ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รักษ ปันยารชุน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
| predecessor2 =
| predecessor2 =
| successor2 =
| successor2 =
| birth_date = พ.ศ. 2457
| birth_date = 3 มิถุนายน พ.ศ. 2457
| birth_place =
| birth_place =
| death_date = {{วันตายและอายุ|2550|1|21|2457|1|1}}
| death_date = {{วันตายและอายุ|2550|1|21|2457|6|3}}
| death_place =
| death_place =
| party =
| party =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:18, 21 พฤษภาคม 2562

รักษ์ ปันยารชุน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
28 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม พ.ศ. 2500 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 มิถุนายน พ.ศ. 2457
เสียชีวิต21 มกราคม พ.ศ. 2550 (92 ปี)
คู่สมรสจีรวัสส์ พิบูลสงคราม

พันตรี รักษ์ ปันยารชุน เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม และเป็นบุตรเขยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม

ประวัติ

รักษ์ ปันยารชุน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2457 ในครอบครัวขุนนาง เป็นบุตรชายคนโตของพระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) กับคุณหญิง ปฤกษ์ ชาวไทยเชื้อสายจีน[1][2] (แคะ)[3] ซึ่งตัวเขาเองมีเชื้อสายจีนมาจากยายซึ่งใช้แซ่เล่า (จีน: ; หลิว)[4]

รักษ์ ปันยารชุนมีพี่น้องดังนี้

  1. สุธีรา เกษมศรี ณ อยุธยา
  2. ปฏดา วัชราภัย
  3. กุนตี พิชเยนทรโยธิน
  4. หม่อม จิตรา วรวรรณ ณ อยุธยา
  5. ดุษฎี โอสถานนท์
  6. กรรถนา อิศรเสนา ณ อยุธยา
  7. สุภาพรรณ ชุมพล ณ อยุธยา
  8. รักษ์ ปันยารชุน
  9. กุศะ ปันยารชุน กรรมการผู้จัดการ บริษัท World Travel Service จำกัด
  10. พันตำรวจเอก ประสัตถ์ ปันยารชุน
  11. ชัช ปันยารชุน
  12. อานันท์ ปันยารชุน

รักษ์ ได้รับการศึกษาในโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และศึกษาจนจบปริญญาเอกจากประเทศฝรั่งเศส ทางด้านกฎหมาย จาก Universite de Lille เขาสมรสกับจีรวัสส์ พิบูลสงคราม บุตรีจอมพล ป.พิบูลสงคราม[5]

การทำงาน

รักษ์ ได้เข้าทำงานเป็นนายทหารอยู่ที่กรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 พ.ต.รักษ์ ได้ลาออกจากราชการมาทำธุรกิจด้านการบินและการขนส่ง นำเข้ารถยนต์ และร่วมกันตั้งบริษัทดำเนินการผลิตโคคา-โคล่า ของอเมริกาในประเทศไทย โดยตั้งชื่อบริษัทว่า Rak,Derrik & Davis Bottling รวมทั้งต่อมาได้ตั้งบริษัทนำดื่มชื่อ “โพลาลีส” และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทสหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด[6]

ในปี พ.ศ. 2498 พ.ต.รักษ์ ได้เข้าสู่วงการการเมืองโดยการนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แทนนายเขมชาติ บุณยรัตนพันธ์ ต่อมาจึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

อ้างอิง

  1. PAVING THE WAY (อังกฤษ)
  2. PROUD TO BE MON SAYS FORMER THAI PM (อังกฤษ)
  3. "นรฤทธิ์ โชติกเสถียร ทายาทคนใหม่ของอาคเนย์ฯ" (Press release). นิตยสารผู้จัดการ. สิงหาคม 2529. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. [泰国] 洪林, 黎道纲主编 (2006). 泰国华侨华人研究. 香港社会科学出版社有限公司. p. 185. ISBN 962-620-127-4. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  5. จีรวัสส์ ปันยารชุน บุตรี 'จอมพล ป. พิบูลสงคราม' เสียชีวิต
  6. ประวัติบริษัท