ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประธานรัฐสภาไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Famefill (คุย | ส่วนร่วม)
Famefill (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]]ได้ทำการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500|ยึดอำนาจ]]จากรัฐบาล[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]แล้วนั้น และยังคงให้มีการใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495]]ต่อไป แต่ต่อมา[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]]ได้ทำการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501|รัฐประหารอีกครั้ง]]และได้มีการประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502]]แทน ซึ่งกำหนดให้''ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2502/A/017/1.PDF ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref>
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]]ได้ทำการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500|ยึดอำนาจ]]จากรัฐบาล[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]แล้วนั้น และยังคงให้มีการใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495]]ต่อไป แต่ต่อมา[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]]ได้ทำการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501|รัฐประหารอีกครั้ง]]และได้มีการประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502]]แทน ซึ่งกำหนดให้''ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2502/A/017/1.PDF ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref>


ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ได้มีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511]] ซึ่งได้กำหนดให้''ประธานวุฒิสภา''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=7218 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> ต่อมาวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 [[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]]ได้ทำการรัฐประหารตนเอง ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 และประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515]]ได้กำหนดให้''ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2515/A/192/1.PDF ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> หลังจาก[[เหตุการณ์ 14 ตุลา|เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516]]ซึ่งทำให้[[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]]หมดอำนาจลง และมีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517]] ในมาตราที่ 96 ได้กำหนดไว้ว่า ''ประธานสภาผู้แทนราษฎร''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/constitution/15-20061215114838_a18.pdf รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ฝ่ายนิติบัญญัติที่ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา
ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ได้มีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511]] ซึ่งได้กำหนดให้''ประธานวุฒิสภา''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=7218 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> ต่อมาวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 [[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]]ได้ทำการรัฐประหารตนเอง ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515]]ได้กำหนดให้''ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2515/A/192/1.PDF ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> หลังจาก[[เหตุการณ์ 14 ตุลา|เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516]]ซึ่งทำให้[[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]]หมดอำนาจลง และมีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517]]ได้กำหนดไว้ว่า ''ประธานสภาผู้แทนราษฎร''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/constitution/15-20061215114838_a18.pdf รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ฝ่ายนิติบัญญัติที่ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา


ภายหลังจากเกิด[[เหตุการณ์ 6 ตุลา|เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519]] ทำให้[[สงัด ชลออยู่|พลเรือเอกสงัด ชลออยู่]]ทำการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519|รัฐประหาร]] ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519]] กำหนดให้''ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://library2.parliament.go.th/giventake/content_thcons/11cons2519.pdf รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> ต่อมา[[สงัด ชลออยู่|พลเรือเอกสงัด ชลออยู่]] ได้ทำการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2520|รัฐประหารอีกครั้ง]]พร้อมยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520]] กำหนดให้''ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://library2.parliament.go.th/giventake/content_thcons/12cons2520.pdf ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ได้มีการประกาศใช้ [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521]] ซึ่งได้กำหนดให้''ประธานวุฒิสภา''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/constitution/15-20061215114415_a22.pdf รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref>
ภายหลังจากเกิด[[เหตุการณ์ 6 ตุลา|เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519]] ทำให้[[สงัด ชลออยู่|พลเรือเอกสงัด ชลออยู่]]ทำการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519|รัฐประหาร]] ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519]] กำหนดให้''ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://library2.parliament.go.th/giventake/content_thcons/11cons2519.pdf รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> ต่อมา[[สงัด ชลออยู่|พลเรือเอกสงัด ชลออยู่]] ได้ทำการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2520|รัฐประหารอีกครั้ง]]พร้อมยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520]] กำหนดให้''ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://library2.parliament.go.th/giventake/content_thcons/12cons2520.pdf ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref> ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ได้มีการประกาศใช้ [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521]] ซึ่งได้กำหนดให้''ประธานวุฒิสภา''เป็นประธานรัฐสภา<ref>[https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/constitution/15-20061215114415_a22.pdf รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521], รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:09, 25 มิถุนายน 2562

ประธานรัฐสภา
ราชอาณาจักรไทย
ตรารัฐสภา
ธงประธานรัฐสภา
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ชวน หลีกภัย

ตั้งแต่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[1]
การเรียกขานท่านประธานที่เคารพ
ผู้เสนอชื่อสภาผู้แทนราษฎร
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระ4 ปี
ผู้ประเดิมตำแหน่งเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
สถาปนา28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (91 ปี)
เว็บไซต์parliament.go.th

ประธานรัฐสภาไทย เป็นตำแหน่งผู้นำสูงสุดของฝ่ายนิติบัญญัติของไทย มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดไว้ เป็นผู้ดำเนินกิจการของรัฐสภาในกรณีประชุมร่วมกันให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา และยังเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายรัฐสภา[2]

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้รัฐสภาไทยประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยมีโดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง[3]

ทั้งนี้ผู้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาคนปัจจุบันคือชวน หลีกภัย โดยที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบเมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[4] และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเมื่อ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[1]

ประวัติ

ตำแหน่งประธานรัฐสภานั้นเกิดขึ้นครั้งแรกภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พร้อมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่รัฐธรรมนูญ 2 ฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ได้กำหนดให้รัฐสภามีแค่สภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว[5][6] จึงถือว่าประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา[7]

ต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ได้กำหนดให้รัฐสภาประกอบไปด้วยพฤฒิสภา (วุฒิสภา) และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในมาตรา 63 กำหนดไว้ว่า ให้ประธานพฤฒสภาเป็นประธานของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และให้ประธานสภาผู้แทนเป็นรองประธาน[8] ซึ่งรัฐธรรมนูญอีก 2 ฉบับต่อมาคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ก็ได้กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภาเช่นกัน[9][10]

วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ทำการรัฐประหารตนเอง และได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475มาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับนี้รัฐสภามีเพียงแค่สภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น จึงทำให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา[11]

วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามแล้วนั้น และยังคงให้มีการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495ต่อไป แต่ต่อมาจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ทำการรัฐประหารอีกครั้งและได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502แทน ซึ่งกำหนดให้ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นประธานรัฐสภา[12]

ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ซึ่งได้กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา[13] ต่อมาวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจรได้ทำการรัฐประหารตนเอง ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515ได้กำหนดให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นประธานรัฐสภา[14] หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516ซึ่งทำให้จอมพลถนอม กิตติขจรหมดอำนาจลง และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517ได้กำหนดไว้ว่า ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา[15] ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ฝ่ายนิติบัญญัติที่ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา

ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทำให้พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ทำการรัฐประหาร ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 กำหนดให้ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเป็นประธานรัฐสภา[16] ต่อมาพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารอีกครั้งพร้อมยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 กำหนดให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นประธานรัฐสภา[17] ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ได้มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ซึ่งได้กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา[18]

อำนาจหน้าที่ของประธานรัฐสภาไทย

ตามข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. 2553 ข้อที่ 5 ได้กำหนดให้ประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  1. เป็นประธานของที่ประชุมรัฐสภา
  2. กำหนดการประชุมรัฐสภา
  3. ควบคุมและดำเนินกิจการของรัฐสภา
  4. รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมรัฐสภาตลอดถึงบริเวณของรัฐสถา
  5. เป็นผู้แทนรัฐสภาในกิจการภายนอก
  6. แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ ตามข้อบังคับข้อที่ 5 (7)
  7. อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
  2. ประธานรัฐสภา, สถาบันพระปกเกล้า, สีบค้นวันที่ 22 มิถุนายน 2562
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, ราชกิจจานุเบกษา, 6 เมษายน 2560, สืบค้นวันที่ 22 มิถุนายน 2562
  4. ประธานสภาฯ, ไทยรัฐ, 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, สืบค้นวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
  5. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  7. ทำเนียบประธานรัฐสภา, รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  9. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490, รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511, รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517, รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519, รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  17. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520, รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562
  18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521, รัฐสภาไทย, สืบค้นวันที่ 25 มิถุนายน 2562