ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:การอุทธรณ์การบล็อก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{บอกวิธีวิกิพีเดีย|WP:AAB|WP:APPEAL}}
'''[[วิกิพีเดีย:นโยบายการบล็อกผู้ใช้|การบล็อก]]'''ผู้ใช้และช่วงเลขที่อยู่ไอพีเป็นหน้าที่ของ[[WP:ADMIN|ผู้ดูแลระบบ]]เพื่อลดหรือป้องกันการก่อกวนและพฤติกรรมไม่เหมาะสมร้ายแรงอื่น หน้านี้เป็นการอธิบายแก่ผู้ใช้ที่ถูกบล็อกว่า เหตุใดจึงถูกบล็อก และการขอปลดบล็อกทำอย่างไร
'''[[วิกิพีเดีย:นโยบายการบล็อกผู้ใช้|การบล็อก]]'''ผู้ใช้และช่วงเลขที่อยู่ไอพีเป็นหน้าที่ของ[[WP:ADMIN|ผู้ดูแลระบบ]]เพื่อลดหรือป้องกันการก่อกวนและพฤติกรรมไม่เหมาะสมร้ายแรงอื่น หน้านี้เป็นการอธิบายแก่ผู้ใช้ที่ถูกบล็อกว่า เหตุใดจึงถูกบล็อก และการขอปลดบล็อกทำอย่างไร



รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:34, 3 สิงหาคม 2562

การบล็อกผู้ใช้และช่วงเลขที่อยู่ไอพีเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลระบบเพื่อลดหรือป้องกันการก่อกวนและพฤติกรรมไม่เหมาะสมร้ายแรงอื่น หน้านี้เป็นการอธิบายแก่ผู้ใช้ที่ถูกบล็อกว่า เหตุใดจึงถูกบล็อก และการขอปลดบล็อกทำอย่างไร

ทำไมจึงถูกบล็อก

  • คุณอาจได้รับผลกระทบจากการบล็อกบุคคลอื่น ซึ่งทำให้คุณถูกบล็อกแม้จะไม่ได้มีการแก้ไขใด ๆ เลยก็ตาม
  • หรือ บัญชีหรือเลขที่อยู่ไอพีของคุณอาจถูกบล็อกเนื่องจากมีเหตุอันเชื่อได้ว่าบัญชีหรือเลขที่อยู่ไอพีนั้นเป็นผู้กระทำการ หรือมีส่วนรู้เห็นกับการฝ่าฝืนนโยบายวิกิพีเดียอย่างร้ายแรง

หากบัญชีของคุณถูกบล็อกโดยผิดพลาด ทันทีที่คุณแจ้งให้ผู้ดูแลระบบทราบปัญหาดังกล่าว บัญชีของคุณจะถูกปลดบล็อกอย่างรวดเร็ว หรือหากคุณไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ คุณสามารถขออุทธรณ์การบล็อกเพื่อให้ผู้ดูแลระบบที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบล็อกดังกล่าวพิจารณาและพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว กระบวนการดังกล่าวนี้ใช้เวลาไม่นาน อนึ่ง เป้าประสงค์อย่างหนึ่งของการบล็อกคือ ทำให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นและป้องกันมิให้เกิดปัญหานั้น ๆ ขึ้นอีก

คำถามพบบ่อย

  1. การบล็อกคืออะไร
    • การบล็อกคือการห้ามมิให้ผู้ใช้หรือช่วงไอพีหนึ่ง ๆ แก้ไขวิกิพีเดีย (แต่ยังสามารถอ่านเนื้อหาได้) การบล็อกใช้เพื่อป้องกันการใช้วิกิพีเดียในทางมิชอบ หรือใช้วิกิพีเดียในทางอื่นอันเป็นการขัดต่อนโยบายว่าด้วยการแก้ไขวิกิพีเดีย เมื่อการบล็อกสิ้นสุด จะไม่มีการบล็อกซ้ำอีกเว้นแต่ว่าหากเกิดปัญหาซึ่งมีผลกระทบต่อวิกิพีเดียอีก การบล็อกสามารถบล็อกได้ทั้งผู้ใช้ ไอพี และช่วงไอพี นอกจากนี้ยังมีการบล็อกอีกแบบที่เรียกว่า "การบล็อกอัตโนมัติ" (Autoblock) โดยระบบจะบล็อกช่วงไอพีบางช่วงที่อาจก่อให้เกิดปัญหาการใช้งาน ซึ่งการบล็อกอัตโนมัตินี้สามารถขอปลดบล็อกได้หากการบล็อกดังกล่าวเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
  2. จะสร้างบัญชีผู้ใช้ใหม่มาเพื่ออุทธรณ์ ทำได้หรือไม่
    • ห้ามสร้างบัญชีผู้ใช้ใหม่เพื่ออุทธรณ์การบล็อกบัญชีผู้ใช้เดิม เพราะจะถือว่าเป็นการไม่สุจริต การอุทธรณ์การบล็อกในชื่อผู้ใช้ของตนเอง (และยอมถูกบล็อกหากมีข้อสรุปว่าต้องทำเช่นนั้น) จะเป็นการสมควรกว่า วิกิพีเดียเคยมีกรณีที่ผู้ใช้ถูกบล็อกเป็นวันหรือเป็นเดือน แต่ยอมถูกบล็อกและกลับมาแก้ไขในทางสร้างสรรค์อยู่มาก เพราะการบล็อกแต่ละครั้งเมื่อจบแล้วก็คือจบเลย จะไม่มีการบล็อกซ้ำอีก อนึ่งคุณสามารถอุทธรณ์การบล็อกผ่านทางหน้าคุยกับผู้ใช้ (ซึ่งปกติจะไม่ถูกบล็อกเว้นแต่จะเกิดการใช้งานในทางที่ผิด) เว้นเสียแต่ว่าหากคุณถูกบล็อกมิให้แก้ไขหน้าคุยกับผู้ใช้ด้วย การสร้างบัญชีผู้ใช้ใหม่เพื่อเลี่ยงบล็อกอาจส่งผลให้คุณถูกห้ามแก้ไขวิกิพีเดียเป็นเวลานานขึ้น หรือเป็นการถาวร

การขอปลดบล็อก

คำชี้แจงการขอปลดบล็อกจะถูกส่งไปยังหน้าคุยกับผู้ใช้ของคุณหรือในคำอธิบายการบล็อก หนทางรวดเร็วในการดูคำชี้แจงการขอปลดบล็อกและทดสอบว่าคุณกำลังถูกบล็อกอยู่หรือไม่ คือ ให้คลิกที่นี่ ซึ่งจะพยายามแก้ไขหน้าทดลองเขียน หากคุณได้รับอนุญาตให้แก้ไขหน้าทดลองเขียนแล้ว หมายความว่า การบล็อกของคุณได้สิ้นสุดลงหรือถูกเพิกถอนแล้ว และไม่มีอะไรต้องดำเนินการอีก หากการบล็อกยังมีผลอยู่ คุณสามารถกลับมาแก้ไขใหม่ได้หลังปลดบล็อก หรือคุณสามารถขอทบทวนการบล็อกหากคุณเชื่อว่าการบล็อกนั้นไม่เป็นธรรมหรือคุณได้แก้ไขปัญหาแล้ว หนทางการอุทธรณ์การบล็อกที่แนะนำ คือ ใช้แม่แบบ {{ปลดบล็อก}} แต่คุณยังสามารถติดต่อผู้ดูแลระบบที่บล็อกผ่านอีเมลได้เพื่อขอปลดบล็อก

การพิจารณา

เมื่อคุณอุทธรณ์ ผู้เขียนคนอื่น ซึ่งเป็นไปได้ว่าส่วนใหญ่ไม่มีความเกี่ยวข้องในประเด็นนั้น จะทบทวนประวัติการแก้ไขของคุณ ซึ่งถูกลงบันทึกไว้ เช่นเดียวกับเหตุผลของการบล็อกและประวัติอันนำไปสู่การบล็อก

โดยปกติ หากเป็นกรณีที่ชัดเจน ผู้ดูแลระบบที่ไม่เกี่ยวข้องคนหนึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจ ผู้ดูแลระบบที่บล็อกอาจได้รับการปรึกษาเพื่อขอควมเห็นต่อคำขอของคุณ (ซึ่งเป็นมารยาทสามัญ) กระบวนการนี้อาจกินเวลาไม่กี่นาทีหรือหลายชั่วโมงก็ได้ สำหรับการอภิปรายสำคัญบางครั้งอาจกินเวลาถึงวันพรุ่งนี้

ผู้ดูแลระบบจะหลีกเลี่ยงการต่อสู้บล็อกและปลดบล็อก ซึ่งจะเป็นการฝ่าฝืนนโยบายผู้ดูแลระบบอย่างร้ายแรง ด้วยเหตุนี้ การบล็อกโดยปกติจึงไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นแหล่งที่มาของความขัดแย้ง แต่จะมีการแสวงการเห็นพ้องต้องกันแทน ผ่านการทดสอบที่ยุติธรรมและเชิงอัตวิสัยของประเด็นปัญหานั้น และนโยบายใด ๆ ที่ถูกกล่าวอ้างว่าละเมิด