ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
|บุคลากร =
|บุคลากร =
|งบประมาณ = 242 ล้านบาท <small>([[พ.ศ. 2559]])</small><ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/091/17.PDF พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559] เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558</ref>
|งบประมาณ = 242 ล้านบาท <small>([[พ.ศ. 2559]])</small><ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/091/17.PDF พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559] เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558</ref>
|รัฐมนตรี1_ชื่อ =
|รัฐมนตรี1_ชื่อ = ไมตรี อินทุสุต
|รัฐมนตรี1_ตำแหน่ง =
|รัฐมนตรี1_ตำแหน่ง = ประธานกรรมการ
|รัฐมนตรี2_ชื่อ =
|รัฐมนตรี2_ชื่อ =
|รัฐมนตรี2_ตำแหน่ง =
|รัฐมนตรี2_ตำแหน่ง =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:05, 27 มีนาคม 2562

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
Community Organizations Development Institute (Public Organizations)
ไฟล์:Logo codi standard.jpg
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
สำนักงานใหญ่912 ถนนนวมินทร์ แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
งบประมาณประจำปี242 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
รัฐมนตรี
  • ไมตรี อินทุสุต, ประธานกรรมการ
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • สมชาติ ภาระสุวรรณ, ผู้อำนวยการ
  • พรรณทิพย์ เพชรมาก, รองผู้อำนวยการ
  • รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เว็บไซต์http://www.codi.or.th

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เป็นองค์การมหาชนของไทย ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 และมีผลบังคับใช้อีก 90 วันถัดมา[2]

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) มีภารกิจในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนและให้การช่วยเหลือแก่องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพ การเพิ่มรายได้ การพัฒนาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชนทั้งในเมืองและชนบท โดยยึดหลักการพัฒนาแบบองค์รวมหรือบูรณาการ และหลักการพัฒนาที่สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมเป็นแนวทางสำคัญ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและประชาสังคม

ในระยะเริ่มแรกให้มีการโอนกิจการของโครงการพัฒนาคนจนในเมือง การเคหะแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนพัฒนาชนบท สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้ามาจัดตั้งเป็นสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ในสังกัดกระทรวงการคลัง[2] และโอนมาสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในปี พ.ศ. 2545

อ้างอิง