ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซุนนี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 74: บรรทัด 74:


== สำนักหรือทัศนะเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา) ==
== สำนักหรือทัศนะเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา) ==
อะฮลิสซุนนะฮฺเชื่อและศรัทธาว่า พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงมีคุณลักษณะ (ศิฟาต) และพระนาม (อัสมาอฺ) จริงๆ ตามมที่มีระบุในอัล-กุรอานและบรรดาหะดีษที่เศาะฮีหฺ อันเป็นคุณลักษณะ (ศิฟาต) ตามที่พระองค์ทรงระบุไว้แก่พระองค์เอง และตามที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้ระบุคุณลักษณะนั้นๆ แก่พระองค์โดยไม่มีวิธีการ (بَلَاكَيْف) หรือการอธิบายว่าเป็นอย่างไร? (بِلَاتَكْيِيْف) หรือการเปรียบว่าเหมือน (بِلَاتَمْثِيْل) หรือการเทียบว่าคล้าย (بِلَاتَشْبِيْهٍ) หรือการตีความเป็นอื่น (بِلَاتَأْوِيْل) หรือการบิดเบือน (بِلَاتَحْرِيْفٍ) หรือการปฏิเสธคุณลักษณะนั้นว่าพระองค์ปลอดจากการมีคุณลักษระ (بِلَاتَعْطِيْلٍ) พร้อมกับปักใจว่าคุณลักษณะของพระองค์ไม่มีสิ่งใดเหมือน ไม่เหมือนสิ่งใด


เรายืนยันคุณลักษณะ (ศิฟาต) นั้นว่าเป็นคุณลักษระ (ศิฟะฮฺ) จริงๆ ของพระองค์ตามที่พระองค์ทรงระบุคุณลักษณะนั้นแก่พระองค์เอง และตามที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ระบุคุณลักษณะนั้นแก่พระองค์ เมื่อพระองค์และนบีของพระองค์ระบุว่า พระองค์ทรงมีพระหัตถ์ และพระองค์ทรงมีพระพักต์ เป็นต้น เราก็ยืนยันตามที่พระองค์และนบีของพระองค์ระบุ พระหัตถ์และพระพักตร์ของพระองค์เป็นคุณลักษณะจริงๆ ของพระองค์ ความหมายของคำว่า “พระหัตถ์” (اليد) และคำว่า พระพักตร์” (الوَجه) ตามมูลภาษาแปลได้เพียงแค่นั้น แต่ความจริงแท้ของความหมาย (หะกีเกาะฮฺ อัล-มุอฺนา อัล-มุรอด) ของคำที่บ่งคุณลักษณะนั้นไม่มีผู้ใดรู้นอกจากพระองค์


เพราะคำว่า พระหัตถ์และพระพักตร์ของพระองค์เป็นคุณลักษณะ (ศิฟะฮฺ) ไม่ใช่ความหมายตามมูลภาษาที่หมายถึงอวัยวะหรือส่วนประกอบ เมื่อพระพักตร์และพระหัตถ์ของพระองค์เป็นคุณลักษณะ (ศิฟะฮฺ) ของพระองค์ที่ไม่ใช่อวัยวะตามมูลภาษา แต่เป็นคุณลักษณะที่ไม่มีสิ่งใดเหมือนไม่เหมือนสิ่งใด เราก็เชื่อและยืนยันว่าพระองค์ทรงมีคุณลักษณะตามนั้นคือ พระองค์ทรงมี พระพักต์และพระหัตถ์เป็นคุณลักษณะจริงตามที่พระองค์และนบีของพระองค์ระบุไว้ในอัล-กุรอาน และหะดีษที่เศาะฮีหฺ


มิใช่เชื่อตามความหมายจริงตามรากศัพท์ของคำ (มะอฺนา หะกีกียฺ) เฉยๆ แต่เชื่อตามที่พระองค์และนบีของพระองค์บอกถึงคุณลักษณะนั้นหรือเชื่อตามที่พระองค์และนบีของพระองค์มีประสงค์ต่อความหมายนั้นควบคู่กับการปฏิเสธความเหมือน ความคล้าย วิธีการ และการอธิบายในเชิงตีความ พร้อมกับมอบหมาย (ตัฟวีฏ) ความรู้เกี่ยวกับหะกีเกาะฮฺ (ความจริงแท้) แห่งคุณลักษณะ (ศะฟะฮฺ) นั้นไปยังความรู้ของพระองค์ นี่คือความเชื่อในเรื่องการยืนยันคุณลักษณะ (إثْبَاتُ الصِّفَات) ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ควบคู่กับการปฏิเสธความเหมือน (نَفْيُ التَّشْبِيْه)ตามแนวทางของสลัฟศอลิหฺที่นักวิชาการอธิบายไว้
นอกจากนี้ยังมีสำนักเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา) อีกหลายสำนัก ที่สำคัญได้แก่ 4 สำนักคือ
นอกจากนี้ยังมีสำนักเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา) อีกหลายสำนัก ที่สำคัญได้แก่ 4 สำนักคือ



รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:32, 27 เมษายน 2562

ซุนนี (อาหรับ: سُنِّي)หรืออะฮฺลิสซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ คือนิกายในศาสนาอิสลาม มีชื่อเต็มในภาษาอาหรับว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วะอัลญะมาอะฮ์ (อาหรับ: أهل السنة والجماعة, นิยมอ่านว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์) เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดในอิสลาม แบ่งเป็นสำนักหรือมัซฮับย่อย ๆ ออกเป็นหลายมัซฮับ แต่ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 4 มัซฮับ คือมัซฮับอิมามฮานาฟี,มัซฮับอิมามชาฟีอีย์,มัซฮับอิมามฮัมบาลี,มัซฮับอิมามมาลีกีย์ (รอฮิมาฮุ้ลลอฮ)

ที่มาของคำ

คำว่า ซุนนี มาจาก อัสซุนนะฮ์ (السنة) แปลว่า คำพูดและการกระทำหรือแบบอย่างของศาสดามุฮัมมัด (ศ) คำว่า "ญะมาอะฮ์" คือ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ผู้ที่บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมาคือ อะฮ์มัด บินฮันบัล (ฮ.ศ. 164-241 / ค.ศ. 780-855)

คำว่า อัสซุนนะฮ์ เป็นคำที่นบีมุฮัมมัดมักจะใช้บ่อยครั้งในคำสั่งสอนของท่าน เช่น ในฮะดีษศอฮีฮ์ฟิกฮ์ที่บันทึกโดยอิมามอะฮ์มัด, อัตติรมีซี, อะบูดาวูด และอิบนุมาญะฮ์ ซึ่งท่านนบีได้กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลายจงยึดมั่นใน "แนวทางของฉัน" (سُنَّتِي) และแนวทางของผู้นำที่อยู่ในแนวทางอันเที่ยงธรรมของฉัน (อัลคุละฟาอ์อัรรอชิดูน) ที่จะมาหลังฉัน จงเคร่งครัดในการยึดมั่นบนแนวทางนั้น จงกัดมันด้วยฟันกราม (คืออย่าละทิ้งเป็นอันขาด) และจงหลีกให้พ้นจากอุตริกรรมในกิจการของศาสนา เพราะทุกอุตริกรรมในกิจการศาสนานั้นเป็นการหลงผิด” [1]

อะฮ์ลุสซุนนะฮ์ วะ อัลญะมาอะฮ์ (أَهْلُ السُّنَّةِ وَالْجَمَاعَةِ) ก็คือ ผู้ที่ยึดมั่นในซุนนะฮ์ (แนวทางของท่านนบีมุฮัมมัด) และยึดมั่นในสิ่งที่บรรดากลุ่มชนมุสลิมรุ่นแรกยึดมั่น (บุคคลเหล่านั้นคือบรรดาศ่อฮาบะหฟิกฮ์และบรรดาตาบิอีน) และพวกเขารวมตัวกัน (เป็นญะมาอะฮ์) บนพื้นฐานของซุนนะฮ์ ซึ่งชนกลุ่มนี้อัลลอฮ์ได้กล่าวถึงความประเสริฐของพวกเขาไว้ว่า บรรดาบรรพชนรุ่นแรกในหมู่ผู้อพยพ (ชาวมุฮาญิรีนจากนครมักกะฮ์) และในหมู่ผู้ให้ความช่วยเหลือ (ชาวอันศอรจากนครมะดีนะฮ์) และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น อัลลอฮ์ทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งสวนสวรรค์อันหลากหลายที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านเบื้องล่าง พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง (ซูเราะหฟิกฮ์อัตเตาบะหฟิกฮ์ : 100) [2] คำว่า อัส-สุนนะฮฺ มีความหมายตามรากศัพท์ว่าแนวทาง ส่วนความหมายตามอิศฏิลาฮียฺ หมายถึง แนวทางของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ทั้งที่เป็นคำพูด การกระทำ และการรับรองของท่าน

ส่วนคำว่า อัล-ญะมาอะฮฺ หมายถึง หมู่คณะหรือกลุ่มชน อันหมายถึงบรรดาศ่อฮาบะฮฺและชนในยุคสะลัฟที่ดำเนินตามแนวทางของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ดังมีปรากฏในอัล-ฮะดีษว่า (مَاأَنَاعَلَيْهِ وَأَصْحَابِيْ) “สิ่งซึ่งฉัน (นบี) และเหล่าศ่อฮาบะฮฺของฉันดำรงอยู่บนสิ่งนั้น”

คำ 2 คำนี้คือคำว่า อัส-สุนนะฮฺ กับ อัล-ญะมาอะฮฺ เวลากล่าวแยกกันโดดๆ ก็จะมีนัยและความหมายรวมถึงคำอีกคำหนึ่ง แต่ถ้านำมากล่าวรวมกันก็จะมีนัยและความหมายโดยเฉพาะ เรียกว่า เมื่อรวมกันก็จะแยก เมื่อแยกกันก็จะรวม ผู้ที่ดำเนินตามแนวทางของท่านนบี เรียกว่า อะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ โดยเรียกสั้นๆว่า อะฮฺลุสสุนนะฮฺ ก็ได้ หรือ อะฮฺลุ้ลญะมาอะฮฺก็ได้ หรือจะเรียกยาวอย่างที่ว่ามาก็ได้ คือ กลุ่มชนเดียวกัน


ส่วนคณะใหม่กับคณะเก่านั้นไม่มีนิยามตามหลักวิชาการระบุเอาไว้และไม่มีหลักฐานให้เรายึดคณะหนึ่งคณะใดไม่ว่าจะเป็นคณะเก่าหรือคณะใหม่ เป็นเพียงชื่อเรียกที่เป็นผลมาจากความขัดแย้งในทัศนะความเห็นของมุสลิมในภูมิภาคนี้ซึ่งหมายถึงชาวมลายูโดยส่วนใหญ่ เรียกกลุ่มที่ยึดแนวทางในมัสฮับ อัช-ชาฟิอีย์ว่า โกมตุวอ คือ กลุ่มหัวเก่าหรือคณะเก่า และเรียกพวกที่ไม่ยึดมัสฮับเป็นหลักว่าพวกโกมมุดอ คือ คณะใหม่


ซึ่งทั้งสองกลุ่มก็ถือเป็นอะฮฺลิสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้นคำว่าคณะใหม่ คณะเก่าจึงเป็นเพียงการเรียกขานคนที่มีความเห็นและการปฏิบัติในข้อปลีกย่อยไม่เหมือนกันตามประสาคนที่ชอบแบ่งพรรคแบ่งพวกหรือตะอัศศุบนั่นเอง

มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมร์ อิบนิ อัล-อาศ (ร.ฎ.) ว่า : ท่านรสูลุล ลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวขณะที่ท่านถูกถามถึงกลุ่มที่รอดพ้น (อัล-ฟิรฺเกาะฮฺ อัน-นาญิยะฮฺ) ว่าคือผู้ใด? ท่านกล่าวว่า :

مَاأَنَاعَلَيْهِ وَأَصْحَابِيْ

“คือสิ่งที่ฉันและบรรดาสหายของฉัน (สาวก) ดำรงอยู่บนสิ่งนั้น”

(อัต-ติรฺมิซียฺ : 2643)

ในสายรายงานของหะดีษบทนี้ มีอับดุลเราะหฺมาน อิบนุ ซิยาด อัล-อัฟรีกียฺ ซึ่ง อิมามอัซ-ซะฮะบียฺ (ร.ฮ.ป ระบุว่า บรรดานักวิชาการหะดีษถือว่าเขาผู้นี้อ่อน (เฎาะอีฟ) (ฟัยฎุลเกาะดีร ; อัล-มินาวียฺ 5/347)


อิมามอัช-ชาฏิบียฺ (ร.ฮ.) กล่าวถึงนัยของหะดีษบทนี้ว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ตอบว่า กลุ่มที่รอดพ้น (ฟิรฺเกาะฮฺ นาญิยะฮฺ) คือบุคคลที่มีคุณลักษณะด้วยบรรดาคุณลักษณะของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) และบรรดาคุณลักษณะของเหล่าเศาะหาบะฮฺของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) สิ่งดังกล่าวเป็นที่รับรู้ในหมู่พวกเขาโดยไม่มีสิ่งใดซ่อนเร้น..


โดยสรุปก็คือ บรรดาเศาะหาบะฮฺคือบรรดาผู้ดำเนินตามท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้รับทางนำด้วยทางนำของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) มีการสรรเสริญชื่นชมเหล่าเศาะหาบะฮฺในอัล-กุรอาน และท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ก็ชื่นชมเหล่าเศาะหาบะฮฺ และอันที่จริงมารยาทของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) นั้นคือ อัล-กุรอาน ดังนั้นอัล-กุรอานคือสิ่งที่ถูกปฏิบัติตามโดยข้อเท็จจริง และ สุนนะฮฺก็มาอธิบายอัล-กุรอาน ผู้ที่ตามสุนนะฮฺก็คือผู้ที่ตามอัล-กุรอาน และบรรดาเศาะหาบะฮฺ คือกลุ่มชนที่สมควรที่สุดด้วยสิ่งนั้น ดังนั้นทุกคนที่ดำเนินตามเหล่าเศาะหาบะฮฺก็คือผู้หนึ่งจากกลุ่มที่รอดพ้น..” (อัล-อิอฺติศอม 2/252)


ในบางส่วนของหะดีษเรื่องนี้ระบุว่า กลุ่มชนที่รอดพ้นคือ อัล-ญะมาอะฮฺ ซึ่งอิมามอัช-ชาฏิบียฺ (ร.ฮ.) ระบุว่า มีทัศนะ 5 ทัศนะที่อธิบายคำว่า อัล-ญะมาอะฮฺคือ

1.มหาชนจากชาวอิสลาม

2.กลุ่มของบรรดาอิมามมุจญ์ตะฮิด

3.เศาะหาบะฮฺโดยเฉพาะ

4.กลุ่มชาวอิสลามที่ตรงกันข้ามกลุ่มลัทธิและศาสนาอื่น

5.กลุ่มประชาคมมุสลิมที่รวมตัวกันตามผู้นำ (อิมาม) ที่ปฏิบัติสอดคล้องกับคัมภีร์อัล-กุรอานและสุนนะฮฺ (อัล-อิอฺติศอม 2/260 โดยสรุป)


บรรดาทัศนะเหล่านี้มิอาจจำกัดว่าเป็นชนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะ เพราะอัล-ญะมาอะฮฺมิใช่จำนวนของผู้คนที่ถูกจำกัดเอาไว้ แต่เป็นองค์รวมของคุณลักษณะที่ผู้ใดมีคุณลักษณะดังกล่าวก็ถือว่าผู้นั้นเป็นส่วนหนึ่งจากประชาคมมุสลิม (เราะสาอิล อัล-อิคออฺ ; นาดิรฺ อัน-นูรียฺ หน้า 50)


อิมามอัน-นะวาวียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : อนุญาตในการที่กลุ่มชนซึ่งได้รับการช่วยเหลือจะเป็นกลุ่มชนที่หลากหลายจากชนิดต่างๆ ของผู้ศรัทธา ซึ่งมีทั้งผู้กล้าหาญ และผู้ที่มีความรอบรู้ในการทำสงคราม นักวิชาการฟิกฮฺ นักหะดีษ นักตัฟสีรฺ ผู้ที่ดำรงตนด้วยการสั่งใช้ให้กระทำความดีและห้ามปรามจากความชั่ว ผู้มีความสมถะและนักทำอิบาดะฮฺ ไม่จำเป็นว่าพวกเขาต้องรวมตัวกันอยู่ในดินแดนเดียว แต่เป็นไปได้ในการพวกเขาจะรวมตัวอยู่ในดินแดนเดียวหรือกระจายกันอยู่ในดินแดนต่างๆ ของโลก เป็นไปได้ที่พวกเขาจะรวมตัวอยู่ในเมืองๆ เดียว โดยอยู่ในบางส่วนของเมืองโดยที่บางส่วนของเมืองไม่มีพวกเขาอยู่ และเป็นไปได้ว่าโลกจะปลอดจากบางส่วนของกลุ่มชนนี้เป็นลำดับจวบจนกระทั่งไม่เหลืออยู่นอกจากกลุ่มชนเดียวในดินแดนเดียว เมื่อพวกเขาไม่เหลืออยู่อีก ลิขิตของอัลลอฮฺก็มาถึง...” (ฟัตหุลบารียฺ 13/295)


ดร.มุฮัมมัด อับดุลกอดิรฺ อบูฟาริส กล่าวว่า : “ชนกลุ่มที่รอดพ้น (ฟิรฺเกาะฮฺ นาญิยะฮฺ) ซึ่งท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) บอกเอาไว้คือกลุ่มชนที่ยึดมั่นในศาสนาอิสลามซึ่งถูกประมวลไว้ในกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺของท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ตลอดจนอิจญ์มาอฺของเหล่าเศาะหาบะฮฺและสิ่งที่แตกแขนงเป็นข้อปลีกย่อมมาจากสิ่งดังกล่าว และกลุ่มที่รอดพ้นนี้ คืออะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ


ดังนั้นผู้ใดจากชาวมุสลิมที่เสียชีวิตบนการให้เอกภาพ (เตาหีด) ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นพวกอิควาน อัล-มุสลิมีน หรือกลุ่มอัต-ตับลีฆหรือกลุ่มศูฟียฺหรืออลุ่มอัส-สะละฟียฺ หรือพรรคอิสลามเพื่อการปลดแอกหรืออื่นจากพวกเขา ทั้งปัจเจกบุคคลและกลุ่มคณะบุคคล ผู้นั้นเป็นส่วนหนึ่งจากกลุ่มชนที่รอดพ้น...” (ฟะตาวา ชัรฺอียะฮฺ ; ดร.มุฮัมมัด อับดุลกอดิรฺ อบูฟาริส เล่มที่ 2 หน้า 857-858)

สำนักหรือทัศนะนิติศาสตร์อิสลาม

ชะรีอะฮ์ (شريعة) หรือนิติบัญญัติอิสลามตามทัศนะของซุนนีนั้น มีพื้นฐานมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ (อิจย์มาอ์) มติฉันท์ของเหล่าผู้รู้ และกิยาส (การเปรียบเทียบกับบทบัญญัติที่มีอยู่แล้ว) นิกายซุนนีมีในอดีตมี 17 สำนัก แต่ได้สูญหายไปกับกาลเวลา ในปัจจุบันนิกายซุนนีมี 4 สำนัก ที่เป็นสำนักเกี่ยวกับฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) ได้แก่

  1. ฮะนะฟี (ทัศนะของอะบูฮะนีฟะหฟิกฮ์ นุอฟิกฮ์มาน บินษาบิต) -
  2. มาลีกี (ทัศนะของมาลิก บินอะนัส)
  3. ชาฟีอี (ทัศนะของมุฮัมมัดมัด บินอิดริส อัชชาฟิอีย์) - ผู้ที่ยึดถือทัศนะนี้คือ คนส่วนใหญ่ในไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
  4. ฮันบะลี (ทัศนะของท่านอะฮ์มัด บินฮันบัล)

ปัจจุบันมีอีกกลุ่มที่สำคัญคือ กลุ่มที่ไม่ได้ยึดถือหรือสังกัดตนอยู่ใน 4 กลุ่มข้างต้น แต่การวินิจฉัยหลักการศาสนาจะใช้วิธีศึกษาทัศนะของทั้ง 4 กลุ่มแล้ววิเคราะห์ดูว่าทัศนะใดที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากที่สุด โดยยึดอัลกุรอานและซุนนะฮฟิกฮ์เป็นธรรมนูญสำคัญในการวินิจฉัยเรื่องต่าง ๆ ในศาสนา

สำนักหรือทัศนะเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา)

อะฮลิสซุนนะฮฺเชื่อและศรัทธาว่า พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงมีคุณลักษณะ (ศิฟาต) และพระนาม (อัสมาอฺ) จริงๆ ตามมที่มีระบุในอัล-กุรอานและบรรดาหะดีษที่เศาะฮีหฺ อันเป็นคุณลักษณะ (ศิฟาต) ตามที่พระองค์ทรงระบุไว้แก่พระองค์เอง และตามที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้ระบุคุณลักษณะนั้นๆ แก่พระองค์โดยไม่มีวิธีการ (بَلَاكَيْف) หรือการอธิบายว่าเป็นอย่างไร? (بِلَاتَكْيِيْف) หรือการเปรียบว่าเหมือน (بِلَاتَمْثِيْل) หรือการเทียบว่าคล้าย (بِلَاتَشْبِيْهٍ) หรือการตีความเป็นอื่น (بِلَاتَأْوِيْل) หรือการบิดเบือน (بِلَاتَحْرِيْفٍ) หรือการปฏิเสธคุณลักษณะนั้นว่าพระองค์ปลอดจากการมีคุณลักษระ (بِلَاتَعْطِيْلٍ) พร้อมกับปักใจว่าคุณลักษณะของพระองค์ไม่มีสิ่งใดเหมือน ไม่เหมือนสิ่งใด


เรายืนยันคุณลักษณะ (ศิฟาต) นั้นว่าเป็นคุณลักษระ (ศิฟะฮฺ) จริงๆ ของพระองค์ตามที่พระองค์ทรงระบุคุณลักษณะนั้นแก่พระองค์เอง และตามที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ระบุคุณลักษณะนั้นแก่พระองค์ เมื่อพระองค์และนบีของพระองค์ระบุว่า พระองค์ทรงมีพระหัตถ์ และพระองค์ทรงมีพระพักต์ เป็นต้น เราก็ยืนยันตามที่พระองค์และนบีของพระองค์ระบุ พระหัตถ์และพระพักตร์ของพระองค์เป็นคุณลักษณะจริงๆ ของพระองค์ ความหมายของคำว่า “พระหัตถ์” (اليد) และคำว่า พระพักตร์” (الوَجه) ตามมูลภาษาแปลได้เพียงแค่นั้น แต่ความจริงแท้ของความหมาย (หะกีเกาะฮฺ อัล-มุอฺนา อัล-มุรอด) ของคำที่บ่งคุณลักษณะนั้นไม่มีผู้ใดรู้นอกจากพระองค์


เพราะคำว่า พระหัตถ์และพระพักตร์ของพระองค์เป็นคุณลักษณะ (ศิฟะฮฺ) ไม่ใช่ความหมายตามมูลภาษาที่หมายถึงอวัยวะหรือส่วนประกอบ เมื่อพระพักตร์และพระหัตถ์ของพระองค์เป็นคุณลักษณะ (ศิฟะฮฺ) ของพระองค์ที่ไม่ใช่อวัยวะตามมูลภาษา แต่เป็นคุณลักษณะที่ไม่มีสิ่งใดเหมือนไม่เหมือนสิ่งใด เราก็เชื่อและยืนยันว่าพระองค์ทรงมีคุณลักษณะตามนั้นคือ พระองค์ทรงมี พระพักต์และพระหัตถ์เป็นคุณลักษณะจริงตามที่พระองค์และนบีของพระองค์ระบุไว้ในอัล-กุรอาน และหะดีษที่เศาะฮีหฺ


มิใช่เชื่อตามความหมายจริงตามรากศัพท์ของคำ (มะอฺนา หะกีกียฺ) เฉยๆ แต่เชื่อตามที่พระองค์และนบีของพระองค์บอกถึงคุณลักษณะนั้นหรือเชื่อตามที่พระองค์และนบีของพระองค์มีประสงค์ต่อความหมายนั้นควบคู่กับการปฏิเสธความเหมือน ความคล้าย วิธีการ และการอธิบายในเชิงตีความ พร้อมกับมอบหมาย (ตัฟวีฏ) ความรู้เกี่ยวกับหะกีเกาะฮฺ (ความจริงแท้) แห่งคุณลักษณะ (ศะฟะฮฺ) นั้นไปยังความรู้ของพระองค์ นี่คือความเชื่อในเรื่องการยืนยันคุณลักษณะ (إثْبَاتُ الصِّفَات) ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ควบคู่กับการปฏิเสธความเหมือน (نَفْيُ التَّشْبِيْه)ตามแนวทางของสลัฟศอลิหฺที่นักวิชาการอธิบายไว้ นอกจากนี้ยังมีสำนักเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา) อีกหลายสำนัก ที่สำคัญได้แก่ 4 สำนักคือ

  1. สำนักมุอ์ตะซิละฮ์ (معتزلة) จัดตั้งขึ้นโดยวาศิล บินอะฏออ์ (ค.ศ. 699-749) ศิษย์ที่มีความคิดแตกต่างจากฮะซัน อัลบัศรี (ค.ศ. 642-728) ผู้เป็นอาจารย์
  2. สำนักอัชอะรี มาจากแนวคิดของอะบุลฮะซัน อัลอัชชะรี (ค.ศ. 873-935) แต่ผู้ที่พัฒนาแนวคิดนี้ คือ อัลฆอซาลี นักวิชาการศาสนาและปรมาจารย์ศูฟีย์
  3. สำนักมาตุรีดี เป็นทัศนะของอะบูมันศูร อัลมาตุรีดี (มรณะ ค.ศ. 944) ในตอนแรกเป็นสำนักปรัชญาของชนกลุ่มน้อย ต่อมาเมื่อเป็นที่ยอมรับของเผ่พันธุ์เติร์ก และพวกออตโตมานมีอำนาจ ก็ได้ทำให้สำนักนี้แพร่หลายในเอเชียกลาง
  4. สำนักอะษะรี เป็นทัศนะของอะฮ์มัด บินฮันบัล ผู้เป็นเจ้าสำนักฟิกฮ์ดังกล่าวมาแล้ว

หากมุอฟิกฮ์ตะซิละหฟิกฮ์แยกตัวออกจากสำนักของฮะซัน อัลบัศรี ย่อมแสดงว่าก่อนหน้านั้นต้องมีสำนักปรัชญามาก่อนแล้ว ฮะซัน อัลบัศรี เองก็มีแนวคิดของตนเช่นกัน นั่นก็เพราะ ฮะซัน อัลบัศรี เป็นปรมาจารย์ของสำนักศูฟีที่ภายหลังแตกขยายเป็นหลายสาย

ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ระหว่างปี ค.ศ. 661 ถึงปี ค.ศ. 750 ผู้คงแก่เรียนอิสลามเน้นการศึกษาที่เกี่ยวกับอัลกุรอาน แต่ราชวงศ์อับบาซียะฮ์ที่ตามมาสนับสนุนการศึกษาของกรีกและมนุษย์วิทยาตามแนวคิดของตระกูลปรัชญามุอ์ตะซีลี (Mu'tazili) ของอิสลาม ตระกูลความคิดนี้ก่อตั้งขึ้นในบาสราโดยวะศีล อิบุน อะฏอ (واصل بن عطاء‎ - Wasil ibn Ata) (ค.ศ. 700–ค.ศ. 748) ที่อยู่บนพื้นฐานที่ว่าอัลกุรอานมาจากอัลลอฮ์และอัลลอฮฺมีพระประสงค์อย่างเดียวคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์ ปรัชญานี้ไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยตระกูลปรัชญาอัชชาริยยะห์ (الأشاعرة - Ash'ariyyah) และ อาษาริยยะห์ (Athariyyah) ซึ่งเป็นตระกูลปรัชญาของซุนนีย์

ดังนั้น “ประตูแห่งอิญฏีหะ” (Gates of Ijtihad (اجتهاد) ) จึงเปิดขึ้นที่ทำให้เกิดการโต้แย้งกันภายในแวดวงระหว่างความคิดของปรัชญาตระกูลต่างๆ ของอิสลาม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น