ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 8429389 สร้างโดย 182.53.222.131 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Phat2000 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
| birth_date = พ.ศ. 2015
| birth_date = พ.ศ. 2015
| birth_place = พิษณุโลก
| birth_place = พิษณุโลก
| death_date = 10 ตุลาคม พ.ศ. 2072
| death_date = 10 ตุลาคม พ.ศ. 2072 (57พรรษา)
| death_place = กรุงศรีอยุธยา
| death_place = กรุงศรีอยุธยา
| succession = พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
| succession = พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:12, 1 สิงหาคม 2562

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์พ.ศ. 2034 - 2072
ก่อนหน้าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
ถัดไปสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
พระราชสมภพพ.ศ. 2015
พิษณุโลก
สวรรคต10 ตุลาคม พ.ศ. 2072 (57พรรษา)
กรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
พระราชบิดาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่งอาณาจักรอยุธยา มีพระนามเดิมว่า พระเชษฐา เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลกเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2015 ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานถึง 38 ปี นับเป็นลำดับที่สองรองจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถผู้เป็นพระราชบิดา

พระราชประวัติ

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 มีพระนามเดิมว่าพระเชษฐา เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกับพระราชชนนีจากราชวงศ์พระร่วง[1] พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ระบุว่าทรงพระราชสมภพเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2015[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2027 ทรงผนวชพร้อมกับพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 เมื่อทรงลาผนวชในปีถัดมา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้สถาปนาพระองค์ไว้ที่พระมหาอุปราช[3] ทรงพระนามว่าพระเอกสัตราช[4]

เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2031 พระเอกสัตราชยังคงประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2034 จึงเสด็จมาเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยาทรงพระนามสมเด็จพระรามาธิบดี[3]

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2072 สมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จฯ ไปพระที่นั่งหอพระ และเสด็จสวรรคตในตอนค่ำของวันนั้น[5] ขณะพระชนมายุได้ 57 พรรษา ครองราชสมบัติรวม 38 ปี[6] ในปีนั้นพบว่าดาวหางฮัลเลย์โคจรมาใกล้โลก[7] ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ว่า "ศักราช 891 ฉลูศก เห็นอากาศนิมิตเป็นอินทรธนูแต่ทิศหรดี ผ่านอากาศมาทิศพายัพ มีพรรณขาว..."

พระราชโอรส

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสัณนิษฐานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 มีพระราชโอรสสามพระองค์ได้แก่[ต้องการอ้างอิง]

  1. สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร พระนามเดิมพระอาทิตยวงศ์ ประสูติแต่สมเด็จพระอัครมเหสี
  2. สมเด็จพระไชยราชาธิราช ประสูติแต่พระสนม
  3. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระนามเดิมว่าพระเฑียรราชา ประสูติแต่พระสนม

พระราชกรณียกิจ

การพระศาสนา

  • พ.ศ. 2035 สมเด็จพระรามาธิบดีโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ใหญ่เพื่อประดิษฐานพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ในเขตพระราชวัง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ใหญ่เพื่อประดิษฐานพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในวัดเดียวกัน
  • พ.ศ. 2042 สมเด็จพระรามาธิบดีโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารในวัดศรีสรรเพชญ์
  • พ.ศ. 2043 สมเด็จพระรามาธิบดีหล่อโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูป พระศรีสรรเพชญ์ เริ่มหล่อในวันอาทิตย์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6
  • พ.ศ. 2046 ทรงให้มีงานฉลองสมโภชพระศรีสรรเพชญ์ วันศุกร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8

การเจริญสัมพันธไมตรีกับโปรตุเกส

ใน พ.ศ. 2054 ทูตนำสารของอะฟองซู ดือ อะบูแกร์ แม่ทัพใหญ่ของประเทศโปรตุเกสได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและการค้า พระองค์ทรงตอบรับไมตรีจากโปรตุเกส และได้ทำสัญญาทางราชไมตรีกับทางการค้าต่อกัน ใน พ.ศ. 2059 นับเป็นสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับต่างประเทศ โปรตุเกสจึงนับเป็นประเทศแรกในทวีปยุโรปที่เข้ามาในกรุงศรีอยุธยา

ผลจากการเข้ามาสร้างไมตรีของชาวโปรตุเกส ได้มีการนำเอาอาวุธแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพเข้ามาถวาย ได้แก่ ปืนประเภทต่าง ๆ และกระสุนดินดำ ต่อมาชาวโปรตุเกสได้เข้ามาเป็นทหารอาสาฝรั่ง ได้ช่วยฝึกวิธีการใช้อาวุธแบบตะวันตกกับกรุงศรีอยุธยา

ราชการสงคราม

สงครามกับมะละกา

เมื่อ พ.ศ. 2043 พระองค์ทรงส่งกองทัพทั้งทางบกและทางเรือไปทำสงครามกับมะละกาถึงสองครั้ง โดยเข้าโจมตีชายฝั่งตะวันออกและตะวันตก แม้ไม่ประสบผลสำเร็จแต่ก็ทำให้มะละกาได้ตระหนักถึงอำนาจของอยุธยาที่มีอิทธิพลเหนือหัวเมืองในคาบสมุทรภาคใต้ โดยมีเมืองนครศรีธรรมราชทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ใช้เป็นฐานในการควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ในคาบสมุทรแห่งนี้ กษัตริย์มะละกาผู้ปกครอง ปัตตานี ปาหัง กลันตัน และเมืองท่าที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทั้งหมดต้องส่งบรรณาการต่อกษัตริย์อยุธยาทุกปี

สงครามกับล้านนา

  • พ.ศ. 2056 พระเจ้าเชียงใหม่พระนามว่าพระเมืองแก้ว ยกทัพมาตีกรุงสุโขทัย สมเด็จพระรามาธิบดีได้ทรงออกทัพขึ้นไปป้องกันทางเหนือ จนกองทัพเชียงใหม่แตกกลับไป
  • พ.ศ. 2058 พระองค์ได้ทรงยกกองทัพขึ้นไปตีล้านนาอีกหน คราวนี้ทรงตีเมืองลำปางได้

การจัดระเบียบกองทัพ

สมเด็จพระรามาธิบดีที ทรงจัดให้มีการจัดระเบียบกองทัพ และแต่งตำราพิชัยสงคราม โปรดเกล้า ฯ ให้จัดทำบัญชีกำลังพล เมื่อ พ.ศ. 2061 เพื่อเกณฑ์พลเมืองเข้ารับราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน โดยกำหนดให้ไพร่ที่เป็นชาย อายุตั้งแต่ 18 - 60 ปี ต้องเข้ารับราชการทหาร ยกเว้นผู้ที่มีบุตรชายแล้วเข้ารับราชการ ตั้งแต่สามคนขึ้น ผู้เป็นบิดาจึงพ้นหน้าที่รับราชการทหาร

ชายที่มีอายุ 18 ปี ต้องขึ้นทะเบียนทหารเพื่อเข้ารับการฝึกหัดทหาร เรียกว่าไพร่สม เมื่ออายุ 20 ปี จึงเรียกเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการเรียกว่าไพร่หลวง ส่วนพวกที่ไม่สามารถมารับราชการทหารได้ ก็ต้องมีของมาให้ราชการเป็นการชดเชยเรียกว่าไพร่ส่วย

ได้มีการตั้งกรมพระสุรัสวดี ให้เป็นหน่วยรับผิดชอบ โดยมีออกพระราชสุภาวดี เป็นเจ้ากรมรับผิดชอบในมณฑลราชธานี พระสุรัสวดีขวา รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือ และพระสุรัสวดีซ้าย รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้

เหตุการณ์สำคัญ

  • พ.ศ. 2039 ทรงประพฤติการเบญจาพิธ และทรงให้มีเล่นการดึกดำบรรพ์
  • พ.ศ. 2040 ทรงให้ทำการปฐมกรรม
  • พ.ศ. 2067 งาช้างต้นเจ้าพระยาปราบแตกข้างขวายาวไป ในเดือนเดียวกันมีผู้ทอดบัตรสนเท่ห์ สมเด็จพระรามาธิบดีทรงให้ประหารขุนนางจำนวนมาก
  • พ.ศ. 2068 น้ำน้อย ข้าวมีการเน่าเสีย แผ่นดินไหวทุกเมือง และเกิดเหตุอุบาทว์หลายอย่าง
  • พ.ศ. 2069 ข้าวสารแพงเป็น 3 ทะนานต่อเฟื้องเบี้ยแปดร้อย เกวียนหนึ่งเป็นเงินชั่งหกตำลึง

ในวรรณคดีไทย

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกับที่ปรากฏพระนามว่า สมเด็จพระพันวษา ในวรรณคดีพื้นบ้านเรื่องขุนช้างขุนแผน เนื่องจากในพงศาวดาร อาทิ คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุถึงรัชสมัยของพระองค์ มีตอนที่กล่าวถึงทหารคนสำคัญคนหนึ่งที่ชื่อ ขุนแผน ด้วย

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 82
  2. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 399
  3. 3.0 3.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 400
  4. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ (25 มีนาคม 2560). "อย่าลืม! ราชสำนักเมืองเหนือ ที่พิษณุโลก". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 404
  6. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 403-404
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ดาว
บรรณานุกรม
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
  • พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1. นนทบุรี : โครงการเลือกสรรหนังสือ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558. 305 หน้า. ISBN 978-616-16-0930-6

ดูเพิ่ม


ก่อนหน้า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ถัดไป
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
(พ.ศ. 2031 - 2034]])

พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

(พ.ศ. 2034 - 2072)
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
(พ.ศ. 2072 - 2076)
พระราเมศวร
(พ.ศ. 1981 - 1991)

พระมหาอุปราชกรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

(พ.ศ. 2028 - 2034)
พระอาทิตยวงศ์
(พ.ศ. 2069 - 2072)