ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธุรกิจ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Coachgaius (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
''ธุรกิจ''เป็นองค์การที่เกี่ยวข้องกับ[[สินค้า]] [[บริการ]] หรือทั้งสินค้าและบริการแก่ผู้บริโภค ธุรกิจนั้นโดดเด่นในระบบ[[เศรษฐกิจ]]แบบ[[ทุนนิยม]] ซึ่งธุรกิจส่วนมากมีเอกชนเป็นเจ้าของ และบริหารจัดการเพื่อให้ได้[[กำไร]] และเพิ่ม[[ความมั่งคั่ง]]แก่เจ้าของธุรกิจ ธุรกิจยังอาจเป็นประเภทไม่แสวงหาผลกำไรหรือมีรัฐเป็นเจ้าของก็ได้ ธุรกิจที่มีหลายปัจเจกบุคคลเป็นเจ้าของอาจเรียกว่า '''[[บริษัท]]''' แม้คำว่า "บริษัท" จะมีความหมายที่เจาะจงกว่านั้น
''ธุรกิจ''เป็นองค์การที่เกี่ยวข้องกับ[[สินค้า]] [[บริการ]] หรือทั้งสินค้าและบริการแก่ผู้บริโภค ธุรกิจนั้นโดดเด่นในระบบ[[เศรษฐกิจ]]แบบ[[ทุนนิยม]] ซึ่งธุรกิจส่วนมากมีเอกชนเป็นเจ้าของ และบริหารจัดการเพื่อให้ได้[[กำไร]] และเพิ่ม[[ความมั่งคั่ง]]แก่ชดชชลลลีลลลลๆลลชลลแีชีลดลลบลลชชเจ้าของธุรกิจ ธุรกิจยังอาจเป็นประเภทไม่แสวงหาผลกำไรหรือมีรัฐเป็นเจ้าของก็ได้ ธุรกิจที่มีหลายปัจเจกบุคคลเป็นเจ้าของอาจเรียกว่า '''[[บริษัท]]''' แม้คำว่า "บริษัท" จะมีความหมายที่เจาะจงกว่านั้น
คำว่า "ธุรกิจ" มีความหมายครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับ[[การค้า]]อย่างน้อย 3 เรื่อง คือ
คำว่า "ธุรกิจ" มีความหมายครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับ[[การค้า]]อย่างน้อย 3 เรื่อง คือ
# ตัวองค์กรการค้า, อุตสาหกรรม หรือบริษัท หรือที่เรียกกันว่า "องค์กรธุรกิจ"
# ตัวองค์กรการค้า, อุตสาหกรรม หรือบริษัท หรือที่เรียกกันว่า "องค์กรธุรกิจ"

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:49, 23 พฤษภาคม 2562

ธุรกิจเป็นองค์การที่เกี่ยวข้องกับสินค้า บริการ หรือทั้งสินค้าและบริการแก่ผู้บริโภค ธุรกิจนั้นโดดเด่นในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งธุรกิจส่วนมากมีเอกชนเป็นเจ้าของ และบริหารจัดการเพื่อให้ได้กำไร และเพิ่มความมั่งคั่งแก่ชดชชลลลีลลลลๆลลชลลแีชีลดลลบลลชชเจ้าของธุรกิจ ธุรกิจยังอาจเป็นประเภทไม่แสวงหาผลกำไรหรือมีรัฐเป็นเจ้าของก็ได้ ธุรกิจที่มีหลายปัจเจกบุคคลเป็นเจ้าของอาจเรียกว่า บริษัท แม้คำว่า "บริษัท" จะมีความหมายที่เจาะจงกว่านั้น คำว่า "ธุรกิจ" มีความหมายครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับการค้าอย่างน้อย 3 เรื่อง คือ

  1. ตัวองค์กรการค้า, อุตสาหกรรม หรือบริษัท หรือที่เรียกกันว่า "องค์กรธุรกิจ"
  2. กิจกรรมที่เกี่ยวกับการค้า, อาชีพ และอุตสาหกรรม เช่นในคำพูด "ธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตามสภาพตลาด"
  3. ส่วนของกิจกรรมทางเศรษฐศาสตร์ เช่น "ธุรกิจเพลง" หรือ "ธุรกิจคอมพิวเตอร์" (ดู อุตสาหกรรม)

บทความนี้จะเน้นไปที่ความหมายอันแรก แต่ก็จะมีลิงก์ไปยังหัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจและการบริหารจัดการตามความหมายที่สองด้วยเช่นกัน

ประเภทขององค์กรธุรกิจ

มีวิธีการแยกแยะประเภทขององค์กรธุรกิจได้หลากหลายแบบ วิธีหนึ่งที่ใช้กันโดยทั่วไป คือ ดูจากกิจกรรมหลักที่สร้างรายได้ให้กับองค์กรธุรกิจนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น

  • ผู้ผลิต - ผลิตสินค้าจากวัตถุดิบหรือชิ้นส่วน เช่น ผลิตกระดาษ, เหล็กกล้า หรือการประกอบรถยนต์จากชิ้นส่วนต่าง ๆ
  • ธุรกิจบริการ - ให้บริการแรงงาน, ความรู้ หรือสินค้าที่จับต้องไม่ได้ มีรายได้จากการคิดค่าแรงงานหรือค่าบริการ เช่น การทาสีบ้าน, ให้คำปรึกษา และร้านอาหาร
  • ร้านค้าปลีกและผู้จัดจำหน่าย - เป็นพ่อค้าคนกลางที่รับสินค้าจากผู้ผลิตมาจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะด้วยการจำหน่ายหน้าร้าน, คลังสินค้า หรือผ่านแค็ตตาล็อกก็ตาม
  • ธุรกิจเกษตรกรรมและเหมืองแร่ - ผลิตวัตถุดิบต้นน้ำ เช่น พืชพรรณธรรมชาติ และแร่ต่าง ๆ
  • สถาบันการเงิน - รวมถึงธนาคาร และบริษัทที่สร้างผลกำไรผ่านการลงทุน และการบริหารเงินทุน
  • ธุรกิจสารสนเทศ - มีรายได้จากการขายสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึง ผู้ผลิตภาพยนตร์, สำนักพิมพ์ และบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์
  • สาธารณูปโภค - ให้บริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ประปา, ไฟฟ้า, กำจัดขยะ โดยมากจะเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจหรือสัมปทาน
  • อสังหาริมทรัพย์ - สร้างรายได้จากการขาย, ให้เช่า, พัฒนา และบริหาร ที่ดิน, บ้าน และอาคารต่าง ๆ
  • ธุรกิจขนส่ง - บริการนำส่งสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง มีรายได้จากค่าขนส่ง
  • ธุรกิจรถยนต์ - องค์กรธุรกิจที่ดำเนินการเกี่ยวกับรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้า การขาย การซ่อม และการบริการ ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อมุ่งเน้นในการแสวงหาผลกำไร
  • ธุรกิจที่ปรึกษาธุรกิจ - ให้บริการที่ปรึกษาธุรกิจ โดยมีรูปแบบการคิดค่าบริการเป็นแบบรายเดือนหรือคิดตามมูลค่างาน เช่น ที่ปรึกษาด้านการเงิน ที่ปรึกษาด้านการตลาด ที่ปรึกษาการวางแผนธุรกิจ

ธุรกิจกับภาครัฐ

กฎหมายส่วนใหญ่จะกำหนดรูปแบบขององค์กรธุรกิจที่สามารถก่อตั้งได้ ภายใต้กำกับของกฎหมายการค้าหรือกฎหมายพาณิชย์ รูปแบบองค์กรทั่ว ๆ ไป ได้แก่ กิจการเจ้าของคนเดียว, ห้างหุ้นส่วน, และบริษัท

ธุรกิจกับการจัดการ

การศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจ เรียกว่า การจัดการ ซึ่งแยกย่อยได้เป็นสาขาหลัก ๆ ได้แก่ การบัญชี, การเงิน, การตลาด, การวางแผนธุรกิจ, ทรัพยากรบุคคล, การจัดการเชิงกลยุทธ์, การผลิต, การบริการ และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ