ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าปางคำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 107: บรรทัด 107:
[[หมวดหมู่:นักเขียนชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักเขียนชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์สุวรรณปางคำ]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์สุวรรณปางคำ]]
{{เกิดปี|}}{{ตายปี|}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:33, 2 มิถุนายน 2562

เจ้าปางคำ

พระเจ้าสุวรรณปางคำ
พระเจ้าสุวรรณปางคำ
พระเจ้าผู้ครองนคร
ครองราชย์พ.ศ. 2228-2302
รัชสมัย74 ปี
รัชกาลก่อนหน้าไม่มี (ปราบดาภิเษก)
รัชกาลถัดไปเจ้าพระวรราชปิตา (เจ้าพระตา)
ประสูติไม่ปรากฏ
พระมเหสีพระราชนัดดา และเจ้านางเภาเทวี
พระเจ้าสุวรรณปางคำ
พระนามเดิม
เจ้าปางคำ
พระปรมาภิไธย
พระเจ้าสุวรรณปางคำ
พระบุตร3 พระองค์
ราชวงศ์สุวรรณปางคำ

เจ้าปางคำ หรือ พระเจ้าสุวรรณปางคำ ปฐมกษัตริย์ผู้ก่อตั้งเวียงใหม่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลำภู) (พ.ศ. 2228-2302) ถือเป็นปฐมราชวงศ์สุวรรณปางคำ และปฐมวงศ์แห่งเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช เมืองยศสุนทรประเทศราช เมืองเขมราษฎร์ธานี เมืองหนองคาย เมืองอำนาจเจริญ เมืองพิบูลมังสาหาร เมืองตระการพืชผล เมืองมหาชนะชัย เมืองเสลภูมินิคม เมืองวารินทร์ชำราบ ฯลฯ พระองค์มีศักดิ์เป็นพระมาตุลา (น้า) ของเจ้ากิ่งกิสราช ปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง (พ.ศ. 2246-2265) และเป็นพระปิตุลา (อา) ของพระบรมเชษฐขัตติยสุริยวงศา (เจ้าองค์คำ) เจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง พระองค์ที่ 2 (พ.ศ. 2256-2266) และเจ้าผู้ครองแคว้นเชียงใหม่อิสระ (พ.ศ. 2270-2302)

พระองค์ยังทรงมีพระปรีชาสามารถด้านการประพันธ์ และวรรณกวี โดยทรงแต่งวรรณกรรมเรื่องสินไซ หรือสังข์ศิลป์ชัย ซึ่งถือว่าเป็นวรรณกรรมชั้นเยี่ยมของอาณาจักรล้านช้าง (สปป.ลาว) และวรรณกรรมเรื่องท้าวฮุ่งท้าวเจือง (ขุนเจือง) ซึ่งมีทรงประพันธ์ที่สื่อถึงอารมย์ความเศร้า ความทุกข์ ความโกรธแค้น ความดีใจในบทประพันธ์นั้นได้ลงตัว

พระราชประวัติ

เมื่อปี พ.ศ. 2228 เจ้าปางคำเป็นเชื้อพระวงศ์เชียงรุ่งแสนหวีฟ้า ได้อพยพหนีภัยรุกรานของพวกจีนฮ่อบุกเข้ายึดนครเชียงรุ่ง ลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช พระมหากษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง โดยมีเจ้านายนครเชียงรุ่งที่อพยพลงมาพร้อมกันคือ เจ้าอินทกุมาร และเจ้าจันทกุมารี ซึ่งเป็นพระราชมารดาเจ้ากิ่งกิสราช ปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง (พ.ศ. 2246-2265) และเจ้าอินทโฉม กษัตริย์อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง พระองค์ที่ 2 (พ.ศ. 2266-2292)

ต่อมาพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ทรงโปรดให้เจ้าปางคำเสกสมรสกับพระราชนัดดาในพระองค์ และมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ

  1. เจ้าพระตา
  2. เจ้าพระวอ

เมื่อพระราชโอรสทั้งสองพระองค์เจริญชนม์ เจ้าปางคำทรงโปรดให้เข้ารับราชการสนองพระคุณพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ผู้เป็นพระปัยกา (คุณตาทวด) ที่พระราชสำนักนครเวียงจันทน์

ในปี พ.ศ.เดียวกันนั้นเอง พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าปางคำทรงนำกำลังไพร่พลครัวนครเชียงรุ่งแสนหวีฟ้าที่ติดตามมาไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองหนองบัวลุ่มภู ซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงนำไพร่พลหลวงพระบางและเวียงจันทน์มาก่อสร้างขึ้นครั้ง พ.ศ. 2106 ให้เมืองหน้าด่านของกรุงศรีสัตตนาคนหุต (เวียงจันทน์) เมื่อเจ้าปางคำได้มาถึงเมืองหนองบัวลุ่มภู ทรงเลือกหน้าทำเลที่ตั้งบ้านเมืองใหม่ บริเวณริมหนองบัวอันมีปราการทางธรรมชาติคือ เทือกเขาภูพานสูงตระหง่าน สามารถป้องกันข้าศึกศัตรู พร้อมก่อสร้างค่ายคูประตูหอรบ กำแพงคูเมืองล้อมรอบพร้อมประตูเวียงอย่างแน่นหนา สถาปนาเวียงแห่งใหม่นี้ว่า "เวียงใหม่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า "หนองบัวลุ่มภู" ซึ่งเป็นเมืองเอกเทศราชไม่ขึ้นตรงต่ออาณาจักรใด ทรงให้ตั้งกฏบัญญัติบ้านเมืองหนองบัวลุ่มภู มีลำพระเนียงเป็นแม่น้ำสายหลักไหลหล่อเลี้ยงชาวเมือง มีพญาช้างเผือกคู่เวียง และมีเมืองหน้าด่านของนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ได้แก่ เมืองนาด้วง เมืองภูเวียง เมืองผาขาว เมืองพรรณา[1]

ปี พ.ศ. 2281 พระเจ้าสุวรรณปางคำได้เสด็จคล้องช้าง พร้อมไพร่พลหนองบัวลุ่มภูยกลงมาตามริมแม่น้ำโขงจนล่วงเข้าเขตนครกาลจำบากนาคบุรีศรี (อาณาจักรล้านช้างจำปาสัก) พระเจ้าสุวรรณปางคำจึงได้เจ้านางเภาเป็นพระมเหสี แล้วยกไพร่พลกลับไปหนองบัวลุ่มภู ต่อมาเจ้านางเภาได้ประสูติพระราชธิดา พระนามว่า "เจ้านางแพง" หนองบัวลุ่มภูกับนครจำปาศักดิ์จึงมีความสัมพันธ์กันนับตั้งแต่นั้นมา

เมื่อเจ้าปางคำนำครัวชาวเชียงรุ่งมาอยู่ที่หนองบัวลุ่มภูแล้ว ก็ให้มีการนำขนบธรรมเนียม และประเพณีของไทลื้อเมืองเชียงรุ่งมาใช้ด้วย เช่น ธรรมเนียมการเผาศพเจ้านายบนเมรุนกหัสดีลิงค์ และธรรมเนียมประเพณีดังกล่าวนั้น ภายหลังเมื่อชาวหนองบัวลุ่มภูได้ย้ายลงไปตั้งเมืองใหม่ที่อุบลราชธานีก็ยังคงไว้ซึ่งธรรมเนียมของเมืองเชียงรุ่งนี้ไว้ด้วย [2]

สวรรคต

พระเจ้าสุวรรณปางคำ เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2302 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา พรองค์ที่ 33 ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ทรงเป็นกษัตริย์ปกครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน 74 ปี

รายพระนามกษัตริย์นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน

กษัตริย์นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน
ลำดับ รายพระนาม เริ่มต้นรัชกาล สิ้นสุดรัชกาล รวมระยะเวลา หมายเหตุ
1 พระเจ้าสุวรรณปางคำ พ.ศ. 2228 พ.ศ. 2302 74 ปี
ว่างเว้นจากกษัตริย์ พ.ศ. 2302 พ.ศ. 2311 10 ปี
2 เจ้าพระวรราชปิตา (เจ้าพระตา) พ.ศ. 2311 พ.ศ. 2314 3 ปี
3 เจ้าพระวรราชภักดี (เจ้าพระวอ) - - - อยู่ในภาวะสงครามกับเวียงจันทน์ และได้อพยพหนีลงมายังบ้านสิงห์ท่า (ยโสธร) ก่อนขึ้นครองเมือง

ทรงวรรณกรรมสินไซ

สินไซ หรือ สังศิลป์ชัย เป็นวรรณกรรมที่นิยมกันมากในอาณาจักรล้านช้าง โดยมีเค้าโครงเรื่องมาจากปัญญาสชาดก หรือชาดกห้าสิบเรื่อง หรือพระเจ้าห้าสิบชาติตามสำนวนลาว[3] ทั้งนี้เรื่องสินไซ มีนักปราชญ์ล้านช้างประพันธ์ไว้หลายคน แต่ที่นับว่าดีที่สุดและนิยมมากที่สุดคือ สินไซ สำนวนของเจ้าปางคำ ที่ประพันธ์ขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ซึ่งเป็นสมัยที่เรียกกันว่ายุคทองแห่งวรรณกรรมลาว และสินไซสำนวนของเจ้าปางคำก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง

พงศาวลี

เชิงอรรถ