ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นราพร จันทร์โอชา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jutiphan (คุย | ส่วนร่วม)
ป้องกัน "นราพร จันทร์โอชา" แล้ว ([แก้ไข=ป้องกันสำหรับผู้ที่ไม่ล็อกอิน] (หมดอายุ 09:07, 3 กันยายน 2562 (UTC)) [ย้าย=ป้องกันสำหรับผู้ที่ไม่ล็อกอิน] (หมดอายุ 09:07, 3 กันยายน 2562 (UTC)))
Jutiphan (คุย | ส่วนร่วม)
semi-lock
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กึ่งล็อก2}}
{{Infobox Person
{{Infobox Person
| name = นางนราพร จันทร์โอชา
| name = นางนราพร จันทร์โอชา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:08, 3 มิถุนายน 2562

นางนราพร จันทร์โอชา
เกิดนราพร โรจนจันทร์
20 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (69 ปี)
สัญชาติไทย
อาชีพอาจารย์
มีชื่อเสียงจากคู่สมรสของนายกรัฐมนตรีไทย
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย (2527—ปัจจุบัน)
บุตรธัญญา จันทร์โอชา
นิฏฐา จันทร์โอชา
บุพการีร.ต.อ.ประสิทธิ์ โรจนจันทร์
ยาใจ โรจนจันทร์

รองศาสตราจารย์ นราพร จันทร์โอชา (สกุลเดิม: โรจนจันทร์; เกิด: 20 มิถุนายน พ.ศ. 2497) รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 3 ในคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ตามพระราชโองการ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร[1] อดีตนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก[2] อดีตอาจารย์ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นภรรยาของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ประวัติ

รศ. นราพร จันทร์โอชา ชื่อเล่น น้อง เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2497 มีบิดาชื่อ ร.ต.อ.ประสิทธิ์ เป็นนายตำรวจรับราชการในจังหวัดนราธิวาส และมารดาชื่อ นางยาใจ โรจนจันทร์ ด้วยเหตุนี้จึงตั้งนามให้บุตรสาวนี้ว่า "นราพร" มีพี่สาวฝาแฝดชื่อ สุวรรณา โรจนจันทร์ ชื่อเล่น มู๋[3] ด้วยเหตุที่บิดารับราชการอยู่ต่างจังหวัด มารดาจึงดูแลเอาใจใส่บุตรทั้งสองจนเป็นที่ชินตาของเพื่อนในโรงเรียน[3]

รศ. นราพร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ระดับปริญญาตรีทางด้านภาษาอังกฤษ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโททางด้านการสอนภาษาอังกฤษจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล[3][4]

ชีวิตส่วนตัว

รศ. นราพร พบรักกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เข้ามาเรียนภาษาอังกฤษหลักสูตรระยะสั้นที่สถาบันภาษา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานสมรสเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2527[3] มีบุตรสาวฝาแฝด[5] คือ ธัญญา และนิฏฐา จันทร์โอชา[4] ซึ่งทั้งสองเป็นสมาชิกวงแบดซ์ สังกัดอาร์เอส[6]

รศ. นราพร ได้รับคำกล่าวถึงว่า "เป็นอาจารย์ที่ขยันทำงาน เป็นคนฉลาด คนเก่ง คนตรง และมีความชัดเจนในการทำงาน..." แต่ก็เป็นคนที่ยากจะเข้าถึง[3] ทั้งยังเป็นคนที่เงียบขรึม ค่อนข้างเก็บตัว และจะออกงานสังคมที่มีบทบาทโดยตรงเท่านั้น[4]

การทำงาน

รศ. นราพร จันทร์โอชา เริ่มเข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษ ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[7] ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดสอนวิชาภาษาอังกฤษให้กับคณะต่าง ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างนั้นเคยเป็นนายกสมาคมครูผู้สอนภาษาอังกฤษแห่งประเทศไทย[4] จนกระทั่งลาออกจากราชการใน พ.ศ. 2554[3] เพื่อดำรงตำแหน่งนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก[2] ทั้งยังอุทิศเวลาไปช่วยเหลือมูลนิธิคนตาบอด[3]โดยมีตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิคนตาบอดแห่งประเทศไทย และอาสาเป็นอาจารย์พิเศษให้โทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม โรงเรียนวังไกลกังวล[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/055/3.PDF
  2. 2.0 2.1 "สมาคมแม่บ้านทหารบก" (PDF). สมาคมแม่บ้านทหารบก. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย (24 สิงหาคม 2557). "สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง "รศ.นราพร จันทร์โอชา"". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 ดุษฎี สนเทศ (28 สิงหาคม 2557). ""นราพร จันทร์โอชา" แม่บ้านนายกฯ ตู่". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "เปิดใจ 'ทส.ผบ.ทบ.' เงาสะท้อนตัวตน 'บิ๊กตู่'". คมชัดลึก. 21 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 "รู้จัก 'รศ.นราพร จันทร์โอชา' ว่าที่สตรีหมายเลข1ของไทย". เอ็มไทย. 22 สิงหาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ลมใต้ปีก "ประยุทธ์" นราพร จันทร์โอชา". ข่าวสด. 29 สิงหาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2553
ก่อนหน้า นราพร จันทร์โอชา ถัดไป
อนุสรณ์ อมรฉัตร คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
(24 สิงหาคม 2557 – ปัจจุบัน)
อยู่ในตำแหน่ง