ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จุรี โอศิริ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วิสามานยนาม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
ฮัมบูร์ก→ฮัมบวร์ค
บรรทัด 41: บรรทัด 41:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
จุรี โอศิริ เกิดเมื่อวันที่ [[2 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2472]] ที่[[กรุงเทพมหานคร]] บิดาชื่อเตียง โอศิริ มารดาชื่อเลมียด โอศิริ มีพี่น้อง 4 คน ส่วนตนเป็นบุตรคนที่ 2 นายเตียงผู้เป็นบิดา เป็นคนไทยคนแรก ๆ ที่ทำกิจการผลิต[[แผ่นเสียง]]ในนามของ[[ห้างฮัมบูร์กสยาม]] ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผ่นเสียง[[ตราสุนัขนั่งฟังลำโพงหีบเสียง (His Master 's Voice)]] ทำให้ได้ซึมซับกับบรรยากาศของเสียงเพลง ต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนาฏศิลป์ [[กรมศิลปากร]] โดยจุรีมีความสนใจด้านการเต้นรำ เช่น [[บัลเล่ต์]] และการร้องรำทำเพลงแบบสากลต่าง ๆ จึงได้เลือกเรียนเอกทางด้านนาฏศิลป์สากล และขับร้องเพลงสากล จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
จุรี โอศิริ เกิดเมื่อวันที่ [[2 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2472]] ที่[[กรุงเทพมหานคร]] บิดาชื่อเตียง โอศิริ มารดาชื่อเลมียด โอศิริ มีพี่น้อง 4 คน ส่วนตนเป็นบุตรคนที่ 2 นายเตียงผู้เป็นบิดา เป็นคนไทยคนแรก ๆ ที่ทำกิจการผลิต[[แผ่นเสียง]]ในนามของ[[ห้างฮัมบวร์คสยาม]] ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผ่นเสียง[[ตราสุนัขนั่งฟังลำโพงหีบเสียง (His Master 's Voice)]] ทำให้ได้ซึมซับกับบรรยากาศของเสียงเพลง ต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนาฏศิลป์ [[กรมศิลปากร]] โดยจุรีมีความสนใจด้านการเต้นรำ เช่น [[บัลเล่ต์]] และการร้องรำทำเพลงแบบสากลต่าง ๆ จึงได้เลือกเรียนเอกทางด้านนาฏศิลป์สากล และขับร้องเพลงสากล จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


ด้านชีวิตครอบครัว สมรสและใช้ชีวิตคู่ครั้งแรก กับ [[เสนอ โกมารชุน]] (พี่ชายของ [[เสน่ห์ โกมารชุน]]) มีบุตรชาย 2 คนคือ นายจามร โกมารชุน (ถึงแก่กรรม) และ [[นพพล โกมารชุน]] หลังจากสามีเสียชีวิต ก็ใช้ชีวิตคู่กับ[[สมชาย สามิภักดิ์]] มาเป็นเวลา 50 กว่าปี จนกระทั่งสมชายถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ [[5 มกราคม]] [[พ.ศ. 2552]] จุรีเสียชีวิตด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ [[24 มกราคม]] [[พ.ศ. 2555]] ที่บ้านพักใน [[อำเภอแม่จัน]] [[จังหวัดเชียงราย]] สิริอายุได้ 83 ปี 2 เดือนเศษ<ref>[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327462407&grpid=&catid=08&subcatid=0801 "ป้าจุ๊" จุรี โอศิริ เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 83 ปี ตั้งศพบำเพ็ญกุศลวัดมกุฏกษัตริยาราม] มติชน</ref> ในการนี้ [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ณ เมรุ[[วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร]]<ref>[http://www.ch7.com/news/news_royal_detail.aspx?c=1&p=1&d=175483 ข่าวพระราชสำนัก] ช่อง 7</ref><ref>[http://www.krobkruakao.com/ข่าวพระราชสำนัก/51453/สมเด็จพระเทพฯ-พระราชทานเพลิงศพนางจุรี-โอศิริ.html ข่าวพระราชสำนัก] ช่อง 3</ref>
ด้านชีวิตครอบครัว สมรสและใช้ชีวิตคู่ครั้งแรก กับ [[เสนอ โกมารชุน]] (พี่ชายของ [[เสน่ห์ โกมารชุน]]) มีบุตรชาย 2 คนคือ นายจามร โกมารชุน (ถึงแก่กรรม) และ [[นพพล โกมารชุน]] หลังจากสามีเสียชีวิต ก็ใช้ชีวิตคู่กับ[[สมชาย สามิภักดิ์]] มาเป็นเวลา 50 กว่าปี จนกระทั่งสมชายถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ [[5 มกราคม]] [[พ.ศ. 2552]] จุรีเสียชีวิตด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ [[24 มกราคม]] [[พ.ศ. 2555]] ที่บ้านพักใน [[อำเภอแม่จัน]] [[จังหวัดเชียงราย]] สิริอายุได้ 83 ปี 2 เดือนเศษ<ref>[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327462407&grpid=&catid=08&subcatid=0801 "ป้าจุ๊" จุรี โอศิริ เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 83 ปี ตั้งศพบำเพ็ญกุศลวัดมกุฏกษัตริยาราม] มติชน</ref> ในการนี้ [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ณ เมรุ[[วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร]]<ref>[http://www.ch7.com/news/news_royal_detail.aspx?c=1&p=1&d=175483 ข่าวพระราชสำนัก] ช่อง 7</ref><ref>[http://www.krobkruakao.com/ข่าวพระราชสำนัก/51453/สมเด็จพระเทพฯ-พระราชทานเพลิงศพนางจุรี-โอศิริ.html ข่าวพระราชสำนัก] ช่อง 3</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:33, 6 พฤษภาคม 2562

จุรี โอศิริ
ไฟล์:จุรี โอศิริ.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472
เสียชีวิต24 มกราคม พ.ศ. 2555
(82 ปี 83 วัน)
อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
คู่สมรสเสนอ โกมารชุน
สมชาย สามิภักดิ์
บุตรนพพล โกมารชุน
อาชีพนักพากย์, นักร้อง, นักแสดง
ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง - ภาพยนตร์และละคร นักพากย์ พ.ศ. 2541
พระสุรัสวดีผู้พากย์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง โบตั๋น พ.ศ. 2500
ผู้พากย์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง นกน้อย พ.ศ. 2507
ผู้แสดงประกอบยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง วัยตกกระ พ.ศ. 2522
ผู้พากย์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ไร้เสน่หา พ.ศ. 2522
ผู้พากย์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง เทพธิดาโรงงาน พ.ศ. 2525
โทรทัศน์ทองคำดาราสมทบยอดเยี่ยม จากละครโทรทัศน์เรื่อง สายโลหิต
เมขลาสาขารางวัลเกียรติคุณ พ.ศ. 2554
(หลังจากเสียชีวิต)
ThaiFilmDb

จุรี โอศิริ ชื่อเล่น จุ๊ หรือรู้จักโดยทั่วไปว่า “ป้าจุ๊” เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 เป็นนักแสดง นักพากย์ และนักร้อง เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิง โดยเป็นนักร้องหน้าม่านสลับละครของคณะผกาวลี และคณะศิวารมย์ ต่อมาแสดงเป็นนางเอกในละครเพลงเรื่อง “นเรศวรมหาราช” และได้เข้าไปเป็นนักร้องประจำวงดุริยางค์ทหารบก วงสุนทราภรณ์ เป็นผู้ประกาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย พากย์ภาพยนตร์ ตลอดจนเป็นนักแสดงละครเวที ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 4 ครั้ง (สาขาผู้พากย์ยอดเยี่ยม 3 รางวัล และผู้แสดงประกอบยอดเยี่ยม 1 รางวัล) และได้รับเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักพากย์และนักแสดง) ประจำปีพุทธศักราช 2541[1] จุรีเสียชีวิตด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555 ที่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย สิริอายุได้ 83 ปี [2][3]

ประวัติ

จุรี โอศิริ เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 ที่กรุงเทพมหานคร บิดาชื่อเตียง โอศิริ มารดาชื่อเลมียด โอศิริ มีพี่น้อง 4 คน ส่วนตนเป็นบุตรคนที่ 2 นายเตียงผู้เป็นบิดา เป็นคนไทยคนแรก ๆ ที่ทำกิจการผลิตแผ่นเสียงในนามของห้างฮัมบวร์คสยาม ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผ่นเสียงตราสุนัขนั่งฟังลำโพงหีบเสียง (His Master 's Voice) ทำให้ได้ซึมซับกับบรรยากาศของเสียงเพลง ต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนาฏศิลป์ กรมศิลปากร โดยจุรีมีความสนใจด้านการเต้นรำ เช่น บัลเล่ต์ และการร้องรำทำเพลงแบบสากลต่าง ๆ จึงได้เลือกเรียนเอกทางด้านนาฏศิลป์สากล และขับร้องเพลงสากล จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ด้านชีวิตครอบครัว สมรสและใช้ชีวิตคู่ครั้งแรก กับ เสนอ โกมารชุน (พี่ชายของ เสน่ห์ โกมารชุน) มีบุตรชาย 2 คนคือ นายจามร โกมารชุน (ถึงแก่กรรม) และ นพพล โกมารชุน หลังจากสามีเสียชีวิต ก็ใช้ชีวิตคู่กับสมชาย สามิภักดิ์ มาเป็นเวลา 50 กว่าปี จนกระทั่งสมชายถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552 จุรีเสียชีวิตด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555 ที่บ้านพักใน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย สิริอายุได้ 83 ปี 2 เดือนเศษ[4] ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร[5][6]

วงการบันเทิง

หลังจบการศึกษา ก็เข้าทำงานวงการบันเทิงเต็มตัว ในหลากหลายด้าน เริ่มจากเป็นนักร้องหน้าม่าน สลับละครของคณะผกาวลี และคณะศิวารมย์ ต่อมาแสดงเป็นนางเอก ในละครเพลงเรื่อง “นเรศวรมหาราช” และเข้าเป็นนักร้องประจำวงดุริยางค์ทหารบก และวงสุนทราภรณ์ จนร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก รับบทเป็นนางเอกในเรื่อง “สุภาพบุรุษจากอเวจี” กำกับการแสดงโดยครูเนรมิต ซึ่งนอกจากแสดงเป็นนางเอกแล้ว ยังพากย์เสียงนางเอก ถือเป็นการเริ่มต้นพากย์ภาพยนตร์เป็นครั้งแรกด้วย[7]

ทางด้านการพากย์เสียง ได้พากย์ให้กับดาราหญิงและเด็กทั้งหญิงชายในหลากหลายบทบาททั้งนางเอก นางรอง ตัวอิจฉา และตัวประกอบมากมายนับไม่ถ้วน อาทิ อมรา อัศวนนท์ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง วิไลวรรณ วัฒนพานิช กัณฑรีย์ นาคประภา เพชรา เชาวราษฎร์ พิศมัย วิไลศักดิ์ ภาวนา ชนะจิต เยาวเรศ นิศากร มาเรีย จาง เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ ลลนา สุลาวัลย์ ภัทราวดี ศรีไตรรัตน์ นันทนา เงากระจ่าง ชูศรี มีสมมนต์ สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต มาลี เวชประเสริฐ ล้อต๊อกน้อย เด็กหญิงบรรจง นิลเพชร ฯลฯ

ผลงานการพากย์เสียงของจุรี มีหลายคนที่ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองและสุพรรณหงส์ทองคำ ได้แก่ สมจิต ทรัพย์สำรวย จากภาพยนตร์เรื่อง ยอดอนงค์ และ ค่าน้ำนม, ภาวนา ชนะจิต จากภาพยนตร์เรื่อง แสงสูรย์, พิศมัย วิไลศักดิ์ จากภาพยนตร์เรื่อง ดวงตาสวรรค์ ไร้เสน่หา และ เงิน เงิน เงิน, เนาวรัตน์ วัชรา จากภาพยนตร์เรื่อง เดือนร้าว, เพชรา เชาวราษฎร์ จากภาพยนตร์เรื่อง นกน้อย, เปียทิพย์ คุ้มวงศ์ จากภาพยนตร์เรื่อง ตลาดพรหมจารีย์ และ อาอี๊, บุปผารัตน์ จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา, ทัศน์วรรณ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา จากภาพยนตร์เรื่อง ประสาท, ทาริกา ธิดาทิตย์ จากภาพยนตร์เรื่อง เหนือกว่ารัก, นิจ อลิสา จากภาพยนตร์เรื่อง เพื่อน-แพง, ล้อต๊อกน้อย จากภาพยนตร์เรื่อง ยอดอนงค์, เด็กหญิงบรรจง นิลเพ็ชร จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา และ มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช จากภาพยนตร์เรื่อง ป่ากามเทพ จุรีเคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พากย์ภาพยนตร์ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น ในฝูงหงส์ สาวน้อย นกน้อย แม่นาคพระโขนง เป็นต้น

รางวัลและเกียรติคุณ

จุรีได้รับรางวัลเกียรติยศ จากทั้งการพากย์ และการแสดงภาพยนตร์ ในหลายรางวัล ได้แก่

กิจกรรมเพื่อสังคม

จุรีเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ มิได้ขาด ไม่ว่าจะเป็นการแสดงละครการกุศล การขับร้องเพลงในคอนเสิร์ตการกุศล และอื่นๆ ทั้งยังเป็นศิลปินอาวุโสที่ให้ความเมตตา ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องแก่ดารารุ่นหลัง จึงเป็นที่เคารพรักใคร่ ของบรรดาศิลปินรุ่นน้อง และรุ่นลูกหลานทั้งหลาย ที่สำคัญก็คือ จุรีเป็นดาราผู้มีภาพพจน์ดีงาม เป็นที่ชื่นชมของแฟนๆ ภาพยนตร์ และละครทั่วประเทศ ทุกเพศทุกวัยมาเป็นเวลายาวนาน คุณสมบัติที่ดีเด่นอีกประการหนึ่งคือ เป็นผู้ที่ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง นับเป็นแบบอย่างที่ดี แก่นักแสดงอื่นๆ และประชาชนทั่วไปอีกด้วย

ผลงาน

แสดงละครโทรทัศน์

แสดงภาพยนตร์

ฯลฯ

ละครเวที

  • หัวเราะกับน้ำตา (มณเฑียรทองเธียเตอร์)
  • จุรีอินคอนเสิร์ต (2547)
  • กว่าจะรักกันได้ สุนทราภรณ์ เดอะมิวสิกัล (2554)

ผลงานด้านการเขียน

  • ป้าจุ๊อยากเล่า เล่ม 1 (2533)
  • เรื่องสั้นฝันหวาน (2534)
  • ป้าจุ๊อยากเล่า เล่ม 2 (2536)
  • โชคดีได้บินฟรีครึ่งโลก (2537) ผลงานการเขียนต่อเนื่องในนิตยสารสกุลไทย
  • โลกของจุรี โอศิริ (2542)
  • เรารักกัน (2552)
  • ตั้งแต่รู้จักกัน (2555)

มิวสิกวิดีโอ

โฆษณา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ศิลปินแห่งชาติ
  2. วงการบันเทิงเศร้า สิ้น ป้าจุ๊ จุรี โอศิริ ไทยรัฐ
  3. จุรี โอศิริ ข่าวไทยรัฐออนไลน์
  4. "ป้าจุ๊" จุรี โอศิริ เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 83 ปี ตั้งศพบำเพ็ญกุศลวัดมกุฏกษัตริยาราม มติชน
  5. ข่าวพระราชสำนัก ช่อง 7
  6. ข่าวพระราชสำนัก ช่อง 3
  7. นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2414 ปีที่ 47 ประจำวันอังคารที่ 23 มกราคม 2544 เขียนโดย นิติกร กรัยวิเชียร
  8. ชีวประวัติ จุรี โอศิริ ที่ ฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
  9. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ (ประจำปี ๒๕๔๒ ศิลปินแห่งชาติ) เล่ม ๑๑๖ ตอน ๒๑ ข ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒ หน้า ๒๓.