ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 8430832 สร้างโดย 2403:6200:8872:A220:B158:2E0F:5788:8386 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Phat2000 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 6: บรรทัด 6:
| birth_style = {{Nowrap|พระราชสมภพ}}
| birth_style = {{Nowrap|พระราชสมภพ}}
| birth_date = พ.ศ. 2223
| birth_date = พ.ศ. 2223
| death_date = พ.ศ. 2301
| death_date = พ.ศ. 2301 (78 พรรษา)
| father = [[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8]]
| father = [[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8]]
| queen = [[กรมหลวงอภัยนุชิต]]<br>[[กรมหลวงพิพิธมนตรี]]<ref>เล็ก พงษ์สมัครไทย. '''เฉลิมพระยศ เจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ ๑-๙'''. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2552. หน้า 16 </ref>
| queen = [[กรมหลวงอภัยนุชิต]]<br>[[กรมหลวงพิพิธมนตรี]]<ref>เล็ก พงษ์สมัครไทย. '''เฉลิมพระยศ เจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ ๑-๙'''. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2552. หน้า 16 </ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:05, 3 สิงหาคม 2562

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์พ.ศ. 2275-2301 (26 ปี)
ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ
ถัดไปสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
พระราชสมภพพ.ศ. 2223
สวรรคตพ.ศ. 2301 (78 พรรษา)
มเหสีกรมหลวงอภัยนุชิต
กรมหลวงพิพิธมนตรี[1]
ราชวงศ์ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระราชบิดาสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือ พระมหาธรรมราชา เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 31 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่ 4 ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง

พระราชประวัติ

ก่อนครองราชย์

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีพระนามเดิมว่าเจ้าฟ้าพร เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) มีพระเชษฐาคือเจ้าฟ้าเพชร พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นพระบัณฑูรน้อยในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 และเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระะเจ้าท้ายสระ)

ปราบดาภิเษก

ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ได้เกิดการสู้รบกันระหว่างพระองค์กับพระราชโอรสของพระะเจ้าท้ายสระคือเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์ อันเนื่องมาจากพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศในขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีสิทธิที่จะขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อพระเชษฐาอย่างถูกต้อง แต่เมื่อพระเชษฐาใกล้สวรรคตกลับตัดสินพระทัยยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้านเรนทร พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ แต่เจ้าฟ้านเรนทรไม่รับสืบราชสมบัติเพราะเห็นว่ามีกรมพระราชวังบวรฯ ซึ่งสมควรได้สืบราชสมบัติมากกว่า พระเจ้าท้ายสระจึงยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย (พระราชโอรสองค์รอง) เป็นเหตุให้เกิดการต่อสู้แย่งชิงราชบัลลังก์จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง กินระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี

"คำให้การชาวกรุงเก่า" ระบุว่าภายหลังเหตุการณ์สงบแล้ว กรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงได้ขึ้นครองราชย์เฉลิมพระนามว่าพระมหาธรรมราชา[2] (แต่ในบัญชีพระนามเจ้านายว่าพระเจ้าบรมราชา[3]) และสำเร็จโทษเจ้าฟ้าอภัย และ เจ้าฟ้าปรเมศร์

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีพระอัครมเหสี 3 พระองค์ พระนามพระราชโอรสธิดาที่ประสูติจากพระอัครมเหสีทั้งสามดังนี้[4]

ส่วน บัญชีรายพระนามพระราชวงศ์และข้าราชการสยามที่พม่าว่าจับไปได้จากกรุงศรีอยุธยา เมื่อกรุงเสียในปี พ.ศ. 2310 ระบุรายพระนามเจ้านายว่ามีพระราชโอรส-ธิดา 24 พระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศถูกจับไปยังพม่า ได้แก่[8]

พระราชกรณียกิจ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองและพระศาสนาจนกล่าวได้ว่ากรุงศรีอยุธยาในสมัยพระองค์นั้นเป็นยุคที่บ้านเมืองดี มีขุนนางคนสำคัญที่เติบโตในเวลาต่อมา ในรัชกาลของพระองค์หลายคน เช่น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้น ในทางด้านวรรณคดี ก็มีกวีคนสำคัญ เช่น เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ กรมขุนเสนาพิทักษ์ (หรือเจ้าฟ้ากุ้ง) ซึ่งเป็นพระราชโอรส เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2296 พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ กษัตริย์ลังกา ได้ส่งราชทูตมาขอพระมหาเถระ และคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา ซึ่งเสื่อมโทรมลงไป สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จึงโปรดให้ส่งคณะสมณทูตประกอบด้วยพระราชาคณะสองรูปคือ พระอุบาลีเถระและพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก 12 รูป ไปลังกา เพื่อประกอบพิธีบรรพชา อุปสมบท ให้กับชาวลังกา คณะสงฆ์คณะนี้ได้ไปตั้งสยามนิกายขึ้นในลังกา หลังจากที่ได้ช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา เป็นเวลาเจ็ดปีแล้ว คณะสงฆ์คณะนี้บางส่วนได้เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2303

เหตุพระนาม"บรมโกศ"

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชวินิจฉัยในพระราชพิธีสิบสองเดือนว่า เป็นเพราะเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศสวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ก็เรียกขุนหลวงบรมโกศ จนผลัดแผ่นดินมาพระเจ้าเอกทัศ ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จนมาสมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ จึงเรียกติดปากไป คิดว่าเป็นชื่อจริงๆ

พงศาวลี

พระราชตระกูลในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระราชเทวีสิริกัลยาณี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระแสนเมือง (พระเจ้าเชียงใหม่)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นางกุสาวดี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ทราบ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ทราบ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. เล็ก พงษ์สมัครไทย. เฉลิมพระยศ เจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ ๑-๙. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2552. หน้า 16
  2. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 550
  3. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 623
  4. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 551
  5. "กวีเอกสมัยอยุธยา: เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร" (PDF). วารสารราชบัณฑิตยสถาน. ปีที่ 32 เล่ม 2: 414. เม.ย.-มิ.ย. พ.ศ. 2550. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 174-176
  7. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ (บรรณาธิการ). เล่าเรื่อง...เฉกอะหมัด ต้นสกุลบุนนาค. กรุงเทพฯ : บันทึกสยาม, 2553, หน้า 95
  8. นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. พระราชพงศาวดารพม่า. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2550, หน้า 1135
บรรณานุกรม
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8[ลิงก์เสีย]
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
  • ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553. 536 หน้า. ISBN 978-616-508-073-6

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ถัดไป
เจ้าฟ้าเพชร
กรมพระราชวังบวรสถานมงคลแห่งอาณาจักรอยุธยา
(ราชวงศ์บ้านพลูหลวง)

เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
(ราชวงศ์บ้านพลูหลวง)

(พ.ศ. 2251-2275)

พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
(ราชวงศ์บ้านพลูหลวง)

(พ.ศ. 2275-2301)
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
(ราชวงศ์บ้านพลูหลวง)

(พ.ศ. 2301)