ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคมหาชน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
อิกคิวซัง (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
THAI18 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
| ประเทศ = ไทย
| ประเทศ = ไทย
| หัวหน้าพรรค = [[อภิรัต ศิรินาวิน]]
| หัวหน้าพรรค = [[อภิรัต ศิรินาวิน]]
| เลขาธิการ = [[ไพศาล เหมือนเงิน]]
| เลขาธิการ = ร.ท.[[วโรดม สุจริตกุล]]
| โฆษก = [[ธนิต สินศุภสว่าง]]
| โฆษก = [[ธนิต สินศุภสว่าง]]
| ก่อตั้ง = [[10 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2541]]<br>เปลื่ยนชื่อ [[11 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2547]]
| ก่อตั้ง = [[10 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2541]]<br>เปลื่ยนชื่อ [[11 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2547]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:15, 1 มิถุนายน 2562

พรรคมหาชน
หัวหน้าอภิรัต ศิรินาวิน
เลขาธิการร.ท.วโรดม สุจริตกุล
โฆษกธนิต สินศุภสว่าง
คำขวัญพร้อมชน...เพื่อความเท่าเทียม
ก่อตั้ง10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
เปลื่ยนชื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
ที่ทำการ210/7 ถนนสุโขทัย แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร[1]
จำนวนสมาชิก1,182,238 คน
สีสีแดง
สภาผู้แทนราษฎร
0 / 500
เว็บไซต์
http://www.mahachon.or.th
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคมหาชน (อังกฤษ: Mahachon Party ตัวย่อ: MCP. พมช.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 โดยใช้ชื่อว่า "พรรคราษฎร"[2] และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อพรรคมหาชน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2547[3] เป็นพรรคการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกมากเป็นลำดับที่ 2 รองจากพรรคประชาธิปัตย์ มีจำนวนสมาชิกกว่า 1.18 ล้านคน[1]

ยุคพรรคราษฎร

พรรคราษฎร จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2541 โดยมีคำขวัญว่า "พรรคราษฎร เพื่อราษฎร" มีนายสมชาย หิรัญพฤกษ์ เป็นหัวหน้าพรรค ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคเป็น พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ มีเลขาธิการพรรค คือ นายมั่น พัธโนทัย[4] และหัวหน้าพรรคคนต่อมา คือ นายวัฒนา อัศวเหม แกนนำกลุ่มปากน้ำ

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2544

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 พรรคราษฎร มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้ง จำนวนเพียง 2 คน คือ นางสาวเรวดี รัศมิทัต จากจังหวัดสมุทรปราการ กับ นายชัยวัฒน์ กุลศักดิ์วิมล จากจังหวัดนครพนม และได้รับเลือกตั้งเพิ่มเติมอีกในการเลือกตั้งใหม่ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2544 คือ นายวิทยา บันทุปา จากจังหวัดอุบลราชธานี แต่ต่อมาถูก กกต.ตัดสินให้เลือกตั้งใหม่ และไม่ได้รับเลือกตั้งอีกและจังหวัดเชียงราย แม่คำหลัก 7 ร.ตอ.มาสพงศ์ ผลประดับวงศ์หรือ สจ.ป้อม อ.เชียงแสน - อ.เถิง แก้ไขทะเบียนราษฎร์โดย.กกต.กรรมการเลือกตั้งจังหวัดน่านแทน ว่าที่เลิศ วัฒนาอัศวเหม กับ ว่าที่วัฒนนท์ อัศวเหมสานต่อในปี 2561 - 2577

ยุคพรรคมหาชน

พรรคมหาชน ได้มีการเปลี่ยนชื่อจากเดิม ในปี พ.ศ. 2547 มีพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นแกนนำ โดยนโยบายพรรคมหาชนในระยะแรก ร่างโดย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งลาออกจากพรรค มาพร้อมกับพลตรีสนั่น นำเสนอนโยบายว่าเป็นพรรคทางเลือกที่สาม นอกเหนือจาก พรรคไทยรักไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ อย่างไรก็ตามมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์โจมตีว่า พรรคตั้งขึ้นมาเพื่อแย่งชิงฐานเสียงของ พรรคไทยรักไทย ในภาคเหนือและภาคอีสาน และจะร่วมมือจัดตั้งรัฐบาลกับ พรรคประชาธิปัตย์ ในภายหลัง[5]

เมื่อแรกก่อตั้งพรรค พลตรีสนั่น ได้เชิญ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก และกำลังจะหมดวาระ ให้มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคมหาชน แต่ ดร.ศุภชัยปฏิเสธ และต่อมาพิจารณารับตำแหน่งอื่นในสหประชาชาติต่อ พลตรีสนั่นจึงสนับสนุนให้ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นหัวหน้าพรรคแทน

วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 พลตรีสนั่น พร้อมด้วยนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ บุตรชาย และสมาชิกพรรคมหาชน เดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบันไม่เอื้อต่อการดำเนินงานของพรรคการเมืองขนาดเล็ก ถือเป็นการสิ้นสุดการดำเนินงานของพรรคมหาชนไปโดยบริยาย [6]

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2548

ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ส่งตัวแทนสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2548 นำเสนอนโยบายที่ใช้ชื่อ "สองนคราประชาธิปไตย" และประกาศตัวพร้อมจะเป็นนายกรัฐมนตรี แต่พรรคได้รับเลือกเพียง 2 ที่นั่ง แม้กระทั่งในเขตจังหวัดพิจิตร นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ บุตรชายพลตรีสนั่น ก็ยังไม่ได้รับเลือก ในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคได้คะแนนเสียงระบบบัญชีรายชื่อไม่ถึง 5% ทำให้ทั้งนายเอนก และพลตรีสนั่น ไม่ได้เป็น ส.ส.

หลังการเลือกตั้ง ดร.เอนก ในฐานะหัวหน้าพรรคมีปัญหากับกรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคมหาชนมีมติให้ พลตรีสนั่น รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อ

การที่พรรคมี ส.ส. เพียงสองคน โดยที่หัวหน้าพรรค และประธานที่ปรึกษาพรรคเป็น ส.ส.สอบตก ทำให้ ส.ส.ของพรรคคือ นายตุ่น จินตะเวช จากจังหวัดอุบลราชธานี และนางทัศนียา รัตนเศรษฐ จากจังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการทางการเมืองเป็นอิสระ และหันไปสนันสนุนพรรคไทยรักไทย โดยที่ทางหัวหน้าพรรคก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ เพราะในระเบียบระบุว่าการประชุมพรรคเพื่อขับสมาชิกพรรค (คือนายตุ่น และนางทัศนียา) ต้องมี ส.ส.ของพรรคร่วมอยู่ด้วย

การเลือกตั้งซ่อมจังหวัดพิจิตร

ผลการเลือกตั้งซ่อมในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 พื้นที่เขต 3 จังหวัดพิจิตร นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ ผู้สมัครหมายเลข 1 ของพรรคมหาชน บุตรชาย พล.ต.สนั่น มีคะแนนนำห่างนายนาวิน บุญเสรฐ จากพรรคไทยรักไทย กว่า 17,000 คะแนน[7] ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. คนที่ 3 ของพรรคมหาชน[8]

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2549

ภายหลังการยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2549 พรรคมหาชนร่วมกับ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทย ทำหนังสือถึงพรรคไทยรักไทย ขอให้ลงนามในสัตยาบันร่วมกันว่าจะจัดให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย เมษายน พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง พรรคจึงมีมติไม่ส่งผู้สมัคร

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2550

ในปลายเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2550 พลตรีสนั่น หัวหน้าพรรคได้นำเอาสมาชิกพรรคจำนวน 15 คน ไปสังกัดกับทางพรรคชาติไทย โดยให้เหตุผลว่า พรรคมหาชนเป็นพรรคขนาดเล็กคงไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง แต่ถึงอย่างไร พลตรีสนั่นก็ยังคงจะบริหารพรรคมหาชนต่อไป

การเลือกตั้ง 2554

ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 แม้พรรคมหาชนจะไม่ได้เป็นพรรคการเมืองที่เป็นที่จับตามองเหมือนเช่นในอดีต แต่ก็มีสมาชิกพรรคได้รับเลือกตั้งจำนวนหนึ่งคน คือ นายอภิรัต ศิรินาวิน หัวหน้าพรรค และเป็นผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อหมายเลขหนึ่ง โดยได้รับคะแนนไปทั้งหมด 161,251 คะแนน[9]

ประวัติการทำงานในรัฐสภา

ครั้งที่ การเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. สถานภาพพรรค นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ
1. 2544 2 คน ฝ่ายค้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับเลือก 2 คน ต่อมาได้รับเลือกตั้งเพิ่ม 1 คน แต่ถูกใบเหลือง
2. 2548 3 คน ฝ่ายค้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดิมได้รับเลือก 2 คน ต่อมาได้รับเลือกตั้งซ่อม เพิ่ม 1 คน
3. 2549 - - - ไม่ส่งผู้สมัคร
4. 2550 - - นายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ได้รับเลือกตั้ง
5. 2554 1 คน ร่วมรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557" (PDF). www.ect.go.th. คณะกรรมการการเลือกตั้ง. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง พรรคราษฎร
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค นโยบายพรรค และกรรมการบริหารพรรคราษฎร
  4. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคราษฎร พ.ศ. 2541 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2542) และคณะกรรมการบริหารพรรคราษฎร
  5. ประชาธิปัตย์ ปราศรัย Democrat Live (กรุงเทพ, พ.ศ. 2548) สำนักพิมพ์ Politic Press ISBN 9789749273869
  6. "ชาติไทย-มหาชน" จับขั้วไร้เงื่อนไข
  7. ฝ่ายค้านผลงานเยี่ยมดัน 125 เสียง - ทรท.ได้สิงห์บุรีสนามเดียว
  8. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง (นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์)
  9. ตามไปดู 1 เสียง "อภิรัต ศิรินาวิน" พรรคมหาชน" ที่มารัฐบาลเลขสวย 299 จากมติชน

แหล่งข้อมูลอื่น