ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชอาณาจักรกัสติยา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38: บรรทัด 38:


== ประวัติศาสตร์ ==
== ประวัติศาสตร์ ==
ชื่อ "กัสติยา" มีความหมายว่า "ดินแดนแห่งปราสาท" ซึ่งถูกใช้เป็นครั้งแรกในราวปี ค.ศ. 800 โดยใช้เรียกเขตเล็กๆ ซึ่งตั้งอยู่ตรงตีนเทือกเขากันตาเบรียในตอนเหนือสุดของจังหวัดบูร์โกสในปัจจุบัน กัสติยาขยายอาณาเขตในช่วงคริสตศตวรรษที่ 9 แต่ยังคงเป็นเพียงกลุ่มก้อนของเคานตีเล็กๆ ที่กษัตริย์แห่ง[[ราชอาณาจักรอัสตูเรียส|อัสตูเรียส]]และกษัตริย์แห่ง[[ราชอาณาจักรเลออน|เลออน]]เป็นผู้เลือกคนที่จะมาปกครอง จนกระทั่ง[[เฟร์นัน กอนซาเลส เคานต์แห่งกัสติยา|เฟร์นัน กอนซาเลส]] เคานต์แห่งกัสติยาทั้งหมดคนแรกรวมเคานตีต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ประวัติศาสตร์ด้านการเมืองของกัสติยาเริ่มต้นขึ้น เฟร์นันสร้างเคานตีใหม่ที่สืบทอดผ่านทางสายเลือดของตระกูลของตน เพื่อให้เคานตีคงไว้ซึ่งความเป็นเอกราชภายใต้การปกครองของกษัตริย์แห่งเลออน ในช่วงที่เฟร์นันมีชีวิตอยู่ เมืองหลวงของเคานตีถูกก่อตั้งขึ้นที่[[บูร์โกส]]และมีการขยายอาณาเขตไปทางใต้เข้าสู่อาณาเขตของ[[ชาวมัวร์]] ภายใต้การปกครองของเคานต์การ์ซิอา เฟร์นันเดซ และเคานต์ซันโช การ์ซิอา อาณาเขตของกัสติยาขยายไปถึง[[แม่น้ำดูเอโร]] ความสัมพันธ์กับกษัตริย์แห่งเลออนที่ในทางการแล้วยังคงมีอำนาจเหนือกัสติยาค่อย ๆ ย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ
ชื่อ "กัสติยา" มีความหมายว่า "ดินแดนแห่งปราสาท" ซึ่งถูกใช้เป็นครั้งแรกในราวปี ค.ศ. 800 โดยใช้เรียกเขตเล็กๆ ซึ่งตั้งอยู่ตรงตีนเทือกเขากันตาเบรียในตอนเหนือสุดของจังหวัดบูร์โกสในปัจจุบัน กัสติยาขยายอาณาเขตในช่วงคริสตศตวรรษที่ 9 แต่ยังคงเป็นเพียงกลุ่มก้อนของเคาน์ตีเล็กๆ ที่กษัตริย์แห่ง[[ราชอาณาจักรอัสตูเรียส|อัสตูเรียส]]และกษัตริย์แห่ง[[ราชอาณาจักรเลออน|เลออน]]เป็นผู้เลือกคนที่จะมาปกครอง จนกระทั่ง[[เฟร์นัน กอนซาเลส เคานต์แห่งกัสติยา|เฟร์นัน กอนซาเลส]] เคานต์แห่งกัสติยาทั้งหมดคนแรกรวมเคาน์ตีต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ประวัติศาสตร์ด้านการเมืองของกัสติยาเริ่มต้นขึ้น เฟร์นันสร้างเคาน์ตีใหม่ที่สืบทอดผ่านทางสายเลือดของตระกูลของตน เพื่อให้เคาน์ตีคงไว้ซึ่งความเป็นเอกราชภายใต้การปกครองของกษัตริย์แห่งเลออน ในช่วงที่เฟร์นันมีชีวิตอยู่ เมืองหลวงของเคาน์ตีถูกก่อตั้งขึ้นที่[[บูร์โกส]]และมีการขยายอาณาเขตไปทางใต้เข้าสู่อาณาเขตของ[[ชาวมัวร์]] ภายใต้การปกครองของเคานต์การ์ซิอา เฟร์นันเดซ และเคานต์ซันโช การ์ซิอา อาณาเขตของกัสติยาขยายไปถึง[[แม่น้ำดูเอโร]] ความสัมพันธ์กับกษัตริย์แห่งเลออนที่ในทางการแล้วยังคงมีอำนาจเหนือกัสติยาค่อย ๆ ย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ


ในปี ค.ศ. 1029 [[พระเจ้าซันโชที่ 3 แห่งปัมโปลนา|พระเจ้าซันโชที่ 3 มหาราชแห่งนาวาร์]] พระโอรสในพระมารดาชาวกัสติยาแยกกัสติยาออกมาจากเลออน และเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1035 มันได้ตกเป็นของพระโอรสคนที่สองซึ่งเป็นบุคคลแรกที่อ้างตนเป็นกษัตริย์แห่งกัสติยาในชื่อ[[พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 1 แห่งกัสติยา]] (ค.ศ. 1037–65) ต่อมากัสติยาถูกรวมเข้ากับเลออนอีกครั้ง (ค.ศ. 1072–1157) แต่ภายหลังอาณาจักรทั้งสองก็แยกจากกันอีกครั้ง [[พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 แห่งกัสติยา]]ทำให้กัสติยาครองความเป็นใหญ่ทางการเมืองและการทหารเหนือเลออน พระองค์บีบบังคับกษัตริย์แห่งเลออนให้ถวายความเคารพต่อพระองค์ในปี ค.ศ. 1188 จากนั้นการปกครองของกัสติยาก็ขยายไปทางตอนใต้จนถึง[[แม่น้ำตากุส]] และทางตะวันออกจนถึงพรมแดนในยุคใหม่ของ[[แคว้นอารากอน|อารากอน]] ทว่ากษัตริย์เลออนไม่เคยยอมรับการมีอำนาจเหนือกว่าของกัสติยา และ[[พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 9 แห่งเลออน]]ปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุน[[พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 แห่งกัสติยา|พระเจ้าอัลฟอนโซแห่งกัสติยา]]ในการทำสงครามกับราชวงศ์อัลโมฮัดของชาวมุสลิม[[ชนเบอร์เบอร์|เบอร์เบอร์]] ทำให้กัสติยาพยายามแสดงความเป็นใหญ่ทางการเมืองเหนือเลออนจนส่งผลให้แนวหน้าในการรับมือกับชาวมุสลิมของชาวคริสต์อ่อนแอลง ในปี ค.ศ. 1230 [[พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 แห่งกัสติยา|พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3]] ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งกัสติยาอยู่แล้วได้สืบทอดบัลลังก์เลออน ทำให้ราชบัลลังก์ทั้งสองรวมกันเป็นหนึ่งเดียวในที่สุดภายใต้การเป็นผู้นำของชาวกัสติยา ขณะเดียวกันราชอาณาจักรโตเลโดในสเปนของชาวมุสลิมถูกกัสติยาผนวกดินแดนในปี ค.ศ. 1085 และในคริสตศตวรรษที่ 12 กัสติยาครองความเป็นใหญ่ทางการเมืองในสเปนได้สำเร็จ ราชสำนักยุโรปในสมัยกลางช่วงปลายมักเรียกกัสติยาว่าอิสปาเนีย (สเปน) สุดท้ายในยุคของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 ก็สามารถพิชิต[[แคว้นอันดาลูซิอา|อันดาลูซิอา]] ดินแดนสุดท้ายที่อยู่การครอบครองของมุสลิมซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดได้
ในปี ค.ศ. 1029 [[พระเจ้าซันโชที่ 3 แห่งปัมโปลนา|พระเจ้าซันโชที่ 3 มหาราชแห่งนาวาร์]] พระโอรสในพระมารดาชาวกัสติยาแยกกัสติยาออกมาจากเลออน และเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1035 มันได้ตกเป็นของพระโอรสคนที่สองซึ่งเป็นบุคคลแรกที่อ้างตนเป็นกษัตริย์แห่งกัสติยาในชื่อ[[พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 1 แห่งกัสติยา]] (ค.ศ. 1037–65) ต่อมากัสติยาถูกรวมเข้ากับเลออนอีกครั้ง (ค.ศ. 1072–1157) แต่ภายหลังอาณาจักรทั้งสองก็แยกจากกันอีกครั้ง [[พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 แห่งกัสติยา]]ทำให้กัสติยาครองความเป็นใหญ่ทางการเมืองและการทหารเหนือเลออน พระองค์บีบบังคับกษัตริย์แห่งเลออนให้ถวายความเคารพต่อพระองค์ในปี ค.ศ. 1188 จากนั้นการปกครองของกัสติยาก็ขยายไปทางตอนใต้จนถึง[[แม่น้ำตากุส]] และทางตะวันออกจนถึงพรมแดนในยุคใหม่ของ[[แคว้นอารากอน|อารากอน]] ทว่ากษัตริย์เลออนไม่เคยยอมรับการมีอำนาจเหนือกว่าของกัสติยา และ[[พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 9 แห่งเลออน]]ปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุน[[พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 แห่งกัสติยา|พระเจ้าอัลฟอนโซแห่งกัสติยา]]ในการทำสงครามกับราชวงศ์อัลโมฮัดของชาวมุสลิม[[ชนเบอร์เบอร์|เบอร์เบอร์]] ทำให้กัสติยาพยายามแสดงความเป็นใหญ่ทางการเมืองเหนือเลออนจนส่งผลให้แนวหน้าในการรับมือกับชาวมุสลิมของชาวคริสต์อ่อนแอลง ในปี ค.ศ. 1230 [[พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 แห่งกัสติยา|พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3]] ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งกัสติยาอยู่แล้วได้สืบทอดบัลลังก์เลออน ทำให้ราชบัลลังก์ทั้งสองรวมกันเป็นหนึ่งเดียวในที่สุดภายใต้การเป็นผู้นำของชาวกัสติยา ขณะเดียวกันราชอาณาจักรโตเลโดในสเปนของชาวมุสลิมถูกกัสติยาผนวกดินแดนในปี ค.ศ. 1085 และในคริสตศตวรรษที่ 12 กัสติยาครองความเป็นใหญ่ทางการเมืองในสเปนได้สำเร็จ ราชสำนักยุโรปในสมัยกลางช่วงปลายมักเรียกกัสติยาว่าอิสปาเนีย (สเปน) สุดท้ายในยุคของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 ก็สามารถพิชิต[[แคว้นอันดาลูซิอา|อันดาลูซิอา]] ดินแดนสุดท้ายที่อยู่การครอบครองของมุสลิมซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดได้
บรรทัด 174: บรรทัด 174:
{{เรียงลำดับ|กัสติยา}}
{{เรียงลำดับ|กัสติยา}}
[[หมวดหมู่:ประมุขในประเทศสเปน]]
[[หมวดหมู่:ประมุขในประเทศสเปน]]
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์คาสตีล|*]]
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์คาสตีล| ]]
[[หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 11]]
[[หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 11]]
[[หมวดหมู่:ราชอาณาจักรในอดีต|ก]]
[[หมวดหมู่:ราชอาณาจักรในอดีต|ก]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:32, 16 เมษายน 2562

ราชอาณาจักรกัสติยา

Reino de Castilla
ค.ศ. 1035–ค.ศ. 1230
ธงชาติราชอาณาจักรกัสติยา
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของราชอาณาจักรกัสติยา
ตราแผ่นดิน
ราชอาณาจักรกัสติยาก่อนที่จะผนวกราชอาณาจักรโตเลโดในคริสต์ศตวรรษที่ 11
ราชอาณาจักรกัสติยาก่อนที่จะผนวกราชอาณาจักรโตเลโดในคริสต์ศตวรรษที่ 11
สถานะราชอาณาจักร
เมืองหลวงไม่มีการกำหนด (บูร์โกส, บายาโดลิด และโตเลโดเป็นศูนย์กลางสำคัญ)
ภาษาทั่วไปสเปน (กัสติยา), บาสก์, โมซาราบิก และอาหรับถิ่นอัลอันดะลุส
ศาสนา
คริสต์ศาสนา (โรมันคาทอลิก), อิสลาม และยูดาย
การปกครองราชาธิปไตย
ยุคประวัติศาสตร์ยุคกลาง
• โรดริโกเป็นเคานต์แห่งกัสติยา
ค.ศ. 1035
• อาณาจักรเคานต์แห่งกัสติยารวมกับเคานต์เฟร์นัน กอนซาเลซ
ค.ศ. 931
• กัสติยากลายเป็นราชอาณาจักร
ค.ศ. 1035
• รวมกับเลออน
ค.ศ. 1230 ค.ศ. 1230
ก่อนหน้า
ราชอาณาจักรเลออน

ราชอาณาจักรกัสติยา (สเปน: Reino de Castilla) เป็นราชอาณาจักรของยุคกลางของคาบสมุทรไอบีเรียที่เริ่มก่อตัวเป็นอิสระขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยการเป็นอาณาจักรเคานต์แห่งกัสติยาที่เป็นอาณาจักรบริวาร (vassal) ของราชอาณาจักรเลออน ชื่อ "กัสติยา" มาจากคำที่ว่าแปลว่าปราสาท เพราะในบริเวณนั้นมีปราสาทอยู่หลายปราสาท กัสติยาเป็นราชอาณาจักรหนึ่งที่ต่อมาก่อตั้งขึ้นเป็นราชบัลลังก์กัสติยาและราชบัลลังก์สเปนในที่สุด

ประวัติศาสตร์

ชื่อ "กัสติยา" มีความหมายว่า "ดินแดนแห่งปราสาท" ซึ่งถูกใช้เป็นครั้งแรกในราวปี ค.ศ. 800 โดยใช้เรียกเขตเล็กๆ ซึ่งตั้งอยู่ตรงตีนเทือกเขากันตาเบรียในตอนเหนือสุดของจังหวัดบูร์โกสในปัจจุบัน กัสติยาขยายอาณาเขตในช่วงคริสตศตวรรษที่ 9 แต่ยังคงเป็นเพียงกลุ่มก้อนของเคาน์ตีเล็กๆ ที่กษัตริย์แห่งอัสตูเรียสและกษัตริย์แห่งเลออนเป็นผู้เลือกคนที่จะมาปกครอง จนกระทั่งเฟร์นัน กอนซาเลส เคานต์แห่งกัสติยาทั้งหมดคนแรกรวมเคาน์ตีต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ประวัติศาสตร์ด้านการเมืองของกัสติยาเริ่มต้นขึ้น เฟร์นันสร้างเคาน์ตีใหม่ที่สืบทอดผ่านทางสายเลือดของตระกูลของตน เพื่อให้เคาน์ตีคงไว้ซึ่งความเป็นเอกราชภายใต้การปกครองของกษัตริย์แห่งเลออน ในช่วงที่เฟร์นันมีชีวิตอยู่ เมืองหลวงของเคาน์ตีถูกก่อตั้งขึ้นที่บูร์โกสและมีการขยายอาณาเขตไปทางใต้เข้าสู่อาณาเขตของชาวมัวร์ ภายใต้การปกครองของเคานต์การ์ซิอา เฟร์นันเดซ และเคานต์ซันโช การ์ซิอา อาณาเขตของกัสติยาขยายไปถึงแม่น้ำดูเอโร ความสัมพันธ์กับกษัตริย์แห่งเลออนที่ในทางการแล้วยังคงมีอำนาจเหนือกัสติยาค่อย ๆ ย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ

ในปี ค.ศ. 1029 พระเจ้าซันโชที่ 3 มหาราชแห่งนาวาร์ พระโอรสในพระมารดาชาวกัสติยาแยกกัสติยาออกมาจากเลออน และเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1035 มันได้ตกเป็นของพระโอรสคนที่สองซึ่งเป็นบุคคลแรกที่อ้างตนเป็นกษัตริย์แห่งกัสติยาในชื่อพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 1 แห่งกัสติยา (ค.ศ. 1037–65) ต่อมากัสติยาถูกรวมเข้ากับเลออนอีกครั้ง (ค.ศ. 1072–1157) แต่ภายหลังอาณาจักรทั้งสองก็แยกจากกันอีกครั้ง พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 แห่งกัสติยาทำให้กัสติยาครองความเป็นใหญ่ทางการเมืองและการทหารเหนือเลออน พระองค์บีบบังคับกษัตริย์แห่งเลออนให้ถวายความเคารพต่อพระองค์ในปี ค.ศ. 1188 จากนั้นการปกครองของกัสติยาก็ขยายไปทางตอนใต้จนถึงแม่น้ำตากุส และทางตะวันออกจนถึงพรมแดนในยุคใหม่ของอารากอน ทว่ากษัตริย์เลออนไม่เคยยอมรับการมีอำนาจเหนือกว่าของกัสติยา และพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 9 แห่งเลออนปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุนพระเจ้าอัลฟอนโซแห่งกัสติยาในการทำสงครามกับราชวงศ์อัลโมฮัดของชาวมุสลิมเบอร์เบอร์ ทำให้กัสติยาพยายามแสดงความเป็นใหญ่ทางการเมืองเหนือเลออนจนส่งผลให้แนวหน้าในการรับมือกับชาวมุสลิมของชาวคริสต์อ่อนแอลง ในปี ค.ศ. 1230 พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งกัสติยาอยู่แล้วได้สืบทอดบัลลังก์เลออน ทำให้ราชบัลลังก์ทั้งสองรวมกันเป็นหนึ่งเดียวในที่สุดภายใต้การเป็นผู้นำของชาวกัสติยา ขณะเดียวกันราชอาณาจักรโตเลโดในสเปนของชาวมุสลิมถูกกัสติยาผนวกดินแดนในปี ค.ศ. 1085 และในคริสตศตวรรษที่ 12 กัสติยาครองความเป็นใหญ่ทางการเมืองในสเปนได้สำเร็จ ราชสำนักยุโรปในสมัยกลางช่วงปลายมักเรียกกัสติยาว่าอิสปาเนีย (สเปน) สุดท้ายในยุคของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 ก็สามารถพิชิตอันดาลูซิอา ดินแดนสุดท้ายที่อยู่การครอบครองของมุสลิมซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดได้

กษัตริย์แห่งกัสติยา

ราชวงศ์ฆิเมเนซ

ตราประจำพระองค์ของกษัตริย์กัสติยา

พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 1 แห่งเลออนเคยเป็นเคานต์แห่งกัสติยา ต่อมาพระองค์กลายเป็นกษัตริย์แห่งเลออนตามสิทธิ์ของภรรยา ซันชาแห่งเลออน ทรงกลายเป็นกษัตริย์แห่งเลออนและกัสติยาในปี ค.ศ. 1037 และเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1065 กัสติยาและเลออนถูกแยกเพื่อแบ่งให้พระโอรส คือ ซันโชที่กลายเป็นกษัตริย์แห่งกัสติยา และอัลฟอนโซที่กลายเป็นกษัตริย์แห่งเลออน พระเจ้าซันโชยังเป็นกษัตริย์แห่งเลออนในระยะสั้นๆ หลังปลดพระอนุชาออกจากตำแหน่ง ทำให้ทรงกลายเป็นกษัตริย์แห่งเลออนและกัสติยา แต่ในปี ค.ศ. 1065 ราชอาณาจักรทั้งสองก็ถูกแยกออกจากกัน พระเจ้าซันโชอภิเษกสมรสกับอัลเบร์ตา ทั้งคู่ไม่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์จึงเป็นพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 พระอนุชาที่พระองค์เคยปลดออกจากตำแหน่ง

พระมเหสีของพระเจ้าอัลฟอนโซคืออาแญ็สแห่งอากีแตน ซึ่งเป็นบุตรสาวของกีโยมที่ 8 ดยุคแห่งอากีแตนและอาจจะสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1077 ในปี ค.ศ. 1079 พระเจ้าอัลฟอนโซอภิเษกสมรสกับกงสต็องซ์แห่งบูร์กอญ ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันหลายคน แต่มีเพียงพระธิดาชื่ออูร์รากาคนเดียวที่มีชีวิตรอดจนถึงวัยผู้ใหญ่ กงสต็องซ์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1093 ในปีเดียวกันนั้นพระองค์อภิเษกสมรสกับหญิงชื่อแบร์ตาซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1099 จากนั้นทรงอภิเษกสมรสกับหญิงชื่ออิซาเบล ทั้งคู่มีพระธิดาด้วยกันสองคน อิซาเบลอาจสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1077 แล้วพระองค์ก็อภิเษกสมรสกับหญิงชื่อเบียทริซ ทั้งคู่ไม่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน เบียทริซสิ้นพระชนม์หลังพระองค์ ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระเจ้าอัลฟอนโซคืออูร์รากาผู้เป็นพระธิดา

พระนาม ฉายานาม ความสัมพันธ์ เริ่มต้น สิ้นสุด หมายเหตุ
พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 1 มหาราช ค.ศ. 1029 27 ธันวาคม ค.ศ. 1065 เป็นกษัตริย์แห่งเลออน ทรงเอากัสติยามาเป็นดินแดนส่วนพระองค์โดยให้ข้าราชสำนักบริหารปกครอง[1]
พระเจ้าซันโชที่ 2 ผู้แข็งแกร่ง พระโอรสของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 1 27 ธันวาคม ค.ศ. 1065 6 ตุลาคม ค.ศ. 1072 เป็นกษัตริย์แห่งกาลิเซีย (ค.ศ. 1071-1072) และกษัตริย์แห่งเลออน (ค.ศ. 1072)
พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 4 ผู้กล้าหาญ พระโอรสของพระเจ้าเฟร์นันโดทที่ 1

พระอนุชาของพระเจ้าซันโชที่ 2

6 ตุลาคม ค.ศ. 1072 30 มิถุนายน ค.ศ. 1109 เป็นกษัตริย์แห่งเลออน
พระราชินีอูร์รากา พระธิดาของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 4 30 มิถุนายน ค.ศ. 1109 8 มีนาคม ค.ศ. 1126 เป็นพระราชินีผู้ปกครองแห่งเลออน

ราชวงศ์บูร์กอญ

ราชวงศ์ต่อมาเป็นทายาทในสายเพศชายของแรมงแห่งบูร์กอญ พระสวามีคนแรกของพระราชินีอูร์รากา พระองค์แต่งงานกับแรมงแห่งบูร์กอญตอนพระชนมายุ 8 พรรษา ทั้งคู่มีพระธิดาและพระโอรสที่มีชีวิตรอดอย่างละคน อูร์รากาเป็นม่ายในปี ค.ศ. 1077 และกำลังเจรจาเรื่องการอภิเษกสมรสในตอนที่พระบิดาสิ้นพระชนม์ มีการเสนอให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 1 แห่งอารากอนและนาวาร์ แต่อูร๋รากาต่อต้านข้อเสนอนี้ ด้วยเป็นความประสงค์ของพระบิดาผู้ล่วงลับ พระองค์จึงต้องยอมตกลง ทั้งคู่อภิเษกสมรสกันในปี ค.ศ. 1109 แต่การแต่งงานจุดชนวนให้เกิดการก่อกบฏขึ้นทันที ทั้งคู่แยกกันอยู่ในปี ค.ศ. 1110 พระองค์มีคนรักซึ่งทรงมีบุตรนอกสมรสด้วยสองคน พระองค์สิ้นพระชนม์ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1126 ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อคือพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 ผู้เป็นพระโอรส

พระเจ้าอัลฟอนโซอภิเษกสมรสกับบารังเกราแห่งบาร์เซโลนาในปี ค.ศ. 1128 ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันแปดคน บารังเกราสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1149 พระองค์จึงอภิเษกสมรสใหม่กับริเชซาแห่งโปแลนด์ ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันสองคน พระเจ้าอัลฟอนโซนำธรรมเนียมการแบ่งราชอาณาจักรให้พระโอรสกลับมาใช้ ืทำให้ซันโชกลายเป็นพระเจ้าซันโชที่ 3 แห่งกัสติยา ขณะที่เฟร์นันโดกลายเป็นพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งเลออน พระเจ้าซันโชแต่งงานกับบลังกาแห่งนาวาร์ในปี ค.ศ. 1151 ทั้งคู่มีพระโอรสที่รอดชีวิตคนเดียว พระองค์สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระบิดาในปี ค.ศ. 1157 แต่เพียงหนึ่งปีต่อมาก็สิ้นพระชนม์ พระโอรสวัยสองพรรษาของพระองค์กลายเป็นพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 แห่งกัสติยา การสำเร็จราชการแผ่นดินก่อให้เกิดความวุ่นวายและพรมแดนส่วนหนึ่งของพระองค์ถูกพระปิตุลาพิชิตเอาไป พระองค์ต้องการพันธมิตรที่แข็งแกร่งและทรงได้มาหนึ่งคน คือ พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ เมื่อพระองค์อภิเษกสมรสกับเอเลนอร์แห่งอังกฤษ พระธิดาของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันสิบเอ็ดคน แต่มีเพียงบางคนที่มีชีวิตรอดจนถึงวัยผู้ใหญ่ เมื่อพระเจ้าอัลฟอนโซสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1214 ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์คือพระเจ้าเอ็นริเก พระโอรสคนสุดท้องและพระโอรสคนเดียวที่มีชีวิตรอด พระองค์ไม่ได้อภิเษกสมรสและสิ้นพระชนม์ตอนพระชนมายุ 13 พรรษา ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์คือเบเรงเกลาผู้เป็นพระเชษฐภคินี

ราชอาณาจักรกัสติยาในปี ค.ศ. 1210

เบเรงเกลาเคยแต่งงานกับคอนราดที่ 2 ดยุคแห่งชวาเบินในปี ค.ศ. 1187 แต่การแต่งงานไม่สมบูรณ์และคอนราดสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1196 ในปี ค.ศ. 1197 พระองค์อภิเษกสมรสกับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 9 แห่งเลออน ลูกพี่ลูกน้องลำดับที่หนึ่งที่อยู่ห่างกันหนึ่งขั้นเพื่อรักษาสันติภาพระหว่างสองราชอาณาจักร สมเด็จพระสันตะปาปาไม่ยอมรับการแต่งงานด้วยเหตผลว่าเป็นการร่วมประเวณีกันของญาติใกล้ชิด ขณะกำลังต่อสู้กับสมเด็จพระสันตะปาปา ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันสี่คน สุดท้ายทั้งคู่ก็พ่ายแพ้ในเรื่องการแต่งงาน แต่พระโอรสธิดาของทั้งคู่ถูกพิจารณาว่าเป็นบุตรตามกฎหมาย เมื่อพระอนุชาสิ้นพระชนม์ เบเรงเกลากลัวว่าอดีตพระสวามีจะพยายามอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ พระองค์ตระหนักว่ากัสติยาจำเป็นต้องมีผู้นำทางทหารที่แท้จริงจึงทรงสละบัลลังก์ให้พระโอรสของพระองค์ในปีนั้น พระโอรสของพระองค์กลายเป็นพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 แห่งกัสติยา พระองค์ยังตงอยู่เคียงข้างพระโอรสในฐานะที่ปรึกษาของกษัตริย์ เมื่อกษัตริย์แห่งเลออนสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1230 พระองค์ยกราชอาณาจักรให้พระธิดาสองคนจากการแต่งงานครั้งแรก เบเรงเกลาเป็นคนเจรจาต่อรองจนสุดท้ายพระธิดาทั้งสองก็ยอมรับเงินก้อนโตเพื่อแลกกับการสละสิทธิ์ในบัลลังก์ พระเจ้าเฟร์นันโดจึงกลายเป็นกษัตริย์แห่งเลออน

ในปี ค.ศ. 1219 พระเจ้าเฟร์นันโดอภิเษกสมรสกับอลิซาเบธแห่งชวาเบิน ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันสิบคน อลิซาเบธสิ้นพระชนม์ด้วยวัย 30 พรรษา กษัตริย์อภิเษกสมรสใหม่กับฌวน เคานเตสแห่งปงธิว ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันห้าคน

ราชสำนักถูกผสานรวมเข้าด้วยกันและถูกมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของราชบัลลังก์กัสติยา

พระนาม ฉายานาม ความสัมพันธ์ เริ่มต้น สิ้นสุด หมายเหตุ
พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 ผู้เป็นจักรพรรดิ พระโอรสของพระราชินีอูร์รากา 10 มีนาคม ค.ศ. 1126 21 สิงหาคม ค.ศ. 1157 เป็นกษัตริย์แห่งเลออน
พระเจ้าซันโชที่ 3 ผู้เป็นที่ต้องการ พระโอรสของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 21 สิงหาคม ค.ศ. 1157 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1158 พระอนุชาของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งเลออน
พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 ผู้สูงศักดิ์ พระโอรสของพระเจ้าซันโชที่ 3 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1158 6 ตุลาคม ค.ศ. 1214 มีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน คือ
  1. มันริเก เปเรซ เด ลารา (ค.ศ. 1158-1164)
  2. นุญโญ เปเรซ เด ลารา (ค.ศ. 1164-1169)[2]
พระเจ้าเอ็นริเกที่ 1 พระโอรสของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 6 ตุลาคม ค.ศ. 1214 6 มิถุนายน ค.ศ. 1217 มีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน คือ
  1. เอเลนอร์ แพลนทาเจเนต (ค.ศ. 1214)
  2. เบเรงเกลาแห่งกัสติยา (ค.ศ. 1214-1215)
  3. อาลบาโร นุญเญซ เด ลารา (ค.ศ. 1215-1217)[3]
พระราชินีเบเรงเกลา มหาราชินี พระธิดาของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8

พระเชษฐภคินีของพระเจ้าเอ็นริเกที่ 1

6 มิถุนายน ค.ศ. 1217 30 สิงหาคม ค.ศ. 1217 แต่งงานกับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 9 แห่งเลออน

สละราชสมบัติให้พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 พระโอรส

สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1246

พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 ผู้เป็นนักบุญ พระโอรสของพระราชินีเบเรงเกลา 30 สิงหาคม ค.ศ. 1217 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1252 เป็นกษัตริย์แห่งเลออนตั้งแต่ ค.ศ. 1230

เริ่มต้นราชบัลลังก์กัสติยา

อ้างอิง

  1. Martínez Díez , Gonzalo (2005). The County of Castilla (711-1038). The history in front of the legend . Valladolid: Junta de Castilla y León. ISBN 84-9718-275-8, pp. 715 and 737.
  2. Procter, Evelyn S. (2010). Curia and Cortes in León and Castile 1072-1295 . Cambridge University Press . p.74. ISBN 9780521135320 .
  3. VV.AA. (1862). General history of Spain and its Indies: from ancient times until today ... . 3. Spanish bookstore. p.363.


ดูเพิ่ม