ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคเรวะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขเล็กน้อย
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 15: บรรทัด 15:
! เรวะ|| 1 || 2 || 3 || 4 || 5 || 6 || 7 || 8 || 9 || 10
! เรวะ|| 1 || 2 || 3 || 4 || 5 || 6 || 7 || 8 || 9 || 10
|-
|-
|[[คริสต์ศักราช|ค.ศ.]]|| 2019 || 2020 || 2021 || 2022 || 2023 || 2024 || 2025 || 2026 || 2027 || 2028
|[[คริสต์ศักราช|ค.ศ.]]|| '''2019''' || 2020 || 2021 || 2022 || 2023 || 2024 || 2025 || 2026 || 2027 || 2028
|-
|-
|[[พุทธศักราช|พ.ศ.]]|| 2562 || 2563 || 2564 || 2565 || 2566 || 2567 || 2568 || 2569 || 2570 || 2571
|[[พุทธศักราช|พ.ศ.]]|| '''2562''' || 2563 || 2564 || 2565 || 2566 || 2567 || 2568 || 2569 || 2570 || 2571
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:07, 30 เมษายน 2562

นายโยชิฮิเดะ ซูงะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำลังแสดงนามรัชศกใหม่ต่อสื่อมวลชน

ยุคเรวะ (ญี่ปุ่น: 令和時代โรมาจิReiwa jidai)[1] เป็นศักราชของญี่ปุ่นยุคต่อไป โดยรัชศกเรวะจะเริ่มต้นในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019[2] โดยเริ่มนับจากวันที่สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ พระราชโอรสของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิลำดับที่ 126 ในวันหลังสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะสละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 เมษายน ซึ่งถือเป็นวันสิ้นสุดของยุคเฮเซ[3] โดยนามรัชศกเรวะได้มีการประกาศเผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2019 โดยนาย โยชิฮิเดะ ซูงะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เป็นผู้ประกาศนามรัชศกในครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศรัชสมัยใหม่ เรวะ เพื่อต้อนรับรัชสมัยของสมเด็จจักรพรรดิพระองค์ใหม่ โดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จจักรพรรดิพระองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นการสิ้นสุดของยุครัชสมัย เฮเซ ที่มีระยะเวลายาวนานกว่า 30 ปีอีกด้วย[4]

โยชิฮิเดะ ซูงะ เลขาธิการรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้อธิบายถึงชื่อของรัชสมัยใหม่ โดยคำว่า “เร” หมายถึง ความรุ่งเรืองหรือคำสั่ง ส่วนคำว่า “วะ” หมายถึง สันติภาพหรือความสามัคคี[5]

นอกจากนี้การตั้งชื่อรัชสมัยยังเป็นครั้งแรกที่นำตัวอักษรจากกวีโบราณของญี่ปุ่น มารวมกับอักษรคันจิยุคจีนโบราณ โดยในการตั้งชื่อรัชสมัยในครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ถึง 9 คน[6] ค้นหาชื่อที่เหมาะสม นอกจากนี้ถ้าหากมีชื่อรัชสมัยใดเล็ดลอดออกมาก็จะยกเลิกชื่อนั้นและหาชื่อใหม่ ก่อนที่จะประกาศอย่างเป็นทางการ โดยก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่ารัชสมัยใหม่จะใช้คำว่า “อังคิว” ที่แปลว่า สันติสุขและความยั่งยืน[7]

ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ได้กล่าวถึงการตั้งชื่อรัชสมัยใหม่ว่า “เป็นการแสดงถึงวัฒนธรรมที่ลึกซึ้งของชาวญี่ปุ่น แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะพบกับจุดเปลี่ยนของประเทศครั้งใหญ่ (สื่อถึงความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง) แต่คุณค่าและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นจะไม่จางหายไปไหน” ซึ่งประเพณีการตั้งชื่อรัชสมัยนี้ยังมีมานานถึง 1,300 ปีอีกด้วย[8]

ตารางเทียบศักราช

เรวะ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
ค.ศ. 2019 2020 2021 2022 2023 2024 2025 2026 2027 2028
พ.ศ. 2562 2563 2564 2565 2566 2567 2568 2569 2570 2571

อ้างอิง

  1. "新元号「令和(れいわ)」 出典は万葉集" (ภาษาJapanese). 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  2. McCurry, Justin (2019-04-01). "Reiwa: Japan prepares to enter new era of 'fortunate harmony'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
  3. "New Japanese imperial era Reiwa takes name from ancient poetry". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-01.
  4. "สำคัญไฉนรัชสมัยจักรพรรดิญี่ปุ่น". สยามรัฐ. 2019-04-03. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
  5. "ญี่ปุ่นประกาศชื่อรัชศก 'เรวะ' เริ่มรัชสมัยใหม่เดือนหน้า". ไทยโพสต์. 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
  6. "'Reiwa' รัชศกใหม่แทนปีเฮเซของญี่ปุ่น". โพสต์ทูเดย์. 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
  7. "ญี่ปุ่นประกาศชื่อรัชสมัย เรวะ รับพระจักรพรรดิองค์ใหม่". ข่าวสด. 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
  8. "ญี่ปุ่นประกาศยุครัชสมัยใหม่ "เรวะ" รับสมเด็จจักรพรรดิพระองค์ใหม่". BrandInside. 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.


ก่อนหน้า ยุคเรวะ ถัดไป
เฮเซ ศักราชของญี่ปุ่น
(1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 –)