ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชวังสราญรมย์"

พิกัด: 13°45′01″N 100°29′41″E / 13.75033°N 100.49469°E / 13.75033; 100.49469
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับไอโอเอส
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
เมื่อ พ.ศ. 2428 [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ|พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรปการ]] ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ทรงขอพระราชทานวังสราญรมย์ ให้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาจึงย้ายไปที่[[ตึกราชวัลลภ]] ในพระบรมมหาราชวัง ใน พ.ศ. 2430 วังสราญรมย์ จึงใช้เป็นบ้านพักรับรองพระราชอาคันตุกะ เรื่อยมาจนถึงสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยพระองค์โปรดให้เรียก "วังสราญรมย์" เป็น "'''พระราชวังสราญรมย์'''" ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2459<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/A/113.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ ขนานนามประตูพระราชวังสวนดุสิต ], เล่ม ๓๓, ตอน ๐ก, ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๑๑๓</ref>
เมื่อ พ.ศ. 2428 [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ|พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรปการ]] ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ทรงขอพระราชทานวังสราญรมย์ ให้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาจึงย้ายไปที่[[ตึกราชวัลลภ]] ในพระบรมมหาราชวัง ใน พ.ศ. 2430 วังสราญรมย์ จึงใช้เป็นบ้านพักรับรองพระราชอาคันตุกะ เรื่อยมาจนถึงสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยพระองค์โปรดให้เรียก "วังสราญรมย์" เป็น "'''พระราชวังสราญรมย์'''" ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2459<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/A/113.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ ขนานนามประตูพระราชวังสวนดุสิต ], เล่ม ๓๓, ตอน ๐ก, ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๑๑๓</ref>


ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสราญรมย์ให้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากตึกราชวัลลภในพระบรมมหาราชวังชำรุดทรุดโทรมลงมาก เมื่ออาคารดังกล่าวกลายเป็นที่ทำการสำนักงานกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ก็กลับเรียกชื่อว่า "วังสราญรมย์" อีกครั้งหนึ่งเนื่องจากมิได้มีเจ้านายประทับเป็นการประจำ และได้ใช้วังสราญรมย์เป็นที่ทำการถาวรของกระทรวงการต่างประเทศสืบมาจนถึงประมาณช่วงปี 2535 จึงมีการย้ายสำนักงานส่วนใหญ่ของกระทรวงการต่างประเทศออกไปที่อาคารถนนศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบันนี้ หลังปี พ.ศ. 2535 มีการปิดวังสราญรมย์เพื่อปรับปรุงและบูรณะซ่อมแซม โดยในช่วงแรกมีแผนที่จะจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การทูตไทย และสถาบันฝึกอบรมข้าราชการของกระทรวงการต่างประเทศ ในชั้นนี้การบูรณะยังไม่แล้วเสร็จ อนึ่ง ในบริเวณกระทรวงการต่างประเทศวังสราญรมย์เดิม พื้นที่ฝั่งที่ติดกับพระราชอุทยานสราญรมย์ (ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะภ่ายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร)ได้มีการก่อสร้างทำเนียบองคมนตรีและอาคารสำนักราชเลขาธิการ ซึ่งยังใช้เป็นที่ทำการของคณะองคมนตรีมาจนปัจจุบันนี้
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสราญรมย์ให้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากตึกราชวัลลภในพระบรมมหาราชวังชำรุดทรุดโทรมลงมาก เมื่ออาคารดังกล่าวกลายเป็นที่ทำการสำนักงานกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ก็กลับเรียกชื่อว่า "วังสราญรมย์" อีกครั้งหนึ่งเนื่องจากมิได้มีเจ้านายประทับเป็นการประจำ และได้ใช้วังสราญรมย์เป็นที่ทำการถาวรของกระทรวงการต่างประเทศสืบมาจนถึงประมาณช่วงปี 2535 จึงมีการย้ายสำนักงานส่วนใหญ่ของกระทรวงการต่างประเทศออกไปที่อาคารถนนศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบันนี้ หลังปี พ.ศ. 2535 มีการปิดวังสราญรมย์เพื่อปรับปรุงและบูรณะซ่อมแซม โดยในช่วงแรกมีแผนที่จะจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การทูตไทย และสถาบันฝึกอบรมข้าราชการของกระทรวงการต่างประเทศ ในชั้นนี้การบูรณะยังไม่แล้วเสร็จ อนึ่ง ในบริเวณกระทรวงการต่างประเทศวังสราญรมย์เดิม พื้นที่ฝั่งที่ติดกับพระราชอุทยานสราญรมย์ (ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะภ่ายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร)ได้มีการก่อสร้างทำเนียบองคมนตรีและอาคารสำนักราชเลขาธิการ ซึ่งยังใช้เป็นที่ทำการของคณะองคมนตรีมาจนปัจจุบันนี้


ในยุคที่วังสราญรมย์ยังเป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศอยู่ สถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ที่ชาติสมาชิกก่อตั้ง[[อาเซียน]] 5 ประเทศ ได้แก่ [[ไทย]], [[มาเลเซีย]], [[สิงคโปร์]], [[อินโดนีเซีย]] และ[[ฟิลิปปินส์]] ลงนามใน[[ปฏิญญากรุงเทพ]] (หรือปฏิญญาอาเซียน) ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ก่อตั้งสมาคม[[อาเซียน]]อย่างเป็นทางการ โดยผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ พ.อ. [[ถนัด คอมันตร์]]
ในยุคที่วังสราญรมย์ยังเป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศอยู่ สถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ที่ชาติสมาชิกก่อตั้ง[[อาเซียน]] 5 ประเทศ ได้แก่ [[ไทย]], [[มาเลเซีย]], [[สิงคโปร์]], [[อินโดนีเซีย]] และ[[ฟิลิปปินส์]] ลงนามใน[[ปฏิญญากรุงเทพ]] (หรือปฏิญญาอาเซียน) ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ก่อตั้งสมาคม[[อาเซียน]]อย่างเป็นทางการ โดยผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ พ.อ. [[ถนัด คอมันตร์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:30, 12 กรกฎาคม 2562

พระราชวังสราญรมย์
พระราชวังสราญรมย์ในตอนกลางคืน
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทพระราชวัง
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมโคโลเนียล
เมืองแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2409
ผู้สร้างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกเฮนรี อาลาบาศเตอร์[1]

พระราชวังสราญรมย์ เป็นวังที่ตั้งอยู่ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ทางทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นบ้านพักรับรองพระราชอาคันตุกะ

พระราชวังสราญรมย์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น ออกแบบโดยเฮนรี อาลาบาศเตอร์ เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2409 โดยมีพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (เพ็ง) เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อใช้เป็นที่ประทับ พระราชทานนามว่า สราญรมย์ แต่เสด็จสวรรคตก่อนที่จะสร้างเสร็จ

ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานวังสราญรมย์ให้เป็นที่ประทับชั่วคราว ของเจ้านายเมื่อแรกออกจากวังหลวง ก่อนที่วังประทับถาวรจะก่อสร้างแล้วเสร็จ อาทิเช่น เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ทรงประทับเมื่อ พ.ศ. 2419 - 2424 ระหว่างก่อสร้างวังบูรพาภิรมย์ ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นที่ประทับรับรองพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ เช่น เจ้าชายแห่งญี่ปุ่น ซาเรวิชหรือมกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย (ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย) เจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ พระราชอาคันตุกะพระองค์แรกที่เข้ามาประทับคือ เจ้าชายออสการ์ เมื่อ พ.ศ. 2427

เมื่อ พ.ศ. 2428 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรปการ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ทรงขอพระราชทานวังสราญรมย์ ให้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาจึงย้ายไปที่ตึกราชวัลลภ ในพระบรมมหาราชวัง ใน พ.ศ. 2430 วังสราญรมย์ จึงใช้เป็นบ้านพักรับรองพระราชอาคันตุกะ เรื่อยมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์โปรดให้เรียก "วังสราญรมย์" เป็น "พระราชวังสราญรมย์" ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2459[2]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสราญรมย์ให้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากตึกราชวัลลภในพระบรมมหาราชวังชำรุดทรุดโทรมลงมาก เมื่ออาคารดังกล่าวกลายเป็นที่ทำการสำนักงานกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ก็กลับเรียกชื่อว่า "วังสราญรมย์" อีกครั้งหนึ่งเนื่องจากมิได้มีเจ้านายประทับเป็นการประจำ และได้ใช้วังสราญรมย์เป็นที่ทำการถาวรของกระทรวงการต่างประเทศสืบมาจนถึงประมาณช่วงปี 2535 จึงมีการย้ายสำนักงานส่วนใหญ่ของกระทรวงการต่างประเทศออกไปที่อาคารถนนศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบันนี้ หลังปี พ.ศ. 2535 มีการปิดวังสราญรมย์เพื่อปรับปรุงและบูรณะซ่อมแซม โดยในช่วงแรกมีแผนที่จะจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การทูตไทย และสถาบันฝึกอบรมข้าราชการของกระทรวงการต่างประเทศ ในชั้นนี้การบูรณะยังไม่แล้วเสร็จ อนึ่ง ในบริเวณกระทรวงการต่างประเทศวังสราญรมย์เดิม พื้นที่ฝั่งที่ติดกับพระราชอุทยานสราญรมย์ (ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะภ่ายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร)ได้มีการก่อสร้างทำเนียบองคมนตรีและอาคารสำนักราชเลขาธิการ ซึ่งยังใช้เป็นที่ทำการของคณะองคมนตรีมาจนปัจจุบันนี้

ในยุคที่วังสราญรมย์ยังเป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศอยู่ สถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ที่ชาติสมาชิกก่อตั้งอาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (หรือปฏิญญาอาเซียน) ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ก่อตั้งสมาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ โดยผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ พ.อ. ถนัด คอมันตร์

อ้างอิง

  1. วัง สราญรมย์, sanook.com/ .วันที่ 28/07/2017
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ขนานนามประตูพระราชวังสวนดุสิต , เล่ม ๓๓, ตอน ๐ก, ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๑๑๓

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′01″N 100°29′41″E / 13.75033°N 100.49469°E / 13.75033; 100.49469