ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
}}
}}


นายพลเอก มหาอำมาตย์เอก นายพลเสือป่า '''สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์''' (HRH Prince Yugala Dighambara , Prince of Lopburi) เป็นพระราชโอรสใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ประสูติแต่[[พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา]] เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2425 พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจาก[[มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์]] ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ การปกครองและสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ทรงเคยดำรงตำแหน่งเสนาบดี[[กระทรวงมหาดไทย]] และ[[อภิรัฐมนตรี]] ในรัชกาลที่ 7 พระองค์สิ้นพระชนม์วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2475 และทรงเป็นต้น[[:หมวดหมู่:ราชสกุลยุคล|ราชสกุลยุคล]]<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=46|issue=0 ก|pages=23|title=พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2472/A/21.PDF|date=9 มิถุนายน 2472| accessdate= 17 พฤศจิกายน 2561|language=ไทย}}</ref>
นายพลเอก มหาอำมาตย์เอก นายพลเสือป่า '''สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์''' (HRH Prince Yugala Dighambara , Prince of Lopburi) เป็นพระราชโอรสใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ประสูติแต่[[พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา]] เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2425 พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจาก[[มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์]] ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ การปกครองและสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ทรงเคยดำรงตำแหน่งเสนาบดี[[กระทรวงมหาดไทย]] และ[[อภิรัฐมนตรี]] ในรัชกาลที่ 7 พระองค์สิ้นพระชนม์วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2475 เป็นพระปัยกาใน [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ]] และทรงเป็นต้น[[:หมวดหมู่:ราชสกุลยุคล|ราชสกุลยุคล]]<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=46|issue=0 ก|pages=23|title=พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2472/A/21.PDF|date=9 มิถุนายน 2472| accessdate= 17 พฤศจิกายน 2561|language=ไทย}}</ref>


== พระประวัติ ==
== พระประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:56, 1 สิงหาคม 2562

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 เจ้าฟ้าชั้นโท
กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่งพฤษภาคม พ.ศ. 2469 - เมษายน พ.ศ. 2471
ประสูติ17 มีนาคม พ.ศ. 2425
สิ้นพระชนม์8 เมษายน พ.ศ. 2475 (50 ปี)
ภรรยาพระชายา
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
หม่อม
หม่อมราชวงศ์ลดา ยุคล
พระบุตรพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา

นายพลเอก มหาอำมาตย์เอก นายพลเสือป่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (HRH Prince Yugala Dighambara , Prince of Lopburi) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2425 พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ การปกครองและสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ทรงเคยดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และอภิรัฐมนตรี ในรัชกาลที่ 7 พระองค์สิ้นพระชนม์วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2475 เป็นพระปัยกาใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และทรงเป็นต้นราชสกุลยุคล[1]

พระประวัติ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ มีพระนามเดิมว่าพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ายุคลฑิฆัมพร เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประสูติเมื่อ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2425 ณ พระตำหนักสวนบัว ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งวิมานเมฆภายในพระราชวังดุสิต

ไฟล์:พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์-เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร.jpg
เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพรและพระมารดา

พระองค์มีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาอีก 3 พระองค์ ซึ่งมีพระนามที่คล้องจองกัน ได้แก่ พระองค์เจ้าชายยุคลฑิฆัมพร พระองค์เจ้าหญิงนภาจรจำรัสศรี พระองค์เจ้าหญิงมาลินีนพดารา และพระองค์เจ้าหญิงนิภานภดล ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2431 พระองค์และพระขนิษฐาจึงได้รับเลื่อนพระยศเป็นพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า[2]

วันที่ 17 มีนาคม ร.ศ. 110 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร จุฬาลงกรณ์ราชรวิวงษ์ อุภัยพงษพิสุทธิ วรุตโมภโตสุชาติ บรมนารถราชกุมาร กรมหมื่นลพบุราดิศร ทรงศักดินา 40,000[3][4]

พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ การปกครองและสาขาวิชาประวัติศาสตร์ รับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง และเจ้ากรมพลังภังค์ (กรมการปกครอง) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล และอุปราชมณฑลภาคใต้ ทรงประทับ ณ วังโพธิยายรด จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันเป็น โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช) ทรงตั้งกรมเสือป่ามณฑลนครศรีธรรมราช

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยและอภิรัฐมนตรี

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ประชวรพระโรคพระหทัย สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2475[5]และมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2476 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส[6][7]

พระอิสริยยศ

  • พ.ศ. 2425 - พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ายุคลฑิฆัมพร
  • พ.ศ. 2431 - พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร[2]
  • พ.ศ. 2434 - สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหมื่นลพบุราดิศร[3]
  • พ.ศ. 2449 - สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์[8]
  • พ.ศ. 2453 - สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์
  • พ.ศ. 2468 - สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์
  • พ.ศ. 2468 - สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์[9] มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏ ว่า

สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร จุฬาลงกรณราชรวิวงศ อุภัยพงศพิสุทธวรุตโมภโตสุชาติ บรมนฤนาถราชกุมาร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ คชนาม ทรงศักดินา ๕๐๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างสมเด็จเจ้าฟ้าต่างกรม และโปรดฯ ให้เลื่อนเจ้ากรมเป็น "หลวงลพบุรีราเมศวร์" ถือศักดินา ๘๐๐ ปลัดกรมเป็น "ขุนนันทเขตอำรุง" ถือศักดินา ๖๐๐ และสมุหบาญชีเป็น "หมื่นยลาผดุงพหล" ถือศักดินา ๔๐๐

พระโอรส-พระธิดา

ตราประจำราชสกุลยุคล

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ทรงเป็นต้นราชสกุลยุคล โดยทรงเสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล พระธิดาในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช มีพระโอรส คือ

นอกจากนี้ยังทรงมีหม่อมอีกคนหนึ่งคือ หม่อมราชวงศ์หญิงลดา ธิดาในหม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ์ แต่ไม่มีพระโอรสธิดา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[5]

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. "พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 23. 9 มิถุนายน 2472. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "ประกาศเลื่อนพระนามพระอัครชายาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 5 (8): 61. 25 มิถุนายน จ.ศ. 1250. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. 3.0 3.1 "ประกาศการรับพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 (51): 457–458. 20 มีนาคม ร.ศ. 110. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ การสมโภชในงานรับพระสุพรรณบัตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 (39): 349–352. 27 ธันวาคม ร.ศ. 110. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. 5.0 5.1 ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม ๔๙, ตอน ง, ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕, หน้า ๑๘๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา,หมายกำหนดการ ที่ ๑๐/๒๔๗๕ พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาสเล่ม 49, ตอน ๐ ง, 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475, หน้า 4056
  7. ราชกิจจานุเบกษา,หมายกำหนดการ พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาสเล่ม 49, ตอน ๐ ง, 5 มีนาคม พ.ศ. 2475, หน้า 4182
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระสุพรรณบัตรเลื่อนกรม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร ซึ่งดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมหมื่น และทรงตั้งพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร เป็นกรมหมื่น, เล่ม ๒๓, ตอน ๓๖, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๙, หน้า ๙๒๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระอิสริยศเฉลิมพระอภิไธยและเลื่อนกรมพระราชวงศ์, เล่ม ๔๒, ตอน ๐ ก, ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๓๗๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๕, ตอน๓๖, ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑, หน้า ๑๐๔๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕, ตอน ๓๕, ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑, หน้า ๑๐๑๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๗, ตอน ๐ ง, ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๒๔๐๙
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓, ตอน ๐ ง, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๙, หน้า ๓๑๒๐
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๓, ตอน ๒๘, ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๙, หน้า ๗๑๖
ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ถัดไป
เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ไฟล์:กท.มหาดไทย.jpg
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
(พฤษภาคม พ.ศ. 2469 - เมษายน พ.ศ. 2471)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต