ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Vermont (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 14.207.96.129 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Vermont
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว SWViewer [1.3]
บรรทัด 40: บรรทัด 40:
[[หมวดหมู่:มาตรฐานไอเอสโอ]]
[[หมวดหมู่:มาตรฐานไอเอสโอ]]
[[หมวดหมู่:ขั้นตอนวิธีผลรวมตรวจสอบ]]
[[หมวดหมู่:ขั้นตอนวิธีผลรวมตรวจสอบ]]
{{โครงความรู้}}3224
{{โครงความรู้}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:14, 17 สิงหาคม 2562

ไอเอสบีเอ็น มีรหัสเลข 13 ตัวในบาร์โค้ด

เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (อังกฤษ: International Standard Book Number) หรือ ไอเอสบีเอ็น (ตัวย่อ: ISBN) เป็นรหัสที่กำหนดขึ้นให้ใช้กับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือทั่วไป มีจุดมุ่งหมายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหนังสือแต่ละเรื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมข้อมูลสิ่งพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ในด้านการสั่งซื้อ การขาย การบริการ การเงิน และการนำสินค้าออกจำหน่ายไปยังสำนักพิมพ์ในประเทศต่าง ๆ ระบบ ISBN ถูกสร้างขึ้นในสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2509 โดยบริษัทผู้จัดพิมพ์และขายหนังสือ ดับเบิลยู เอช สมิธ และถูกเรียกว่า เลขมาตรฐานหนังสือ (Standard Book Numbering หรือ SBN) ต่อมา มีการนำ SBN มาใช้เป็นมาตรฐานสากล ISO 2108 ในปี พ.ศ. 2513 รหัสมาตรฐานที่คล้ายกัน หมายเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (the International Standard Serial Number หรือ ISSN) ใช้สำหรับนิตยสารที่ออกตามกำหนดเวลา

ส่วนประกอบ

เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ มีตัวเลข 10 หรือ 13 หลัก โดยแบ่งเป็น 4-5 ส่วน ตัวเลขแต่ละส่วนถูกแบ่งให้ชัดเจนด้วยเครื่องหมาย (-) หรือเว้นวรรค

  • ส่วนที่ 1 ถ้าเป็นรหัส 13 ตัว จะขึ้นต้นด้วยรหัสของ European Article Numbering-Uniform Code Council คือ 978 หรือ 979 (รหัส 10 ตัว จะไม่มีส่วนนี้)
  • ส่วนที่ 2 รหัสประเทศ สำหรับประเทศไทย ใช้ 974
  • ส่วนที่ 3 รหัสสำนักพิมพ์ เช่นสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ใช้ 472
  • ส่วนที่ 4 รหัสชื่อเรื่อง เป็นลำดับของสิ่งพิมพ์ที่ผลิตจากสำนักพิมพ์นั้น ๆ
  • ส่วนที่ 5 เลขตรวจสอบ ใช้ตรวจในระบบคอมพิวเตอร์จากการคำนวณเลข 9 ตำแหน่ง ของส่วนที่ 2-4

ตัวอย่าง: ISBN 974-472-362-9 เป็นเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือของหนังสือเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ของสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์

การคำนวณเลขตรวจสอบในระบบคอมพิวเตอร์

สำนักงาน ISBN สากลมีคู่มืออย่างเป็นทางการ ซึ่งบอกถึงการคำนวณเลขตรวจสอบหลักสุดท้ายของ ISBN โดยใช้การคำนวณเลขคณิตมอดุลาร์จากเลข ISBN 9 หลักแรก คือ คูณเลข ISBN หลักแรกด้วย 10 หลักที่สองด้วย 9 หลักที่สามด้วย 8 ไปจนถึงหลักที่เก้าด้วย 2 นำผลคูณทั้ง 9 จำนวนมาบวกกัน แล้วคำนวณมอดุลาร์ 11 สำหรับกรณีที่หาค่ามอดุลาร์ได้ 10 จะใช้ตัวอักษร X พิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษแทน

ตัวอย่าง: การคำนวณหาเลขตรวจสอบของ ISBN 974-472-362-?

= 9×10 + 7×9 + 4×8 + 4×7 + 7×6 + 2×5 + 3×4 + 6×3 + 2×2
=     90 +    63 +    32 +   28 +   42 +    10 +   12 +    18 +   4
=   299
299 / 11 = 27 เศษ 2
11 - 2 = 9

ดังนั้นเลขตรวจสอบคือ 9 และเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือที่สมบูรณ์คือ ISBN 974-472-362-9

สูตรคณิตศาสตร์ในการคำนวณคือ

สำหรับ ISBN 13 หลัก การคำนวณเลขตรวจสอบหลักสุดท้ายทำวิธีเดียวกันกับ EAN-13 ซึ่งเลขตัวนี้ระหว่าง ISBN-13 กับ ISBN-10 อาจไม่เหมือนกันเพราะคำนวณคนละวิธี

แหล่งข้อมูลอื่น