ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอมิเรตส์สเตเดียม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2019a2019azz (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
2019a2019azz (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8: บรรทัด 8:


ใน วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีของราชอาณาจักรไทยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะที่ประเทศไทยเป็นประธานสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในสมัยแรก
ใน วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีของราชอาณาจักรไทยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะที่ประเทศไทยเป็นประธานสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในสมัยแรก

น่าเบื่อ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:43, 7 เมษายน 2562

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ชื่อเล่น: ตู่, เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) เป็นนายทหารเกษียณอายุราชการชาวไทย ปัจจุบันเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองในรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 และผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่ปีนั้น เขายังเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี 94 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลารักษาการนายกรัฐมนตรีที่ยาวนานรองจาก สฤษดิ์ ธนะรัชต์

ประยุทธ์เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 23 และเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เข้ารับราชการครั้งแรกที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ จากนั้นได้รับราชการในสังกัดกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ตามลำดับ นอกจากนั้นเขายังอยู่ในกลุ่มทหารบูรพาพยัคฆ์และทหารเสือราชินี เขาเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบกซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงตุลาคม 2557 หลังการแต่งตั้ง เขามีลักษณะนิยมเจ้าอย่างเข้มข้น และคู่แข่งของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ถือได้ว่าเขาเป็นสายแข็ง (hardliner) ในกองทัพ เป็นผู้สนับสนุนแนวหน้าของการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงในเดือนเมษายน 2552 และเมษายน–พฤษภาคม 2553[1] ต่อมาเขามุ่งวางตนเป็นกลาง โดยพูดคุยกับญาติผู้ประท้วงที่เสียชีวิตในเหตุการณ์[2] และร่วมมือกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์[3] ซึ่งชนะการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม 2554

ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2556 และเกี่ยวข้องกับการประท้วงต่อรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ พลเอกประยุทธ์อ้างว่ากองทัพเป็นกลาง[4] และจะไม่รัฐประหาร ทว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 พลเอกประยุทธ์รัฐประหารต่อรัฐบาลและควบคุมประเทศในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินับแต่นั้น[5] สุเทพ เทือกสุบรรณเปิดเผยว่า ตนกับพลเอกประยุทธ์วางแผนโค่นพันตำรวจโททักษิณตั้งแต่ปี 2553[6] ซึ่งพลเอกประยุทธ์ปฏิเสธข่าวนี้ ต่อมา เขาออกรัฐธรรมนูญชั่วคราวซึ่งให้อำนาจครอบคลุมแก่คณะผู้ก่อการ[7] และนิรโทษกรรมคณะฯ สำหรับรัฐประหาร วันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเอกฉันท์เลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกสภานั้นถูกเลือกมา และส่วนใหญ่เป็นนายทหาร[8]

หลังรัฐประหาร เขาสั่งปราบปรามผู้เห็นแย้ง ห้ามการอภิปรายสาธาณะเกี่ยวกับประชาธิปไตยและการวิจารณ์รัฐบาล จำกัดเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทยอย่างหนัก[9] นับตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2562 เขาออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทั้งหมดจำนวน 203 ฉบับ

ใน วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีของราชอาณาจักรไทยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะที่ประเทศไทยเป็นประธานสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในสมัยแรก

น่าเบื่อ