ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระกาลี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
| name = พระแม่กาลี
| name = พระแม่กาลี
| Devanagari = काली
| Devanagari = काली
| Sanskrit_transliteration = [[พระแม่ทุรคา]], [[พระปารวดี]] และ [[พระมหากาลั]]
| Sanskrit_transliteration = [[พระแม่ทุรคา]], [[พระแม่ปารวดี]] และ [[พระมหากาลี]]
| deity_of = กาลเวลา, การสร้าง, การทำลาย และ พลังอำนาจ
| deity_of = กาลเวลา, การสร้าง, การทำลาย และ พลังอำนาจ
| abode =
| abode =
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
| mount = [[สิงโต]]
| mount = [[สิงโต]]
|caption = พระศิวะทรงทอดกายมิให้พระแม่กาลีกระทืบเท้า
|caption = พระศิวะทรงทอดกายมิให้พระแม่กาลีกระทืบเท้า
|affiliation=[[มหากาลี]], [[พระปราวตี]] , [[มหาวิทยา]] , [[ศากติ]]
|affiliation=[[มหากาลี]], [[พระแม่ปารวตี]] , [[มหาวิทยา]] , [[ศากติ]]
|member_of=[[มหาวิทยา]]}}
|member_of=ทศเทวี[[มหาวิทยา]]}}


[[ไฟล์:Chamunda_Devi_Temple_18.JPG|thumb|รูปปั้นนูนสูงของพระแม่กาลีและพระแม่ทุรคาประดับเทวสถานพระแม่จามุนดา [[ประเทศอินเดีย]]]]
[[ไฟล์:Chamunda_Devi_Temple_18.JPG|thumb|รูปปั้นนูนสูงของพระแม่กาลีและพระแม่ทุรคาประดับเทวสถานพระแม่จามุนดา [[ประเทศอินเดีย]]]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:44, 28 พฤษภาคม 2562

พระแม่กาลี
กาลเวลา, การสร้าง, การทำลาย และ พลังอำนาจ
ส่วนหนึ่งของ ทศเทวีมหาวิทยา
พระศิวะทรงทอดกายมิให้พระแม่กาลีกระทืบเท้า
ชื่อในอักษรเทวนาครีकाली
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตพระแม่ทุรคา, พระแม่ปารวดี และ พระมหากาลี
ส่วนเกี่ยวข้องมหากาลี, พระแม่ปารวตี , มหาวิทยา , ศากติ
อาวุธScimitar, ดาบ, ตรีศูล
พาหนะสิงโต
เทศกาลกาลีบูชา, นวราตรี
คู่ครองพระศิวะ (มหากาลา)
รูปปั้นนูนสูงของพระแม่กาลีและพระแม่ทุรคาประดับเทวสถานพระแม่จามุนดา ประเทศอินเดีย

พระแม่กาลี หรือ กาลิกา (ฮินดี: काली, ละติน: Kālī, แปลตรงตัวว่า สตรีดำ) เป็นปางอวตารภาคหนึ่งของพระอุมาเทวี ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลักษณะพระวรกายมีกายสีดำสนิท มีพระพักตร์ที่มีลักษณะดุร้าย มี 10 พระกร ถืออาวุธร้าย แลบลิ้นยาวถึงทรวงอก ที่ริมฝีปากมีเลือดไหลหยดเป็นทางยาว เครื่องประดับเป็นหัวกะโหลก มีงูใหญ่ร้อยคาดองค์เป็นสังวาลย์

พระแม่กาลี หรือ เจ้าแม่กาลี ทรงมีอำนาจอิทธอฤทธิ์ในการปราบปรามสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง มีเทวานุภาพอันแรงกล้า สร้างความวิบัติแก่เหล่าอสูรอย่างรุนแรง และเด็ดขาด แฝงเร้นไว้ซึ่งความน่ากลัว ผู้บูชาพระแม่กาลีอย่างถูกต้องและเคร่งครัด พระแม่จะประทานความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ และอำนาจเหนือผู้อื่น

พระแม่กาลี ตามความเชื่อของไทยนั้นทรงมีพลังอำนาจในการขจัดคุณไสย ลบล้างไสยเวทย์ด้านมืด หากบุคคลใดถูกกระทำทางไสยศาสตร์ เมื่อผู้นั้นได้สวดบูชาอ้อนวอนต่อพระองค์ท่านแล้ว พระองค์ท่านก็มักให้พรซึ่งขจัดสิ่งอาถรรพ์ชั่วร้ายให้มลายหายไป และประทานสิ่งที่เป็นไปได้ยากให้ได้รับอย่างง่ายดาย ผู้ใดกระทำการสวดบูชา สรรเสริญ และถวายเครื่องสังเวยแด่พระแม่กาลีเป็นประจำ พระองค์ท่านจะประทานความปลอดภัยมาสู่ผู้นั้น ทรงดลบันดาลให้เกิดความสันติผาสุกแก่ผู้ครองเรือนทั่วไป คุ้มครองผู้บูชาจากภยันตรายและอุบัติเหตุร้ายแรง

ประวัติ

ภาพวาดแสดงพระศิวะทรงนอนใต้พระบาทพระแม่กาลี

ตำนานกล่าวว่า พระอุมาซึ่งอยู่ในปางอัมพิกา พระสิริโฉมงดงามเสด็จสู่สนามรบ เมื่อเหล่าอสูรได้เห็นก็พยายามจะได้นางเป็นชายา แต่นางได้ต่อสู้กับเหล่าอสูรด้วยความพิโรธ ในปางพระแม่กาลี จนอสูรทั้งหลายตายจนเกือบหมด เหลือเพียงมาธูอสูร ที่ทรงสังหารอย่างไรก็ไม่ตาย เพราะเคยได้รับพรจากพระศิวะให้มีชีวิตเป็นอมตะ หากเลือดหยดถึงพื้นดินก็จะเกิดเป็นอสูรอีกมากมายไม่สิ้นสุด[1] ร้อนถึงพระศิวะ ทรงประทานวิธีให้พระแม่กาลีดื่มเลือดอสูรทุกครั้งอย่าให้ตกถึงดิน มาธูอสูรจึงถึงแก่ความตาย

หลังจากชนะอสูรมาธู พระนางทรงดีพระทัย กระโดดเต้นเพื่อฉลองชัยชนะ แต่ด้วยตบะอันแรงกล้าทำให้เกิดความเดือดร้อน ต่อด้วยโลกธาตุทั้งปวงเมื่อพระนางกระทืบพระบาท พระศิวะจะเข้าห้ามปรามก็เกรงความดุร้ายของพระนาง จึงใช้อุบายทรงทอดพระกายลงบนพื้นที่พระนางจะกระทืบพระบาท เมื่อพระกาลีเห็นพระศิวะที่พื้น ด้วยปางหนึ่งที่เป็นพระปารวตี ซึ่งรักและภักดีในพระศิวะยิ่ง ก็ทรงชะงัก และแลบลิ้นด้วยความขวยเขิน[2]

ความเชื่อ

เทวรูปพระแม่กาลีศิลปะบาหลี

พระแม่กาลีทรงมีพระบุคลิกภาพที่ยากแก่การเข้าใจ มีความลึกลับที่สุดในบรรดาเทพเทวาทั้งปวง พระนางทรงมีความดุดัน เกรี้ยวกราด รูปลักษณ์และอุปนิสัยล้วนเต็มไปด้วยความน่าสะพรึงกลัว แต่กระนั้นพระนางก็จะทำลายเฉพาะอสูร ปีศาจ และมนุษย์ที่กระทำการชั่วร้ายเท่านั้น เนื่องจากพระแม่กาลีก็คือเทพซึ่งปกป้องคุ้มครองผู้กระทำความดีเช่นเดียวกันทุกพระองค์ ฉะนั้น แม้ผู้ที่บูชาพระแม่อย่างเคร่งครัด แต่เป็นคนที่ไม่ดี มีความคิดที่ชั่วร้าย พระแม่ท่านก็จะทำลายบุคคลผู้นั้นเสียเช่นกัน ผู้ที่มีจิตใจไม่มั่นคง กำลังประสบหรือผ่านพ้นจากเหตุการณ์ร้ายแรงทำให้จิตใจอ่อนแอ สามารถกระทำการบูชาพระองค์ เพื่อขอความเข้มแข็ง และเด็ดขาด ผู้ที่เจอคุณไสย และถูกเบียดเบียนจากพลังงานชั่วร้ายหรืออำนาจไม่ดีทั้งจากมนุษย์และอมนุษย์ สามารถขอพระเมตตา จาก พรหมวิหารธรรมของท่าน ขจัดและทำลายให้พินาศสิ้น ผู้ที่ฝันร้าย เจออวมงคล นิมิตอันเป็นเหตุไม่ดี มีประการต่างๆ สามารถกระทำการบูชา ด้วยประทีปสีแดงและดำ ช่วยปัดเป่าให้มลายหายไป ผู้ที่มีโรคร้ายแรง ยากแก่การรักษา สามารถกระทำ ปฏิบัติบูชา อันจะกล่าวภายหลัง เพื่อหาหนทางบรรเทาโรคภัยได้ ผู้ที่ผิดหวังในรัก รักเพศเดียวกัน รักซ้อนรักแทรก สามารถกระทำปฏิบัติบูชาและบูชาเทวรุปประจำองค์ท่านได้เพื่อความสมหวังทั้งปวง นอกจากนั้น ท่านยังเด่นในเรื่อง การให้โชคลาภและยศฐาบันดาศักดิ์ด้วย

การบูชา

เทวรูปพระแม่กาลีศิลปะทมิฬนาดู

พระมหาเทวีท่านโปรดปรานการบูชา ด้วยประทีปหรืออัคนี (อารตีไฟ) โดยทั่วไปให้ปูเทวรูปด้วยผ้าแดงหรือสีดำ (หรือสามารถใช้ สีเงินหรือสีขาว เพื่อระลึกถึง พรหมวิหารธรรมของพระองค์ได้ด้วย)

การบูชาพระแม่กาลี ต้องใช้เลือดบริสุทธิ์ ในอดีตมีการใช้หญิงพรหมจารีย์ไปบูชายัญด้วยเลือดจากลำคอแต่เมื่อบริธิช ราชเข้าปกครองอินเดีย ทางการได้สั่งห้ามการฆ่าคนเพื่อบูชายัญ ปัจจุบันนี้การบูชาพระแม่กาลีนิยมใช้เลือดแพะแทน

สำหรับการบูชาโดยทั่วไปนั้น วิธีการบูชาเจ้าแม่กาลีจะต้องถวายน้ำ นม ผลไม้ ดอกไม้ โดยเฉพาะ ดอกชบาแดง ผู้บูชาที่เคร่งครัดต้องสวดบทบูชาเจ้าแม่กาลีทั้งเช้าเย็นว่า

"โอม ศรี มหากาลิกาไย นะมะห์"
โอม เจมาตากาลี
โอม สตี เยมา ตา กาลี


โอม ศรี มหากาลี มาตา นมัช

หรือทำสมาธิถวายปรานแก่องค์พระแม่เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระแม่ เชื่อกันว่าเจ้าแม่กาลีที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทยประดิษฐานที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี ผู้ที่ประสบเคราะห์กรรมหรือโดนรังแกนิยมไปไหว้ท่านเพื่อแก้ไขดวงชะตา

ความเข้าใจผิด

เทวรูปพระแม่กาลี

จากการที่พระแม่กาลีเป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวีที่ดุร้าย มีรูปลักษณ์คล้ายปีศาจและใช้เลือดและชีวิตในการบูชายัญ จึงมีความเข้าใจผิดกันว่า พระแม่กาลีเป็นเทพเจ้าแห่งความชั่วร้าย ในสำนวนไทยจึงมีคำว่า "กาลี" ซึ่งหมายความว่า สิ่งที่ชั่วร้าย เช่น "กาลีบ้านกาลีเมือง" หมายถึง "สิ่งที่ชั่วร้ายต่อบ้านเมือง" เป็นต้น บ้างก็ว่าเจ้าแม่กาลีเป็นเทพเจ้าที่โจรบูชา แต่แท้ที่จริงแล้ว ถ้าคนไม่ดีบูชาเจ้าแม่กาลี ก็จะมีอันเป็นไปในเร็ววัน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น