ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด"

พิกัด: 16°41′59″N 098°32′42″E / 16.69972°N 98.54500°E / 16.69972; 98.54500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Benz33063 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Benz33063 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
| [[นกแอร์]] || [[ท่าอากาศยานดอนเมือง|กรุงเทพ-ดอนเมือง]] || '''ภายในประเทศ'''
| [[นกแอร์]] || [[ท่าอากาศยานดอนเมือง|กรุงเทพ-ดอนเมือง]] || '''ภายในประเทศ'''
|-
|-
|วิสดอมแอร์เวย์
|[[วิสดอมแอร์เวย์]]
|ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
|[[ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่]]
|ภายในประเทศ
|’’’ภายในประเทศ’’’
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:26, 8 มีนาคม 2562

16°41′59″N 098°32′42″E / 16.69972°N 98.54500°E / 16.69972; 98.54500

ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด
  • IATA: MAQ
  • ICAO: VTPM
    MAQตั้งอยู่ในประเทศไทย
    MAQ
    MAQ
    ตำแหน่งของสนามบินในประเทศไทย
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสนามบินพาณิชย์/สนามบินศุลกากร
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
สถานที่ตั้งตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล210 เมตร / 690 ฟุต
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
09/27 1,500 4,921 ยางมะตอย
สถิติ (2558)
ผู้โดยสาร144,598
เที่ยวบิน2,816
แหล่งข้อมูล: http://www.aviation.go.th

ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด หรือ สนามบินแม่สอด (อังกฤษ: Mae Sot International Airport) ตั้งอยู่ที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ท่าอากาศยานแม่สอด เดิมเป็นท่าอากาศยานเล็ก ๆ อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย สร้างขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เดิมเป็นสนามบิน ที่ใช้ในกิจการทหารอยู่ในความดูแลของกองทัพอากาศ ในปี 2473 ดำเนินการเป็นรัฐพาณิชย์ กองการบินพลเรือน กระทรวงพาณิชย์ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่น ได้ใช้สนามบินแห่งนี้เป็นหน่วยบินในการปฏิบัติการ ทางอากาศ โจมตีฝ่ายสัมพันธมิตรในประเทศพม่า เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สงบลงในปี พ.ศ. 2489 กองทัพอากาศ ได้ริเริ่มดำเนินการบินขึ้นใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2503-2504 สำนักงานการบินพลเรือนได้เห็นความสำคัญในการขนส่ง ทางอากาศ ขณะนั้นจึงได้ปรับปรุงสภาพสนามบิน และทำการสร้างอาคารท่าอากาศยานและหอบังคับการบินซึงใน ช่วงเวลาดัวกล่าวนี้บริษัทเดินอากาศไทยได้นำเครื่อง DC-3 หรือ DAGOTA มาใช้บริการรับ-ส่งผู้โดยสาร สินค้า และพัสดุภัณฑ์ ในปี พ.ศ. 2506 สำนักงานการบินพลเรือน กรมการขนส่ง ได้รับการยกฐานะเป็นกรม ชื่อว่ากรมการบินพาณิชย์ ในระหว่างนี้ท่าอากาศยานแม่สอดก็ได้เปิดให้บริการเรื่อยมา จนกระทั่ง พ.ศ. 2513 บริษัทเดินอากาศไทย จึงได้ทำการงดบินในปี พ.ศ. 2513 นี้เองกรมการบินพาณิชย์ได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงท่าอากาศยานแม่สอด อีกครั้งเพื่อให้เป็นมาตรฐาน คือได้มีการสร้างทางวิ่งใหม่ กำหนดทางวิ่ง 09 และ 27 พื้นผิวลาดยางแอสฟัลส์ ขนาด 30x1500 เมตร สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2515 และสร้างหอควบคุมจราจรทางอากาศขึ้นใหม่แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 และได้เปิดให้บริการกับสายการบินและผู้โดยสารเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันในการกำกับดูแลของกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1]

ปัจจุบันกำลังดำเนินการปรับปรุงขยายทางวิ่ง (รันเวย์) ให้มีความยาวมากขึ้น จากเดิม 1,500 เมตร เป็น 2,100 เมตร เพื่อให้สามารถรองรับเครื่องบินขนาดโบอิง 737 และแอร์บัส เอ320 และขยายพื้นที่จอดเครื่องบิน ให้สามารถจอดเครื่องบินขนาดดังกล่าวได้ 3 ลำในเวลาเดียวกัน รวมถึงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2562[2] ทั้งนี้สายการบินไทยแอร์เอเชียได้แสดงท่าทีว่าพร้อมเปิดเส้นทางบินมายังท่าอากาศยานแม่สอดทันทีที่รันเวย์มีขนาดรองรับเครื่องบินแอร์บัส เอ320 ของตน[3]

สายการบินที่ให้บริการ

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[4] หมายเหตุ
นกแอร์ กรุงเทพ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
วิสดอมแอร์เวย์ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ’’’ภายในประเทศ’’’

สายการบินที่เคยให้บริการ

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
พีบีแอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
แอร์ฟินิกซ์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ภูเก็ตแอร์ไลน์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
แอร์อันดามัน กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
กานต์แอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, เชียงใหม่ ภายในประเทศ
การบินไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, ตาก (อำเภอเมืองตาก)[5], เชียงใหม่[5] ภายในประเทศ
เดินอากาศไทย ตาก (อำเภอเมืองตาก), เชียงใหม่[6] ภายในประเทศ
บริษัท เดินอากาศ จำกัด ตาก (อำเภอเมืองตาก) (สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง)[6] ภายในประเทศ
นกมินิ เชียงใหม่ ภายในประเทศ
นกมินิ ย่างกุ้ง, มะละแหม่ง ระหว่างประเทศ
นกแอร์ ย่างกุ้ง ระหว่างประเทศ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. รายชื่อท่าอากาศยานของกรมการบินพลเรือน
  2. โครงการปรับปรุงขยายท่าอากาศยานแม่สอด
  3. "ไทยแอร์เอเชียจี้รัฐขยายสนามบินเมืองรอง". ครอบครัวข่าว 3. 12 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. http://www.flightstats.com/go/FlightStatus/flightStatusByAirport.do
  5. 5.0 5.1 กาญจนา อาสนะคงอยู่ (2553). การพัฒนายุทธศาสตร์เชิงวัฒนธรรมในเขตเมือง กรณีศึกษา จังหวัดพิษณุโลก (PDF) (Report). กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. p. 123. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560. {{cite report}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |month= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  6. 6.0 6.1 "ความเป็นมา". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น