ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตัฟซีร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
{{Wikisource|1=AbuIsraphil|2=AbuIsraphil}}
{{Wikisource|1=AbuIsraphil|2=AbuIsraphil}}


[[หมวดหมู่:คำศัพท์อิสลาม]]
[[หมวดหมู่:คำศัพท์ศาสนาอิสลาม]]
[[หมวดหมู่:ตัฟซีร]]
[[หมวดหมู่:ตัฟซีร]]
[[หมวดหมู่:กุรอาน]]
[[หมวดหมู่:กุรอาน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:13, 21 กุมภาพันธ์ 2562

ตัฟซีร (อาหรับ: تفسير, อักษรโรมัน: Tafsīr, แปลตรงตัว'interpretation') เป็นคำศัพท์ภาษาอาหรับสำหรับการตีดความ ส่วนใหญ่มักจะใช้ในการแปลความหมายในอัลกุรอาน. ผู้แปลอัลกุรอานเรียกว่า มุฟัซซิร (อาหรับ: مُفسّر; พหุพจน์: อาหรับ: مفسّرون, อักษรโรมัน: มุฟัซซิรูน). การแปลอัลกุรอานจะต้องใช้การชี้แจง, คำอธิบาย, การตีความ, บริบทหรือความเห็นเพื่อเข้าถึงสิ่งที่อัลลอฮ์ประสงค์[1]

สำนักตัฟซีร

สำนักตัฟซีรมีอยู่หลายสำนัก แต่ละสำนักจะมีการแปลกุรอานตามจุดประสงค์ของตนเอง

สำนักตัฟซีรนิกายซุนนี

มิร เซยยิด อะลี กำลังเขียนตัฟซีรบนอัลกุรอาน ในสมัยของจักรพรรดิชาห์ชะฮันแห่งจักรวรรดิโมกุล

ตัฟซีรของซุนนีมักยึดถือตาม ญามิอ์ อัล-บะยาน ของมุฮัมหมัด อิบน์ ญาริร อัล-ตาบิรี โดยถือเป็นสารานุกรมที่สามารถนำมาใช้ในการแปลกุรอานได้ดีที่สุด[2]

สำนักตัฟซีรนิกายชีอะฮ์

ส่วนตัฟซีรของชีอะฮ์มักจะเน้นที่อายะฮ์เกี่ยวกับความสำเร็จของมุฮัมมัดโดยที่สายครอบครัวเริ่มที่อะลี และยกย่องถึงบรรดาอิหม่ามทั้งสิบสอง[1]

ในประเทศไทย

เนื่องจากคัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่มีวาทศิลป์เลอเลิศ จึงไม่มีใครแม้แต่ผู้เดียวยอมรับว่าสามารถแปลอัลกุรอานได้ดีพอ อย่างไรก็ตามงานแปลเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ นักวิชาการมุสลิมในแต่ละประเทศในโลกจะพยายามแปลความหมายของอัลกุรอาน ในปัจจุบันอัลกุรอานได้รับการแปลเป็นภาษาใหญ่ของโลกทุกภาษาแล้ว

ในประเทศไทยคัมภีร์อัลกุรอานได้รับการแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดยท่านอดีตจุฬาราชมนตรีต่วน สุวรรณศาสตร์ ซึ่งเป็นการแปลและอธิบายความหมายพร้อมๆกัน จึงทำให้ผู้อ่านไม่ทราบว่าแม่บทในภาษาอาหรับเป็นอย่างไร ในกลางคริสต์ทศวรรษที่ 70 นายดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ ได้เป็นบรรณาธิการจัดพิมพ์ความหมายอัลกุรอานที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งครูอิสมาอีล อะหมัด ปากพยูน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการแปลครั้งนี้

ต่อมานายมัรวาน สะมะอูน ได้แปลความหมายของอัลกุรอานให้กระทัดรัดขึ้นอีก พยายามรักษาสำนวนให้ใกล้เคียงกับแม่บทให้มากที่สุด ซึ่งก็ได้กลายเป็นหนังสืออ้างอิงสำหรับชาวไทยมาตลอด แต่ก็ยังมีข้อบกพร่อง เช่นประโยคแปลถึงแม้จะตรงกับแม่บทแต่ก็ผิดกับสำนวนไทย การแปลความหมายผิด การแปลขาดตอน เป็นต้น

ต่อมาสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับตรวจทานโดย อ.ดร. อับดุลเลาะ หนุ่มสุขได้แปลความหมายอัลกุรอานตีพิมพ์ออกมาอีก โดยมีฟุตโน้ตอธิบายความหมาย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ดีขึ้น จึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป และการแปลนี้ ก็ยังไม่อาจแก้ปัญหาความสมดุลระหว่างการพยายามรักษาคำในแม่บทเดิมและการใช้สำนวนไทยได้ อีกทั้งยังมีข้อบกพร่องเรื่องมาตรฐานในการแปล บางครั้งก็ใช้ศัพท์สูง แต่โดยปกติก็ใช้คำศัพท์ที่ง่ายเกินควร อีกทั้งการแปลขาดตอนก็มีปรากฏให้เห็นหลายที่

หนังสือแปลความหมายอัลกุรอานตัฟฮีมุลกุรอานของอบู อลา อัลเมาดูดี ซึ่งแปลโดยอาจารย์บรรจง บินกาซัน เป็นตัฟซีรที่ได้รับความนิยมเล่มหนึ่งในประเทศไทย

นายซัยนุลอาบิดีน ฟินดี้ ซึ่งนับถือชีอะฮ์ ได้แปลอัลกุรอานเป็นภาษาไทย แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก

นอกจากนี้ยังมีสำนวนแปลของผู้ที่ใช้นามปากกาว่า อะบูอิสรอฟีล ดู อัลกุรอาน สำนวนแปลอะบูอิสรอฟีลใน AbuIsraphil ซื่งใช้สำนวนได้สละสลวยยิ่งขึ้น

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Jo
  2. Oliver Leaman The Qur'an: An Encyclopedia Taylor & Francis 2006 ISBN 978-0-415-32639-1 page 632