ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลู่ เฮาตง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dr. Hud (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
| name = ลู่ เฮาตง
| name = ลู่ เฮาตง
| post-nominals =
| post-nominals =
| image = 陸皓東幼年照.jpg
| image = Lu_Hao-tung.jpg
| image_upright =
| image_upright =
| alt = <!-- descriptive text for use by speech synthesis (text-to-speech) software -->
| alt = <!-- descriptive text for use by speech synthesis (text-to-speech) software -->
บรรทัด 87: บรรทัด 87:


==ประวัติ==
==ประวัติ==
[[ไฟล์:ลู่ เฮาตง ยุคราชวงศ์ชิง.jpg|thumb|200px|left|ลู่ เฮาตง ก่อนการปฏิวัติแต่งกายไว้หางเปียแบบ[[ชาวแมนจู]] สมัยนิยมของ[[ราชวงศ์ชิง]]|link=Special:FilePath/ลู่_เฮาตง_ยุคราชวงศ์ชิง.jpg]]
[[ไฟล์:陸皓東幼年照.jpg|thumb|200px|left|ลู่ เฮาตง ก่อนการปฏิวัติแต่งกายไว้หางเปียแบบ[[ชาวแมนจู]] สมัยนิยมของ[[ราชวงศ์ชิง]]|link=Special:FilePath/ลู่_เฮาตง_ยุคราชวงศ์ชิง.jpg]]


[[ไฟล์:ลู่ เฮาตง.jpg|thumb|250px|right|ลู่ เฮาตงขณะเสนอรูปแบบ "ธงท้องฟ้าสีคราม ดวงตะวันสาดส่อง" ให้แก่ที่ประชุมสมาชิกซิงจงฮุ่ย|link=Special:FilePath/ลู่_เฮาตง.jpg]]
[[ไฟล์:ลู่ เฮาตง.jpg|thumb|250px|right|ลู่ เฮาตงขณะเสนอรูปแบบ "ธงท้องฟ้าสีคราม ดวงตะวันสาดส่อง" ให้แก่ที่ประชุมสมาชิกซิงจงฮุ่ย|link=Special:FilePath/ลู่_เฮาตง.jpg]]
บรรทัด 104: บรรทัด 104:


หลังการลู่ เฮาตงถูกประหารชีวิต เขาได้เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในการที่เป็นผู้ออกแบบ "[[ธงชาติสาธารณรัฐจีน|ธงท้องฟ้าสีครามกับดวงตะวันสาดส่อง]]" [[พรรคก๊กมินตั๋ง]]ซึ่งเป็นพรรคที่สืบทอดมาจากสมาคมปฏิวัติซิงจงฮุ่ยได้นำสัญลักษณ์ของธงมาเป็นธงประจำพรรคและสัญลักษณ์ของพรรค อีกทั้งยังเป็นธงชาติของ[[สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)|สาธารณรัฐจีนที่สมัยปกครองแผ่นดินใหญ่]]และ[[สาธารณรัฐจีน|สมัยที่อยู่ที่เกาะไต้หวันในปัจจุบัน]]
หลังการลู่ เฮาตงถูกประหารชีวิต เขาได้เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในการที่เป็นผู้ออกแบบ "[[ธงชาติสาธารณรัฐจีน|ธงท้องฟ้าสีครามกับดวงตะวันสาดส่อง]]" [[พรรคก๊กมินตั๋ง]]ซึ่งเป็นพรรคที่สืบทอดมาจากสมาคมปฏิวัติซิงจงฮุ่ยได้นำสัญลักษณ์ของธงมาเป็นธงประจำพรรคและสัญลักษณ์ของพรรค อีกทั้งยังเป็นธงชาติของ[[สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)|สาธารณรัฐจีนที่สมัยปกครองแผ่นดินใหญ่]]และ[[สาธารณรัฐจีน|สมัยที่อยู่ที่เกาะไต้หวันในปัจจุบัน]]
==อนุสรณ์สถานรำลึก==
<gallery>
Image:Lu Hao-tung Archway.JPG|ประตูทางเข้าของสุสานลู่ เฮาตง
Image:陸皓東烈士墳場牌坊.JPG|ประตูทางเข้าสุสาน
Image:陸皓東墳場.JPG|ป้ายอนุสรณ์สถาน
Image:陆皓东像.JPG|รูปปั้นของลู่ เฮาตง
Image:陸皓東烈士紀念墳場碑記.jpg|ป้ายรำลึกประวัติคุณงามความดีของลู่ เฮาตงที่อุทิศตนเพื่อการปฏิวัติและสาธารณรัฐ
</gallery>
อนุสรณ์สถานรำลึกลู่ เฮาตงหรือสุสานลู่ เฮาตง ตั้งอยู่ที่ภูเขาลี่โตว หมู่บ้านกุยเหิง เมืองจงซาน [[มณฑลกวางตุ้ง]] เป็นอนุสรณ์สถานรำลึกความเสียสละของลู่ เฮาตง อนุสรณ์สถานดังกล่าวได้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1937 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ได้รวมอยู่ในหน่วยพิทักษ์โบราณวัตถุวัฒนธรรมมณฑลกวางตุ้ง


==การปรากฏในสื่อภาพยนตร์==
==การปรากฏในสื่อภาพยนตร์==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:20, 23 เมษายน 2562

ลู่ เฮาตง
陸皓東
ลู่ เฮาตงในช่วงการปฏิวัติ
เกิด30 กันยายน ค.ศ. 1868(1868-09-30)
เซี่ยงไฮ้, ราชวงศ์ชิง
เสียชีวิต7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1895(1895-11-07) (27 ปี)
เขตหนานไฮ่, ฝอซาน, กวางตุ้ง, ราชวงศ์ชิง
สาเหตุเสียชีวิตประหารชีวิตโดยการตัดหัว
พรรคการเมือง ซิงจงฮุ่ย
ขบวนการ สมาคมซิงจงฮุ่ย
สถานะทางคดีกบฏต่อราชสำนักชิง
ลู่ เฮาตง
อักษรจีนตัวเต็ม陸皓東
อักษรจีนตัวย่อ陆皓东
Lu Zhonggui (birth name)
อักษรจีนตัวเต็ม陸中桂
อักษรจีนตัวย่อ陆中桂
Xianxiang (courtesy name)
อักษรจีนตัวเต็ม獻香
อักษรจีนตัวย่อ献香

ลู่ เฮาตง (30 กันยายน ค.ศ. 1868 – 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1895), หรือเรียกอีกชื่อว่า ลู่ จงกุ้ย, เป็นนักปฏิวัติจีนที่อาศัยอยู่ในช่วงยุคปลายราชวงศ์ชิง เขาเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในการที่เป็นผู้ออกแบบ "ธงท้องฟ้าสีครามกับดวงตะวันสาดส่อง" ในเวลาต่อมาธงดังกล่าวได้กลายเป็นธงชาติของสาธารณรัฐจีน นอกจากนี้สัญลักษณ์ของธงได้กลายเป็นธงของพรรคและสัญลักษณ์ของพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT;พรรคชาตินิยมจีน) และเป็นธงชาติของสาธารณรัฐจีนที่เกาะไต้หวันในปัจจุบัน

ประวัติ

ลู่ เฮาตง ก่อนการปฏิวัติแต่งกายไว้หางเปียแบบชาวแมนจู สมัยนิยมของราชวงศ์ชิง
ไฟล์:ลู่ เฮาตง.jpg
ลู่ เฮาตงขณะเสนอรูปแบบ "ธงท้องฟ้าสีคราม ดวงตะวันสาดส่อง" ให้แก่ที่ประชุมสมาชิกซิงจงฮุ่ย
"ธงท้องฟ้าสีคราม ดวงตะวันสาดส่อง" ซึ่งใช้เป็นธงของสมาคมซิงจงฮุ่ยในการปฏิวัติที่กว่างโจว

ลู่ เฮาตง เกิดที่เมืองเซี่ยงไฮ้ แต่พื้นเพของครอบครัวมาจากเมืองเซียงซาน, กวางตุ้ง เขาเป็นเพื่อนสนิทของ ดร. ซุน ยัตเซ็น และมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มุ่งเป้าไปที่การโค่นล้มราชวงศ์ชิงและจัดตั้งระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐในประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1895 ลู่ได้ร่วมก่อตั้ง สมาคมซิงจงฮุ่ย หรือ สมาคมฟื้นฟูจีน ขึ้นในฮ่องกง ร่วมกับดร.ซุน ยัตเซ็น

เมื่อก่อตั้งสมาคมแล้วลู่ เฮาตงและ ดร.ซุน ได้เน้นย้ำถึงการรวมกลุ่มของสมาคมต้องมีความสามัคคี ลู่ เฮาตงได้เสนอความคิดที่ให้สมาคมมีธงประจำสมาคมขึ้น เขาได้วาดธงชาวนา ธงห้าชนเผ่าและธงกำแพงเมืองจีน แต่คนอื่นๆในสมาชิกกลับไม่เห็นชอบด้วย เมื่อไม่เป็นที่พอใจ จนกระทั่งวันหนึ่งลู่ เฮาตงนั่งอย่างท้อแท้ใจใต้ช่องเพดานที่บ้านของเขา จู่ๆก็มีแสงจากดวงอาทิตย์ส่องลงมา ทำให้ลู่เกิดแรงบันดาลใจนำมาวาดเป็น "ธงท้องฟ้าสีคราม ดวงตะวันสาดส่อง" และเขาได้เสนอแบบธงนี้แก่สมาชิกปฏิวัติครั้ง เขาได้อธิบายถึงความหมายของธงในที่ประชุมว่า สัญลักษณ์ในธงที่ทุกท่านเห็นนั้นมีความหมายคือ "รัศมี 12 แฉกของดวงอาทิตย์สีขาว" แทนค่า 12 เดือน 12 นักษัตร "ท้องฟ้าสดใสสีคราม ดวงตะวันสีขาวสาดส่อง" เป็นความหวังของผู้คนที่จะมีอนาคตที่ดีกว่าเก่า หลังจากลู่ เฮาตงบรรยายเสร็จ ทุกคนในที่ประชุมต่างปรบมือและเห็นด้วยกับธงดังกล่าว ส่วนดร.ซุน ยัตเซ็นได้ชื่นชมลู่ เฮาตงที่มีหัวคิดสมัยใหม่ก้าวหน้า

ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1895 พวกเขาได้วางแผนที่จะเริ่มทำการลุกฮือขึ้นปฏิวัติ ที่เมืองกวางโจว โดยใช้ธงท้องฟ้าสีคราม ดวงตะวันสาดส่องเป็นสัญลักษณ์ แต่มีคนทรยศนำแผนการไปบอกทำให้ทางรัฐบาลราชสำนักชิงได้รับรู้แผนการของพวกเขา ในวันที่ 26 ตุลาคม ขณะที่ลู่กำลังเตรียมตัวหลบหนีจากกวางโจว แต่ตัดสินใจกลับไปที่ฐานปฏิบัติการในคริสตจักรในเป่ยจิงหลู (ยุคปัจจุบันคือเขตเยว่ซิว) เพื่อเผาทำลายรายชื่อสมาชิกขบวนการปฏิวัติและเอกสารสำคัญอื่นๆที่เป็นหลักฐาน เพราะเกรงว่าราชสำนักจะรู้รายชื่อของนักปฏิวัติคนอื่นๆ แต่เขากลับไม่สามารถหลบหนีได้ทันเวลาและถูกจับพร้อมกับนักปฏิวัติคนอื่น ๆ โดยราชสำนักชิง

ลู่ได้ถูกนำตัวไปยัง หยาเหมิน ในเขตหนานไฮ่ (ปัจจุบันคือ อำเภอหนานไฮ่, ฝอซาน, มณฑลกวางตุ้ง) เพื่อสอบปากคำโดยผู้พิพากษามณฑล หลี่ เจิ้งหยง (李徵庸), ผู้เป็นข้าราชการในราชสำนักชิงทำหน้าที่ภายใต้คำสั่งจาก ตัน จงหลิน (譚鍾麟) อุปราชแห่งเหลียงกวงในราชสำนักชิง เมื่อลู่ เฮาตงปฏิเสธที่จะคุกเข่าลงต่อหน้าหลี่ เจิ้งหยง ระหว่างการสอบปากคำนักโทษ หลี่ได้กล่าวว่า, "เจ้าก็เป็นชายหนุ่มที่มีความสามารถ ทำไมเจ้าถึงอยากทำตัวให้มีปัญหา โดยการต่อต้านราชสำนักที่จะทำให้เจ้าแลกด้วยชีวิตด้วยเล่า? " ลู่ เฮาตงจึงตอบกลับไปด้วยจิตใจหนักแน่นว่า, ""ประเทศจีนเป็นประเทศที่กว้างใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก แต่กลับอยู่ในสภาพยากจนและน่าสงสารที่สุด ที่เป็นเช่นนั้นเพราะราชสำนักชิงได้ปกครองแบบกดขี่, คดโกง และไร้ความสามารถในนโยบายต่างประเทศ ดังนั้นข้าและสหายของข้าได้วางแผนกบฏโดยมีเป้าหมายเพื่อล้มล้างราชสำนักชิงและเปลี่ยนการปกครองของประเทศเสียใหม่ไปเป็นแบบสาธารณรัฐ ข้าตั้งใจจะฆ่าคนหนึ่งหรือสองคนเช่นท่านที่รับใช้ราชสำนักชิง ตอนนี้แผนของเราล้มเหลว ข้าไม่สามารถฆ่าท่านได้ แต่หากท่านจะลงมือประหารข้าก็จงรีบดำเนินการเสียเถิด!" ลู่ เฮาตงจึงถูกตัดสินประหารชีวิตในโทษฐานเป็นกบฎต่อราชสำนักชิงโดยการตัดหัวและเสียบประจาน

สถานทูตอเมริกันในกวางโจวพยายามช่วยชีวิตของลู่โดยอ้างว่าเขาเป็นนักแปลที่ทำงานที่สำนักงานโทรเลขและไม่ได้เป็นนักปฏิวัติ อย่างไรก็ตามพวกเขาไม่สามารถทำอะไรได้เมื่อหลี่ เจิ้งหยงได้แสดงคำสารภาพที่เขียนโดยลู่ เฮาตงว่าเขายอมรับว่าเป็นนักปฏิวัติเอง[1] จู กุ้ยกวน (朱貴全), ฉิว สี (邱四) และนักปฏิวัติที่ถูกจับกุมคนอื่น ๆ ถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนตามคำสั่งของตัน จงหลิน ดร.ซุน ยัตเซ็นได้กล่าวถึงลู่ เฮาตงว่าเป็น "บุคคลแรกในประวัติศาสตร์จีนที่เสียสละชีวิตเพื่อการปฏิวัติประชาธิปไตย"

หลังการลู่ เฮาตงถูกประหารชีวิต เขาได้เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในการที่เป็นผู้ออกแบบ "ธงท้องฟ้าสีครามกับดวงตะวันสาดส่อง" พรรคก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นพรรคที่สืบทอดมาจากสมาคมปฏิวัติซิงจงฮุ่ยได้นำสัญลักษณ์ของธงมาเป็นธงประจำพรรคและสัญลักษณ์ของพรรค อีกทั้งยังเป็นธงชาติของสาธารณรัฐจีนที่สมัยปกครองแผ่นดินใหญ่และสมัยที่อยู่ที่เกาะไต้หวันในปัจจุบัน

อนุสรณ์สถานรำลึก

อนุสรณ์สถานรำลึกลู่ เฮาตงหรือสุสานลู่ เฮาตง ตั้งอยู่ที่ภูเขาลี่โตว หมู่บ้านกุยเหิง เมืองจงซาน มณฑลกวางตุ้ง เป็นอนุสรณ์สถานรำลึกความเสียสละของลู่ เฮาตง อนุสรณ์สถานดังกล่าวได้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1937 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ได้รวมอยู่ในหน่วยพิทักษ์โบราณวัตถุวัฒนธรรมมณฑลกวางตุ้ง

การปรากฏในสื่อภาพยนตร์

ลู่ เฮาตงได้ปรากฏเป็นตัวละครที่รับบทโดยนักแสดงฮ่องกง เดวิด เจียง ในภาพยนตร์ปี ค.ศ. 1992 หวงเฟยหง ภาค 2 ตอน ถล่มมารยุทธจักร ในภาพยนตร์เรื่องนี้ลู่ถูกยิงตายโดยทหารชิงขณะพยายามหลบหนีจากกวางโจวด้วยความช่วยเหลือจากหวง เฟยหง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 贾逸君. 《民国名人传》 (ภาษาในภาษาจีน). 岳麓书社. pp. 7-8页. ISBN 7805203652. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  • Jia, Yijun (1993). Minguo Mingren Zhuan (Biographies of Famous People in the Republic of China). Yuelu Publishing House. pp. 7–8. ISBN 7805203652.