ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไนกี้ (บริษัท)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด→แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 89: บรรทัด 89:
*{{Flagicon|Spain}} [[สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา|บาร์เซโลนา]]
*{{Flagicon|Spain}} [[สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา|บาร์เซโลนา]]
{{col-3}}
{{col-3}}
*{{Flagicon|Spain}} [[แอตแลนติโกมาดริด]]
*{{Flagicon|Spain}} [[อัตเลติโกเดมาดริด]]
*{{Flagicon|Spain}} [[สโมสรฟุตบอลมาลากา|มาลากา]]
*{{Flagicon|Spain}} [[สโมสรฟุตบอลมาลากา|มาลากา]]
*{{Flagicon|Spain}} [[เรอัลโซเซียดัด]]
*{{Flagicon|Spain}} [[เรอัลโซซิเอดัด]]
*{{flagicon|Spain}} [[แอทเลติกบิลเบา]]
*{{flagicon|Spain}} [[อัตเลติกเดบิลบาโอ]]
*{{Flagicon|Italy}} [[อินเตอร์มิลาน]]
*{{Flagicon|Italy}} [[อินเตอร์มิลาน]]
*{{ธง|อิตาลี}} [[สโมสรฟุตบอลโรมา|โรมา]]
*{{ธง|อิตาลี}} [[สโมสรฟุตบอลโรมา|โรมา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:59, 4 พฤษภาคม 2562

ไนกี้
ประเภทPublic (NYSE: NKE)
ISINUS6541061031 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมเสื้อผ้า, เครื่องประดับ, อุปกรณ์กีฬา
ก่อตั้ง25 มกราคม 1964
ผู้ก่อตั้งบิล บาวเวอร์แมน
ฟิล ไนต์
สำนักงานใหญ่วอชิงตัวเคาตี, รัฐโอเรกอน, สหรัฐอเมริกา
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
ฟิล ไนต์
(ประธานกิตติคุณ)
มาร์ก พาร์เกอร์
(ประธาน, CEO)
ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและรองเท้ากีฬา
อุปกรณ์กีฬา
รายได้เพิ่มขึ้น 30.601 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2015)[1]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 4.175 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2015)[1]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 3.273 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2015)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 21.600 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2015)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 12.707 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2015)[1]
พนักงาน
62,600 คน (2015)[1]
เว็บไซต์www.nike.com
ร้านค้าไนกี้ที่ฮ่องกง

ไนกี้ (อังกฤษ: Nike) เป็นบริษัทผลิตเครื่องกีฬา อย่างรองเท้า อุปกรณ์กีฬา เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย มีบริษัทแม่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดย บิลล์ บาวเวอร์แมน และ ฟิล ไนต์

ประวัติ

ในปี 1948 บิลล์ บาวเวอร์แมนซึ่งเป็นโค้ชให้กับมหาวิทยาลัยโอเรกอน มีผลงานอย่างในการแข่งขัน NCAA outdoor championships ในปี 1962, 1964, 1965 และ 1970 เขายังทำให้ทีมชาติอเมริกาสามารถพิชิตถึง 6 เหรียญทอง ในโอลิมปิก และฟิล ไนต์ได้รู้จักกับบาวเวอร์แมนในขณะที่เขาเป็นนักวิ่งให้กับมหาวิทยาลัยโอเรกอน ซึ่งทั้งคู่ต่างต้องการรองเท้าคุณภาพเยี่ยมที่มีความเบาและทนทานสำหรับการแข่งขัน จนในปี 1962 ไนต์ได้ทำการค้นคว้าข้อมูลและพบว่ารองเท้ากีฬาจากประเทศญี่ปุ่นมีคุณภาพดี และมีราคาถูกกว่าสินค้ากีฬาจากประเทศเยอรมนีซึ่งเป็นผู้นำตลาดในอเมริกาอยู่ขณะนั้น และหลังจากที่ไนต์เรียนจบด้าน MBA จึงได้ออกเดินทางไปทั่วโลก และไปที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเขาได้มีโอกาสพบกับ Onitsuka Tiger Company โรงงานผลิตรองเท้ากีฬาของญี่ปุ่น และชักชวนให้ Tiger ขยายตลาดเข้ามาในอเมริกา

ไนต์ใช้ชื่อสินค้าว่า “Blue Ribbon Sports” หรือ BRS ซึ่งเป็นชื่อเดิมของไนกี้ และได้ก่อตั้งบริษัทร่วมกับบาวเวอร์แมนที่ชื่อ BRS Inc. ขึ้น โดย ไนต์ มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบทางด้านการเงินและการตลาด ส่วนบาวเวอร์แมน ดูแลทางด้านการพัฒนาออกแบบรองเท้ากีฬา

ต่อมาในปี 1970 บาวเวอร์แมนทดลองทำพื้นรองเท้ายางจากเครื่องอบขนมวาฟเฟิล (Waffle) ของภรรยาเขา ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสำหรับรองเท้ากีฬา ที่พื้นรองเท้าเป็นแบบที่เห็นในทุกวันนี้ ถัดมาในปี 1971 บาวเวอร์แมนจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่ที่ชื่อว่า Nike Inc. ในปีถัดมา BRS Inc. และ Onitsuka Tiger ได้แยกบริษัทออกจากกันอันเนื่องจากความขัดแย้งกันทางธุรกิจ ในปีนี้เองได้ออกแบรนด์ไนกี้เพื่อเจาะกลุ่มนักกีฬากรีฑาในโอลิมปิก ต่อมาในปี 1981 BRS Inc. และ Nike Inc. ได้รวมบริษัทเข้าด้วยกัน

ในปี 1984 ไมเคิล จอร์แดน นักบาสเกตบอลชื่อดังได้มาร่วมงานกับไนกี้ ซึ่งทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด โดยมีผลิตภัณฑ์ ที่ใช้ชื่อแบรนด์เป็นชื่อ "Jordan" และในปี 1997 สินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของ “M.J.” แตกไลน์ออกไปโดยใช้ชื่อ "12-Star products" (ในปีนั้นไมเคิล จอร์แดนได้รับเป็นผู้เล่น All-Star Game ถึง 12 ครั้ง) และไนกี้ยังประสบความสำเร็จกับแคมเปญ โฆษณาชุด “Just Do It” อีกด้วย

ปัจจุบัน Nike Inc. มีพนักงาน 23,000 คนทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ 2 แห่ง คือที่เมืองโอเรกอน ประเทศอเมริกา และประเทศเนเธอร์แลนด์ กีฬาสำคัญที่ไนกี้ได้ให้การสนับสนุน คือ บาสเกตบอล เบสบอล อเมริกันฟุตบอล เทนนิส ฟุตบอล และอื่นๆ [2]

แคมเปญ โฆษณา

ไนกี้เริ่มทำโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคม 1982 สำหรับการออกอากาศในการถ่ายทอดการแข่งขันนิวยอร์กมาราธอน สร้างโดย บริษัท Wieden+Kennedy โดยคำขวัญที่ว่า Just do it ซึ่งได้รับการยกย่องจาก แอดเวอร์ไทซิ่ง เอจ ว่าเป็นหนึ่งในห้าสโลแกนแห่งศตวรรษที่ 20

การใช้นักกีฬาในการเป็น Brand Endorser ทางไนกี้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 1978 โดยเป็นสปอนเซอร์ให้กับนักเทนนิสชาวโรมาเนียชื่อ IIie Nastase ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว และนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ นักบาสเกตบอลชาวอเมริกัน ไมเคิล จอร์แดน ซึงไนกี้เป็นสปอนเซอร์ตั้งแต่ปี 1984 และผลิตภัณฑ์สำหรับกีฬาบาสเกตบอลไลน์จอร์แดน ยังทำรายได้ให้ไนกี้มหาศาล

สำหรับแคมเปญการตลาดต่าง ๆ ของ ไนกี้ ได้รับการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สมิทโซเนียน[3]

ปัจจุบัน ไนกี้ ได้เข้าสู่ตลาดกอล์ฟ โดยใช้ Tiger Woods เป็น Brand Ambassadors.

สปอนเซอร์ว่าจ้าง

ทีมฟุตบอล

นักกีฬา

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "2015 annual results". Nike Inc and subsidiaries.
  2. Nike positioningmag.com
  3. Nike สุดยอดแบรนด์ในใจนักศึกษา อันดับ 4 (Marketeer/04/51)
  4. "คอนเฟิร์ม "ไนกี้" เลิกสัญญาทีมชาติไทย". ผู้จัดการออนไลน์. 29 June 2013. สืบค้นเมื่อ 13 March 2014.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 "ใส่ก่อนเท่ก่อน!! รวมเสื้อแข่ง "เวิลด์ คัพ 2014"". ผู้จัดการออนไลน์. 4 March 2014. สืบค้นเมื่อ 13 March 2014.
  6. "Ukraine Euro 2016 Kits Released". footyheadlines. 15 March 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2016.
  7. "Poland Euro 2016 Kit Released". footyheadlines. 17 March 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2016.
  8. 8.0 8.1 "รีวิวเสื้อใหม่ "ฉลาม-บีจี" ไนกี้ส่งประกวด ลูกเล่นเพียบ". ผู้จัดการออนไลน์. 22 February 2013. สืบค้นเมื่อ 13 March 2014.
  9. "ปีนใหญ่ประกาศจับมือพูม่า". สยามสปอร์ต. 28 January 2014. สืบค้นเมื่อ 13 March 2014.
  10. "ว้าว! แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด บอกลาไนกี้ เซ็น10ปีทุบสถิติโลกกับ อาดิดาส". สนุกดอตคอม. 10 July 2014. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  11. ""ทอฟฟี" คลอดเสื้อใหม่กลับไปใช้ "อัมโบร"". ผู้จัดการออนไลน์. 26 June 2014. สืบค้นเมื่อ 26 June 2014.
  12. ""เชลซี" ลงเอย "ไนกี้" ฟัน 60 ล้าน ป.ต่อปี สูงสุดอันดับ 2". ผู้จัดการออนไลน์. 18 May 2016. สืบค้นเมื่อ 19 May 2016.
  13. "ไนกี้จัดให้! หลุดชุดแข่งไก่เดือยทอง ฤดูกาล 2017-18". ไทยรัฐ. 2016-12-10. สืบค้นเมื่อ 2017-01-08.
  14. ""ไนกี้" จับ "ซลาตัน" ลุยโฆษณา "ไฟ-น้ำแข็ง-สายฟ้า"". ผู้จัดการออนไลน์. 12 March 2014. สืบค้นเมื่อ 13 March 2014.
  15. ""ไนกี" ปั้นหุ่นดิน "นาดาล" ฉลองเฟรนช์ฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 12 June 2014. สืบค้นเมื่อ 14 June 2014.
  16. "ไนกีคลอดชุด "มาเรีย" ส้มจี๊ดลุยเฟรนช์ฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 16 April 2014. สืบค้นเมื่อ 17 April 2014.
  17. "แอด "ไนกี้" สุดฮา!! "รูน" ยิงระเบิดรถบัส". ผู้จัดการออนไลน์. 13 May 2014. สืบค้นเมื่อ 18 May 2014.
  18. "Top Premier League strikers of to flying start in the Hypervenom". Nike.com. Retrieved 8 September 2014
  19. 19.0 19.1 "ไนกี้เปิดตัว "มาจิสต้า" ให้ฉายา "พ่อมดบนพื้นสนาม"". ผู้จัดการออนไลน์. 21 May 2014. สืบค้นเมื่อ 22 May 2014.
  20. ""มุ้ย" อัปสปีด! เปิดตัว "ไนกี้ SPARK BRILLIANCE" สตั๊ดใหม่คู่ละหมื่น (คลิป)". ผู้จัดการออนไลน์. 7 June 2016. สืบค้นเมื่อ 7 June 2016.
  21. "ฟีฟาสอบ "เนย์มาร์" จงใจทำกางเกงในแลบ?". ผู้จัดการออนไลน์. 26 June 2014. สืบค้นเมื่อ 26 June 2014.
  22. "Takashi-uchiyama". ไนกี้. สืบค้นเมื่อ 9 May 2015.
  23. "Stephan El Shaarawy Wears the Nike GS2". Football Boots. สืบค้นเมื่อ 26 November 2012. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  24. "Nike GS2 Football Boots". FootballBoots.co.uk. สืบค้นเมื่อ 26 November 2012. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น