ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดกาญจนบุรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 120: บรรทัด 120:
ไฟล์:Santisukia pagetii.png|[[ดอกกาญจนิกา]] ดอกไม้ประจำจังหวัด
ไฟล์:Santisukia pagetii.png|[[ดอกกาญจนิกา]] ดอกไม้ประจำจังหวัด
ไฟล์:ขานางกาญจนบุรี.jpg|[[ขานาง]] ต้นไม้ประจำจังหวัด
ไฟล์:ขานางกาญจนบุรี.jpg|[[ขานาง]] ต้นไม้ประจำจังหวัด
</gallery>
</galleryoren>


== การเมืองการปกครอง ==
== การเมืองการปกครอง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:59, 19 มีนาคม 2562

จังหวัดกาญจนบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Kanchanaburi
คำขวัญ: 
แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์
สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกาญจนบุรีเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกาญจนบุรีเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกาญจนบุรีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ จีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2560)
พื้นที่
 • ทั้งหมด19,483.148 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 3
ประชากร
 (พ.ศ. 2561)
 • ทั้งหมด893,151 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 25
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 74
รหัส ISO 3166TH-71
ชื่อไทยอื่น ๆปากแพรก, ศรีชัยสิงหปุระ, เมืองกาญจน์
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ขานาง
 • ดอกไม้กาญจนิการ์
 • สัตว์น้ำปลายี่สก
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนแสงชูโต ตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 71000
 • โทรศัพท์0 3451 1778
เว็บไซต์http://www.kanchanaburi.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดกาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จรดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จรดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จรดประเทศพม่า

ไฟล์:Kanchanaburi montages.jpg
จากซ้ายมือบนตามเข็มนาฬิกา; ด่านพระเจดีย์สามองค์, พระพุทธเมตตาฯ วัดทิพย์สุคนธาราม, ปราสาทเมืองสิงห์, สะพานข้ามแม่น้ำแคว, เขื่อนศรีนครินทร์, สะพานมอญ, วัดใต้บาดาล สังขละบุรี

ประวัติ

ความเป็นมาของกาญจนบุรี เท่าที่มีการค้นพบหลักฐานนั้น ย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการค้นพบเครื่องมือหินในบริเวณบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี ล่วงมาถึงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานคือซากโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์สมัยทวารวดีจำนวนมาก[3] สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-18 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบคือปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะแบบขอม[3] สมัยบายน

ประตูเมืองกาญจนบุรี สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2374

กาญจนบุรียังปรากฏในพงศาวดารเหนือว่า กาญจนบุรีเป็นเมืองขึ้นของสุพรรณบุรีในสมัยสุโขทัย ครั้นมาถึงสมัยอยุธยา กาญจนบุรีก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำสงครามระหว่างกองทัพไทยกับพม่า จนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ เดิมตัวเมืองกาญจนบุรีเดิมนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า (บริเวณเขาชนไก่ในปัจจุบัน) ภายหลังจนถึง พ.ศ. 2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นการถาวร ณ เมืองกาญจนบุรีใหม่โดยตั้งอยู่ ณ ตำบลปากแพรก อันเป็นสถานที่บรรจบของแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย โดยตัวเมืองอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำแควใหญ่ ซึ่งมีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์และด้านการค้า โดยเริ่มก่อสร้างเมืองเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2374 และสำเร็จในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 และได้แยกออกจากสุพรรณบุรีนับแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ดังพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "แต่มีเมืองปากแพรกเป็นที่ค้าขาย ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมอยู่เหนือมากมีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าไปมาลำบาก จึงลงมาตั้งเมืองเสียที่ปากแพรกนี้เป็นทางไปมาแก่เมืองราชบุรีง่าย เมืองที่สร้างขึ้นใหม่ กว้าง 5 เส้น ยาว 10 เส้น 18 วา มีป้อม 4 มุมเมือง ป้อมย่านกลางด้านยาวตรงหน้าเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้มีป้อมใหญ่อยู่ตรงเนิน ด้านหลังมีป้อมเล็กตรงกับป้อมใหญ่ 1 ป้อม" การสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่นี้ ดังปรากฏในศิลาจารึกดังนี้ ให้พระยาราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจเป็นพระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค์พระยากาญจนบุรี ครั้งกลับเข้าไปเฝ้าโปรดเกล้าฯ ว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองอังกฤษ พม่า รามัญ ไปมาให้สร้างเมืองก่อกำแพงขึ้นไว้จะได้เป็นชานพระนครเขื่อนเพชรเขื่อนขัณฑ์มั่นคงไว้แห่งหนึ่ง ในปัจจุบันกำแพงถูกทำลายลงโดยธรรมชาติและหน่วยราชการเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เหลือเพียงประตูเมืองและกำแพงเมืองบางส่วน[3]

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล กาญจนบุรีถูกโอนมาขึ้นกับมณฑลราชบุรี[4] และยกฐานะเป็นจังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2467

เหตุการณ์ที่ทำให้กาญจนบุรีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นได้ตัดสินใจสร้างทางรถไฟยุทธศาสตร์ จากชุมทางหนองปลาดุกในประเทศไทยไปยังเมืองทันบูซายัตในพม่า โดยเกณฑ์เชลยศึกและแรงงานจำนวนมากมาเร่งสร้างทางรถไฟอย่างหามรุ่งหามค่ำ จนทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทั้งจากความเป็นอยู่ที่ยากแค้นและโรคภัยไข้เจ็บที่รุมเร้า ซึ่งภาพและเรื่องราวของความโหดร้ายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในกาญจนบุรี

ชื่อเรียกอื่น ๆ ของกาญจนบุรี เช่น เมืองกาญจน์ ปากแพรก ศรีชัยยะสิงหปุระ[5] (ซึ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เรียกเมืองกาญจนบุรีว่า ศรีชัยยะสิงหปุระ) และเมืองขุนแผน เป็นต้น

ภูมิศาสตร์

อาณาเขตติดต่อ

ตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ 5 จังหวัด ดังนี้

ภูมิประเทศ

แม่น้ำรันตีทางตอนใต้ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเขาแหลม

พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นป่าไม้และภูเขาสูง โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านเหนือและตะวันตกของจังหวัด ถึงแม้จังหวัดกาญจนบุรีจะมีเขตพื้นที่ติดกับจังหวัดตากทางด้านทิศเหนือ แต่ก็ไม่มีถนนเชื่อมต่อกัน เนื่องจากมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งเป็นมรดกโลกและมีป่าที่อุดมสมบูรณ์รกทึบสลับกับมีภูเขาอันสลับซับซ้อน หากจะเดินทางติดต่อกันต้องอ้อมไปทางจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร แล้วจึงเข้าจังหวัดตาก ซึ่งมีระยะทางกว่า 490 กิโลเมตร และหากต้องการเดินทางไปอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดกาญจนบุรี จะต้องเดินทางย้อนลงมาทางใต้รวมระยะทางกว่า 700 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดกาญจนบุรี แบ่งออกได้ 3 ลักษณะดังนี้

  1. เขตภูเขาและที่สูง พื้นที่ทางด้านทิศเหนือของจังหวัด ได้แก่ บริเวณอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอไทรโยค มีลักษณะเป็นเทือกเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขาถนนธงชัยถัดไปทางด้านตะวันตกของจังหวัด เทือกเขาตะนาวศรีซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับประเทศพม่าทอดยาวลงไปทางด้านใต้ บริเวณนี้จะเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัด คือ แม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย ซึ่งในแถบนี้จะมีรอยเลื่อนอยู่หลายรอยและมักเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่บ่อยครั้ง
  2. เขตที่ราบลูกฟูก ได้แก่ พื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขาสลับกับเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่บริเวณอำเภอเลาขวัญ อำเภอบ่อพลอย และบางส่วนของอำเภอพนมทวน
  3. เขตที่ราบลุ่มน้ำ ได้แก่ พื้นที่ทางด้านใต้ของจังหวัด ลักษณะเป็นที่ราบ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ อยู่บริเวณอำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง และบางส่วนของอำเภอพนมทวน อำเภอเมืองกาญจนบุรี

ภูมิอากาศ

  • ฤดูร้อน ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม มีลมฝ่ายใต้พัดมาปกคลุม ทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยมีอากาศร้อนจัดอยู่ในเดือนเมษายน
  • ฤดูฝน ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน ในระยะนี้เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้มีฝนตกชุกโดยตกชุกที่สุดในเดือนกันยายน
  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยในช่วงนี้ ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทำให้อากาศหนาวเย็นและความแห้งแล้งแผ่ปกคลุมจังหวัดกาญจนบุรี

จังหวัดกาญจนบุรีมีอุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย 22.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย 36.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำที่สุดวัดได้ 3.7 องศาเซลเซียส (เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2517) อุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ 44.2 องศาเซลเซียส (เมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2559) และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1496.2 มิลลิเมตรต่อปี

ธรณีวิทยา

ในด้านทรัพยากรดิน พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรีมีภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ที่เหมาะสำหรับเกษตรกรรมคือ ที่ราบระหว่างภูเขาซึ่งมีแม่น้ำและลำน้ำสายต่าง ๆ ไหลผ่าน เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีหินปูน หินแกรนิต หินแกรไนโอออไรท์ หินไนล์ หินดินดาน หินควอทโซฟีลไลท์ เป็นวัตถุต้นกำเนิดดิน ที่ราบระหว่างหุบเขาและสองฝั่งแม่น้ำจึงมีลักษณะเป็นตะกอนที่เกิดจากการสลายตัวของหินดังกล่าวแล้วถูกน้ำพัดพามาทับถม และเนื่องจากพื้นที่ส่วนนี้มีหินปูนเป็นส่วนใหญ่ ดินจึงมีปฏิกิริยาเป็นกลางหรือเป็นด่าง มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงดี จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชไร่ที่สำคัญของประเทศเช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง และสับปะรด ส่วนในบริเวณที่ราบต่ำใช้ปลูกข้าวแต่มีเนื้อที่ไม่มากนัก

อุทกวิทยา

ในด้านทรัพยากรน้ำ จังหวัดกาญจนบุรีมีแหล่งน้ำที่สำคัญ 3 ประเภทคือ

  • น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ต้นกำเนิดของแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่มาจากน้ำฝนซึ่งตกสู่ผิวดินลงไปกับเก็บใต้ชั้นดิน พื้นที่ทางตอนบนและทางตะวันตกของจังหวัดซึ่งมีสภาพเป็นที่สูงภูเขา รองรับด้วยหินแปรปริมาณน้ำบาดาลจึงมีน้อยมาก ส่วนพื้นที่ทางตะวันออกและทางใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำบาดาลสามารถนำขึ้นมาใช้ได้ แต่ยังคงมีปริมาณน้อย
  • น้ำผิวดิน แหล่งน้ำผิวดินมีต้นน้ำอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี ลักษณะทางน้ำเป็นร่องลึกในระหว่างหุบเขา มีธารน้ำบางสายไหลขึ้นไปทางเหนือสู่ประเทศพม่า แต่ลำธารส่วนใหญ่ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่ ก่อนจะรวมตัวกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง ส่วนด้านตะวันออกมีลำตะเพินเป็นธารน้ำสำคัญของบริเวณนี้ แหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ (ศรีสวัสดิ์) แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำลำตะเพิน
  • น้ำจากการชลประทาน จังหวัดกาญจนบุรีเป็นที่ตั้งของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่หลายแห่งเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่สิ่งที่ได้รับผลประโยชน์ตามมาคือการชลประทานที่สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูก เขื่อนที่สำคัญ เช่น เขื่อนศรีนครินทร์ในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ เขื่อนเขาแหลมในอำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี และเขื่อนวชิราลงกรณ์ในอำเภอท่าม่วง
แหล่งน้ำที่สำคัญ

สัตว์ประจำถิ่น

  • ค้าวคาวกิตติ ถูกค้นพบครั้งแรกปี พ.ศ. 2516 โดยกิตติ ทองลงยา นักสัตววิทยาของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย บริเวณถ้ำไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างทำการเก็บตัวอย่างค้างคาวในโครงการการสำรวจสัตว์ย้ายแหล่งทางพยาธิวิทยา กิตติพบค้างคาวที่มีขนาดเล็กมากซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน จึงได้ส่งตัวอย่างค้างคาวให้กับจอห์น เอ็ดวาร์ด ฮิลล์ (John Edward Hill) แห่งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ประเทศอังกฤษ เพื่อตรวจพิสูจน์และพบว่าค้างคาวชนิดนี้มีลักษณะหลายอย่างเป็นแบบฉบับของตนเอง สามารถที่จะตั้งเป็นสกุลและวงศ์ใหม่ได้ หลังจากกิตติเสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 ฮิลล์ได้จำแนกและตีพิมพ์ถึงค้างคาวชนิดนี้ และตั้งชื่อว่า Craseonycteris thonglongyai เพื่อเป็นเกียรติแก่กิตติ ทองลงยา ผู้ค้นพบค้างคาวชนิดนี้เป็นคนแรก สภาวะของค้างคาวคุณกิตติในประเทศพม่าไม่เป็นที่แน่ชัด และประชากรที่พบในประเทศไทยก็พบว่าจำกัดอยู่ในเพียงจังหวัดเดียว คือ จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้ค้างคาวคุณกิตติอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สาเหตุหลักเกิดจากการคุกคามจากมนุษย์ และการลดลงของถิ่นที่อยู่อาศัย
ปลายี่สก
  • ปลายี่สก ชาวกาญจนบุรีมีความผูกพันธุ์กับปลาชนิดนี้มากถึงได้มาเป็นสัญลักษณ์ตามถนน ที่เข้าสู่ตัวเมืองกาญจน์เราจะเห็นตามเสาหลอดไฟที่เรืองรอง แล้วก็จะมีปลาชนิดหนึ่งอยู่บนเสาไฟตามถนนผ่านเส้นทางศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี จะมีตัวสีทองเหลืองอร่าม อยู่บนยอดมองเห็นได้อย่างชัดเจนก่อนที่จะมีเขื่องศรีนครินทร์ ปลายี่สกไทยจะไปวางไข่ตามเกาะแก่งต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่หลากหลายการเดินทางมาผสมพันธุ์เสร็จแล้วก็จะกลับมาหากินตั้งแต่กาญจนบุรี ไปจนถึงสมุทรสงคราม เมื่อก่อนจะเจอปลาชนิดนี้บ่อยมาก แต่พอสร้างเขื่อนปลาชนิดนี้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ก็น้อยลงไป ตามระบบนิเวศน์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ก่อนคนเมืองกาญจน์ ส่วนใหญ่ปลาชนิดนี้อยู่ที่แม่น้ำแม่กลองเอาเป็นว่าขายกันเป็นล่ำเป็นสัน ก็ว่าได้เนื่องจากหาง่าย ตัวใหญ่เนื้ออร่อย เช่น ต้มยำ แกงส้ม ลวกจิ้มสำหรับนักรับประทานปลา ถ้ามาถึงกาญจนบุรีแล้ว ไม่ได้รับประทาน "แสดงว่ายังมาไม่ถึงก็ว่าได้"
  • ปูพระพี่นาง พบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 บริเวณฝั่งลำห้วย ตำบลท่าแฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี หลังจากนั้น ได้รับประทานอนุญาตจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ให้ใช้ชื่อว่า "ปูพระพี่นาง" หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ปูป่า" มีกระดองสีแดงเลือดนก ขอบกระดอง ขอบเบ้าตา และปากเป็นสีแดงส้ม ขาเดินทั้ง 4 คู่ เป็นสีแดงเลือดนก ยกเว้นตรงปลายประมาณ 1 ใน 3 ของก้ามหนีบทั้ง 2 ข้าง เป็นสีขาว ปูพระพี่นางถือเป็นอีกหนึ่งปูน้ำจืดหายากของเมืองไทย
  • ปูราชินี มีปากและขามีสีแดงและส้ม ก้ามมีสีขาว และกระดองมีสีน้ำเงินอมม่วง เชื่อว่าสามารถเปลี่ยนสีได้เรื่อย ๆ ตามฤดูกาล ตัวเต็มวัยมีขนาดประมาณ 12.5 มิลลิเมตร โดยทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขออนุญาตใช้ชื่อ สิริกิติ์ เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติและเฉลิมฉลองครบรอบ 5 รอบของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้พระราชทานให้ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ปัจจุบันพบเป็นปูประจำถิ่นในป่าพรุน้ำจืดบริเวณลุ่มน้ำน้อย อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ และอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และไม่เคยมีรายงานพบที่อื่นอีกเลย มีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
  • ปูเจ้าฟ้า พบได้ในอำเภอทองผาภูมิ บริเวณน้ำตกและลำธาร
  • ตะพาบแก้มแดง (อังกฤษ: Malayan solf-shell turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dogania subplana) เป็นตะพาบชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย ที่จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดชุมพร จัดเป็นตะพาบขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับสองที่พบในประเทศไทย (เล็กที่สุด คือ ตะพาบหับพม่า (Lissemys scutata)) กระดองสีเทาเข้มมีจุดสีดำทั่วไป หัวสีเทานวลมีรอยเส้นสีดำตลอดตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงส่วนท้ายกระดอง มีสีแดงที่แก้มและข้างคอ เมื่อยังเล็กมีจุดสีดำคล้ายดวงตากระจายไปทั่วกระดองเห็นชัดเจน ตะพาบที่พบที่จังหวัดตากและกาญจนบุรีมีสีเข้มกว่าและไม่มีสีแดงที่แก้ม มีจมูกยาว หางสั้น และมีขาเล็ก
  • กริวดาว เป็นตะพาบที่หายากมากที่สุด มีความแตกต่างจากตะพาบหัวกบ คือ มีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย เหมือนตะพาบหัวกบ ซึ่งถึงแม้จะเป็นตะพาบขนาดใหญ่แล้ว แต่ลายจุดนี้ยังคงเห็นได้ชัดเจน ซึ่งกิตติพงษ์ได้ระบุไว้ว่า ตะพาบแบบนี้ไม่ได้พบเห็นมานานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 หรือ พ.ศ. 2534 แล้ว และแต่เดิมก็พบเห็นได้ยากมาก ซึ่งถ้าใช้หลักการอนุกรมวิธานตามแบบปัจจุบัน เชื่อว่า กริวดาวต้องถูกจัดเป็นชนิดใหม่อย่างไม่ต้องสงสัย เนื่องจากมีความแตกต่างจากตะพาบหัวกบอย่างพอสมควร แต่เสียดายที่ไม่ได้มีการศึกษามากกว่านี้ เนื่องจากไม่มีตัวอย่างต้นแบบให้ศึกษา โดยตัวสุดท้ายที่ค้นพบและมีภาพถ่ายที่สมบูรณ์ มีขนาดยาวราว 30 เซนติเมตร น้ำหนัก 5 กิโลกรัม จับได้จากแม่น้ำแควใหญ่ ที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

วัด
  • วัดสิริกาญจนาราม (ยุต) (วัดเขาพุรางบน) ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี
  • วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) (หลวง)
  • วัดสระลงเรือ (เรือสุพรรณหงส์จำลองที่ใหญ่ที่สุดในโลก)
  • วัดทิพย์สุคนธาราม (พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์)
  • วัดสุนันทวนาราม
  • วัดวังก์วิเวการาม (วัดหลวงพ่ออุตตมะ)
  • วัดวังขนายทายิการาม (มีบ่อน้ำแร่)
  • วัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (วัดเลี้ยงเสือ)
  • วัดถ้ำเสือ-วัดถ้ำเขาน้อย
  • วัดเมตตาธรรมโพธิญาณ
  • วัดถ้ำพรหมโลกเขาใหญ่ (พระอาจารย์วินัยธรวันชัย ปัญญาสาโร หลวงพ่อล้าน)
  • วัดพ่อขุนเณร (เขื่อนศรีนครินทร์)
  • วัดพระแท่นดงรัง (หลวง)
  • วัดถาวรวราราม (วัดญวณ)
  • วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) (หลวง)
  • วัดบ้านถ้ำ (มังที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ)
อื่น ๆ
สะพานข้ามแม่น้ำแคว (ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2552)
สนามกีฬา
  • สนามกีฬาจังหวัดกาญจนบุรี (สนามกลีบบัว)
  • สนามกีฬา36 พรรษา สยามบรมราชกุมารี
  • สนามกีฬาสมเด็จพระญาณสังวร
  • สนามกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • สนามกีฬาท่าม่วง
  • สนามกีฬาสังขละบุรี

บุคคลสำคัญ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เมืองพี่เมืองน้อง

  • ธงของประเทศจีน จีน เขตการปกครองตนเองชนชาติอี๋เหลียงซาน มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2561. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2562.
  3. 3.0 3.1 3.2 "ประวัติศาสตร์ จังหวัดกาญจนบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oceansmile.com/K/Kanjanaburi/Kan1.htm สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.
  4. "ประวัติความเป็นมาของจังหวัดราชบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.finearts.go.th/fad1/parameters/km/item/ประวัติความเป็นมาของจังหวัดราชบุรี.html สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.
  5. “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” วิษัยนครตะวันตก .....ที่สาบสูญ สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°0′15″N 99°32′57″E / 14.00417°N 99.54917°E / 14.00417; 99.54917