครื่องบิน Boeing 737-300 เกิดลื่นไถลระหว่างลงจอด ผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ 3 คน ซึ่งต่อมาได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลควีนเอลิซาเบธ ในโกตากีนาบาลู
  • 14 ธันวาคม ค.ศ. 2005 – เครื่องบินของสายการบินแอร์เอเชีย เกิดยางไหม้ เวลา 10 นาฬิกา 30 นาที ทำให้ทางสนามบินต้องปิดทำการชั่วโมงกว่า ๆ ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
  • 25 ตุลาคม ค.ศ. 2012 – สนามบินปิดทำการ เนื่องจากไฟส่องสว่างที่ทางวิ่งทำงานผิดปกติ
  • 10 ตุลาคม ค.ศ. 2013 – เครื่องบิน Maswings Twin Otter มุ่งหน้าสู่กูดั๊ต ชนเข้ากับบ้านหลังหนึ่งในบริเวณกัมปุงซินซัน ห่างจากกูดั๊ต 200 เมตร นักบินและผู้โดยสารอีก 1 คน เสียชีวิต