ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ยุทธนาสาระขันธ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sodacan (คุย | ส่วนร่วม)
vector version available (GlobalReplace v0.6.5)
บรรทัด 55: บรรทัด 55:


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
* [[พ.ศ. 2548]] - [[ไฟล์:Order of the Direkgunabhorn 3rd class (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์]] ชั้น[[ตติยดิเรกคุณาภรณ์]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา,[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00177245.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘] เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘ หน้า ๑๓</ref>
* [[พ.ศ. 2548]] - [[ไฟล์:Order of the Direkgunabhorn 3rd class (Thailand) ribbon.svg|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์]] ชั้น[[ตติยดิเรกคุณาภรณ์]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา,[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00177245.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘] เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘ หน้า ๑๓</ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:17, 7 พฤษภาคม 2562

จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม
เอ็กซ์ จักรกฤษณ์ สัมภาษณ์กับสื่อข่าวในขณะที่ถูกคุมตัว
เอ็กซ์ จักรกฤษณ์ สัมภาษณ์กับสื่อข่าวในขณะที่ถูกคุมตัว
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด31 มกราคม พ.ศ. 2516
เสียชีวิต19 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (40 ปี)
โรงพยาบาลเสรีรักษ์
คู่สมรสพญ.ณิธวดี ภูเจริญยศ
อาชีพนักกีฬายิงปืน, นักแสดง
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

จ่าสิบเอก จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม ชื่อเล่น เอ็กซ์ (31 มกราคม พ.ศ. 251619 ตุลาคม พ.ศ. 2556)[1] เป็นนักกีฬายิงปืนทีมชาติไทย ประเภทปืนสั้นอัดลมยิงช้า[2] และเป็นนักแสดง มีผลงานแสดงนำเรื่อง หมากเตะรีเทิร์นส ในบทผู้จัดการฟุตบอลทีมชาติอาวี, ลิ้มโต๊ะเคี่ยม ใน ปืนใหญ่จอมสลัด และ อุปราชมังระ ในขุนรองปลัดชู

จักรกฤษณ์ เป็นบุตรชายของมานพ พณิชย์ผาติกรรม อดีตนักกีฬายิงปืนทีมชาติไทย เจ้าของหลายเหรียญทองในกีฬาซีเกมส์ และเอเชียนเกมส์[3] จบการศึกษา ปวส. เครื่องกล จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เริ่มหัดยิงปืนตั้งแต่อายุ 15 ปี หลังจากติดตามบิดาที่เป็นนักกีฬาทีมชาติมาตั้งแต่เด็ก ติดทีมชาติครั้งแรกเมื่ออายุ 18 ปี เข้าแข่งขันเอเชียนเกมส์ 1994และได้เหรียญทองแดง ส่วนใน เอเชียนเกมส์ 1998 ได้ที่ 4 และเคยได้เหรียญเงินจากซีเกมส์ 2005 ที่ฟิลิปปินส์[4] และได้ 2 เหรียญทองแดงจากเอเชียนเกมส์ 2006 ที่ประเทศกาตาร์ และได้เข้าร่วมแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ประเทศจีนโดยได้ที่ 8 [2]

จักรกฤษณ์ ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่มีความมั่นใจในตัวเอง เป็นตัวของตัวเอง มีอารมณ์ร้อน[3] มักมีเรื่องวิวาทกับสมาคมยิงปืน กับสื่อมวลชน หรือกับบุคคลอื่นอยู่เสมอ[2] โดยกรณีที่โด่งดังที่สุด คือ การส่งตัวกลับประเทศทั้งที่แข่งขันไม่จบในซีเกมส์ 2009 ที่เวียงจันทน์ จากการทะเลาะอย่างรุนแรงกับผู้จัดการทีม[5] และล่าสุด กรกฎาคม 2556 นางปวีณา หงสกุล พาภรรยาและมารดาแจ้งความจับในคดีใช้ความรุนแรงในครอบครัว

เสียชีวิต

เมื่อเวลาประมาณ 19.10 นาฬิกา ของวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ตำรวจสถานีมีนบุรี ได้รับแจ้งเหตุคนร้ายลอบยิงจักรกฤษณ์ขณะอยู่ในรถยนต์ปอร์เช่ บ็อกซเตอร์สีดำ โดยเกิดเหตุที่หน้าวัดบำเพ็ญใต้ ถนนรามคำแหง เขตมีนบุรี จนบาดเจ็บสาหัส ซึ่งกระสุนได้เข้าบริเวณหน้าอก และจักรกฤษณ์ได้รับการนำตัวส่งโรงพยาบาลเสรีรักษ์ ก่อนที่เขาจะทนพิษบาดแผลไม่ไหว และเสียชีวิตในเวลาต่อมา[6]

จักรกฤษณ์มีข่าวขัดแย้งกับคนในครอบครัว กระทั่งภรรยาแจ้งความกับทางตำรวจและมูลนิธิปวีณาฯ จนจักรกฤษณ์ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำทหาร ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จากนั้นได้มีการแจ้งจับภรรยาตัวเองว่าลักทรัพย์ในตู้เซฟ ก่อนจะมีการไกล่เกลี่ยขอคืนดีกับภรรยาโดยมีปวีณา หงสกุล รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้การช่วยเหลือ[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น