ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไอน์มิลิน (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ดาวประกายพรึก (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
{{infobox royalty
{{infobox royalty
| type = monarch
| type = monarch
| image = ไฟล์:King Ay09 Trailoknat.jpg
| birth_date = พ.ศ. 1974
| birth_date = พ.ศ. 1974
| death_date = พ.ศ. 2031
| death_date = พ.ศ. 2031

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:17, 14 กรกฎาคม 2562

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์พ.ศ. 1991 - 2031 (40 ปี)
ก่อนหน้าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
ถัดไปสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
ประสูติพ.ศ. 1974
สวรรคตพ.ศ. 2031
พระราชบุตร- พระอินทราชา
- พระบรมราชา
(สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3)
- พระเชษฐา
(สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2)
ราชวงศ์ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
พระราชบิดาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
พระราชมารดาพระราชเทวี (พระราชธิดาในพระมหาธรรมราชาที่ 2)

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 8 แห่งอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ สวรรคต พ.ศ. 2031

พระนาม

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสืบคันในกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยา พบว่าออกพระนามสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ดังนี้[1]

  1. ในกฎหมายลักษณะขบถศึก ออกพระนามว่า สมเด็จบรมนาถบพิตรสิทธิสุนทรธรรมเดชา มหาสุริยวงศ์ องค์บุรุโษดมบรมมหาจักรพรรดิศร บวรธรรมิกมหาราชาธิราช (เข้าใจกันว่า พระนามนี้ผูกขึ้นเพราะหมายความว่า พระเจ้าอยู่หัว เท่านั้น)
  2. กฎมนเทียรบาล ออกพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีบรมไตรโลกนาถ มหามงกุฎเทพยมนุษย์ บริสุทธิสุริยวงศ์ องค์พุทธางกูรบรมบพิตร
  3. กฎหมายศักดินาในกรุง ออกพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนายกดิลกผู้เป็นเจ้า
  4. กฎหมายศักดินาหัวเมือง ออกพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนาถ
  5. กฎหมายลักษณะขบถศึก ออกพระนามว่า สมเด็จบรมมหาจักรพรรดิรามาธิบดี
  6. กฎหมายลักษณะขบถศึก ออกพระนามว่า สมเด็จบรมมหาจักรพรรดิศรรามาธิบดี

พระราชประวัติ

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชสมภพที่ทุ่งพระอุทัย หรือในปัจจุบันเรียกว่า ทุ่งหันตรา โดยเมื่อครั้งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) จะยกกองทัพลงไปตีเมืองพระนครหลวง (นครธม) นั้น ได้รวมพลและตั้งพลับพลาเพื่อประกอบพิธีกรรมตัดไม้ข่มนามที่ทุ่งพระอุทัย ขณะนั้นพระอัครชายาซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 2 กษัตริย์แห่งพระราชวงศ์พระร่วง กำลังทรงพระครรภ์อยู่ ได้ออกไปส่งเสด็จ ได้ประสูติสมเด็จพระบรมไตรนาถที่พลับพลานั้น เมื่อปีกุน จุลศักราช 797 พ.ศ. 1974 ซึ่งในยวนพ่ายโคลงดั้น ระบุว่า แถลงปางพระมาตรไท้ สมภพ ท่านนา แดนด่ำบลพระอุทัย ทุ่งกว้าง

ทรงเจริญพระชันษาที่เมืองพิษณุโลก พระองค์ทรงครองราชย์ 40 ปีเป็นเวลานานที่สุดในบรรดาพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ แห่งอาณากรุงศรีอยุธยา โดยเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และก็ยังเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระอินทราชา มีพระราชมารดาเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง พระนามมีความหมายถึง "พระพุทธเจ้า" หรือ "พระอิศวร" มีผู้ที่เข้าใจว่าคงเป็นพระสหายมาตั้งแต่วัยเยาว์ชื่อ "ยุทธิษเฐียร" ซึ่งตอนหลังกลายมาเป็นผู้ชักนำศึกเข้ามา หลังการขึ้นครองราชย์แล้ว ก็เสด็จมาประทับที่อยุธยาในช่วงแรกของการครองราชย์ อีกครึ่งหนึ่งเสด็จมาประทับที่พิษณุโลก เชื่อว่าคงเป็นไปเพื่อการควบคุมดูแลหัวเมืองทางด้านเหนือ และคานอำนาจของอาณาจักรทางเหนือ คือ อาณาจักรล้านนา ซึ่งกำลังมีความเข้มแข็งและต้องการแผ่อำนาจลงมาทางใต้ ในยุคของพระเจ้าติโลกราช

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2031 เมื่อพระชนมายุ 57 พรรษา ทรงครองราชย์ได้ 40 ปี ยาวนานที่สุดของอาณาจักรอยุธยา และเป็นลำดับ 3 ของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาประมาณ 20 ปี ที่เหลือทรงประทับที่เมืองพิษณุโลกตลอดรัชกาล

พระราชกรณียกิจ

แม่แบบ:พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ

ด้านการปกครอง

พระราชกรณียกิจด้านการปกครองประกอบด้วยการจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อันเป็นแบบแผนซึ่งยึดสืบต่อกันมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[2] และการตราพระราชกำหนดศักดินา ซึ่งทำให้มีการแบ่งแยกสิทธิ และหน้าที่ของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป[3] โดยทรงเห็นว่ารูปแบบการปกครองนับตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 มีความหละหลวม หัวเมืองต่าง ๆ เบียดบังภาษีอากร และปัญหาการแข็งเมืองในบางช่วงที่พระมหากษัตริย์อ่อนแอ

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปการปกครองโดยมีการแบ่งงานฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนออกจากกันอย่างชัดเจน ให้สมุหพระกลาโหมดูแลฝ่ายทหาร และให้สมุหนายกดูแลฝ่ายพลเรือน รวมทั้งจตุสดมภ์ในราชธานี

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแบ่งงานทางการปกครองออกเป็น "ฝ่ายพลเรือน" และ "ฝ่ายทหาร" อย่างชัดเจน โดยมี "เจ้าพระยามหาเสนาบดี" ดำรงตำแหน่ง สมุหพระกลาโหม มีหน้าที่ดูแลกิจการทหารทั่วอาณาจักร และ "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" ดำรงตำแหน่ง สมุหนายก รับผิดชอบงานพลเรือนทั่วอาณาจักร พร้อมกับดูแลหน่วยงานจตุสดมภ์[4] จากเดิมที่พื้นฐานการปกครองนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยยังไม่ได้แยกฝ่ายพลเรือนกับทหารออกจากกันชัดเจน ทั้งนี้ ในยามสงคราม ไพร่ทุกคนจะต้องรับราชการทหารอันเป็นหน้าที่หลัก[2] อันเป็นลักษณะรูปแบบการปกครองของอาณาจักรขนาดเล็กที่ขาดการประสานงานระหว่างเมือง[2]

การปกครองในส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกระบบการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ แต่เดิมที่แบ่งออกเป็นเมืองลูกหลวง หลานหลวง[ต้องการอ้างอิง] แล้วระบบการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ ดังนี้

  • หัวเมืองชั้นใน เช่น เมืองราชบุรี นครสวรรค์ นครนายก เมืองฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เป็นต้น[5] จัดเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมไปปกครอง แต่สิทธิอำนาจทั้งหมดยังขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์
  • หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร มีการกำหนดเป็นเมืองเอก โท หรือตรี ตามลำดับความสำคัญ เมืองใหญ่อาจมีเมืองเล็กขึ้นอยู่ด้วย พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเจ้านายหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไปปกครอง มีการจัดการปกครองเหมือนกับราชธานี คือ มีกรมการตำแหน่งพลและกรมการตำแหน่งมหาดไทย และพนักงานเมือง วัง คลัง นา[6] เช่น เมืองพิษณุโลก สุโขทัย นครราชสีมา และทวาย จัดเป็น เมือง เอก โท ตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมืองมีอำนาจบังคับบัญชาเป็นสิทธิขาด เป็๋นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์ มีกรมการปกครองในตำแหน่ง เมือง วัง คลัง นา เช่นเดียวกับของทางราชธานี
  • เมืองประเทศราช คงให้เจ้าเมืองปกครองกันเอง เพียงแต่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด และเกณฑ์ผู้คนและทรัพย์สินเพื่อช่วยราชการสงคราม

สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบล มีกำนันเป็นหัวหน้า แขวง มีหมื่นแขวงเป็นหัวหน้า

พระองค์ยังทรงแบ่งการปกครองในภูมิภาค ออกเป็นหมู่บ้าน ตำบล แขวง และเมือง[4]

ตราพระราชกำหนดศักดินา

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นเป็นกฎเกณฑ์ของสังคม ทำให้มีการแบ่งประชากรออกเป็นหลายชนชั้น[3] เช่นเดียวกับหน้าที่และสิทธิของแต่ละบุคคล ศักดินาเป็นความพยายามจัดระเบียบการปกครองให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น อันเป็นหลักที่เรียกว่า การรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง[3] ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าศักดินาจะเป็นการกำหนดสิทธิในการถือครองที่ดิน แต่ในทางปฏิบัติแล้วหมายถึงจำนวนไพร่พลที่สามารถครอบครอง เกณฑ์การปรับไหม และลำดับการเข้าเฝ้าแทน[7]


ศักดินาของคนในสังคมอยุธยา[8]
ฐานะ/ยศ/ตำแหน่ง ศักดินา (ไร่)
เจ้านาย 15,000-100,000
ขุนนาง 400-10,000
มหาดเล็ก, ข้าราชการ 25-400
ไพร่ 10-25
ทาส 5

มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการให้มีบรรดาศักดิ์ตามลำดับจากต่ำสุดไปสูงสุดคือ ทนาย พัน หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา และเจ้าพระยา มีการกำหนดศักดินาเพื่อเป็นค่าตอบแทนการรับราชการ และได้อาศัยใช้เป็นเกณฑ์กำหนดการมีที่นาและการปรับไหมตามกฎหมาย

กฎมณเฑียรบาล

ในปี พ.ศ. 2001 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตั้งกฎมณเฑียรบาล ขึ้นเป็นกฎหมายสำหรับการปกครอง แบ่งออกเป็นสามแผน คือ[9]

  1. พระตำราว่าด้วยแบบแผนพระราชพิธีต่าง ๆ
  2. พระธรรมนูญว่าด้วยตำแหน่งหน้าที่ราชการต่าง ๆ
  3. พระราชกำหนดเป็นข้อบังคับสำหรับพระราชสำนัก

ด้านวรรณกรรม

ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือมหาชาติคำหลวง นับว่าเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา และเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภาษา และวรรณคดีของไทย นอกจากนี้ยังมีลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิตของไทย

พงศาวลี

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระยาอู่ทองเดิม
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1
(ขุนหลวงพะงั่ว)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระอินทราชา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระยาเลอไท
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
พระขนิษฐาของพระยาลิไท
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระยาเลอไท
 
 
 
 
 
 
 
พระมหาธรรมราชาที่ 1
(พระยาลิไท)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
พระมหาเทวี
พระธิดาในพระยาลิไท
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
พระชายาแห่งเมืองสุโขทัย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
(สมเด็จพระราเมศวร)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระมหาธรรมราชาที่ 1
(พระยาลิไท)
 
 
 
 
 
 
 
พระมหาธรรมราชาที่ 2
(พระยาลือไท)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระราชเทวีศรีธรรมราชมาดา
 
 
 
 
 
 
 
พระมหาธรรมราชาที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
พระราชเทวี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
เจ้านายราชวงศ์สุพรรณภูมิ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฏพระนาม
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. อธิบายพระนามพระเจ้าแผ่นดิน ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี, หน้า 19-20
  2. 2.0 2.1 2.2 ดนัย ไชยโยธา. หน้า 157.
  3. 3.0 3.1 3.2 ดนัย ไชยโยธา. หน้า 159.
  4. 4.0 4.1 ดนัย ไชยโยธา. หน้า 158.
  5. ดนัย ไชยโยธา. หน้า 307.
  6. ดนัย ไชยโยธา. หน้า 307-308.และ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ,2545:232
  7. ดนัย ไชยโธยา. หน้า 342.
  8. ดนัย ไชยโธยา. หน้า 341-343.
  9. ดนัย ไชยโยธา. (2543). พัฒนาการของมนุษย์กับอารยธรรมในราชอาณาจักรไทย เล่ม ๑. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า 340.
บรรณานุกรม
  • ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. อธิบายพระนามพระเจ้าแผ่นดิน ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2468. 35 หน้า.
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9

ดูเพิ่ม

ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย

ก่อนหน้า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ถัดไป
พระรามราชา
ราชวงศ์อู่ทอง (พ.ศ. 1931 - 1938)

พระมหาอุปราชแห่งอาณาจักรอยุธยา
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1989 - 1991))
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 2011 - 2031)
พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)
ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. 1967 - 1989)

พระมหาธรรมราชา (พระร่วงเจ้าสุโขทัย)
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1989 - 1991))
พระยายุทธิษฐิระ
ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. 2011 - 2017)
ว่าง ผู้รั้งเมืองสองแคว
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1989 - 1991))
พระยายุทธิษฐิระ
ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. 1991 - 2017)
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1967 - 1991)

พระมหากษัตริย์ แห่งอาณาจักรอยุธยา
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1991 - 2031))
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 2031 - 2034)
พระยายุทธิษเฐียร
ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. 2011 - 2017)

พระมหาธรรมราชา (พระร่วงเจ้าสุโขทัย) (ครั้งที่ 2)
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 2017 - 2028))
สมเด็จพระเชษฐาธิราช
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 2028 - 2034)
พระยายุทธิษเฐียร
ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. 1991 - 2017)
ผู้ครองเมืองพิษณุโลก
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 2017 - 2028))
ว่าง